
Sign up to save your podcasts
Or
วันนี้มีบทความประทับใจเกี่ยวกับกลุ่มคนที่ตรากตรำทำงาน รับจ้างตัดผัก เก็บเกี่ยวผักที่ปลูกได้เพื่อส่งไปขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดสด หรือแม้แต่เป็นผักที่มีคนสั่งซื้อส่งไปถึงบ้านโดยตรงมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งกลุ่มคนที่รับจ้างตัดผัก เก็บผักเพื่อเลี้ยงครอบครัวหรือเป็นอาชีพเสริมเพื่อเจือจุนครอบครัว ถือเป็นงานที่ต้องอดทน ต้องตากแดด สู้ฝน เพราะฉะนั้นเวลาที่เราทานผักก็อย่าลืมขอบคุณกลุ่มผู้อยู่เบื้องหลังการทำงานเหล่านี้ด้วย ทั้งนี้ การเพาะปลูกพืชผักในแปลง เกษตรกรอาจจะมีแค่คนเดียวก็สามารถปลูกผักได้ แต่เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวจำเป็นต้องอาศัยแรงงานหลายคนในการร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งกลุ่มผู้เก็บผักดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มแม่บ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นระดับอาม่า คุณแม่ คุณน้า และส่วนใหญ่ล้วนรับจ้างทำมาตั้งแต่อายุน้อยจนกระทั่งสูงวัย พวกเธอเป็นกลุ่มที่ถือว่าขาดไม่ได้ในธุรกิจที่เกี่ยวกับผัก แต่ว่าหลายคนอาจไม่รู้ว่าค่าแรง ค่าตอบแทนของพวกเขากลับไม่ได้มากมายเท่าไร
กลุ่มแม่บ้านรับจ้างตัดผัก
เวลาทำงานของกลุ่มแม่บ้านที่ต้องไปตัดผักในแปลงก็ต้องเริ่มตั้งแต่ตี 5 ครึ่ง อาม่าหรือคุณน้าทั้งหลายเริ่มทยอยไปที่แปลงผัก พวกเธอจะแบ่งงานกันทำอย่างแข็งขัน บางคนดึงตาข่ายที่ล้มทับผักบุ้ง บางคนจูนวิทยุเพื่อฟังเพลงเก่า บางคนปูผ้ายางและหนังยางรัดผัก จากนั้นทุกคนจะเตรียมม้านั่งเตี้ยของตัวเองเพื่อใช้สำหรับนั่งตัดผัก ในส่วนของการเก็บเกี่ยวผักบุ้งนั้นถือว่ามีขั้นตอนยุ่งยากที่สุด สองมือต้องทำงานร่วมกัน มือซ้ายรวบ มือขวาตัด ต้องตรวจดูผักบุ้งแต่ละต้นอย่างละเอียด รากและใบเหลืองจะดึงทิ้ง จากนั้นใช้หนังสติ๊กรัดเป็นกำก็เป็นอันเสร็จสิ้น การร่วมมือกันตัดผักบุ้งทั้ง 6-7 คน อาจนั่งตัดทั้งวันก็ ตัดไม่หมด เพราะว่าพื้นที่เพาะปลูกกว้างใหญ่ ยิ่งถ้าเจอสภาพที่ฝนตกด้วย การทำงานยิ่งลำบาก ต้องเลือกใบเน่า ใบเหลือง ทำให้การทำงานล่าช้าไปอีก
กลุ่มแม่บ้านรับจ้างตัดผัก
ส่วนผักที่ตัดขายง่ายที่สุดน่าจะเป็นผักกาดแก้วหรือที่คนไต้หวันเรียกว่า “ต้าลู่เม่ย” เนื่องจากเป็นต้นขนาดที่ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป รวบทีเดียว ตัดได้ทีละต้น หลังตัดแล้วก็นำไปใส่ในตะกร้า ไม่ต้องจัดอะไรมากมาย และต้นผักกาดแล้วต้นหนึ่งใช้เนื้อที่ในการจัดวางเท่ากับผักบุ้งเป็นกำ เพราะฉะนั้นจะตัดได้เร็วที่สุด ถ้ามีคนตัดสัก 5 คน วันหนึ่งก็สามารถตัดได้พื้นที่เป็นผืน อย่างไรก็ตาม การตัดผักได้เร็วหรือช้า คนทำก็ทำไปเรื่อยๆ เพราะพวกเขาได้ค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง ตัดได้มากได้น้อยก็จะได้ชั่วโมงละ 120 เหรียญไต้หวัน ไม่มีการปรับราคาขึ้นลง แต่ว่าคนที่เป็นเถ้าแก่ละสิกลับมีแรงกดดัน หรือต้องคำนวณแล้วว่าวันนี้ลูกน้องตัดได้มากน้อยแค่ไหน ราคาของผักวันนี้เท่าไร เป็นต้น และคนที่รับจ้างตัดผักเก็บผักส่วนใหญ่ก็จะคุ้นเคยกับงานที่ทำ มีความคล่องตัวพอสมควร ไม่ค่อยอู้งานหรือทำงานช้าๆ เพื่อให้ได้เวลาทำงานเยอะๆ และมักจะอยู่กับเถ้าแก่ขาประจำ แต่ว่างานที่รับจ้างเหล่านี้จะไม่มีบำเน็จบำนาญ ไม่มีประกันสังคม ไม่มีประกันสุขภาพ และเงินค่าจ้างรายชั่วโมงก็ไม่ได้เป็นตามมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำ เพราะค่าแรงขั้นต่ำชั่วโมงละ 160 เหรียญไต้หวัน แต่สามารถเลี้ยงสมาชิกของหลายๆ ครอบครัวได้
ตัดผักกาดแก้วง่ายกว่าผักบุ้ง
กลุ่มแม่บ้านที่รับจ้างตัดผักเก็บผักต้องเริ่มงานตั้งแต่ตี 5 ครึ่ง ทำจนถึงเวลา 10 โมงครึ่ง ก็ต้องหยุดพักแล้ว เนื่องจากอากาศร้อน ตัดผักช่วงเที่ยงจะส่งผลต่อรสชาติของผัก จากนั้นช่วงบ่ายโมงก็จะทำงานต่อ ทำจนถึง 6 โมงเย็นจึงจะเลิกงาน แต่ว่าถ้าเป็นช่วงที่มีผักเยอะอาจต้องคาดไฟที่ศีรษะ เถ้าแก่มีสวัสดิการให้ 3 อย่าง คือ อาหาร น้ำ ที่นั่ง การบริการอาหารและน้ำให้กับคนที่รับจ้างตัดผัก ถือเป็นหน้าที่ของเถ้าแก่สวนผัก และยังต้องเตรียมม้านั่งที่มีความสูงประมาณ 20 ซม.ไว้สำหรับนั่งตัดผัก แต่ว่าทำไปนานๆ ก็จะมีอาการปวดเมื่อย หลังขดหลังงอเช่นกัน เพราะฉะนั้น คนที่ทำนานๆ ก็มักจะต้องเตรียมยาแก้ปวดเมื่อยหรือพลาสเตอร์บรรเทาอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อด้วย ส่วนคนที่รับจ้างตัดผักก็ต้องเตรียมพร้อม 3 อย่างเช่นกัน อย่างแรกคือ ผ้าโพกศีรษะ อย่างที่ 2 ปลอกแขนกันแดด อย่างที่ 3 คือ รองเท้าบูท ซึ่งการที่ต้องเตรียมผ้าห่อตั้งแต่ศีรษะจนถึงขานั้นก็เพราะว่าต้องการกันแดด ไม่ให้แดดเผา แต่ว่าใส่มิดชิดแบบนี้ เวลาอากาศร้อน เหงื่อชุ่ม เปียกจนแห้ง แห้งแล้วเปียก สลับกันไป อาม่า คุณแม่ คุณน้า ทั้งหลายก็ต้องอดทน เวลาที่ฝนตกฟ้าร้อง ยังต้องรีบตัด พวกเขาเหล่านี้ ขอให้ลงมือทำงาน ก็จะได้ค่าจ้าง คนนรับจ้างตัดผักจะไม่กลัวฝน กลัวแต่ว่าผักจะบอบช้ำ ตัดผักได้น้อย
ม้านั่งเตี้ยสำหรับนั่งตัดผัก
ยกตัวอย่าง อาม่าแซ่หวงที่รับจ้างตัดผักอายุ 80 ปี เริ่มทำงานรับจ้างตัดผักตั้งแต่อายุ 20 ปี จนกระทั่งปัจจุบัน แม้ตอนนี้อาม่าหวงได้รับเงินชราภาพเดือนละ 7,500 เหรียญไต้หวัน และเป็นทวดแล้ว แต่ก็ยังรับจ้างตัดผักเพื่ออยากช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเหลน ส่วนมิสหลิว สาวจีนแผ่นดินใหญ่จากเมืองกุ้ยหลินที่แต่งงานมาอยู่ในไต้หวัน 25 ปีแล้ว เนื่องจากสามีเป็นอัมพฤกษ์ เธอจึงต้องออกมารับจ้างตัดผักเลี้ยงครอบครัว ในช่วงที่ไม่มีผักให้ตัด เธอก็จะไปรับจ้างทำความสะอาดฟาร์ม แม้แต่วันหยุดเธอก็ยังต้องทำงาน อีกคนหนึ่งคือ อาม่าเฉิงซิ่วหลัว อายุ 64 ปี มีลูก 6 คน สามีเกิดอุบัติเหตุทำให้เป็นอัมพาตครึ่งตัว ภาระรับผิดชอบของครอบครัวตกอยู่ที่อาม่าคนเดียว ช่วงพักระหว่างรับจ้างตัดผัก ก็ต้องกลับบ้านพลิกตัวให้สามี ต้องป้อนข้าว ป้อนน้ำ ยิ่งช่วงที่อาการหนัก กลางคืนต้องตื่น 2-3 ครั้งเพื่อดูแลสามี และอีกคนหนึ่งคือ อาม่าหง สามีมีครอบครัวใหม่ อาม่าต้องเลี้ยงลูก 4 คนด้วยการรับจ้างตัดผัก เป็นต้น ที่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเรื่องราวชีวิตของคนที่รับจ้างตัดผักในเมืองหยุนหลิน เนื่องจากเมืองหยุนหลินเป็นเมืองที่ทำการเกษตร คนที่ไม่มีความรู้ความชำนาญ ไม่ได้จบการศึกษาสูงๆและมีภาระครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ ไม่มีทางเลือกที่จะทำอาชีพอื่น ส่วนใหญ่ก็จะทำงานรับจ้างงานเกษตร เพราะงานตัดผัก ไม่ต้องอาศัยเทคนิคอะไรมากมาย และไม่เลือกว่าจะต้องมีพละกำลังมหาศาล เพราะฉะนั้นจึงเหมาะกับแม่บ้าน อาม่า คุณน้าๆ และพวกเขาเหล่านี้มีความพอเพียงต่อการดำรงชีพ พวกเขาต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เห็นผักเต็มตะกร้า พวกเราก็มีความสุขแล้ว
วันนี้มีบทความประทับใจเกี่ยวกับกลุ่มคนที่ตรากตรำทำงาน รับจ้างตัดผัก เก็บเกี่ยวผักที่ปลูกได้เพื่อส่งไปขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตหรือตลาดสด หรือแม้แต่เป็นผักที่มีคนสั่งซื้อส่งไปถึงบ้านโดยตรงมาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งกลุ่มคนที่รับจ้างตัดผัก เก็บผักเพื่อเลี้ยงครอบครัวหรือเป็นอาชีพเสริมเพื่อเจือจุนครอบครัว ถือเป็นงานที่ต้องอดทน ต้องตากแดด สู้ฝน เพราะฉะนั้นเวลาที่เราทานผักก็อย่าลืมขอบคุณกลุ่มผู้อยู่เบื้องหลังการทำงานเหล่านี้ด้วย ทั้งนี้ การเพาะปลูกพืชผักในแปลง เกษตรกรอาจจะมีแค่คนเดียวก็สามารถปลูกผักได้ แต่เมื่อถึงเวลาเก็บเกี่ยวจำเป็นต้องอาศัยแรงงานหลายคนในการร่วมด้วยช่วยกัน ซึ่งกลุ่มผู้เก็บผักดังกล่าวส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มแม่บ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ไม่ว่าจะเป็นระดับอาม่า คุณแม่ คุณน้า และส่วนใหญ่ล้วนรับจ้างทำมาตั้งแต่อายุน้อยจนกระทั่งสูงวัย พวกเธอเป็นกลุ่มที่ถือว่าขาดไม่ได้ในธุรกิจที่เกี่ยวกับผัก แต่ว่าหลายคนอาจไม่รู้ว่าค่าแรง ค่าตอบแทนของพวกเขากลับไม่ได้มากมายเท่าไร
กลุ่มแม่บ้านรับจ้างตัดผัก
เวลาทำงานของกลุ่มแม่บ้านที่ต้องไปตัดผักในแปลงก็ต้องเริ่มตั้งแต่ตี 5 ครึ่ง อาม่าหรือคุณน้าทั้งหลายเริ่มทยอยไปที่แปลงผัก พวกเธอจะแบ่งงานกันทำอย่างแข็งขัน บางคนดึงตาข่ายที่ล้มทับผักบุ้ง บางคนจูนวิทยุเพื่อฟังเพลงเก่า บางคนปูผ้ายางและหนังยางรัดผัก จากนั้นทุกคนจะเตรียมม้านั่งเตี้ยของตัวเองเพื่อใช้สำหรับนั่งตัดผัก ในส่วนของการเก็บเกี่ยวผักบุ้งนั้นถือว่ามีขั้นตอนยุ่งยากที่สุด สองมือต้องทำงานร่วมกัน มือซ้ายรวบ มือขวาตัด ต้องตรวจดูผักบุ้งแต่ละต้นอย่างละเอียด รากและใบเหลืองจะดึงทิ้ง จากนั้นใช้หนังสติ๊กรัดเป็นกำก็เป็นอันเสร็จสิ้น การร่วมมือกันตัดผักบุ้งทั้ง 6-7 คน อาจนั่งตัดทั้งวันก็ ตัดไม่หมด เพราะว่าพื้นที่เพาะปลูกกว้างใหญ่ ยิ่งถ้าเจอสภาพที่ฝนตกด้วย การทำงานยิ่งลำบาก ต้องเลือกใบเน่า ใบเหลือง ทำให้การทำงานล่าช้าไปอีก
กลุ่มแม่บ้านรับจ้างตัดผัก
ส่วนผักที่ตัดขายง่ายที่สุดน่าจะเป็นผักกาดแก้วหรือที่คนไต้หวันเรียกว่า “ต้าลู่เม่ย” เนื่องจากเป็นต้นขนาดที่ไม่เล็กไม่ใหญ่เกินไป รวบทีเดียว ตัดได้ทีละต้น หลังตัดแล้วก็นำไปใส่ในตะกร้า ไม่ต้องจัดอะไรมากมาย และต้นผักกาดแล้วต้นหนึ่งใช้เนื้อที่ในการจัดวางเท่ากับผักบุ้งเป็นกำ เพราะฉะนั้นจะตัดได้เร็วที่สุด ถ้ามีคนตัดสัก 5 คน วันหนึ่งก็สามารถตัดได้พื้นที่เป็นผืน อย่างไรก็ตาม การตัดผักได้เร็วหรือช้า คนทำก็ทำไปเรื่อยๆ เพราะพวกเขาได้ค่าจ้างเป็นรายชั่วโมง ตัดได้มากได้น้อยก็จะได้ชั่วโมงละ 120 เหรียญไต้หวัน ไม่มีการปรับราคาขึ้นลง แต่ว่าคนที่เป็นเถ้าแก่ละสิกลับมีแรงกดดัน หรือต้องคำนวณแล้วว่าวันนี้ลูกน้องตัดได้มากน้อยแค่ไหน ราคาของผักวันนี้เท่าไร เป็นต้น และคนที่รับจ้างตัดผักเก็บผักส่วนใหญ่ก็จะคุ้นเคยกับงานที่ทำ มีความคล่องตัวพอสมควร ไม่ค่อยอู้งานหรือทำงานช้าๆ เพื่อให้ได้เวลาทำงานเยอะๆ และมักจะอยู่กับเถ้าแก่ขาประจำ แต่ว่างานที่รับจ้างเหล่านี้จะไม่มีบำเน็จบำนาญ ไม่มีประกันสังคม ไม่มีประกันสุขภาพ และเงินค่าจ้างรายชั่วโมงก็ไม่ได้เป็นตามมาตรฐานแรงงานขั้นต่ำ เพราะค่าแรงขั้นต่ำชั่วโมงละ 160 เหรียญไต้หวัน แต่สามารถเลี้ยงสมาชิกของหลายๆ ครอบครัวได้
ตัดผักกาดแก้วง่ายกว่าผักบุ้ง
กลุ่มแม่บ้านที่รับจ้างตัดผักเก็บผักต้องเริ่มงานตั้งแต่ตี 5 ครึ่ง ทำจนถึงเวลา 10 โมงครึ่ง ก็ต้องหยุดพักแล้ว เนื่องจากอากาศร้อน ตัดผักช่วงเที่ยงจะส่งผลต่อรสชาติของผัก จากนั้นช่วงบ่ายโมงก็จะทำงานต่อ ทำจนถึง 6 โมงเย็นจึงจะเลิกงาน แต่ว่าถ้าเป็นช่วงที่มีผักเยอะอาจต้องคาดไฟที่ศีรษะ เถ้าแก่มีสวัสดิการให้ 3 อย่าง คือ อาหาร น้ำ ที่นั่ง การบริการอาหารและน้ำให้กับคนที่รับจ้างตัดผัก ถือเป็นหน้าที่ของเถ้าแก่สวนผัก และยังต้องเตรียมม้านั่งที่มีความสูงประมาณ 20 ซม.ไว้สำหรับนั่งตัดผัก แต่ว่าทำไปนานๆ ก็จะมีอาการปวดเมื่อย หลังขดหลังงอเช่นกัน เพราะฉะนั้น คนที่ทำนานๆ ก็มักจะต้องเตรียมยาแก้ปวดเมื่อยหรือพลาสเตอร์บรรเทาอาการปวดเมื่อย คลายกล้ามเนื้อด้วย ส่วนคนที่รับจ้างตัดผักก็ต้องเตรียมพร้อม 3 อย่างเช่นกัน อย่างแรกคือ ผ้าโพกศีรษะ อย่างที่ 2 ปลอกแขนกันแดด อย่างที่ 3 คือ รองเท้าบูท ซึ่งการที่ต้องเตรียมผ้าห่อตั้งแต่ศีรษะจนถึงขานั้นก็เพราะว่าต้องการกันแดด ไม่ให้แดดเผา แต่ว่าใส่มิดชิดแบบนี้ เวลาอากาศร้อน เหงื่อชุ่ม เปียกจนแห้ง แห้งแล้วเปียก สลับกันไป อาม่า คุณแม่ คุณน้า ทั้งหลายก็ต้องอดทน เวลาที่ฝนตกฟ้าร้อง ยังต้องรีบตัด พวกเขาเหล่านี้ ขอให้ลงมือทำงาน ก็จะได้ค่าจ้าง คนนรับจ้างตัดผักจะไม่กลัวฝน กลัวแต่ว่าผักจะบอบช้ำ ตัดผักได้น้อย
ม้านั่งเตี้ยสำหรับนั่งตัดผัก
ยกตัวอย่าง อาม่าแซ่หวงที่รับจ้างตัดผักอายุ 80 ปี เริ่มทำงานรับจ้างตัดผักตั้งแต่อายุ 20 ปี จนกระทั่งปัจจุบัน แม้ตอนนี้อาม่าหวงได้รับเงินชราภาพเดือนละ 7,500 เหรียญไต้หวัน และเป็นทวดแล้ว แต่ก็ยังรับจ้างตัดผักเพื่ออยากช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเหลน ส่วนมิสหลิว สาวจีนแผ่นดินใหญ่จากเมืองกุ้ยหลินที่แต่งงานมาอยู่ในไต้หวัน 25 ปีแล้ว เนื่องจากสามีเป็นอัมพฤกษ์ เธอจึงต้องออกมารับจ้างตัดผักเลี้ยงครอบครัว ในช่วงที่ไม่มีผักให้ตัด เธอก็จะไปรับจ้างทำความสะอาดฟาร์ม แม้แต่วันหยุดเธอก็ยังต้องทำงาน อีกคนหนึ่งคือ อาม่าเฉิงซิ่วหลัว อายุ 64 ปี มีลูก 6 คน สามีเกิดอุบัติเหตุทำให้เป็นอัมพาตครึ่งตัว ภาระรับผิดชอบของครอบครัวตกอยู่ที่อาม่าคนเดียว ช่วงพักระหว่างรับจ้างตัดผัก ก็ต้องกลับบ้านพลิกตัวให้สามี ต้องป้อนข้าว ป้อนน้ำ ยิ่งช่วงที่อาการหนัก กลางคืนต้องตื่น 2-3 ครั้งเพื่อดูแลสามี และอีกคนหนึ่งคือ อาม่าหง สามีมีครอบครัวใหม่ อาม่าต้องเลี้ยงลูก 4 คนด้วยการรับจ้างตัดผัก เป็นต้น ที่เป็นแค่ส่วนหนึ่งของเรื่องราวชีวิตของคนที่รับจ้างตัดผักในเมืองหยุนหลิน เนื่องจากเมืองหยุนหลินเป็นเมืองที่ทำการเกษตร คนที่ไม่มีความรู้ความชำนาญ ไม่ได้จบการศึกษาสูงๆและมีภาระครอบครัวที่ต้องรับผิดชอบ ไม่มีทางเลือกที่จะทำอาชีพอื่น ส่วนใหญ่ก็จะทำงานรับจ้างงานเกษตร เพราะงานตัดผัก ไม่ต้องอาศัยเทคนิคอะไรมากมาย และไม่เลือกว่าจะต้องมีพละกำลังมหาศาล เพราะฉะนั้นจึงเหมาะกับแม่บ้าน อาม่า คุณน้าๆ และพวกเขาเหล่านี้มีความพอเพียงต่อการดำรงชีพ พวกเขาต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เห็นผักเต็มตะกร้า พวกเราก็มีความสุขแล้ว