
Sign up to save your podcasts
Or
วิกฤตขาดแคลนแรงงาน: อาชีพเลี้ยงหอยนางรมกำลังกลายเป็นรุ่นสุดท้ายหรือไม่ !?
หอยทุกตัวต้องมีคนแกะเอาเนื้อออกก่อนนำไปขาย
แหล่งผลิตหอยนางรมทั่วไต้หวันล้วนขาดแรงงาน โดยที่ตำบลตงซื่อ เมืองเจียอี้ มีแรงงานแกะหอยมากที่สุด ทำให้หอยนางรมจากเมืองหยุนหลิน, ไถหนาน, และ เผิงหู มักถูกส่งไปยังตำบฃตงซือเพื่อแกะเปลือก นอกจากนี้ หอยนางรมไม่ได้ผลิดตลอดปี และการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ งานแกะเปลือกแม้สำคัญแต่ไม่สามารถทำเป็นอาชีพเต็มเวลาได้ ดังนั้น งานแกะหอยส่วนใหญ่อาศัยแรงงานในครัวเรือนและแรงงานชั่วคราว โดยกลุ่มหลักคือบรรดา สะใภ้ในหมู่บ้านประมงที่ต้องดูแลผู้สูงอายุหรือเด็กในครอบครัว ทำให้ไม่สามารถทำงานเต็มเวลาได้ และกลุ่มสะใภ้เหล่านี้มักเริ่มทำงานตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนถึงวัยชรา และถูกเรียกขานด้วยคำขำๆ ว่า "กลุ่มพันปี千歲團" เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยทำให้คนที่เต็มใจทำงานนี้ลดลงอย่างมาก ส่งผลให้งานแกะหอยนางรมจำนวนหลายร้อยล้านตัวทั่วไต้หวันยังคงต้องพึ่งพากลุ่มแรงงานเก่าที่มีประสบการณ์สูงเหล่านี้
งานแกะหอยส่วนใหญ่อาศัยแรงงานในครัวเรือนและแรงงานชั่วคราว
สำหรับแรงงาน "กลุ่มพันปี" และเกษตรกรผู้เลี้ยงหอย ถือเป็นความยืดหยุ่นของชั่วโมงการทำงานที่ช่วยลดความกดดันทั้งสองฝ่าย แต่ในขณะเดียวกัน งานที่ไม่สม่ำเสมอเช่นนี้ทำให้ยากที่จะจ้างแรงงานประจำ ส่งผลให้อุตสาหกรรมมีความไม่แน่นอนมากขึ้น
นี่เป็นเพียงปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมหอยนางรมในไต้หวันบางส่วนที่นำมาเล่าสู่กันฟัง
วิกฤตขาดแคลนแรงงาน: อาชีพเลี้ยงหอยนางรมกำลังกลายเป็นรุ่นสุดท้ายหรือไม่ !?
หอยทุกตัวต้องมีคนแกะเอาเนื้อออกก่อนนำไปขาย
แหล่งผลิตหอยนางรมทั่วไต้หวันล้วนขาดแรงงาน โดยที่ตำบลตงซื่อ เมืองเจียอี้ มีแรงงานแกะหอยมากที่สุด ทำให้หอยนางรมจากเมืองหยุนหลิน, ไถหนาน, และ เผิงหู มักถูกส่งไปยังตำบฃตงซือเพื่อแกะเปลือก นอกจากนี้ หอยนางรมไม่ได้ผลิดตลอดปี และการเก็บเกี่ยวขึ้นอยู่กับสภาพอากาศ งานแกะเปลือกแม้สำคัญแต่ไม่สามารถทำเป็นอาชีพเต็มเวลาได้ ดังนั้น งานแกะหอยส่วนใหญ่อาศัยแรงงานในครัวเรือนและแรงงานชั่วคราว โดยกลุ่มหลักคือบรรดา สะใภ้ในหมู่บ้านประมงที่ต้องดูแลผู้สูงอายุหรือเด็กในครอบครัว ทำให้ไม่สามารถทำงานเต็มเวลาได้ และกลุ่มสะใภ้เหล่านี้มักเริ่มทำงานตั้งแต่วัยหนุ่มสาวจนถึงวัยชรา และถูกเรียกขานด้วยคำขำๆ ว่า "กลุ่มพันปี千歲團" เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัยทำให้คนที่เต็มใจทำงานนี้ลดลงอย่างมาก ส่งผลให้งานแกะหอยนางรมจำนวนหลายร้อยล้านตัวทั่วไต้หวันยังคงต้องพึ่งพากลุ่มแรงงานเก่าที่มีประสบการณ์สูงเหล่านี้
งานแกะหอยส่วนใหญ่อาศัยแรงงานในครัวเรือนและแรงงานชั่วคราว
สำหรับแรงงาน "กลุ่มพันปี" และเกษตรกรผู้เลี้ยงหอย ถือเป็นความยืดหยุ่นของชั่วโมงการทำงานที่ช่วยลดความกดดันทั้งสองฝ่าย แต่ในขณะเดียวกัน งานที่ไม่สม่ำเสมอเช่นนี้ทำให้ยากที่จะจ้างแรงงานประจำ ส่งผลให้อุตสาหกรรมมีความไม่แน่นอนมากขึ้น
นี่เป็นเพียงปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคอุตสาหกรรมหอยนางรมในไต้หวันบางส่วนที่นำมาเล่าสู่กันฟัง