
Sign up to save your podcasts
Or
ในครั้งนี้ขอนำเรื่องการเพาะถั่วลิสงงอกและถั่วลิสงที่ปลูกในไต้หวันมาเล่าสู่ฟัง สำหรับเพาะถั่วลิสงงอกถือว่ายากกว่าการเพาะถั่วชนิดอื่น ถั่วงอกที่เพาะขายเป็นการค้าในท้องตลาดทั่วไปมีหลายชนิด เช่น ถั่วงอกเพาะจากถั่วเขียว และถั่วเหลือง แต่ที่เริ่มมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นคือถั่วงอกหัวโตที่เพาะจากเมล็ดถั่วลิสง การเพาะถั่วลิสงงอกจะให้รสชาติที่หวาน มัน กรอบอร่อย กว่าถั่วชนิดอื่นๆ แต่อาจจะเพาะยากตรงที่มักจะขึ้นราได้ง่าย จึงมีการเพาะเพื่อขายทั่วไปในตลาดน้อย ปัจจุบันในไต้หวัน มีการพัฒนาเทคนิคการเพาะถั่วลิสงงอกขายในท้องตลาด และยังมีการวิจัยประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพด้วย
ถั่วลิสงงอก ขายปลีกในราคา 60 NTD. ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
ชิวอี้หยวน(邱義源) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเจียอี้และอาจารย์พิเศษภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร บอกว่า เมื่อถั่วลิสงงอก ถั่วจะสังเคราะห์สารในกลุ่มที่เรียกว่า สตีลบีน พอลิฟินอล(stilbene polyphenols) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง และยังมีคุณสมบัติต้านการอักเสบในร่างกาย มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพที่ดี ฟาร์มเพื่อการพักผ่อน เซิ่งหยาง( 勝洋休閒農場) ที่เมืองอี๋หลานได้พัฒนาเทคนิคการเพาะถั่วลิสงงอก มีอัตราการงอกสูงถึง 95% ถั่วสามารถงอกมีความยาวถึง 12 เซนติเมตรในหนึ่งสัปดาห์ ถั่วลิสงงอกที่เพาะได้มีรสชาติหวานกรอบ อร่อย ขายปลีกในราคา 60 เหรียญไต้หวันต่อน้ำหนัก 100 กรัม นอกจากนี้ ทางฟาร์มยังนำถั่วลิสงงอกทำเป็นเมนูพิเศษ เช่น กุ้งมังกรหมาล่าถั่วลิสงงอก เป็นต้น
ถั่วลิสงงอกผัดกุ้งรสหมาล่า
ทั้งนี้ คุณชิวอี้หยวน ได้ทุ่มเท ค้นคว้า เกี่ยวกับโภชนาการของถั่วลิสงมานานกว่า 40 ปี ช่วงปี 1990 และปี 2000 ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยมากมาย มีการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ เช่น Journal of Agricultural and Food Chemistry ยืนยันว่าถั่วลิสงงอกจะสังเคราะห์สตีลบีน พอลิฟินอล(stilbene polyphenols) จำนวนมาก ซึ่งมีศักยภาพในการต้านออกซิเดชัน กำจัดอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และปรับฮอร์โมนได้ นอกจากนี้ ปริมาณสารเรสเวอราทรอล( resveratrol) ในถั่วลิสงมีมากกว่าไวน์แดง 10 - 100 เท่าเมื่อทำให้แห้ง และไม่ผลิตสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ ซึ่งสารเรสเวอราทรอล เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่หาได้จากแหล่งอาหารต่าง ๆ เช่น ผลไม้ประเภทเบอรี่ องุ่นแดง ถั่ว หรือไวน์แดง เป็นต้น
ผัดถั่วลิสงงอกพริกไทยดำ
ขณะนี้ที่เมืองไทจงและเมืองผิงตงมีผู้ประกอบการเพาะถั่วลิสงงอกขายเช่นกัน ซึ่งภายหลังเกษียณจากงานประจำ คุณชิวอี้หยวนยังก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับเพื่อนๆ เพื่อพัฒนาถั่วลิสงงอกที่มีกรดอะราคิโดนิก (Arachidonic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะนักกีฬา หรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ รวมไปถึงผู้ที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อเพาะกาย หากคนทั่วไปที่ต้องการเพาะถั่วลิสงงอกเองสามารถแช่เมล็ดถั่วลิสงในน้ำเป็นเวลา 12 ชั่วโมง สะเด็ดน้ำออก ห่อด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ เพื่อเร่งการงอก ใส่ไว้ภาชนะที่ปิดแสงทึบ ใช้เวลาเพาะประมาณ 7 วัน ก็นำมาประกอบอาหารต่างๆ ได้ เช่น ทอด ผัด หรือกินดิบได้โดยใส่ในสลัด
ในครั้งนี้ขอนำเรื่องการเพาะถั่วลิสงงอกและถั่วลิสงที่ปลูกในไต้หวันมาเล่าสู่ฟัง สำหรับเพาะถั่วลิสงงอกถือว่ายากกว่าการเพาะถั่วชนิดอื่น ถั่วงอกที่เพาะขายเป็นการค้าในท้องตลาดทั่วไปมีหลายชนิด เช่น ถั่วงอกเพาะจากถั่วเขียว และถั่วเหลือง แต่ที่เริ่มมีความนิยมเพิ่มมากขึ้นคือถั่วงอกหัวโตที่เพาะจากเมล็ดถั่วลิสง การเพาะถั่วลิสงงอกจะให้รสชาติที่หวาน มัน กรอบอร่อย กว่าถั่วชนิดอื่นๆ แต่อาจจะเพาะยากตรงที่มักจะขึ้นราได้ง่าย จึงมีการเพาะเพื่อขายทั่วไปในตลาดน้อย ปัจจุบันในไต้หวัน มีการพัฒนาเทคนิคการเพาะถั่วลิสงงอกขายในท้องตลาด และยังมีการวิจัยประโยชน์ที่ดีต่อสุขภาพด้วย
ถั่วลิสงงอก ขายปลีกในราคา 60 NTD. ต่อน้ำหนัก 100 กรัม
ชิวอี้หยวน(邱義源) อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยเจียอี้และอาจารย์พิเศษภาควิชาเทคโนโลยีทางอาหาร บอกว่า เมื่อถั่วลิสงงอก ถั่วจะสังเคราะห์สารในกลุ่มที่เรียกว่า สตีลบีน พอลิฟินอล(stilbene polyphenols) ที่มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ต้านมะเร็ง และยังมีคุณสมบัติต้านการอักเสบในร่างกาย มีศักยภาพในการดูแลสุขภาพที่ดี ฟาร์มเพื่อการพักผ่อน เซิ่งหยาง( 勝洋休閒農場) ที่เมืองอี๋หลานได้พัฒนาเทคนิคการเพาะถั่วลิสงงอก มีอัตราการงอกสูงถึง 95% ถั่วสามารถงอกมีความยาวถึง 12 เซนติเมตรในหนึ่งสัปดาห์ ถั่วลิสงงอกที่เพาะได้มีรสชาติหวานกรอบ อร่อย ขายปลีกในราคา 60 เหรียญไต้หวันต่อน้ำหนัก 100 กรัม นอกจากนี้ ทางฟาร์มยังนำถั่วลิสงงอกทำเป็นเมนูพิเศษ เช่น กุ้งมังกรหมาล่าถั่วลิสงงอก เป็นต้น
ถั่วลิสงงอกผัดกุ้งรสหมาล่า
ทั้งนี้ คุณชิวอี้หยวน ได้ทุ่มเท ค้นคว้า เกี่ยวกับโภชนาการของถั่วลิสงมานานกว่า 40 ปี ช่วงปี 1990 และปี 2000 ได้เผยแพร่ผลงานวิจัยมากมาย มีการตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ เช่น Journal of Agricultural and Food Chemistry ยืนยันว่าถั่วลิสงงอกจะสังเคราะห์สตีลบีน พอลิฟินอล(stilbene polyphenols) จำนวนมาก ซึ่งมีศักยภาพในการต้านออกซิเดชัน กำจัดอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และปรับฮอร์โมนได้ นอกจากนี้ ปริมาณสารเรสเวอราทรอล( resveratrol) ในถั่วลิสงมีมากกว่าไวน์แดง 10 - 100 เท่าเมื่อทำให้แห้ง และไม่ผลิตสารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพมนุษย์ ซึ่งสารเรสเวอราทรอล เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่หาได้จากแหล่งอาหารต่าง ๆ เช่น ผลไม้ประเภทเบอรี่ องุ่นแดง ถั่ว หรือไวน์แดง เป็นต้น
ผัดถั่วลิสงงอกพริกไทยดำ
ขณะนี้ที่เมืองไทจงและเมืองผิงตงมีผู้ประกอบการเพาะถั่วลิสงงอกขายเช่นกัน ซึ่งภายหลังเกษียณจากงานประจำ คุณชิวอี้หยวนยังก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพร่วมกับเพื่อนๆ เพื่อพัฒนาถั่วลิสงงอกที่มีกรดอะราคิโดนิก (Arachidonic acid) ซึ่งเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ที่มีความสำคัญต่อสุขภาพ เป็นผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพ โดยเฉพาะนักกีฬา หรือผู้ที่ออกกำลังกายเป็นประจำ รวมไปถึงผู้ที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อเพาะกาย หากคนทั่วไปที่ต้องการเพาะถั่วลิสงงอกเองสามารถแช่เมล็ดถั่วลิสงในน้ำเป็นเวลา 12 ชั่วโมง สะเด็ดน้ำออก ห่อด้วยผ้าชุบน้ำหมาดๆ เพื่อเร่งการงอก ใส่ไว้ภาชนะที่ปิดแสงทึบ ใช้เวลาเพาะประมาณ 7 วัน ก็นำมาประกอบอาหารต่างๆ ได้ เช่น ทอด ผัด หรือกินดิบได้โดยใส่ในสลัด