
Sign up to save your podcasts
Or
การปลูกออนซิเดียมในไต้หวัน
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 50% ของพื้นที่การผลิตออนซิเดียมมักรวมตัวอยู่ในนครไทจง และส่วนที่เหลือกระจัดกระจายตั้งแต่เมืองหยุนหลินไปจนถึงเมืองผิงตง อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนกลับไปในอดีต ช่วงแรกสุดของการปลูกออนซิเดียมนั้นอยู่ทางภาคใต้ และต่อมาก็ค่อยๆ ร่นไปปลูกทางเหนือมากขึ้น สาเหตุเพราะออนซิเดียมพันธุ์หลักที่ปลูกมักไม่ชอบอุณหภูมิต่ำกว่า 18°C หรือสูงกว่า 30°C เนื่องจากสภาพอากาศทางตอนใต้ของไต้หวันร้อนกว่า จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการออกดอก ทำให้ชาวสวนต้องย้ายไปทางเหนือหรือหันไปปลูกพืชผลอื่น และพบว่าเมืองไทจงเป็นพื้นที่เหมาะเพราะอากาศเหมาะ มีแสงแดดเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เขตซินเซ่อและเขตโฮ่วหลี่
หงจื้อเหวิน(洪志文) ผู้ก่อตั้งบริษัทหลงหยวนที่ชื่อเสียงในด้านการส่งออกดอกไม้ตัดดอกออนซิเดียม(瓏園國際有限公司-RYUEN INTERNATIONAL CO., LTD.) บอกว่า อุณหภูมิกลางวันและกลางคืนที่แตกต่างกันมาก ออนซิเดียมจะสะสมสารอาหารมากขึ้น และปากของดอกที่บานดูแล้วเหมือนกับกระโปรงบานๆ ที่มีลวดลายของตุ๊กตาก็จะอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นด้วย ซึ่งที่เขตซินเซ่อของนครไทจงตั้งอยู่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยเหมาะสม และมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน ส่วนที่เขตโฮ่วหลี่ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำต้าเจี่ย และแม่น้ำต้าอัน มีแหล่งน้ำเพียงพอและอุณหภูมิกลางคืนต่ำกว่าที่ราบที่อยู่ติดกัน ซึ่งเหมาะต่อการปลูกออนซิเดียม ทำให้ทั้ง 2 เขตเป็นที่รวมตัวของอุตสาหกรรมออนซิเดียม
อย่างไรก็ตาม แม้มีการรวมตัวปลูกออนซิเดียมในเขตของนครไถจงมาก แต่ทางภาคใต้ของไต้หวันก็ยังคงไม่ยอมแพ้ที่จะปลูกออนซิเดียมด้วย ไช่ตงหมิง(蔡東明) ผู้ช่วยวิจัย ศูนย์เพาะพันธุ์ไม้ดอก สถาบันวิจัยการเกษตร บอกว่า ภาคกลางสามารถผลิตออนซิเดียมตามธรรมชาติได้มากในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง โดยให้ผลผลิตสูงสุดในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กันยายน และตุลาคม อย่างไรก็ตาม เมื่ออุณหภูมิลดลงในฤดูหนาว ทางตอนใต้จะผลิตออนซิเดียมได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นการผลัดกันปลูกในภาคกลางและภาคใต้จึงทำให้ไต้หวันสามารถผลิตออนซิเดียมได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ในช่วงที่มีการผลิตสูงสุด ราคาของออนซิเดียมก็จะต่ำด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการหลายรายจึงใช้วิธีการต่างๆ เช่น การเด็ดดอกตูมเพื่อปรับระยะเวลาการออกดอก และรอฤดูกาลที่มีความต้องการสูงสุด เช่น ตรุษจีน เพื่อจะได้ขายในราคาที่สูงกว่า
นอกจากนี้ หากอุณหภูมิในไต้หวันเกิน 30°C ในตอนเที่ยง ออนซิเดียมอาจงีบหลับเนื่องจากความร้อน จันถิงจู๋(詹庭筑) ผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์วิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไทจง บอกว่า ออนซิเดียมส่วนใหญ่จะทำการสังเคราะห์ด้วยแสงในระหว่างวัน แต่เมื่ออุณหภูมิสูงเกินไป ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงจะลดลง เมื่ออากาศเย็นลงในช่วงบ่าย หรือคนสวนจะพ่นละอองน้ำหรือทำที่กำบังเพื่อลดอุณหภูมิเย็นลง ออนซิเดียมจึงเข้าสู่ภาวะปกติ การที่ออนซิเดียมต้องพักเที่ยงเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายจากการเคลื่อนไหว ทั้งนี้ ในระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสง พืชจำเป็นต้องเปิดปากใบและระเหยไอน้ำเพื่อกระจายความร้อน หากความเข้มของแสงและอุณหภูมิสูงเกินไป ปากใบของออนซิเดียมจะปิดลง และการสังเคราะห์ด้วยแสงจะล่าช้าออกไป เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำมากเกินไป การเหี่ยวแห้งของใบ และความเสียหายจากความร้อนในเวลานี้ ผู้ปลูกดอกไม้ไม่ควรเติมน้ำให้กับออนซิเดียมเร็วเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้ปากใบของออนซิเดียมเปิดออกที่เพิ่มการสูญเสียน้ำมากขึ้น ดังนั้น การปล่อยให้ออนซิเดียมพักผ่อนสักพักก็จะไม่เกิดความเสียหาย อย่างไรก็ตาม การสังเคราะห์ด้วยแสงยังเกี่ยวข้องกับการผลิตสารอาหาร การพักกลางวันบ่อยครั้งของออนซิเดียมอาจส่งผลให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและสภาพดอกไม่ดี ยกตัวอย่าง เกษตรกรผู้ปลูกดอกไม้จะเพิ่มจำนวนชั้นของตาข่ายบังแดดเพื่อเพิ่มอัตราการบังแสง หรือใช้ระบบสเปรย์และพัดลมหมุนเวียนภายในเพื่อไล่อากาศร้อนออกจากฟาร์มและทำให้อุณหภูมิโดยรอบคงที่ โดยเฉพาะในช่วงเที่ยงของเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยป้องกันแสงแดดสามารถลดการพักกลางวันของออนซิเดียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การปลูกออนซิเดียมในไต้หวัน
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 50% ของพื้นที่การผลิตออนซิเดียมมักรวมตัวอยู่ในนครไทจง และส่วนที่เหลือกระจัดกระจายตั้งแต่เมืองหยุนหลินไปจนถึงเมืองผิงตง อย่างไรก็ตาม เมื่อย้อนกลับไปในอดีต ช่วงแรกสุดของการปลูกออนซิเดียมนั้นอยู่ทางภาคใต้ และต่อมาก็ค่อยๆ ร่นไปปลูกทางเหนือมากขึ้น สาเหตุเพราะออนซิเดียมพันธุ์หลักที่ปลูกมักไม่ชอบอุณหภูมิต่ำกว่า 18°C หรือสูงกว่า 30°C เนื่องจากสภาพอากาศทางตอนใต้ของไต้หวันร้อนกว่า จะส่งผลต่อประสิทธิภาพการออกดอก ทำให้ชาวสวนต้องย้ายไปทางเหนือหรือหันไปปลูกพืชผลอื่น และพบว่าเมืองไทจงเป็นพื้นที่เหมาะเพราะอากาศเหมาะ มีแสงแดดเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่เขตซินเซ่อและเขตโฮ่วหลี่
หงจื้อเหวิน(洪志文) ผู้ก่อตั้งบริษัทหลงหยวนที่ชื่อเสียงในด้านการส่งออกดอกไม้ตัดดอกออนซิเดียม(瓏園國際有限公司-RYUEN INTERNATIONAL CO., LTD.) บอกว่า อุณหภูมิกลางวันและกลางคืนที่แตกต่างกันมาก ออนซิเดียมจะสะสมสารอาหารมากขึ้น และปากของดอกที่บานดูแล้วเหมือนกับกระโปรงบานๆ ที่มีลวดลายของตุ๊กตาก็จะอยู่ในสภาพที่ดีขึ้นด้วย ซึ่งที่เขตซินเซ่อของนครไทจงตั้งอยู่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 500 เมตร มีอุณหภูมิเฉลี่ยเหมาะสม และมีอุณหภูมิที่แตกต่างกันมากระหว่างกลางวันและกลางคืน ส่วนที่เขตโฮ่วหลี่ ตั้งอยู่ระหว่างแม่น้ำต้าเจี่ย และแม่น้ำต้าอัน มีแหล่งน้ำเพียงพอและอุณหภูมิกลางคืนต่ำกว่าที่ราบที่อยู่ติดกัน ซึ่งเหมาะต่อการปลูกออนซิเดียม ทำให้ทั้ง 2 เขตเป็นที่รวมตัวของอุตสาหกรรมออนซิเดียม
อย่างไรก็ตาม แม้มีการรวมตัวปลูกออนซิเดียมในเขตของนครไถจงมาก แต่ทางภาคใต้ของไต้หวันก็ยังคงไม่ยอมแพ้ที่จะปลูกออนซิเดียมด้วย ไช่ตงหมิง(蔡東明) ผู้ช่วยวิจัย ศูนย์เพาะพันธุ์ไม้ดอก สถาบันวิจัยการเกษตร บอกว่า ภาคกลางสามารถผลิตออนซิเดียมตามธรรมชาติได้มากในฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน และฤดูใบไม้ร่วง โดยให้ผลผลิตสูงสุดในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กันยายน และตุลาคม อย่างไรก็ตาม เมื่ออุณหภูมิลดลงในฤดูหนาว ทางตอนใต้จะผลิตออนซิเดียมได้เร็วขึ้น เพราะฉะนั้นการผลัดกันปลูกในภาคกลางและภาคใต้จึงทำให้ไต้หวันสามารถผลิตออนซิเดียมได้ตลอดทั้งปี นอกจากนี้ในช่วงที่มีการผลิตสูงสุด ราคาของออนซิเดียมก็จะต่ำด้วย ดังนั้นผู้ประกอบการหลายรายจึงใช้วิธีการต่างๆ เช่น การเด็ดดอกตูมเพื่อปรับระยะเวลาการออกดอก และรอฤดูกาลที่มีความต้องการสูงสุด เช่น ตรุษจีน เพื่อจะได้ขายในราคาที่สูงกว่า
นอกจากนี้ หากอุณหภูมิในไต้หวันเกิน 30°C ในตอนเที่ยง ออนซิเดียมอาจงีบหลับเนื่องจากความร้อน จันถิงจู๋(詹庭筑) ผู้ช่วยนักวิจัยศูนย์วิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไทจง บอกว่า ออนซิเดียมส่วนใหญ่จะทำการสังเคราะห์ด้วยแสงในระหว่างวัน แต่เมื่ออุณหภูมิสูงเกินไป ประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสงจะลดลง เมื่ออากาศเย็นลงในช่วงบ่าย หรือคนสวนจะพ่นละอองน้ำหรือทำที่กำบังเพื่อลดอุณหภูมิเย็นลง ออนซิเดียมจึงเข้าสู่ภาวะปกติ การที่ออนซิเดียมต้องพักเที่ยงเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายจากการเคลื่อนไหว ทั้งนี้ ในระหว่างการสังเคราะห์ด้วยแสง พืชจำเป็นต้องเปิดปากใบและระเหยไอน้ำเพื่อกระจายความร้อน หากความเข้มของแสงและอุณหภูมิสูงเกินไป ปากใบของออนซิเดียมจะปิดลง และการสังเคราะห์ด้วยแสงจะล่าช้าออกไป เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำมากเกินไป การเหี่ยวแห้งของใบ และความเสียหายจากความร้อนในเวลานี้ ผู้ปลูกดอกไม้ไม่ควรเติมน้ำให้กับออนซิเดียมเร็วเกินไป เพื่อป้องกันไม่ให้ปากใบของออนซิเดียมเปิดออกที่เพิ่มการสูญเสียน้ำมากขึ้น ดังนั้น การปล่อยให้ออนซิเดียมพักผ่อนสักพักก็จะไม่เกิดความเสียหาย อย่างไรก็ตาม การสังเคราะห์ด้วยแสงยังเกี่ยวข้องกับการผลิตสารอาหาร การพักกลางวันบ่อยครั้งของออนซิเดียมอาจส่งผลให้ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอและสภาพดอกไม่ดี ยกตัวอย่าง เกษตรกรผู้ปลูกดอกไม้จะเพิ่มจำนวนชั้นของตาข่ายบังแดดเพื่อเพิ่มอัตราการบังแสง หรือใช้ระบบสเปรย์และพัดลมหมุนเวียนภายในเพื่อไล่อากาศร้อนออกจากฟาร์มและทำให้อุณหภูมิโดยรอบคงที่ โดยเฉพาะในช่วงเที่ยงของเดือนกรกฎาคมและสิงหาคม ซึ่งวิธีการนี้จะช่วยป้องกันแสงแดดสามารถลดการพักกลางวันของออนซิเดียมได้อย่างมีประสิทธิภาพ