
Sign up to save your podcasts
Or
ฤดูกาลน้อยหน่าสับปะรดแถมราคาถูก อร่อย หวานฉ่ำชื่นใจ
ช่วงนี้ถือเป็นฤดูกาลน้อยหน่าในไต้หวัน หลังจากที่จีนแผ่นดินใหญ่ไม่นำเข้าน้อยหน่าสับปะรด(ฟ่งหลีซื่อเจีย鳳梨釋迦)ของไต้หวันทำให้ปริมาณล้นตลาด หากใครก็ตามต้องการช่วยเหลือเกษตรกรก็อย่าลืมซื้อมากินกันบ้าง ถ้าจะถามว่าแล้วราคาน้อยหน่าสับปะรดถูกไหม หลายคนสังเกตว่าก็ไม่ได้ถูกมากๆ อย่างที่คิด น้อยหน่าลูกใหญ่ๆ ผลสวยน่ากิน วางอยู่บนหิ้งซุปเปอร์มาร์เก็ตขายลูกละ 80 กว่าเหรียญไต้หวัน จริงๆแล้วบางคนเห็นอยากจะซื้อ แต่เมื่อดูราคาแล้วมีความรู้สึกว่าแพงไปหน่อย เพราะถ้าเทียบกับราคาอาหารมื้อหนึ่งของคนทั่วไป อย่างอาหารกล่อง(เปี้ยนตัง) อาจจะใกล้เคียงกันหรือมากกว่านี้ หลายคนคิดว่าในเมื่อปริมาณมาก เกษตรกรโอดครวญต้องการระบายสินค้า แต่ทำไมยังต้องขายแพงอยู่อีก สำหรับเรื่องนี้ต้องบอกว่ายังมีเบื้องหลังที่คุณอาจไม่ทราบอีกมากมาย วันนี้มาเจาะลึกเรื่องราวกันเลยค่ะ
น้อยหน่าเกรดเอ ผลใหญ่ นน.ประมาณ 600 กรัม(1ชั่ง)
นายไช่(蔡先生) ผู้รับผิดชอบสถานีบรรจุภัณฑ์ของสมาคมเกษตรไถตงวิเคราะห์ให้ฟังว่า หากคิดคำนวณต้นทุนต่างๆ ตั้งแต่แหล่งปลูกจนถึงการจัดการสินค้า ผ่านขั้นตอนบรรจุภัณฑ์ จนกระทั่งการขนส่งไปยังผู้บริโภค น้อยหน่าสับปะรดแต่ละลูกล้วนผ่านขั้นตอนการทำงานร่วมกันระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกกับสถานีบรรจุภัณฑ์ที่ต้องทำงานติดต่อกันตลอดทั้งวันและคืน ทั้งนี้ ช่วงบ่าย 4 โมงเย็น หลายคนเริ่มเก็บงานเตรียมเลิกงานกลับบ้าน แต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งของหมู่บ้านเหม่ยหนง ตำบลเปยหนาน เมืองไถตงกำลังจะเริ่มทำงาน เนื่องจากช่วงกลางวันเป็นช่วงที่เกษตรกรวุ่นงานที่สวน จากนั้นนำส่งตลาดรวมสินค้า แต่ก็มีบางรายนำกลับไปที่บ้านคัดเลือกเบื้องต้น แล้วค่อยส่งไปยังสถานีบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ อย่างสถานีบรรจุภัณฑ์ของสมาคมเกษตรไถตงถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไถตง ณ วันที่ 27 ธันวาคม น้อยหน่าที่ส่งไปยังสถานีบรรจุภัณฑ์มีมากถึง 17,000 ชั่ง(10.2 ตัน) พนักงานหน้าร้านเกือบ 30 คนช่วยกันชั่งน้ำหนัก เอาปืนลมแรงดันสูงฉีดทำความสะอาดน้อยหน่า แยกเกรดขนาดเล็กใหญ่บรรจุลงกล่อง จากนั้นส่งขึ้นรถบรรทุก บางส่วนส่งไปเก็บไว้ในห้องเย็น ไม่ว่าวันนั้นมีน้อยหน่ามากน้อยแค่ไหน สถานีบรรจุภัณฑ์จะต้องทำงานให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง
พนักงานคัดเกรดน้อยหน่า
ช่วงฤดูกาลน้อยหน่าในไต้หวันเริ่มตั้งแต่เดือนธ.ค. หลัง 20 ธ.ค.ถือเป็นช่วงที่เริ่มมีผลผลิตมากและมีคุณภาพดีที่สุด ผลผลิตที่เก็บได้ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค.- 20 ธ.ค. เฉลี่ย 6,000 ชั่ง/วัน( 1 ชั่งเท่ากับ 600 กรัม) ตั้งแต่ 21 ธ.ค.เป็นต้นไป ปริมาณจะมีมากถึง 10,000 กว่าชั่ง/วัน(6,000 กว่ากก.) หลังวันที่ 27 ธ.ค.เป็นต้นไปมีมากทะลุ 15,000 ชั่ง/วัน และหลังต้นเดือน ม.ค. ผลผลิตยิ่งจะมากกว่านี้ เพราะฤดูกาลจะมีถึงเดือนมี.ค. แต่สถานีบรรจุภัณฑ์รับสินค้าได้มากสุดคือ 30,000 ชั่ง/วัน(18,000 กก.) ณ วันที่ 22 ธ.ค.มีพนักงานทำงานอยู่ในสถานีบรรจุภัณฑ์ 25 คน ถ้างานเยอะก็ต้องเพิ่มคนและเวลา งานที่รับผิดชอบคือสินค้าเข้ามาในวันนั้นต้องจัดการและบรรจุลงกล่องให้เสร็จในวันนั้น ถ้าพนักงาน 25 คนช่วยกันบรรจุน้อยหน่า 10,000 ชั่ง ต้องใช้เวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน หากมีปริมาณมากถึง 20,000 ชั่ง แรงงานจะต้องเพิ่มเป็นเท่าตัว เวลาทำงานต้องเพิ่มมากกว่า 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ผลไม้ไม่สามารถรอเวลาได้ หากวันนี้ทำไม่เสร็จ พรุ่งนี้อาจทำให้ผลไม้มีคุณภาพด้อยลง ยกตัวอย่าง ในวันที่ 27 ธ.ค.ที่ต้องการเร่งเคลียร์งานให้เสร็จ พนักงานต้องทำงานถึงตี 04:49 น. ซึ่งการทำงานในสถานีบรรจุภัณฑ์ก็มีสภาพคล้ายกับพนักงานที่ทำงานในร้านอาหารที่มีการแบ่งงาน คือส่วนหนึ่งบริการอยู่หน้าร้าน อีกส่วนหนึ่งทำงานหลังร้าน พนักงานหน้าร้านจะรับผิดชอบรับสินค้า ทำความสะอาด คัดเกรดผลไม้ ต้องผ่านการอบรม มีประสบการณ์แยกว่าผลไหนดีหรือมีตำหนิภายในไม่กี่วินาที ส่วนคนที่อยู่หลังร้านก็จะทำหน้าที่พับกล่อง แยกขนาดเล็กใหญ่แล้วบรรจุลงกล่อง
น้อยหน่าเกรดเอ ผลใหญ่
สำหรับต้นทุนกล่องบรรจุน้อยหน่าสับปะรด มี 2 แบบ แบบแรกส่งขายต่างประเทศจะต้องมีฝาปิดและห้ามใช้ลวดเย็บที่กล่อง ต้องใช้แรงงานคนพับ ส่วนกล่องบรรจุขายในประเทศหรือส่งขายยังตลาดค้าส่งใช้ลวดเย็บได้ ใช้คนน้อยกว่า ช่วงการระบาดของ covid19 วัตถุดิบขาดแคลน กล่องกระดาษปรับราคาสูงขึ้นตลอด กล่องกระดาษที่ส่งขายต่างประเทศตกราคา 42 เหรียญไต้หวัน/ชิ้น กล่องกระดาษขายในประเทศน้ำหนัก 10 ชั่งราคา 28 เหรียญไต้หวัน/ชิ้น หากเป็นกล่องที่สามารถบรรจุน้ำหนัก 20 ชั่งจะมีราคา 32 เหรียญไต้หวัน ถ้าต้องการประหยัดจะต้องสั่งซื้อล็อตใหญ่มากกว่า 10,000 ชิ้นขึ้นไป ส่วนค่าแรงเฉลี่ย 230 เหรียญไต้หวัน/ชั่วโมง แม้ให้ค่าแรงสูงแต่ก็หาแรงงานได้ยากมากๆ และในเรื่องค่าขนส่งน้ำหนัก 10 ชั่งส่งจากเมืองไถตงไปยังผู้บริโภคประมาณ 100 - 130 เหรียญไต้หวัน/กล่อง นายไช่ ผู้รับผิดชอบสถานีบรรจุภัณฑ์ของสมาคมบอกว่า ทางสถานีรับซื้อจากเกษตรกรคิดตามน้ำหนัก เป็นผลไม้เกรดเอที่ไม่มีตำหนิ ผลใหญ่ชั่งละ 35 เหรียญไต้หวัน ขนาดปานกลางชั่งละ 32 เหรียญไต้หวัน แต่ถ้าเป็นเล็กกว่านี้ยังไม่รับซื้อ ส่วนพื้นที่เพาะปลูกน้อยหน่าสับปะรด ก็มีทั้งพื้นที่ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ต้นทุนปลูกอยู่ที่ชั่งละ 31.6 เหรียญไต้หวัน พื้นที่เล็ก ต้นทุนก็จะสูงขึ้นเป็นชั่งละ 34.8 เหรียญไต้หวัน เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ไม่ใหญ่มาก ต้องพยายามปลูกให้ได้ผลใหญ่เท่ากับเกรดเอจึงจะเสมอทุน สรุปแล้ว น้อยหน่าสับปะรดลูกใหญ่ที่ขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตลูกละ 80-90 เหรียญไต้หวันถือว่าราคาถูกแล้ว ถ้าเทียบกับปีก่อนๆ ที่ส่งขายจีนแผ่นดินใหญ่เยอะๆ ต้นทุนของเกรดเอจากแหล่งผลิตก็ตกชั่งละ 60 เหรียญไต้หวัน จะซื้อน้อยหน่าลูกหนึ่งก็ประมาณ 200 เหรียญไต้หวันแน่นอน ขณะเป็นโอกาสดีสำหรับคนที่ชื่นชอบกินน้อยหน่าและเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรด้วย
น้อยหน่าเกรดเอ ผลใหญ่ รอบรรจุกล่อง
ฤดูกาลน้อยหน่าสับปะรดแถมราคาถูก อร่อย หวานฉ่ำชื่นใจ
ช่วงนี้ถือเป็นฤดูกาลน้อยหน่าในไต้หวัน หลังจากที่จีนแผ่นดินใหญ่ไม่นำเข้าน้อยหน่าสับปะรด(ฟ่งหลีซื่อเจีย鳳梨釋迦)ของไต้หวันทำให้ปริมาณล้นตลาด หากใครก็ตามต้องการช่วยเหลือเกษตรกรก็อย่าลืมซื้อมากินกันบ้าง ถ้าจะถามว่าแล้วราคาน้อยหน่าสับปะรดถูกไหม หลายคนสังเกตว่าก็ไม่ได้ถูกมากๆ อย่างที่คิด น้อยหน่าลูกใหญ่ๆ ผลสวยน่ากิน วางอยู่บนหิ้งซุปเปอร์มาร์เก็ตขายลูกละ 80 กว่าเหรียญไต้หวัน จริงๆแล้วบางคนเห็นอยากจะซื้อ แต่เมื่อดูราคาแล้วมีความรู้สึกว่าแพงไปหน่อย เพราะถ้าเทียบกับราคาอาหารมื้อหนึ่งของคนทั่วไป อย่างอาหารกล่อง(เปี้ยนตัง) อาจจะใกล้เคียงกันหรือมากกว่านี้ หลายคนคิดว่าในเมื่อปริมาณมาก เกษตรกรโอดครวญต้องการระบายสินค้า แต่ทำไมยังต้องขายแพงอยู่อีก สำหรับเรื่องนี้ต้องบอกว่ายังมีเบื้องหลังที่คุณอาจไม่ทราบอีกมากมาย วันนี้มาเจาะลึกเรื่องราวกันเลยค่ะ
น้อยหน่าเกรดเอ ผลใหญ่ นน.ประมาณ 600 กรัม(1ชั่ง)
นายไช่(蔡先生) ผู้รับผิดชอบสถานีบรรจุภัณฑ์ของสมาคมเกษตรไถตงวิเคราะห์ให้ฟังว่า หากคิดคำนวณต้นทุนต่างๆ ตั้งแต่แหล่งปลูกจนถึงการจัดการสินค้า ผ่านขั้นตอนบรรจุภัณฑ์ จนกระทั่งการขนส่งไปยังผู้บริโภค น้อยหน่าสับปะรดแต่ละลูกล้วนผ่านขั้นตอนการทำงานร่วมกันระหว่างเกษตรกรผู้ปลูกกับสถานีบรรจุภัณฑ์ที่ต้องทำงานติดต่อกันตลอดทั้งวันและคืน ทั้งนี้ ช่วงบ่าย 4 โมงเย็น หลายคนเริ่มเก็บงานเตรียมเลิกงานกลับบ้าน แต่ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งของหมู่บ้านเหม่ยหนง ตำบลเปยหนาน เมืองไถตงกำลังจะเริ่มทำงาน เนื่องจากช่วงกลางวันเป็นช่วงที่เกษตรกรวุ่นงานที่สวน จากนั้นนำส่งตลาดรวมสินค้า แต่ก็มีบางรายนำกลับไปที่บ้านคัดเลือกเบื้องต้น แล้วค่อยส่งไปยังสถานีบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ อย่างสถานีบรรจุภัณฑ์ของสมาคมเกษตรไถตงถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในเมืองไถตง ณ วันที่ 27 ธันวาคม น้อยหน่าที่ส่งไปยังสถานีบรรจุภัณฑ์มีมากถึง 17,000 ชั่ง(10.2 ตัน) พนักงานหน้าร้านเกือบ 30 คนช่วยกันชั่งน้ำหนัก เอาปืนลมแรงดันสูงฉีดทำความสะอาดน้อยหน่า แยกเกรดขนาดเล็กใหญ่บรรจุลงกล่อง จากนั้นส่งขึ้นรถบรรทุก บางส่วนส่งไปเก็บไว้ในห้องเย็น ไม่ว่าวันนั้นมีน้อยหน่ามากน้อยแค่ไหน สถานีบรรจุภัณฑ์จะต้องทำงานให้เสร็จภายใน 24 ชั่วโมง
พนักงานคัดเกรดน้อยหน่า
ช่วงฤดูกาลน้อยหน่าในไต้หวันเริ่มตั้งแต่เดือนธ.ค. หลัง 20 ธ.ค.ถือเป็นช่วงที่เริ่มมีผลผลิตมากและมีคุณภาพดีที่สุด ผลผลิตที่เก็บได้ระหว่างวันที่ 1 ธ.ค.- 20 ธ.ค. เฉลี่ย 6,000 ชั่ง/วัน( 1 ชั่งเท่ากับ 600 กรัม) ตั้งแต่ 21 ธ.ค.เป็นต้นไป ปริมาณจะมีมากถึง 10,000 กว่าชั่ง/วัน(6,000 กว่ากก.) หลังวันที่ 27 ธ.ค.เป็นต้นไปมีมากทะลุ 15,000 ชั่ง/วัน และหลังต้นเดือน ม.ค. ผลผลิตยิ่งจะมากกว่านี้ เพราะฤดูกาลจะมีถึงเดือนมี.ค. แต่สถานีบรรจุภัณฑ์รับสินค้าได้มากสุดคือ 30,000 ชั่ง/วัน(18,000 กก.) ณ วันที่ 22 ธ.ค.มีพนักงานทำงานอยู่ในสถานีบรรจุภัณฑ์ 25 คน ถ้างานเยอะก็ต้องเพิ่มคนและเวลา งานที่รับผิดชอบคือสินค้าเข้ามาในวันนั้นต้องจัดการและบรรจุลงกล่องให้เสร็จในวันนั้น ถ้าพนักงาน 25 คนช่วยกันบรรจุน้อยหน่า 10,000 ชั่ง ต้องใช้เวลา 6-7 ชั่วโมงต่อวัน หากมีปริมาณมากถึง 20,000 ชั่ง แรงงานจะต้องเพิ่มเป็นเท่าตัว เวลาทำงานต้องเพิ่มมากกว่า 2 ชั่วโมง ทั้งนี้ผลไม้ไม่สามารถรอเวลาได้ หากวันนี้ทำไม่เสร็จ พรุ่งนี้อาจทำให้ผลไม้มีคุณภาพด้อยลง ยกตัวอย่าง ในวันที่ 27 ธ.ค.ที่ต้องการเร่งเคลียร์งานให้เสร็จ พนักงานต้องทำงานถึงตี 04:49 น. ซึ่งการทำงานในสถานีบรรจุภัณฑ์ก็มีสภาพคล้ายกับพนักงานที่ทำงานในร้านอาหารที่มีการแบ่งงาน คือส่วนหนึ่งบริการอยู่หน้าร้าน อีกส่วนหนึ่งทำงานหลังร้าน พนักงานหน้าร้านจะรับผิดชอบรับสินค้า ทำความสะอาด คัดเกรดผลไม้ ต้องผ่านการอบรม มีประสบการณ์แยกว่าผลไหนดีหรือมีตำหนิภายในไม่กี่วินาที ส่วนคนที่อยู่หลังร้านก็จะทำหน้าที่พับกล่อง แยกขนาดเล็กใหญ่แล้วบรรจุลงกล่อง
น้อยหน่าเกรดเอ ผลใหญ่
สำหรับต้นทุนกล่องบรรจุน้อยหน่าสับปะรด มี 2 แบบ แบบแรกส่งขายต่างประเทศจะต้องมีฝาปิดและห้ามใช้ลวดเย็บที่กล่อง ต้องใช้แรงงานคนพับ ส่วนกล่องบรรจุขายในประเทศหรือส่งขายยังตลาดค้าส่งใช้ลวดเย็บได้ ใช้คนน้อยกว่า ช่วงการระบาดของ covid19 วัตถุดิบขาดแคลน กล่องกระดาษปรับราคาสูงขึ้นตลอด กล่องกระดาษที่ส่งขายต่างประเทศตกราคา 42 เหรียญไต้หวัน/ชิ้น กล่องกระดาษขายในประเทศน้ำหนัก 10 ชั่งราคา 28 เหรียญไต้หวัน/ชิ้น หากเป็นกล่องที่สามารถบรรจุน้ำหนัก 20 ชั่งจะมีราคา 32 เหรียญไต้หวัน ถ้าต้องการประหยัดจะต้องสั่งซื้อล็อตใหญ่มากกว่า 10,000 ชิ้นขึ้นไป ส่วนค่าแรงเฉลี่ย 230 เหรียญไต้หวัน/ชั่วโมง แม้ให้ค่าแรงสูงแต่ก็หาแรงงานได้ยากมากๆ และในเรื่องค่าขนส่งน้ำหนัก 10 ชั่งส่งจากเมืองไถตงไปยังผู้บริโภคประมาณ 100 - 130 เหรียญไต้หวัน/กล่อง นายไช่ ผู้รับผิดชอบสถานีบรรจุภัณฑ์ของสมาคมบอกว่า ทางสถานีรับซื้อจากเกษตรกรคิดตามน้ำหนัก เป็นผลไม้เกรดเอที่ไม่มีตำหนิ ผลใหญ่ชั่งละ 35 เหรียญไต้หวัน ขนาดปานกลางชั่งละ 32 เหรียญไต้หวัน แต่ถ้าเป็นเล็กกว่านี้ยังไม่รับซื้อ ส่วนพื้นที่เพาะปลูกน้อยหน่าสับปะรด ก็มีทั้งพื้นที่ขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ถ้าเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ต้นทุนปลูกอยู่ที่ชั่งละ 31.6 เหรียญไต้หวัน พื้นที่เล็ก ต้นทุนก็จะสูงขึ้นเป็นชั่งละ 34.8 เหรียญไต้หวัน เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ไม่ใหญ่มาก ต้องพยายามปลูกให้ได้ผลใหญ่เท่ากับเกรดเอจึงจะเสมอทุน สรุปแล้ว น้อยหน่าสับปะรดลูกใหญ่ที่ขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตลูกละ 80-90 เหรียญไต้หวันถือว่าราคาถูกแล้ว ถ้าเทียบกับปีก่อนๆ ที่ส่งขายจีนแผ่นดินใหญ่เยอะๆ ต้นทุนของเกรดเอจากแหล่งผลิตก็ตกชั่งละ 60 เหรียญไต้หวัน จะซื้อน้อยหน่าลูกหนึ่งก็ประมาณ 200 เหรียญไต้หวันแน่นอน ขณะเป็นโอกาสดีสำหรับคนที่ชื่นชอบกินน้อยหน่าและเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรด้วย
น้อยหน่าเกรดเอ ผลใหญ่ รอบรรจุกล่อง