
Sign up to save your podcasts
Or
จากเดิมที่ชาวประมงดีใจและคาดหวังส่งออกปลาไหลมีชีวิตไปขายญี่ปุ่นได้ราคาดี เพราะว่าไต้หวันจับลูกปลาไหลญี่ปุ่นมีปริมาณเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 ปี แต่แล้วต้องผิดหวังเพราะการระบาดของโควิด 19 ที่ญี่ปุ่นที่ต้องจำกัดเวลาประกอบการของร้านอาหารในประเทศ ทำให้จำนวนของผู้บริโภคนอกบ้านลดลง และอีกประการหนึ่งคือ คนญี่ปุ่นหันไปซื้อปลาไหลแปรรูปสุกมากินเพิ่มขึ้น จึงทำให้ปลาไหลมีชีวิตของไต้หวันส่งออกมีปริมาณลดลงเป็นจำนวนมาก ราคาขายของปลาไหลในบ่อเลี้ยงของไต้หวันลดลงจาก 2 ปีก่อนเป็นจำนวนมาก เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาไหล กรมประมงไต้หวันได้จัดกิจกรรมเชิญชวนประชาชนในประเทศบริโภคปลาไหล ซึ่งนายกัวฉงอิง(郭瓊英) ประธานสมาคมส่งออกปลาไหลและกุ้งของไต้หวันชี้ว่า ร้านอาหารในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เลือกใช้ปลาไหลมีชีวิตทำข้าวหน้าปลาไหล ส่วนซุปเปอร์มาร์เก็ตมักจะซื้อปลาไหลแปรรูป(ปลาไหลย่างซอสสำเร็จรูปบรรจุสุญญากาศ) ซึ่งราคาของปลาไหลทั้งสองชนิดต่างกันมาก
เดือนพ.ย.ของทุกปีเริ่มจับลูกปลาไหลในทะเลธรรมชาติ
ญี่ปุ่นนำเข้าปลาไหลมีชีวิต 5,000-7,000 ตัน/ปี และนำเข้าปลาไหลแปรรูป 15,000 ตัน/ปี ซึ่งปลาไหลมีชีวิตส่วนใหญ่นำเข้าจากไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ โดยปลาไหลมีชีวิตที่นำเข้าล้วนเป็นปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่น แต่ปลาไหลแปรรูปที่นำเข้าจากจีนแผ่นดินใหญ่หลักๆ แล้วเป็นสายพันธุ์อเมริกัน ราคาของลูกปลาไหลสายพันธุ์อเมริกันมีแค่ 1 ใน 10 ของปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่น ปลาไหลตัวเต็มวัยของทั้งสองสายพันธุ์ก็มีราคาต่างกันเป็นครึ่งด้วย นายกัวฉงอิงยังบอกด้วยว่า ญี่ปุ่นนำเข้าปลาไหลแปรรูปเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้บริโภคปลาไหลแปรรูปส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน เพราะว่าราคาถูก อีกประการหนึ่งคือนำไปประกอบอาหารสะดวก แต่ว่าปลาไหลราดซอสในร้านอาหารที่มีราคาสูงกับปลาไหลแปรรูปจะไม่ส่งผลกระทบกัน ปัจจุบันไต้หวันยังคงส่งปลาไหลมีชีวิตไปขายญี่ปุ่นเป็นหลัก แต่ว่าขณะนี้เนื่องจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้ความต้องการปลาไหลมีชีวิตลดลง แต่ปลาไหลแปรรูปกลับมีความต้องการเพิ่มขึ้น
ลูกปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่นที่จับจากทะเลมีขนาดเล็กเท่าเส้นผม
ธุรกิจการเลี้ยงปลาไหลของไต้หวันเคยผ่านความรุ่งเรืองมาช่วงหนึ่ง ปริมาณการเลี้ยง 40,000 ตัน/ปีล้วนส่งขายไปยังญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นกินปลาไหลราดซอส 10 ตัว ในจำนวนนี้มาจากไต้หวัน 6 ตัว แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ธุรกิจการเลี้ยงปลาไหลในจีนแผ่นดินใหญ่ค่อยๆเพิ่มขึ้น ตลาดส่งออกปลาไหลของไต้หวันค่อยๆ ถูกแบ่งสัดส่วน ซึ่งธุรกิจการเลี้ยงปลาไหลต่างจากการเลี้ยงปลาทั่วไปมาก ความแตกต่างที่เห็นเด่นชัดมากที่สุดคือ ความยากลำบากในการควบคุมปริมาณของลูกปลาไหล ศต. คัตสึมิ ซุคาโมโตะ( Katsumi Tsukamoto) แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวชี้ว่า ปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่นวางไข่แถวๆ หมู่เกาะมาเรียนาในมหาสมุทรแปซิฟิก หลังจากที่ฟักเป็นตัวแล้วก็ค่อยๆไหลตามกระแสน้ำศูนย์สูตรเหนือไปยังทะเลแถบฟิลิปปินส์ จากนั้นไหลตามกระแสน้ำญี่ปุ่นหรือกระแสน้ำสีดำมายังทะเลแถบไต้หวัน ญี่ปุ่น จีนแผ่นดินใหญ่ เกาหลี สำหรับธุรกิจการเลี้ยงปลาไหลของไต้หวันนั้นถือว่ามีความเป็นมาหลายสิบปีแล้ว ในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ชาวประมงจะจับลูกปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่นตัวเล็กๆ ใสๆ ราวเส้นผมในท่ามกลางลมหนาว ลูกปลาไหลที่จับได้จะขายในราคาต่อตัว และมีปริมาณน้อยมาก ราคาแพง หลังจากนั้นจะเลี้ยงลูกปลาไหลโตระดับหนึ่ง แล้วค่อยส่งไปขายตลาดร้านอาหารในญี่ปุ่น และจากเดิมที่ถูกมองว่าปลาไหลญี่ปุ่นมีราคาแพง จำนวนน้อย ไม่ควรกินเยอะ แต่ช่วง 2 ปีนี้กลับพบว่า ลูกปลาไหลที่จับได้มีจำนวนมาก จากสถิติของกรมการประมงไต้หวันระบุ ปี 2019-2020 และปี 2020-2021 จับได้ลูกปลาไหลมากกว่า 5 ตัน ถือเป็นปริมาณมากในรอบ 6 ปี กัวฉงอิงบอกว่า ปริมาณลูกปลาไหลที่จับได้ในแต่ละปีมีมากน้อยแค่ไหนยังเป็นปริศนาที่ไม่สามารถอธิบายได้ แต่พบว่าประมาณ 4 ปีก็จะมีปริมาณมากครั้งหนึ่ง และไม่คาดคิดว่าในช่วงที่มีปริมาณลูกปลาไหลจำนวนมาก แต่กลับประสบปัญหาการระบาดของโควิด 19
ปลาไหลจากบ่อเลี้ยง 4 ตัว/กืโลกรัม เป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด
การส่งออกปลาไหลไม่ดี ส่งผลทำให้ราคาของปลาไหลไม่ดีไปด้วย นายสวี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงปลาไหลบอกว่า ภาวะการระบาดของโควิด 19 ในญี่ปุ่นที่ยังไม่คลี่คลาย ทำให้การส่งออกลดลง ราคาปลาไหลจากบ่อของไต้หวันลดลงฮวบมากกว่าครึ่ง ถ้าคำนวณราคาปลาไหล 4 ตัว/น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ราคาจากบ่อปลาโดยทั่วไปกิโลกรัมละกว่า 1,000 เหรียญไต้หวันขึ้นไป ขณะนี้เหลือเพียงกิโลกรัมละ 300 เหรียญไต้หวันก็มี ถือว่าสถานการณ์แย่มากๆ ปลาไหลที่เลี้ยงในบ่อกลางแจ้ง จากลูกปลาเลี้ยงจนถึงตัวเต็มวัยต้องใช้เวลาประมาณ 15 เดือน ถือเป็นปลาไหลใหม่ แต่ถ้าเลี้ยงเกิน 15 เดือนขึ้นไปถือเป็นปลาไหลแก่ ราคาของปลาไหลใหม่กับปลาไหลแก่ต่างกันมาก ความอร่อยก็ไม่เหมือนกัน ปลาไหลใหม่เนื้อละเอียดนุ่ม หนังปลาลื่นมันวาว หากความต้องการตลาดน้อย แน่นอนว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาต้องวิตกกังวล
ข้าวเหนียวหน้าปลาไหล อร่อยๆ
จากเดิมที่ชาวประมงดีใจและคาดหวังส่งออกปลาไหลมีชีวิตไปขายญี่ปุ่นได้ราคาดี เพราะว่าไต้หวันจับลูกปลาไหลญี่ปุ่นมีปริมาณเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 ปี แต่แล้วต้องผิดหวังเพราะการระบาดของโควิด 19 ที่ญี่ปุ่นที่ต้องจำกัดเวลาประกอบการของร้านอาหารในประเทศ ทำให้จำนวนของผู้บริโภคนอกบ้านลดลง และอีกประการหนึ่งคือ คนญี่ปุ่นหันไปซื้อปลาไหลแปรรูปสุกมากินเพิ่มขึ้น จึงทำให้ปลาไหลมีชีวิตของไต้หวันส่งออกมีปริมาณลดลงเป็นจำนวนมาก ราคาขายของปลาไหลในบ่อเลี้ยงของไต้หวันลดลงจาก 2 ปีก่อนเป็นจำนวนมาก เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการและเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงปลาไหล กรมประมงไต้หวันได้จัดกิจกรรมเชิญชวนประชาชนในประเทศบริโภคปลาไหล ซึ่งนายกัวฉงอิง(郭瓊英) ประธานสมาคมส่งออกปลาไหลและกุ้งของไต้หวันชี้ว่า ร้านอาหารในญี่ปุ่นส่วนใหญ่เลือกใช้ปลาไหลมีชีวิตทำข้าวหน้าปลาไหล ส่วนซุปเปอร์มาร์เก็ตมักจะซื้อปลาไหลแปรรูป(ปลาไหลย่างซอสสำเร็จรูปบรรจุสุญญากาศ) ซึ่งราคาของปลาไหลทั้งสองชนิดต่างกันมาก
เดือนพ.ย.ของทุกปีเริ่มจับลูกปลาไหลในทะเลธรรมชาติ
ญี่ปุ่นนำเข้าปลาไหลมีชีวิต 5,000-7,000 ตัน/ปี และนำเข้าปลาไหลแปรรูป 15,000 ตัน/ปี ซึ่งปลาไหลมีชีวิตส่วนใหญ่นำเข้าจากไต้หวันและจีนแผ่นดินใหญ่ โดยปลาไหลมีชีวิตที่นำเข้าล้วนเป็นปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่น แต่ปลาไหลแปรรูปที่นำเข้าจากจีนแผ่นดินใหญ่หลักๆ แล้วเป็นสายพันธุ์อเมริกัน ราคาของลูกปลาไหลสายพันธุ์อเมริกันมีแค่ 1 ใน 10 ของปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่น ปลาไหลตัวเต็มวัยของทั้งสองสายพันธุ์ก็มีราคาต่างกันเป็นครึ่งด้วย นายกัวฉงอิงยังบอกด้วยว่า ญี่ปุ่นนำเข้าปลาไหลแปรรูปเพิ่มขึ้นทุกปี ผู้บริโภคปลาไหลแปรรูปส่วนใหญ่เป็นแม่บ้าน เพราะว่าราคาถูก อีกประการหนึ่งคือนำไปประกอบอาหารสะดวก แต่ว่าปลาไหลราดซอสในร้านอาหารที่มีราคาสูงกับปลาไหลแปรรูปจะไม่ส่งผลกระทบกัน ปัจจุบันไต้หวันยังคงส่งปลาไหลมีชีวิตไปขายญี่ปุ่นเป็นหลัก แต่ว่าขณะนี้เนื่องจากการระบาดของโควิด 19 ทำให้ความต้องการปลาไหลมีชีวิตลดลง แต่ปลาไหลแปรรูปกลับมีความต้องการเพิ่มขึ้น
ลูกปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่นที่จับจากทะเลมีขนาดเล็กเท่าเส้นผม
ธุรกิจการเลี้ยงปลาไหลของไต้หวันเคยผ่านความรุ่งเรืองมาช่วงหนึ่ง ปริมาณการเลี้ยง 40,000 ตัน/ปีล้วนส่งขายไปยังญี่ปุ่น คนญี่ปุ่นกินปลาไหลราดซอส 10 ตัว ในจำนวนนี้มาจากไต้หวัน 6 ตัว แต่อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ธุรกิจการเลี้ยงปลาไหลในจีนแผ่นดินใหญ่ค่อยๆเพิ่มขึ้น ตลาดส่งออกปลาไหลของไต้หวันค่อยๆ ถูกแบ่งสัดส่วน ซึ่งธุรกิจการเลี้ยงปลาไหลต่างจากการเลี้ยงปลาทั่วไปมาก ความแตกต่างที่เห็นเด่นชัดมากที่สุดคือ ความยากลำบากในการควบคุมปริมาณของลูกปลาไหล ศต. คัตสึมิ ซุคาโมโตะ( Katsumi Tsukamoto) แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวชี้ว่า ปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่นวางไข่แถวๆ หมู่เกาะมาเรียนาในมหาสมุทรแปซิฟิก หลังจากที่ฟักเป็นตัวแล้วก็ค่อยๆไหลตามกระแสน้ำศูนย์สูตรเหนือไปยังทะเลแถบฟิลิปปินส์ จากนั้นไหลตามกระแสน้ำญี่ปุ่นหรือกระแสน้ำสีดำมายังทะเลแถบไต้หวัน ญี่ปุ่น จีนแผ่นดินใหญ่ เกาหลี สำหรับธุรกิจการเลี้ยงปลาไหลของไต้หวันนั้นถือว่ามีความเป็นมาหลายสิบปีแล้ว ในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี ชาวประมงจะจับลูกปลาไหลสายพันธุ์ญี่ปุ่นตัวเล็กๆ ใสๆ ราวเส้นผมในท่ามกลางลมหนาว ลูกปลาไหลที่จับได้จะขายในราคาต่อตัว และมีปริมาณน้อยมาก ราคาแพง หลังจากนั้นจะเลี้ยงลูกปลาไหลโตระดับหนึ่ง แล้วค่อยส่งไปขายตลาดร้านอาหารในญี่ปุ่น และจากเดิมที่ถูกมองว่าปลาไหลญี่ปุ่นมีราคาแพง จำนวนน้อย ไม่ควรกินเยอะ แต่ช่วง 2 ปีนี้กลับพบว่า ลูกปลาไหลที่จับได้มีจำนวนมาก จากสถิติของกรมการประมงไต้หวันระบุ ปี 2019-2020 และปี 2020-2021 จับได้ลูกปลาไหลมากกว่า 5 ตัน ถือเป็นปริมาณมากในรอบ 6 ปี กัวฉงอิงบอกว่า ปริมาณลูกปลาไหลที่จับได้ในแต่ละปีมีมากน้อยแค่ไหนยังเป็นปริศนาที่ไม่สามารถอธิบายได้ แต่พบว่าประมาณ 4 ปีก็จะมีปริมาณมากครั้งหนึ่ง และไม่คาดคิดว่าในช่วงที่มีปริมาณลูกปลาไหลจำนวนมาก แต่กลับประสบปัญหาการระบาดของโควิด 19
ปลาไหลจากบ่อเลี้ยง 4 ตัว/กืโลกรัม เป็นที่ต้องการของตลาดมากที่สุด
การส่งออกปลาไหลไม่ดี ส่งผลทำให้ราคาของปลาไหลไม่ดีไปด้วย นายสวี่ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเลี้ยงปลาไหลบอกว่า ภาวะการระบาดของโควิด 19 ในญี่ปุ่นที่ยังไม่คลี่คลาย ทำให้การส่งออกลดลง ราคาปลาไหลจากบ่อของไต้หวันลดลงฮวบมากกว่าครึ่ง ถ้าคำนวณราคาปลาไหล 4 ตัว/น้ำหนัก 1 กิโลกรัม ราคาจากบ่อปลาโดยทั่วไปกิโลกรัมละกว่า 1,000 เหรียญไต้หวันขึ้นไป ขณะนี้เหลือเพียงกิโลกรัมละ 300 เหรียญไต้หวันก็มี ถือว่าสถานการณ์แย่มากๆ ปลาไหลที่เลี้ยงในบ่อกลางแจ้ง จากลูกปลาเลี้ยงจนถึงตัวเต็มวัยต้องใช้เวลาประมาณ 15 เดือน ถือเป็นปลาไหลใหม่ แต่ถ้าเลี้ยงเกิน 15 เดือนขึ้นไปถือเป็นปลาไหลแก่ ราคาของปลาไหลใหม่กับปลาไหลแก่ต่างกันมาก ความอร่อยก็ไม่เหมือนกัน ปลาไหลใหม่เนื้อละเอียดนุ่ม หนังปลาลื่นมันวาว หากความต้องการตลาดน้อย แน่นอนว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงปลาต้องวิตกกังวล
ข้าวเหนียวหน้าปลาไหล อร่อยๆ