ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 11 ต.ค.2565


Listen Later

      เผือกในภาษาจีนเรียกว่า “อวี้โถว芋頭” ภาษาฮกเกี้ยนเรียกว่า “อวี้ไจ่芋仔” ที่ผ่านมา คนไต้หวันมักเรียกชาวจีนที่มาอยู่ในไต้หวันก่อน(เปิ๋นเสิ่งเหริน本省人) ว่า “ฟันสู่番薯ที่แปลว่า หัวมันเทศ” ส่วนชาวจีนที่อพยพมาทีหลัง(ไหว้เสิ่งเหริน外省人)ว่า “อวี้ไจ่ หรือเหล่าโอ๋ว ที่แปลว่า เผือกแก่” แต่ในความเป็นจริงประวัติศาสตร์ที่กล่าวถึงระหว่างมันเทศกับเผือกในไต้หวัน เผือกมีความเป็นมายาวนานกว่า จากหลักฐานการบันทึกตงฟัน(東番記) ที่เขียนโดยเฉินตี้ ยุคราชวงศ์หมิง ได้กล่าวถึงชนพื้นเมืองในไต้หวันมีการรับประทานเผือกกันแล้ว  หวงเสียงอี้(黃祥益) ผู้ช่วยวิจัยสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชสาขาฉีหนานของเขตเกาสงบอกว่า สายพันธุ์เผือกที่ปลูกในไต้หวันได้แก่ เผือกปินหลังซิน(檳榔心芋) เผือกเกาสงหมายเลข 1 (高雄一號) เผือกเมี่ยน(麵芋) ในจำนวนนี้ เผือกปินหลังซิน คุณภาพดี ให้ผลผลิตสูง ได้รับการปลูกในวงกว้าง กลายเป็นพันธุ์หลักที่ปลูกในไต้หวัน แม้เผือกพันธุ์เกาสงหมายเลข 1 พัฒนาจากสายพันธุ์ปินหลังซิน แต่หลังปรับปรุงข้ามสายพันธุ์หลายปี ไม่สามารถแบ่งแยกได้ชัดเจน จึงเรียกรวมๆ ว่าเผือกปินหลังซิน นอกจากนี้ ยังมีเผือกเสี่ยวซานที่ปลูกโดยชนพื้นเมือง รสชาติอร่อย ร่วนซุย เป็นเผือกที่ทนความแห้งแล้งดีกว่า หัวเล็กกว่า

เผือกหัวเล็กก็อร่อย

     ทำไมเผือกหอมสายพันธุ์ปินหลังซิน(檳榔心芋) จึงมีคำว่า ปินหลัง(檳榔)ที่แปลว่าหมากอยู่ด้วย ก็มีการกล่าวกันหลายอย่าง แต่ในครั้งนี้ขออ้างคำอธิบายของบุคคล 2 ท่าน ซึ่งท่านแรกคือ คุณจางซีเหริน(張希仁) ปธ.กรรมการสหกรณ์ผู้ผลิตท้องถิ่นเกาซู่เมืองผิงตงบอกว่า เนื่องจากหัวเผือกที่เจริญอยู่ใต้ดินคล้ายกับลำต้นของหมาก มี 5 ข้อคล้ายกับต้นหมากที่เจริญเติบโต 1 ปี มี 5 ข้อ จึงสันนิษฐานว่าเป็นที่มาของการเรียกชื่อเผือกหอมปินหลังซิน ส่วนเกษตรกรหลินอี้จื๋อ(林義職)ที่ปลูกเผือกหอมออแกนิคเขตต้าเจี่ยของนครไทจงบอกว่า เส้นลายสีม่วงของเนื้อเผือกปินหลังซินคล้ายกับเส้นลายของเมล็ดหมาก จึงเป็นที่มาของการเรียกชื่อเผือกหอมปินหลังซิน

สันนิฐานว่าลายของเนื้อเผือกคล้ายกับเนื้อหมาก จึงเรียกว่า "เผือกปินหลังซิน"

     เผือก เป็นพืชครึ่งบวกครึ่งน้ำ คือขึ้นได้ทั้งในน้ำและบนบก เป็นอาหารที่ให้พลังงาน นำมาประกอบอาหารคาวหวาน เครื่องดื่มได้หลายอย่าง มีคุณค่าทางโภชนาการสูง หวงเสียงอี้บอกว่า เผือกที่ปลูกในน้ำก็คล้ายกับต้นข้าวที่ปลูกในน้ำ เวลาที่ปลูกเผือกต้องแช่อยู่ในน้ำ ส่วนเผือกที่ปลูกบนบกจะไม่มีน้ำขัง เผือกที่ปลูกในน้ำจะให้ผลผลิตสูงกว่าเผือกที่ปลูกในดิน และหัวเผือก 2 ใน 3 จะอยู่เหนือดิน เวลาเก็บเกี่ยวจะประหยัดแรงงานกว่า แต่ต้องระวังเรื่องอุณหภูมิสูง เพราะถ้าอากาศร้อนก็จะคล้ายกับการต้มซุปเผือก ยังติดเชื้อทำให้ลำต้นเน่าง่ายด้วย ดังนั้นในปัจจุบัน การปลูกเผือกในน้ำเมื่อถึงช่วงหลังการเจริญเติบโตจะปล่อยน้ำออก การส่งน้ำเข้าพื้นที่นาเผือกช่วงแรกก็เพื่อให้เผือกโตเร็วขึ้น หลีกเลี่ยงวัชพืชขึ้นเยอะ เมื่อใบเผือกชูขึ้นสูงจะบดบังพื้นที่บนดิน จากนั้นต้องรีบปล่อยน้ำออก เพื่อให้หัวเผือกสะสมอาหารได้เต็มที่ ส่วนแหล่งปลูกเผือกหอมที่สำคัญของไต้หวันอยู่ที่เขตต้าเจี่ยของนครไทจง อากาศและสิ่งแวดล้อมเหมาะ และอีกเขตคือที่ตำบลเกาซู่ตั้งอยู่ในเขตภูเขาต้าอู่ของเมืองผิงตงก็มีชื่อเสียงเช่นกัน

เมื่อต้นเผือกชูใบเต็มที่แล้ว ต้องปล่อยน้ำออกจากนาเผือก

     มีคำถามว่า ทำไมบางครั้งซื้อได้หัวเผือกที่ไม่ร่วนซุย สาเหตุหลักก็คือมีปริมาณน้ำมากเกินไป การปลูกเผือกในช่วงแรกจะต้องมีน้ำขัง แต่หลังจากที่หัวเผือกใกล้เก็บเกี่ยว จะต้องปล่อยน้ำออกจากนาเผือก เพื่อลดปริมาณน้ำ จึงจะทำให้หัวเผือกที่ทานมีความอร่อย ไม่แน่น ร่วนซุย แต่ถ้าช่วงก่อนการเก็บเกี่ยวเผือกเจอฝนตกหนัก หัวเผือกดูดน้ำเยอะ รสชาติเปลี่ยน ดังนั้นหลังปลูกประมาณ 8 เดือน ต้องปล่อยน้ำออกจากนาเผือกหรือจำกัดปริมาณน้ำ เพื่อให้หัวเผือกอยู่ในสภาพจำศีล สะสมอาหารให้เป็นแป้ง ถ้าช่วงนี้เจอฝนตกหนัก หัวเผือกจะงอกรากและแตกใบใหม่ แป้งที่สะสมจะน้อยลง คุณภาพด้อยลง ดังนั้น เวลาที่ซื้อหัวเผือก ให้เลือกหัวอวบเต็ม หรือดูจากสีหรือเนื้อเผือกว่ามีสีขาวปนกับสีม่วง มีความสด และเผือกเป็นพืชหัวเก็บรักษาไว้ได้ไม่นาน ขึ้นราง่าย เก็บไว้อุณหภูมิห้องประมาณ 3 วัน คุณภาพจะเริ่มเปลี่ยน แต่ถ้าแช่เย็นจะเก็บได้นานขึ้น ดังนั้นเมื่อซื้อมาแล้วให้รีบทาน หากต้องเก็บนานให้ปอกเปลือก หั่นชิ้นแล้วแช่ช่องแข็ง เมื่อนำมาใช้จะไม่คลายฟรีซ นำไปประกอบอาหารได้เลย เพราะแป้งในหัวเผือกจะไม่สูญเสียไปกับน้ำ หรือทำให้เผือกนิ่ม กลิ่นหอมน้อยลง อีกวิธีคือนำเผือกที่ปอกเปลือก หั่นชิ้นแล้วไปทอดก่อนแช่แข็ง เวลานำมาใช้ก็จะไม่คลายฟรีซเช่นกัน ดีที่สุดเก็บไว้ช่องฟรีซไม่ควรเกิน 2 เดือน

หั่นเผือกเป็นชิ้นแช๋ช่องแข็ง จะเก็บได้นานขึ้น

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti