
Sign up to save your podcasts
Or
คลิกฟังรายการที่นี่
ปลาบินหรือปลานกกระจอก(飛魚-เฟยอวี๋) ถือเป็นปลาของขวัญที่กระแสน้ำญี่ปุ่นมอบให้กับไต้หวัน เมื่อถึงช่วงอากาศอบอุ่น ทะเลบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของไต้หวันจะเห็นปรากฏการณ์ที่ปลาบินโฉบอยู่เหนือน้ำ ในทุกปีที่ปลาบินแหวกว่ายน้ำมายังแถบทะเลของไต้หวัน และดูเหมือนมันกำลังบินอยู่เหนือน้ำทะเลอย่างโรแมนติก แต่ในความเป็นจริง ปลาบินเหล่านี้บินไม่เป็น แต่มันใช้ครีบอก ครีบท้องร่อนอยู่บนน้ำทะเล วัตถุประสงค์เพื่อหลบหลีกศัตรูที่คอยตามล่า และทุกครั้งที่ร่อนหรือเหินไปในอากาศเหนือน้ำทะเลถือเป็นช่วงเวลาวิกฤตของชีวิต ดั่งสำนวนจีนที่กล่าวว่า “狗急會跳牆” ก็คือเวลาที่สุนัขเจอภาวะวิกฤตมันสามารถกระโดดข้ามกำแพง ถ้าเป็นภาษิตไทยก็คือ “หมาจนตรอกหรือสุนัขจนตรอก” นั่นเอง คือฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางสู้ เช่นเดียวกันปลาบินเมื่อเจอศัตรูมันจะหนีด้วยการร่อนอยู่บนน้ำเหมือนกับกำลังบิน และศัตรูที่ตามล่าปลาบินได้แก่ ปลาอีโต้มอญ ปลาทูน่า ปลากระโทง เป็นต้น
ปลาบินสายพันธุ์ยูนิคัลเลอร์
ปลาบินจะกระจัดกระจายอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทะเลทั่วโลก จากการบันทึกในปัจจุบันมีทั้งหมด 81 ชนิด จำนวนนี้มีประมาณ 26 ชนิดที่เคยปรากฏอยู่ในน่านน้ำของไต้หวัน แต่หลักๆ จับได้ในไต้หวันแล้วมีอยู่ 3 ชนิด คือปลาบินขอบ ปลาบินปีกเหลือง ปลาบินยูนิคคัลเลอร์ ในทุกปีประมาณเดือน เม.ย.-ก.ค.ถือเป็นฤดูกาลของปลาบินในไต้หวัน พื้นที่ที่จับได้ปลาบินจะกระจัดกระจายอยู่ในเขตเหิงชุน และเกาะหลานอวี่ เป็นปลาที่มีเนื้อละเอียด เนื้อแน่น รสชาติอร่อย ร้านอาหารหรือภัตตาคารส่วนใหญ่รับซื้อปลาบินจากเรือประมงโดยตรง ในท้องตลาดจึงเห็นปลาชนิดนี้ขายได้น้อยมาก ส่วนไข่ปลาบินยังถือเป็นอาหารอันโอชะสำหรับนักชิม ตามภัตตาคารหรือร้านอาหารนิยมนำไข่ปลาบินมาประกอบอาหาร นิยมนำมาอัดในกุนเชียง ไข่ปลาในกุนเชียงเวลาเคี้ยวจะมีกลิ่นหอม กรุบๆ เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค หรือนำมาเป็นซูชิ ห่อสาหร่าย ทอดไข่ก็ได้
ปลาบินที่จับได้ในเขตเหิงชุน
ปลาบินยังกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนเกาะหลานอวี่มากมาย ชนพื้นเมืองเผ่าต๋าอู้หรือยามิของไต้หวันจะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาบิน ชาวต๋าอู้จะใช้วงจรชีวิตของปลาบินแบ่งสภาพภูมิอากาศและการดำเนินชีวิต ในทุกปีประมาณเดือนก.พ. มี.ค. ชุมชนใต้สุดของเกาะหลานอวี่จะทำพิธีบวงสรวงการจับปลาบิน จากนั้นชุมชนอื่นก็จะทำพิธีตามมา ปลาบินขอบ ปลาบินปีกเหลือง รวมทั้งปลาบินยูนิคัลเลอร์ เป็นสายพันธุ์ปลาบินที่จับได้ในเกาะหลานอวี่ ปลาบินต่างชนิดจะนำมาปรุงอาหารต่างกัน กลุ่มคนที่รับประทานปลาบินก็ไม่เหมือนกัน อย่างปลาบินขอบเหมาะกับทุกเพศทุกวัย แต่ห้ามนำมาปิ้งย่าง ส่วนปลาบินปีกเหลืองจะไม่นิยมนำมาตากแห้ง ส่วนใหญ่จะทานสด นำมาต้ม ทอด การที่ปลาบินสายพันธุ์ต่างกัน นำมารับประทานต่างกันเพราะเกี่ยวเนื่องกับตำนานเรื่องเล่าของชนเผ่าที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณนั่นเอง
ไข่ปลาบินเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค
เหยียนหมิงสง(顏明雄)สมาชิกมูลนิธิวัฒนธรรมชุมชนหลานอวี่บอกว่า ประมาณเดือนพ.ค. มิ.ย. จะมีพิธีเซ่นไหว้การเก็บรักษาปลาบิน และหยุดทำการจับปลาบิน ทางมูลนิธิจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะหยุดจับปลาบินเมื่อไหร่ แต่ว่าชนพื้นเมืองยังคงบริโภคปลาบินที่จับได้ก่อนหน้านี้และนำมาตากเป็นปลาแห้ง ประมาณกลางเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ จะมีชุมชนหงโถวจัดพิธีสิ้นสุดการรับประทานปลาบิน และเป็นการบ่งบอกว่าฤดูกาลปลาบินสิ้นสุดแล้วด้วย ส่วนชนพื้นเมืองดั้งเดิมจะนำปลาบินที่บริโภคไม่หมด แขวนไว้บนกิ่งไม้นอกบ้านเพื่อให้สุนัขหรือหมูกิน และจะไม่ทิ้งปลาบินโดยพลการ
ปลาบินตากแห้ง
คลิกฟังรายการที่นี่
ปลาบินหรือปลานกกระจอก(飛魚-เฟยอวี๋) ถือเป็นปลาของขวัญที่กระแสน้ำญี่ปุ่นมอบให้กับไต้หวัน เมื่อถึงช่วงอากาศอบอุ่น ทะเลบริเวณทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของไต้หวันจะเห็นปรากฏการณ์ที่ปลาบินโฉบอยู่เหนือน้ำ ในทุกปีที่ปลาบินแหวกว่ายน้ำมายังแถบทะเลของไต้หวัน และดูเหมือนมันกำลังบินอยู่เหนือน้ำทะเลอย่างโรแมนติก แต่ในความเป็นจริง ปลาบินเหล่านี้บินไม่เป็น แต่มันใช้ครีบอก ครีบท้องร่อนอยู่บนน้ำทะเล วัตถุประสงค์เพื่อหลบหลีกศัตรูที่คอยตามล่า และทุกครั้งที่ร่อนหรือเหินไปในอากาศเหนือน้ำทะเลถือเป็นช่วงเวลาวิกฤตของชีวิต ดั่งสำนวนจีนที่กล่าวว่า “狗急會跳牆” ก็คือเวลาที่สุนัขเจอภาวะวิกฤตมันสามารถกระโดดข้ามกำแพง ถ้าเป็นภาษิตไทยก็คือ “หมาจนตรอกหรือสุนัขจนตรอก” นั่นเอง คือฮึดสู้อย่างสุดชีวิตเพราะไม่มีทางสู้ เช่นเดียวกันปลาบินเมื่อเจอศัตรูมันจะหนีด้วยการร่อนอยู่บนน้ำเหมือนกับกำลังบิน และศัตรูที่ตามล่าปลาบินได้แก่ ปลาอีโต้มอญ ปลาทูน่า ปลากระโทง เป็นต้น
ปลาบินสายพันธุ์ยูนิคัลเลอร์
ปลาบินจะกระจัดกระจายอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อนของทะเลทั่วโลก จากการบันทึกในปัจจุบันมีทั้งหมด 81 ชนิด จำนวนนี้มีประมาณ 26 ชนิดที่เคยปรากฏอยู่ในน่านน้ำของไต้หวัน แต่หลักๆ จับได้ในไต้หวันแล้วมีอยู่ 3 ชนิด คือปลาบินขอบ ปลาบินปีกเหลือง ปลาบินยูนิคคัลเลอร์ ในทุกปีประมาณเดือน เม.ย.-ก.ค.ถือเป็นฤดูกาลของปลาบินในไต้หวัน พื้นที่ที่จับได้ปลาบินจะกระจัดกระจายอยู่ในเขตเหิงชุน และเกาะหลานอวี่ เป็นปลาที่มีเนื้อละเอียด เนื้อแน่น รสชาติอร่อย ร้านอาหารหรือภัตตาคารส่วนใหญ่รับซื้อปลาบินจากเรือประมงโดยตรง ในท้องตลาดจึงเห็นปลาชนิดนี้ขายได้น้อยมาก ส่วนไข่ปลาบินยังถือเป็นอาหารอันโอชะสำหรับนักชิม ตามภัตตาคารหรือร้านอาหารนิยมนำไข่ปลาบินมาประกอบอาหาร นิยมนำมาอัดในกุนเชียง ไข่ปลาในกุนเชียงเวลาเคี้ยวจะมีกลิ่นหอม กรุบๆ เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค หรือนำมาเป็นซูชิ ห่อสาหร่าย ทอดไข่ก็ได้
ปลาบินที่จับได้ในเขตเหิงชุน
ปลาบินยังกลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมชนพื้นเมืองที่อาศัยอยู่บนเกาะหลานอวี่มากมาย ชนพื้นเมืองเผ่าต๋าอู้หรือยามิของไต้หวันจะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับปลาบิน ชาวต๋าอู้จะใช้วงจรชีวิตของปลาบินแบ่งสภาพภูมิอากาศและการดำเนินชีวิต ในทุกปีประมาณเดือนก.พ. มี.ค. ชุมชนใต้สุดของเกาะหลานอวี่จะทำพิธีบวงสรวงการจับปลาบิน จากนั้นชุมชนอื่นก็จะทำพิธีตามมา ปลาบินขอบ ปลาบินปีกเหลือง รวมทั้งปลาบินยูนิคัลเลอร์ เป็นสายพันธุ์ปลาบินที่จับได้ในเกาะหลานอวี่ ปลาบินต่างชนิดจะนำมาปรุงอาหารต่างกัน กลุ่มคนที่รับประทานปลาบินก็ไม่เหมือนกัน อย่างปลาบินขอบเหมาะกับทุกเพศทุกวัย แต่ห้ามนำมาปิ้งย่าง ส่วนปลาบินปีกเหลืองจะไม่นิยมนำมาตากแห้ง ส่วนใหญ่จะทานสด นำมาต้ม ทอด การที่ปลาบินสายพันธุ์ต่างกัน นำมารับประทานต่างกันเพราะเกี่ยวเนื่องกับตำนานเรื่องเล่าของชนเผ่าที่มีมาตั้งแต่สมัยโบราณนั่นเอง
ไข่ปลาบินเป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค
เหยียนหมิงสง(顏明雄)สมาชิกมูลนิธิวัฒนธรรมชุมชนหลานอวี่บอกว่า ประมาณเดือนพ.ค. มิ.ย. จะมีพิธีเซ่นไหว้การเก็บรักษาปลาบิน และหยุดทำการจับปลาบิน ทางมูลนิธิจะเป็นผู้ตัดสินว่าจะหยุดจับปลาบินเมื่อไหร่ แต่ว่าชนพื้นเมืองยังคงบริโภคปลาบินที่จับได้ก่อนหน้านี้และนำมาตากเป็นปลาแห้ง ประมาณกลางเดือน 8 ตามปฏิทินจันทรคติ จะมีชุมชนหงโถวจัดพิธีสิ้นสุดการรับประทานปลาบิน และเป็นการบ่งบอกว่าฤดูกาลปลาบินสิ้นสุดแล้วด้วย ส่วนชนพื้นเมืองดั้งเดิมจะนำปลาบินที่บริโภคไม่หมด แขวนไว้บนกิ่งไม้นอกบ้านเพื่อให้สุนัขหรือหมูกิน และจะไม่ทิ้งปลาบินโดยพลการ
ปลาบินตากแห้ง