
Sign up to save your podcasts
Or
ไม่กี่ปีนี้ ชาวไต้หวันนิยมบริโภคบลูเบอร์รี่มากขึ้น ก่อนที่จะมีแบรนด์ "ซานชิวหลัน山丘藍" เกษตรกรในไต้หวันจำนวนไม่น้อยหันมาปลูกบลูเบอร์รี่มาหลายปีแล้ว แต่สำหรับ "ซานชิวหลัน山丘藍" ได้สร้างชื่อเสียงในฐานะ "บลูเบอร์รี่ในประเทศ" มีการจัดตั้งบริษัทผู้ผลิตเอง(自己種有限公司- ZI JI ZHONG LIMITED)” มีการลงทุนจำนวนเงินมหาศาล ทั้งด้านการเพาะปลูก และการตลาด มีพื้นที่เพาะปลูกมีมากถึง 30 เฮกตาร์(187.5 ไร่)
บลูเบอร์รี่ที่ปลูกในไต้หวันมีความสด อร่อย
เซวียตงโตว(薛東都) ผู้จัดการร้านสะดวกซื้อ FamilyMart บอกว่า FamilyMart ซื้อสินค้าเกษตรมากกว่า 1,000 ตันต่อปี โดย 80% เป็นวัตถุดิบจากไต้หวันเอง ความร่วมมือในปีนี้กับซานชิวหลัน(山丘藍) ไม่เพียงแต่จำหน่ายบลูเบอร์รี่สดบรรจุกล่องน้ำหนัก 70 กรัม ในร้านสะดวกซื้อ FamilyMart เท่านั้น ผู้บริโภคยังสามารถสั่งซื้อกล่องของขวัญบลูเบอร์รี่ผ่าน APP ของ FamilyMart ได้อีกด้วย นอกจากนี้ FamilyMart ยังคาดว่าจะเปิดตัวไอศกรีมรสบลูเบอร์รี่ในเดือนเมษายนอีกด้วย
บลูเบอร์รี่สดที่วางขายในแฟมิลี่มาร์ท
ไช่อี๋หลิง(蔡宜玲) ประธานกรรมการบริษัทจื้อจี่โจ้ง(自己種有限公司) บอกว่าหลังฤดูการผลิตของปีที่แล้ว ฟาร์มแห่งนี้เผชิญกับภัยคุกคามจากน้ำท่วมและแมลงศัตรูพืช หลังบูรณะและปรับปรุง มีการเพิ่มตาข่ายกันแมลง เลี้ยงนกอินทรีไล่นก เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการผลิตและสิ่งแวดล้อม คาดว่าปริมาณบลูเบอร์รี่ที่มีคุณภาพดีในปีนี้จะดีกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม มีหลายคนสงสัยว่าเงินทุนและที่ดินที่ใช้ปลูกมาจากไหน? คุณไช่อี๋หลิง ปธ.บริษัทฯบอกว่า สมาชิกในทีมทั้งหมดเป็นลูกหลานจากครอบครัวเกษตรในไต้หวัน แต่ว่าไปทำงานต่างประเทศเป็นเวลานาน เนื่องจากพวกเขาต้องการลงทุนในไต้หวัน จึงเลือกด้านการเกษตร เพื่อต้องการตอบแทนแผ่นดิน คนที่มีเงินก็ร่วมเงิน คนที่มีแรงก็ร่วมแรง มาจากจุดเริ่มต้นง่ายๆ คิดเพียงต้องการปลูกบลูเบอร์รี่ให้ดี แต่มีผู้คนบนอินเทอร์เน็ตบางส่วนกล่าวอ้างว่า ซานชิวหลัน山丘藍 มีเงินทุนของจีนเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็ได้ชี้แจงข่าวลือที่เผยแพร่แล้ว
บลูเบอร์รี่สดที่วางขายในเซเว่น อีเล่เว่น
ทั้งนี้ ไต้หวันมีการนำเข้าบลูเบอร์รี่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 4 เมตริกตันเมื่อ 20 กว่าปีก่อน จนกระทั่งปัจจุบัน มีการนำเข้าเกือบ 3,000 เมตริกตัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไต้หวันชอบบริโภคบลูเบอร์รี่มาก ถ้าไต้หวันปลูกได้ก็จะเป็นโอกาสดีไม่น้อยเลยทีเดียว แม้ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกบลูเบอร์รี่รายย่อยจำนวนมากในไต้หวัน แต่พื้นที่ขนาดเล็กและมีฐานลูกค้าของตนเอง แต่ถ้ามีการปลูกในปริมาณมากและเปิดตลาดให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่าเป็นบลูเบอร์รี่ปลูกในไต้หวันก็ยิ่งดี
สายพันธุ์บลูเบอร์รี่
หลินอี๋อิ้ว(林宣佑) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยจงซิง ชี้ว่า "บลูเบอร์รี่ไต้หวันมีศักยภาพที่จะปลูกได้ในพื้นที่มากถึง 100 เฮกตาร์ " เพราะมองว่าไต้หวันมีการนำเข้าบลูเบอร์รี่เพิ่มขึ้นเรื่อยมา แสดงให้เห็นว่าเป็นผลไม้ที่คนไต้หวันนิยมชมชอบ ปัจจุบัน หากยกเว้นซานชิวหลัน( 山丘藍) ที่เหลือล้วนเป็นเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก มีรูปแบบธุรกิจของตัวเอง จะใช้อีคอมเมิร์ซหรือขายเอง หรือเป็นฟาร์มเกษตรที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเก็บผล ลักษณะการปลูกแบบนี้ล้วนเป็นโอกาสทั้งนั้น
ไม่กี่ปีนี้ ชาวไต้หวันนิยมบริโภคบลูเบอร์รี่มากขึ้น ก่อนที่จะมีแบรนด์ "ซานชิวหลัน山丘藍" เกษตรกรในไต้หวันจำนวนไม่น้อยหันมาปลูกบลูเบอร์รี่มาหลายปีแล้ว แต่สำหรับ "ซานชิวหลัน山丘藍" ได้สร้างชื่อเสียงในฐานะ "บลูเบอร์รี่ในประเทศ" มีการจัดตั้งบริษัทผู้ผลิตเอง(自己種有限公司- ZI JI ZHONG LIMITED)” มีการลงทุนจำนวนเงินมหาศาล ทั้งด้านการเพาะปลูก และการตลาด มีพื้นที่เพาะปลูกมีมากถึง 30 เฮกตาร์(187.5 ไร่)
บลูเบอร์รี่ที่ปลูกในไต้หวันมีความสด อร่อย
เซวียตงโตว(薛東都) ผู้จัดการร้านสะดวกซื้อ FamilyMart บอกว่า FamilyMart ซื้อสินค้าเกษตรมากกว่า 1,000 ตันต่อปี โดย 80% เป็นวัตถุดิบจากไต้หวันเอง ความร่วมมือในปีนี้กับซานชิวหลัน(山丘藍) ไม่เพียงแต่จำหน่ายบลูเบอร์รี่สดบรรจุกล่องน้ำหนัก 70 กรัม ในร้านสะดวกซื้อ FamilyMart เท่านั้น ผู้บริโภคยังสามารถสั่งซื้อกล่องของขวัญบลูเบอร์รี่ผ่าน APP ของ FamilyMart ได้อีกด้วย นอกจากนี้ FamilyMart ยังคาดว่าจะเปิดตัวไอศกรีมรสบลูเบอร์รี่ในเดือนเมษายนอีกด้วย
บลูเบอร์รี่สดที่วางขายในแฟมิลี่มาร์ท
ไช่อี๋หลิง(蔡宜玲) ประธานกรรมการบริษัทจื้อจี่โจ้ง(自己種有限公司) บอกว่าหลังฤดูการผลิตของปีที่แล้ว ฟาร์มแห่งนี้เผชิญกับภัยคุกคามจากน้ำท่วมและแมลงศัตรูพืช หลังบูรณะและปรับปรุง มีการเพิ่มตาข่ายกันแมลง เลี้ยงนกอินทรีไล่นก เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างการผลิตและสิ่งแวดล้อม คาดว่าปริมาณบลูเบอร์รี่ที่มีคุณภาพดีในปีนี้จะดีกว่าปีที่แล้ว อย่างไรก็ตาม มีหลายคนสงสัยว่าเงินทุนและที่ดินที่ใช้ปลูกมาจากไหน? คุณไช่อี๋หลิง ปธ.บริษัทฯบอกว่า สมาชิกในทีมทั้งหมดเป็นลูกหลานจากครอบครัวเกษตรในไต้หวัน แต่ว่าไปทำงานต่างประเทศเป็นเวลานาน เนื่องจากพวกเขาต้องการลงทุนในไต้หวัน จึงเลือกด้านการเกษตร เพื่อต้องการตอบแทนแผ่นดิน คนที่มีเงินก็ร่วมเงิน คนที่มีแรงก็ร่วมแรง มาจากจุดเริ่มต้นง่ายๆ คิดเพียงต้องการปลูกบลูเบอร์รี่ให้ดี แต่มีผู้คนบนอินเทอร์เน็ตบางส่วนกล่าวอ้างว่า ซานชิวหลัน山丘藍 มีเงินทุนของจีนเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่ก็ได้ชี้แจงข่าวลือที่เผยแพร่แล้ว
บลูเบอร์รี่สดที่วางขายในเซเว่น อีเล่เว่น
ทั้งนี้ ไต้หวันมีการนำเข้าบลูเบอร์รี่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จาก 4 เมตริกตันเมื่อ 20 กว่าปีก่อน จนกระทั่งปัจจุบัน มีการนำเข้าเกือบ 3,000 เมตริกตัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนไต้หวันชอบบริโภคบลูเบอร์รี่มาก ถ้าไต้หวันปลูกได้ก็จะเป็นโอกาสดีไม่น้อยเลยทีเดียว แม้ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกบลูเบอร์รี่รายย่อยจำนวนมากในไต้หวัน แต่พื้นที่ขนาดเล็กและมีฐานลูกค้าของตนเอง แต่ถ้ามีการปลูกในปริมาณมากและเปิดตลาดให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางว่าเป็นบลูเบอร์รี่ปลูกในไต้หวันก็ยิ่งดี
สายพันธุ์บลูเบอร์รี่
หลินอี๋อิ้ว(林宣佑) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภาควิชาพืชสวน มหาวิทยาลัยจงซิง ชี้ว่า "บลูเบอร์รี่ไต้หวันมีศักยภาพที่จะปลูกได้ในพื้นที่มากถึง 100 เฮกตาร์ " เพราะมองว่าไต้หวันมีการนำเข้าบลูเบอร์รี่เพิ่มขึ้นเรื่อยมา แสดงให้เห็นว่าเป็นผลไม้ที่คนไต้หวันนิยมชมชอบ ปัจจุบัน หากยกเว้นซานชิวหลัน( 山丘藍) ที่เหลือล้วนเป็นเกษตรกรรายย่อยที่ปลูกในพื้นที่ขนาดเล็ก มีรูปแบบธุรกิจของตัวเอง จะใช้อีคอมเมิร์ซหรือขายเอง หรือเป็นฟาร์มเกษตรที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเข้าไปเก็บผล ลักษณะการปลูกแบบนี้ล้วนเป็นโอกาสทั้งนั้น