ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 12 พ.ย.2567


Listen Later

   ไต้หวันมีสภาพอากาศชื้นและร้อน ทำให้มีโรคและแมลงศัตรูพืชที่มองไม่เห็นซ่อนอยู่ในดิน ซึ่งยากต่อการกำจัด เพื่อช่วยลดอุปสรรคในการทำงานของเกษตรกร สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไถนาน ได้พัฒนาเครื่องฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำในดินแบบเคลื่อนที่ได้ และสามารถทำงานได้โดยคนเพียงคนเดียว ทำให้ช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้มากกว่า 20% เกษตรกรที่เข้าร่วมการทดลองพบว่าเครื่องฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำรุ่นใหม่ช่วยเพิ่มผลผลิตของเมลอนได้ 20% - 30% และใช้งานได้สะดวก 

ปลูกเมลอนญี่ปุ่นต้องเผชิญกับโรคและแมลงศัตรูพืชที่มองไม่เห็นที่ซ่อนอยู่ในดินหลังการปลูกซ้ำ

   อู๋ซื่อเอี้ยน(吳世彥) ประธานสมาคมเกษตรแม่นยำเมืองเจียอี้ กล่าวว่า เมลอนญี่ปุ่นมีลายตาข่ายสวยงามและเนื้อหวานอร่อย มักเป็นผลไม้ที่ใช้ในการมอบเป็นของขวัญ สำหรับเกษตรกรถือเป็นพืชเศรษฐกิจสูง แต่มีอุปสรรคในการเพาะปลูกและความยากลำบากในการปลูก เมลอนญี่ปุ่นมักปลูกในเรือนกระจก ซึ่งสามารถปลูกได้ปีละสองครั้ง แต่เกษตรกรหลายคนต้องเผชิญกับปัญหาการปลูกซ้ำ โดยเฉพาะเมื่อต้องปลูกเมลอนญี่ปุ่นที่มาจากญี่ปุ่นซึ่งมีแนวโน้มเกิดโรคและแมลงศัตรูพืชมากขึ้น เนื่องจากเมลอนพันธุ์ญี่ปุ่นถูกพัฒนาขึ้นเพื่อปลูกในญี่ปุ่น แต่สภาพอากาศในไต้หวันและญี่ปุ่นนั้นแตกต่างกัน ญี่ปุ่นมีอากาศแห้ง ในขณะที่ไต้หวันมีอุณหภูมิสูงและชื้น ทำให้มีโอกาสเกิดโรคและแมลงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง "โรคที่เกิดจากดิน" เช่น แมลงหวี่ขาว ไส้เดือนฝอย และเชื้อโรคที่ทำให้เกิดโรคเน่าโคน ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้เกษตรกรปวดหัว เนื่องจากเชื้อโรคเหล่านี้กำจัดได้ยาก เมื่อเกิดโรคขึ้นแล้ว มักมีสารเคมีเพียงตัวเดียวที่สามารถใช้ได้ ซึ่งไม่สามารถรักษาโรคได้ในทันที ทำให้เกิดความสูญเสียอย่างมาก

   เพื่อช่วยลดอัตราการเกิดโรค เกษตรกรจะทำการทำความสะอาดสวนหลังการเก็บเกี่ยว นายอู๋ซื่อเอี้ยน สังเกตเห็นว่าเกษตรกรหลายคนเลือกที่จะทำการทำความสะอาดสวนในเรือนกระจกด้วยการใช้น้ำท่วมขัง แต่กระบวนการนี้ใช้เวลานานประมาณหนึ่งเดือน หวังรุ่ยจาง(黃瑞彰) หัวหน้าสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไถหนาน บอกว่า เกษตรกรจะลองวิธีการต่าง ๆ โดยมีเกษตรกรบางคนพบว่า การปลูกข้าวในเรือนกระจกมีประสิทธิภาพดีที่สุดในการทำความสะอาดสวน แต่ต้องใช้เวลานาน เกษตรกรส่วนใหญ่รอไม่ไหว" จึงต้องการวิธีที่ใช้เวลาน้อยกว่านี้

หลินชุนเซิง ปลูกผักบุ้งออร์แกนิกในโรงเรือนใช้การฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำช่วยแก้ปัญหาการปลูกซ้ำได้

   จากข้อมูลของสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรไถหนานยังระบุว่า สำหรับพืชเศรษฐกิจที่ปลูกในอาคาร หากต้องการให้ดินและวัสดุเพาะปลูกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ การฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำถือเป็นวิธีการที่ขาดไม่ได้ ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วในด้านการเกษตร เช่น เนเธอร์แลนด์ มักใช้วิธีการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ โดยข้อมูลของสถาบันวิจัยสารเคมีเกษตร(Agricultural Chemicals Research Institute)ระบุว่า เงื่อนไขที่ดีที่สุดสำหรับการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำคือการใช้ความร้อนที่ 60°C ถึง 80°C เป็นเวลา 30 นาที การฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำจะทำให้โปรตีนในเซลล์ชีวภาพเกิดการแข็งตัวและทำให้เอนไซม์ไม่สามารถทำงานได้ ส่งผลให้สามารถควบคุมปัญหาโรค แมลงศัตรูพืชใต้ดิน และวัชพืชได้ และยังช่วยลดการใช้สารเคมีในการเกษตร

   ในไต้หวันมีเกษตรกรเริ่มใช้การฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำในดินแล้ว นายหลินชุนเซิง(林春生) เกษตรตรจากตำบลชื่อโถง เมืองหยุนหลิน ปลูกผักบุ้งออร์แกนิกในโรงเรือน มีผลผลิตอย่างต่อเนื่องตลอดทั้งปี โดยมีการปลูกประมาณ 14 รอบต่อปี เขาเปิดเผยว่าการปลูกผักบุ้งในฤดูหนาวในไต้หวันนั้นค่อนข้างยาก แต่การใช้การฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำช่วยแก้ปัญหาการปลูกซ้ำได้ โดยเกษตรกรไม่จำเป็นต้องใช้สารเคมีในการเกษตร และไม่มีการแข่งขันจากวัชพืชในการแย่งชิงสารอาหาร ซึ่งช่วยให้สามารถประหยัดปุ๋ยได้ 30% ถึง 50% และผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้สามารถมีอัตราความสำเร็จถึง 100%
   วิธีการฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำที่มีระบบขับเคลื่อนด้วยตนเองนั้นสามารถทำให้ผู้เดียวทำงานได้และมีต้นทุนต่ำกว่าวิธีทั่วไปที่ใช้ในประเทศ ซึ่งมักต้องใช้คนจำนวนมาก ในการวิจัยของสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรไถนนาน นายหยางชิงฟู่(楊清富) ผู้ช่วยวิจัยกล่าวว่า วิธีทั่วไปที่ใช้ดีเซลในการเผาเตาและส่งไอน้ำความดันสูงไปยังแปลงเพาะปลูกนั้น สามารถจัดการพื้นที่ใหญ่ได้ถึง 200 ตารางเมตรในครั้งเดียว แต่ต้องใช้แรงงานถึง 5-6 คนในการทำงาน และค่าใช้จ่ายสูงมาก โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 40,000-80,000 เหรียญไต้หวันต่อ 969 ตร.เมตร ซึ่งถือว่าเป็นต้นทุนที่สูงสำหรับเกษตรกร
 

ใช้เครื่องฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำในดิน ปลูกดอกไลเซนทรัสในที่ซ้ำได้สวยงาม

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti