ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 12 ธ.ค.2566


Listen Later

   ผักกาดหอมมาจากไหน? จากการบันทึกระบุ เมื่อ 4,500 ปีก่อนคริสตกาลก็เริ่มมีผักกาดหอมแล้ว และคาดว่ามีต้นกำเนิดมาจากเอเชียตะวันออก รวมทั้งชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในช่วงแรกๆ มีการใช้เมล็ดผักกาดหอมผลิตเป็นน้ำมันเท่านั้น หลังผ่านไป 600 ปี ชาวเปอร์เซียก็เริ่มกินใบผักกาดหอม ต่อชาวกรีกและโรมันไม่เพียงแต่กินผักกาดหอมเท่านั้นแต่ยังใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์ด้วย ส่วนชาวอียิปต์ถึงกับนำผักกาดหอมมาเซ่นไหว้เทพเจ้าด้วย ซึ่งการนำความอร่อยของผักกาดหอมเผยแพร่ไปทั่วโลกนั้น เล่ากันว่าในศตวรรษที่ 16 เจ้าหญิงแคทเธอรีน ชาวสเปน เป็นคนแรกที่นำเมล็ดผักกาดหอมไปยังอังกฤษ และโคลัมบัสนำผักกาดหอมไปยังอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ส่วนผักกาดหอมในไต้หวันนั้นก็มาจากจีน นำเข้ามาบริโภคตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง

ผักกาดแก้ว

   ผักกาดหอมมีกี่ประเภท? ถ้าแบ่งตามส่วนของการนำมากิน ผักกาดหอมสามารถแบ่งออกเป็นผักกาดหอมก้านและผักกาดหอมใบ นอกจากนี้ ผักกาดหอมใบยังแบ่งได้อีก 2 ประเภทคือ ผักกาดหอมแบบกลม(ห่อเป็นหัว)และไม่กลม(ไม่ห่อเป็นหัว) โดยผักกาดหอมใบพบเห็นได้ทั่วโลก เซี่ยหมิงเสี้ยน(謝明憲) นักวิจัยสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไถหนาน บอกว่าเนื่องจากความแตกต่างในการวิวัฒนาการ ช่วงแรกเป็นผักกาดหอมแบบไม่ห่อก่อน ต่อมาค่อยๆ พัฒนาเป็นผักกาดหอมห่อ ผักกาดหอมใบ และมีทั้งใบแหลม ใบกลม ใบดาบ ใบตั้งตรง ใบหยิก และมีหลากสี มีทั้งใบสีอ่อน สีเข้ม เขียวมรกต สีออกดำ หรือแดง หลี่อาเจียว(李阿嬌) นักวิจัยสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตเถาหยวน บอกว่า ในบรรดาผักกาดหอมใบ คนจีนนิยมรับประทานกันมากที่สุดคือ ผักที่เรียกว่า ผัก A(A菜) ส่วนตัวแทนคลาสสิกของผักกาดหอมแบบห่อ คือผักกาดแก้วแบบอเมริกัน พบมากที่สุดในแฮมเบอร์เกอร์ ในขณะที่ผักกาดหอมฝูซานอยู่ระหว่างห่อหัวกับไม่ห่อหัว

ผักกาดหอมก้าน

    ผักกาดหอมก้านหรือที่รู้จักกันในชื่อผักกาดหอมก้านอ่อน คนไต้หวันเรียกว่า "ก้านผัก菜心" ได้รับการพัฒนาขึ้นหลังจากเผยแพร่เข้าสู่จีนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 5 ซึ่งส่วนที่กินได้คือก้าน ในปี 1938 สหรัฐอเมริกาได้นำก้านผักกาดมาจากจีน เนื่องจากมีความกรอบคล้ายขึ้นฉ่าย จึงมีการพัฒนารวมกัน เรียกว่า Celtuce หรือผักกาดหอมต้น โดยพื้นฐานแล้วผักกาดหอมต้นเป็นผักกาดชนิดหนึ่ง ผักกาดหอมต้นสายพันธู์นี้ ใช้ลำต้นและปรุงสุกแทนกินสด ที่จริงแล้วใบของผักกาดหอมต้นก็สามารถนำมากินได้เช่นกัน แต่เนื่องด้วยใบเหี่ยวง่ายกว่าจะมาถึงผู้บริโภคจึงไม่นิยมกิน

ผักกาดหอมใบห่อบางส่วน

   หากจะถามว่าคนไต้หวันเริ่มกินผักกาดหอมเมื่อไหร่? ผักกาดหอมมีจำหน่ายในไต้หวันในสมัยราชวงศ์ชิง แต่คนในยุคนั้นไม่ถือว่าผักกาดหอมเป็นผัก แต่นำมาให้ห่านกิน  เซี่ยหมิงเสี้ยน(謝明憲) นักวิจัยสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไถหนาน อธิบายว่า ผักกาดหอมในภาษาไต้หวันเรียกว่า "ผักห่าน鵝仔菜" ซึ่งหมายถึงผักที่ห่านกิน แต่ก็มีการกล่าวอีกแบบ คือ ถ้าหักก้านผักกาดหอมจะมีน้ำสีขาวขุ่นออกมา ห่านก็ชอบเลียน้ำนี้มาก จนกระทั่งมีการนำเข้าพันธุ์ผักกาดหอมในช่วงยุคอาณานิคมของญี่ปุ่น ชาวไต้หวันจึงเริ่มกินผักกาดหอม โดยเริ่มแรกใช้เป็นอาหาร หลินจ้าวเหนิง(林照能) ผู้ช่วยวิจัยจากสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรสาขาเฟิ่งชาน นครเกาสง กล่าวว่า ในช่วงทศวรรษ 1970 ผักกาดหอมใบแหลม ผักกาดหอมใบกลม เริ่มนำมาผัดกิน แนวโน้มกินผักสดเริ่มต้นประมาณปี 2000 แต่หลักๆ แล้วส่งขายประเทศญี่ปุ่น และขายให้กับร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดในประเทศ นอกจากนี้ ในเวลาต่อมามีร้านอาหารตะวันตกเกิดขึ้นทั่วประเทศ ผักกาดหอมจึงนำมาใช้ในอาหารสลัดมากขึ้น

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti