ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 13 ก.พ. 2567


Listen Later

   ปลาเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่ง มีกินมีใช้ ในภาษาจีน ปลา(อวี๋-魚)ออกเสียงเหมือนกับ 余อวี๋ ซึ่งแปลว่า ส่วนเหลือหรือส่วนเกิน คำอวยพรตรุษจีน  年年有余(เหนียนเหนียนโหย่วอวี๋) จึงแปลว่า เหลือกินเหลือเก็บเหลือใช้ตลอดปี หากบ้านไหนไม่ได้ซื้อปลาทั้งตัวมารับประทานในช่วงตรุษจีน ก็สามารถซื้อปลาอินทรีบั้งหั่นชิ้นนำมาทอดหรือเจี๋ยนก็ได้ เนื่องจากปลาอินทรีบั้งตัวใหญ่ๆ ซื้อทั้งตัวจะราคาแพงและปลาก็มีขนาดใหญ่ จึงนิยมรับประทานในรูปแบบปลาอินทรีชิ้นก็ถือว่าเป็นอาหารเลิศรสได้

ปลาอินทรีบั้งสดหั่นชิ้นขาย

   จากการบันทึกระบุว่า ในยุคที่เนเธอแลนด์ปกครองไต้หวัน ชาวจีนในสมัยนั้นจะไปจับปลาอินทรีบั้งแถบน่านน้ำเมืองไถหนานและเผิงหูในช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ และนิยมนำมารับประทานในช่วงเทศกาลตรุษจีนด้วย โดยนักวิชาการได้ตรวจสอบก็พบว่า ปลาอินทรีบั้ง ในภาษาจีนจะออกเสียงว่า "ถู่ทัว-土魠" โดยคำว่า ถู่ทัว คำนี้น่าจะเป็นคำที่มาจากภาษาโปรตุเกส ส่วนอาหารว่างซุปปลาอินทรีน้ำแดง(土魠魚羹) ที่คนไต้หวันนิยมรับประทานในปัจจุบัน น่าจะเป็นอาหารที่มาจากยุโรป สันนิฐานว่าเป็นอาหารว่างของกะลาสีเรือชาวยุโรปที่ออกเรือหาปลาในทะเล

   สมัยก่อนเมื่อถึงช่วงฤดูหนาวและฤดูใบไม้ผลิ บริเวณชายฝั่งของเมืองหยุนหลินและเจียอี้มักจะตากไข่ปลากระบอกไว้ที่หน้าบ้าน แต่ในพื้นที่อื่นๆ เช่น เขตอันผิง ชีกู่ เจียงจวีน และเป่ยเหมิน ในนครไถหนาน ปลาที่ตากแห้งอยู่หน้าบ้านกลับเป็นปลาอินทรีบั้งที่หั่นเป็นชิ้นๆ ซึ่งทิวทัศน์ที่เห็นแบบนี้ล้วนแสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของผู้ที่อาศัยอยู่ตามแนวชายฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ ปลาอินทรีบั้งนอกจากจะอุดมไปด้วยน้ำมันและไขมันแล้ว ยังเป็นปลาราคาค่อนข้างแพง เพราะฉะนั้นจึงกลายเป็นหนึ่งในอาหารเลิศรสของคนท้องถิ่นทางภาคใต้ไต้หวันอีกด้วย

ปลาอินทรีบั้งทอด กรอบนอกนุ่มใน รสชาติคล้ายกินหอยเชลล์

   หวงซิ่วเจิน(黃秀蓁) ผู้ประกอบการประมงในนครไถหนาน บอกว่าชื่อของปลาอินทรีบั้งในภาษาจีนมีคำว่า "ชุน-鰆" อยู่ด้วย ซึ่งแฝงด้วยความหมายโชคดี เพราะฉะนั้นจึงค่อยๆ กลายมาเป็นอาหารตรุษจีนของคนที่อาศัยอยู่ในไถหนาน โดยในยุคก่อนนิยมแล่เนื้อปลาอินทรีบั้งเป็นชิ้น จากนั้นทาเกลือบางๆ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง 2-3 ชั่วโมง วัตถุประสงค์เพื่อเก็บรักษาปลาให้นานขึ้น และปลาที่ตากแห้งแล้วเมื่อนำมาปรุงอาหารจะมีกลิ่นหอมอันเป็นเอกลักษณ์อีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนำไปทอดจนหนังกรอบ ส่งกลิ่นหอม เนื้อปลาก็จะมีความนุ่ม กรอบนอก นุ่มใน กินแล้วเหมือนกินหอยเชลล์

ซุปปลาอินทรีน้ำแดง อาหารว่างขึ้นชื่อของไต้หวัน

    องเจียอิน(翁佳音) ผู้ช่วยศาสตราจารย์สถาบันประวัติศาสตร์ไต้หวัน มหาวิทยาลัยแห่งชาติเจิ้งจื้อที่ศึกษาประวัติศาสตร์ในยุคที่เนเธอแลนด์ปกครองไต้หวัน พบว่า ในยุคที่เนเธอแลนด์ปกครองไต้หวัน รัฐบาลเนเธอแลนด์สังเกตเห็นว่า ปลาอินทรีบั้ง (Koningsvis) ที่ชาวจีนจับได้นอกชายฝั่งไถหนานมักถูกขายไปที่ชายฝั่งของประเทศจีน ดังนั้นจึงได้กำหนดกฎระเบียบเร่งด่วนด้วยการจัดเก็บภาษี โดยปลาอินทรีบั้งที่ขายไปที่จีนจะต้องเสียภาษี 0.025 ตำลึงต่อตัว (แปลงตามมูลค่าปัจจุบันของ 1 ตำลึง ประมาณ 3,000 ถึง 4,000 เหรียญไต้หวัน ซึ่งปลาอินทรีที่ต้องเสียภาษี 0.025 ตำลึงต่อตัว ก็จะประมาณ 75 - 100 เหรียญไต้หวัน) เพราะฉะนั้นในแต่ละวันขายปลาได้กี่ตัว เจ้าหน้าที่จะต้องจดบันทึกลงในเอกสารราชการอย่างซื่อสัตย์ แล้วรายงานต่อสำนักงานใหญ่ของบริษัทอินเดียตะวันออกของเนเธอแลนด์ในเมืองปัตตาเวีย ประเทศอินโดนีเซียด้วย

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti