
Sign up to save your podcasts
Or
มะม่วงเป็นตัวแทนผลไม้หน้าร้อนของไต้หวันก็ว่าได้ พอถึงช่วงหน้าร้อน ร้านหรือแผงขายผลไม้ก็จะเห็นมะม่วงวางขายมากมายและมีหลากหลายสายพันธุ์ด้วย ยิ่งในปีนี้เกิดการระบาดในไต้หวันที่มีมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวด ทำให้ราคาของมะม่วงถูกกว่าปีอื่นๆ มะม่วงที่พบเห็นบ่อย ได้แก่ มะม่วงพื้นเมือง อ้ายเหวิน จินหวง อวี้เหวิน เซี่ยเสวี่ย หงหลง เฮยเซียง ไข่เท่อ เฮเดน.....ที่ทยอยออกมาขายในท้องตลาดอย่างต่อเนื่อง แม้มะม่วงไม่ใช่เป็นผลไม้พันธุ์ดั้งเดิมของไต้หวัน แต่หลังจากที่มีการนำพันธุ์ดีเข้ามาปลูกในประเทศ ผ่านการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ จนได้สายพันธุ์ใหม่ๆ มีมากกว่า 130 ชนิด และไม่กี่ปีนี้ ไต้หวันมีการปลูกมะม่วงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ละปีมีปริมาณการปลูกเกือบ 170,000 ตัน หรือถ้าคำนวณเป็นผลก็เกือบ 500 ล้านลูก/ปี หรือถ้าจะเฉลี่ยต่อประชากรแล้ว คนไต้หวันกินมะม่วง 21 ลูก/คน/ปี ซึ่งมะม่วงเป็นผลไม้ที่ส่วนใหญ่มีรสหอมหวานอร่อย เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค แต่ก็ยังมีอีกหลายคนไม่รู้ว่า มะม่วงส่วนใหญ่ที่ปลูกนั้นไม่ได้ใช้เมล็ดในการเพาะแล้วค่อยๆ ให้ต้นโตจนออกดอกออกผล แต่เกิดจากการต่อกิ่งมะม่วงพันธุ์ดีๆ บนยอดของมะม่วงพันธุ์พื้นเมือง
การต่อกิ่งมะม่วงพันธุ์ดีๆ บนยอดของมะม่วงพันธุ์พื้นเมือง ได้มะม่วงคุณภาพดี ต้นไม่สูง ดูแลและเก็บผลง่าย
สำหรับประวัติการปลูกมะม่วงในไต้หวันนั้น เริ่มมีการนำเข้ามะม่วงมาปลูกประมาณศตวรรษที่ 16-17 โดยชาวฮอลันดาที่มาตั้งอาณานิคมในไต้หวัน โดยสายพันธุ์แรกที่ปลูกก็คือมะม่วงเบาหรือมะม่วงสายพันธุ์พื้นเมืองของอินเดีย ต่อมาในยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวันก็มีการนำเข้ามะม่วงจากประเทศแถบคาบสมุทรอินโดจีนมาปลูกหลายสายพันธุ์เช่นกัน จากนั้นผ่านการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของไต้หวัน แต่หลังปี 1950 หน่วยงานเกษตรเริ่มนำเข้า
มะม่วง 3 สายพันธุ์ที่มีรสชาติอร่อยจากรัฐฟอลิดาของอเมริกามาปลูกในไต้หวัน จนมีการขยายวงกว้างขึ้น ได้แก่ มะม่วงอ้ายเหวิน(Irwin) มะม่วงไข่เท่อ (Keitt) มะม่วงไห่ตุ้น(Haden) จากนั้นสถาบันวิจัยการเกษรและสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเกาสงก็พัฒนาสายพันธุ์มะม่วงใหม่ๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งปัจจุบัน ไต้หวันมีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วงประมาณ 16,000 เฮกตาร์ สายพันธุ์มะม่วงที่ปลูกกันมากในลำดับต้นๆ ได้แก่ มะม่วงอ้ายเหวิน มะม่วงพันธุ์พื้นเมือง มะม่วงจินหวง มะม่วงไข่เท่อ มะม่วงเฮเดน เป็นต้น รวมๆ แล้วมีมากกว่า 20 สายพันธุ์ที่ผู้คนรู้จักชื่อเรียก แต่อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์ที่สถาบันวิจัยด้านการเกษตรของไต้หวันได้เก็บรักษาและปลูกไว้ในสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชในพื้นที่ต่างๆ รวมๆ แล้วมีมากกว่า 130 สายพันธุ์ ซึ่งช่วงฤดูกาลของมะม่วงในไต้หวันจะอยู่ระหว่างเดือนเม.ย.ถึงเดือนก.ย. แต่จะทยอยกันออกสู่ท้องตลาด โดยสายพันธุ์ที่ออกสู่ท้องตลาดช่วงแรกๆ ประมาณเดือนมี.ค.-เม.ย. ส่วนใหญ่เป็นมะม่วงพื้นเมือง ส่วนช่วงปลายของฤดูมะม่วงประมาณเดือนส.ค.ถึงเดือนก.ย.ส่วนใหญ่เป็นมะม่วงไข่เท่อที่มีรสชาติอร่อยไปอีกแบบ ซึ่งแหล่งปลูกมะม่วงมากที่สุดอยู่ที่นครไถหนาน รองลงมาคือเมืองผิงตง และยังปลูกที่นครเกาสงด้วย สายพันธุ์มะม่วงที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นอ้ายเหวินที่ครองสัดส่วนเกินครึ่ง เพราะว่ารูปลักษณ์สวย ผิวมะม่วงสีแดงสด เนื้อหอม หวาน อมเปรี้ยวเล็กน้อย ขนาดของผลกำลังพอเหมาะไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค และยังปลูกง่าย ให้ผลผลิตค่อนข้างสม่ำเสมอ และยังเป็นสายพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกด้วย
มะม่วงไข่เท่อ(บนซ้าย) มะม่วงไห่ตุ้น(ล่างซ้าย )มะม่วงอ้ายเหวิน(ขวา)ทั้ง 3 สายพันธุ์นำเข้าจากรัฐฟลอริดา
มะม่วงที่ขายในท้องตลาดไต้หวันตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผล ส่วนใหญ่ไม่ได้อาศัยเมล็ดมะม่วงในการปลูก แต่เกิดจากการทาบกิ่งหรือการต่อกิ่งทั้งนั้น ทั้งนี้เนื่องจากมะม่วงกลายพันธุ์ง่าย หากใช้เมล็ดในการปลูกอาจจะกลายพันธุ์ที่ผิดไปจากสายพันธุ์เดิม กลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่อาจจะเป็นสายพันธุ์ดีหรือสายพันธุ์ที่เลวลงไปกว่าเดิมก็ได้ อีกทั้งต้องใช้เวลานาน 3-4 ปีจึงเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ บางทีอาจจะนาน 6-7 ปีก็ยังมี เพราะฉะนั้นจึงนิยมใช้เทคนิคการเสียบกิ่งหรือการต่อกิ่ง โดยต้นตอที่ใช้ในการต่อกิ่งนั้นเป็นมะม่วงพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกมานานที่ปรับเข้ากับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมในไต้หวันได้ดี จากนั้นเอาสายพันธุ์ดีๆ มาต่อหรือเสียบที่ยอดก็จะได้มะม่วงสายพันธุ์ดี ไม่ทำให้กลายพันธุ์ได้ง่าย และเมื่อถึงช่วงที่มะม่วงออกดอกก็ต้องผ่านการผสมเกสรจึงจะติดผล ได้มะม่วงที่มีรสชาติหวานอร่อย ซึ่งมีแมลงมากมายที่เป็นตัวกลางช่วยผสมเกสรมะม่วงได้ แต่เนื่องจากดอกมะม่วงมีกลิ่นพิเศษที่ไม่ดึงดูดใจผึ้ง ทำให้ผึ้งไม่ค่อยชอบ ทางตรงข้ามมีแมลงวันเท่านั้นที่ชอบกลิ่นของดอกมะม่วงมากกว่า จากการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญด้านมะม่วงพบว่า แมลงวันหัวเขียว(Blow fly)ที่ชอบสิ่งปฏิกูลจะช่วยผสมเกสรมะม่วงได้ดีที่สุด เพราะฉะนั้น เกษตรกรที่ปลูกมะม่วง เมื่อถึงช่วงที่มะม่วงออกดอกต้องการผสมเกสรดอกมะม่วง ก็จะแขวนเครื่องในหมู หรือปลาตาย หรือนำมาใส่ถังวางไว้ใต้ต้นมะม่วง เพื่อดึงดูดให้แมลงวันหัวเขียวไปวางไข่ เพิ่มปริมาณของแมลงวัน หลังจากที่แมลงวันตอมเศษเนื้อหรือปลาเน่าแล้ว มันก็จะบินไปกินน้ำหวานที่เกสรเพศเมียของมะม่วง จากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่ง ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นการช่วยผสมเกสรให้ดอกมะม่วงอย่างดีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม การแขวนเครื่องในหมูหรือปลาที่ตายแล้วก็มักจะส่งกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ที่หลายๆ คนไม่ชอบ ที่ผ่านมา หน่วยงานเกษตรเคยพัฒนาเอาผงถั่วเหลืองผสมกระดูกปลาป่นในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 เพื่อนำมาเลี้ยงแมลงวันหัวเขียว แต่ว่าเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงคิดว่าประสิทธิภาพของการดึงดูดแมลงวันหัวเขียวสู้เครื่องในหมูหรือปลาตายไม่ได้
แมลงวันหัวเขียวช่วยผสมเกสรดอกมะม่วง
หากพูดถึงมะม่วงสุกแล้ว ความหวาน ความสุก ของมะม่วงถือเป็นความชื่นชอบของผู้บริโภค เพราะว่ามะม่วงยิ่งสุกก็ยิ่งหอมหวานอร่อย แต่อย่างไรก็ตาม มีมะม่วงบางสายพันธุ์เมื่อรอให้สุกบนต้นแล้วค่อยเก็บผล จะส่งผลให้เนื้อของมะม่วงเปลี่ยนได้ง่าย ทั้งๆ ที่ดูจากภายนอกของมะม่วงแล้วยังปกติ แต่ถ้าผ่าดูเนื้อข้างในแล้วอาจจะฉ่ำน้ำมากเกินไป อย่างมะม่วงอ้ายเหวิน และเซี่ยเสวี่ย ต้องรอให้สุกบนต้นประมาณ 90% แล้วค่อยเก็บผล แต่มะม่วงจินหวง ไข่เท่อ ไถหนงเบอร์ 1 ถ้าปล่อยให้สุกบนต้น เนื้อปริแตกง่ายและฉ่ำน้ำเกินไป คุณภาพของเนื้อเปลี่ยนได้ง่าย ส่วนใหญ่เก็บผลตอนที่สุกประมาณ 70-80% จากนั้นค่อยนำไปบ่มต่อและขาย อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมะม่วงสายพันธุ์ไหน ถ้ามะม่วงเริ่มนิ่ม ส่งกลิ่นหอม ก็เหมาะในการนำไปกินได้แล้ว และมะม่วงสุกมากๆ บางครั้งจะมีจุดดำอยู่ที่ผิว จุดดำเหล่านี้เกิดจากโรคแอนแทรคโนสที่เกิดจากเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย แต่ว่าโรคทั้งสองจะไม่ติดต่อมายังคน เพียงแต่อยู่ที่ผิว ถ้าจุดดำมีไม่มากหรือไม่กินเข้าไปในเนื้อมะม่วง ถึงขนาดที่เนื้อเน่า กลิ่นเปรี้ยว ปาดทิ้งก็สามารถกินได้ ไม่มีปัญหา นอกจากนี้ ที่เปลือกผิวนอกของมะม่วงจะมีผงสีขาวบางๆ ปกคลุมทั่วผิวอยู่ชั้นหนึ่ง ซึ่งแบบนี้เกิดจากธรรมชาติของมะม่วงเอง ซึ่งคล้ายๆ กับองุ่นที่มีสีผงสีขาวบางๆ ปกคลุม ไม่ต้องตกอกตกใจคิดว่าเป็นสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงตกค้าง เพราะถ้าเป็นยาฆ่าแมลงก็จะมีจุดขาวบางๆ ที่กระจายแบบไม่ทั่วทั้งผล และในบางครั้งหลังเก็บผลมะม่วงมักจะผ่านขั้นตอนการล้างน้ำด้วย จึงทำให้มะม่วงบางสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดี จะไม่เห็นจุดขาวบางหลงเหลืออยู่ที่ผิวมะม่วง นอกจากนั้นแล้ว บางคนคิดว่ามะม่วงเป็นผลไม้ที่มีพิษ กินแล้วคันตามผิวหนัง ทั้งนี้เป็นเพราะว่ามะม่วงจัดเป็นผลไม้ที่มียางที่สร้างความระคายเคืองได้ ยางมะม่วงมีสารประกอบฟีนอลที่บางทีส่งผลถึงเปลือกและเนื้อของมะม่วง คนที่แพ้ง่ายจึงควรระมัดระวังในการบริโภค
ใช้เครื่องในหมูหรือปลาตายดึงดูดแมลงวันหัวเขียว
มะม่วงเป็นตัวแทนผลไม้หน้าร้อนของไต้หวันก็ว่าได้ พอถึงช่วงหน้าร้อน ร้านหรือแผงขายผลไม้ก็จะเห็นมะม่วงวางขายมากมายและมีหลากหลายสายพันธุ์ด้วย ยิ่งในปีนี้เกิดการระบาดในไต้หวันที่มีมาตรการป้องกันโรคที่เข้มงวด ทำให้ราคาของมะม่วงถูกกว่าปีอื่นๆ มะม่วงที่พบเห็นบ่อย ได้แก่ มะม่วงพื้นเมือง อ้ายเหวิน จินหวง อวี้เหวิน เซี่ยเสวี่ย หงหลง เฮยเซียง ไข่เท่อ เฮเดน.....ที่ทยอยออกมาขายในท้องตลาดอย่างต่อเนื่อง แม้มะม่วงไม่ใช่เป็นผลไม้พันธุ์ดั้งเดิมของไต้หวัน แต่หลังจากที่มีการนำพันธุ์ดีเข้ามาปลูกในประเทศ ผ่านการพัฒนาปรับปรุงพันธุ์ จนได้สายพันธุ์ใหม่ๆ มีมากกว่า 130 ชนิด และไม่กี่ปีนี้ ไต้หวันมีการปลูกมะม่วงเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ละปีมีปริมาณการปลูกเกือบ 170,000 ตัน หรือถ้าคำนวณเป็นผลก็เกือบ 500 ล้านลูก/ปี หรือถ้าจะเฉลี่ยต่อประชากรแล้ว คนไต้หวันกินมะม่วง 21 ลูก/คน/ปี ซึ่งมะม่วงเป็นผลไม้ที่ส่วนใหญ่มีรสหอมหวานอร่อย เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค แต่ก็ยังมีอีกหลายคนไม่รู้ว่า มะม่วงส่วนใหญ่ที่ปลูกนั้นไม่ได้ใช้เมล็ดในการเพาะแล้วค่อยๆ ให้ต้นโตจนออกดอกออกผล แต่เกิดจากการต่อกิ่งมะม่วงพันธุ์ดีๆ บนยอดของมะม่วงพันธุ์พื้นเมือง
การต่อกิ่งมะม่วงพันธุ์ดีๆ บนยอดของมะม่วงพันธุ์พื้นเมือง ได้มะม่วงคุณภาพดี ต้นไม่สูง ดูแลและเก็บผลง่าย
สำหรับประวัติการปลูกมะม่วงในไต้หวันนั้น เริ่มมีการนำเข้ามะม่วงมาปลูกประมาณศตวรรษที่ 16-17 โดยชาวฮอลันดาที่มาตั้งอาณานิคมในไต้หวัน โดยสายพันธุ์แรกที่ปลูกก็คือมะม่วงเบาหรือมะม่วงสายพันธุ์พื้นเมืองของอินเดีย ต่อมาในยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวันก็มีการนำเข้ามะม่วงจากประเทศแถบคาบสมุทรอินโดจีนมาปลูกหลายสายพันธุ์เช่นกัน จากนั้นผ่านการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้เข้ากับสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศของไต้หวัน แต่หลังปี 1950 หน่วยงานเกษตรเริ่มนำเข้า
มะม่วง 3 สายพันธุ์ที่มีรสชาติอร่อยจากรัฐฟอลิดาของอเมริกามาปลูกในไต้หวัน จนมีการขยายวงกว้างขึ้น ได้แก่ มะม่วงอ้ายเหวิน(Irwin) มะม่วงไข่เท่อ (Keitt) มะม่วงไห่ตุ้น(Haden) จากนั้นสถาบันวิจัยการเกษรและสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเกาสงก็พัฒนาสายพันธุ์มะม่วงใหม่ๆ เพิ่มขึ้น จนกระทั่งปัจจุบัน ไต้หวันมีพื้นที่เพาะปลูกมะม่วงประมาณ 16,000 เฮกตาร์ สายพันธุ์มะม่วงที่ปลูกกันมากในลำดับต้นๆ ได้แก่ มะม่วงอ้ายเหวิน มะม่วงพันธุ์พื้นเมือง มะม่วงจินหวง มะม่วงไข่เท่อ มะม่วงเฮเดน เป็นต้น รวมๆ แล้วมีมากกว่า 20 สายพันธุ์ที่ผู้คนรู้จักชื่อเรียก แต่อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์ที่สถาบันวิจัยด้านการเกษตรของไต้หวันได้เก็บรักษาและปลูกไว้ในสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชในพื้นที่ต่างๆ รวมๆ แล้วมีมากกว่า 130 สายพันธุ์ ซึ่งช่วงฤดูกาลของมะม่วงในไต้หวันจะอยู่ระหว่างเดือนเม.ย.ถึงเดือนก.ย. แต่จะทยอยกันออกสู่ท้องตลาด โดยสายพันธุ์ที่ออกสู่ท้องตลาดช่วงแรกๆ ประมาณเดือนมี.ค.-เม.ย. ส่วนใหญ่เป็นมะม่วงพื้นเมือง ส่วนช่วงปลายของฤดูมะม่วงประมาณเดือนส.ค.ถึงเดือนก.ย.ส่วนใหญ่เป็นมะม่วงไข่เท่อที่มีรสชาติอร่อยไปอีกแบบ ซึ่งแหล่งปลูกมะม่วงมากที่สุดอยู่ที่นครไถหนาน รองลงมาคือเมืองผิงตง และยังปลูกที่นครเกาสงด้วย สายพันธุ์มะม่วงที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นอ้ายเหวินที่ครองสัดส่วนเกินครึ่ง เพราะว่ารูปลักษณ์สวย ผิวมะม่วงสีแดงสด เนื้อหอม หวาน อมเปรี้ยวเล็กน้อย ขนาดของผลกำลังพอเหมาะไม่ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค และยังปลูกง่าย ให้ผลผลิตค่อนข้างสม่ำเสมอ และยังเป็นสายพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกด้วย
มะม่วงไข่เท่อ(บนซ้าย) มะม่วงไห่ตุ้น(ล่างซ้าย )มะม่วงอ้ายเหวิน(ขวา)ทั้ง 3 สายพันธุ์นำเข้าจากรัฐฟลอริดา
มะม่วงที่ขายในท้องตลาดไต้หวันตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งเก็บเกี่ยวผล ส่วนใหญ่ไม่ได้อาศัยเมล็ดมะม่วงในการปลูก แต่เกิดจากการทาบกิ่งหรือการต่อกิ่งทั้งนั้น ทั้งนี้เนื่องจากมะม่วงกลายพันธุ์ง่าย หากใช้เมล็ดในการปลูกอาจจะกลายพันธุ์ที่ผิดไปจากสายพันธุ์เดิม กลายเป็นสายพันธุ์ใหม่ที่อาจจะเป็นสายพันธุ์ดีหรือสายพันธุ์ที่เลวลงไปกว่าเดิมก็ได้ อีกทั้งต้องใช้เวลานาน 3-4 ปีจึงเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ บางทีอาจจะนาน 6-7 ปีก็ยังมี เพราะฉะนั้นจึงนิยมใช้เทคนิคการเสียบกิ่งหรือการต่อกิ่ง โดยต้นตอที่ใช้ในการต่อกิ่งนั้นเป็นมะม่วงพันธุ์พื้นเมืองที่ปลูกมานานที่ปรับเข้ากับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมในไต้หวันได้ดี จากนั้นเอาสายพันธุ์ดีๆ มาต่อหรือเสียบที่ยอดก็จะได้มะม่วงสายพันธุ์ดี ไม่ทำให้กลายพันธุ์ได้ง่าย และเมื่อถึงช่วงที่มะม่วงออกดอกก็ต้องผ่านการผสมเกสรจึงจะติดผล ได้มะม่วงที่มีรสชาติหวานอร่อย ซึ่งมีแมลงมากมายที่เป็นตัวกลางช่วยผสมเกสรมะม่วงได้ แต่เนื่องจากดอกมะม่วงมีกลิ่นพิเศษที่ไม่ดึงดูดใจผึ้ง ทำให้ผึ้งไม่ค่อยชอบ ทางตรงข้ามมีแมลงวันเท่านั้นที่ชอบกลิ่นของดอกมะม่วงมากกว่า จากการวิจัยของผู้เชี่ยวชาญด้านมะม่วงพบว่า แมลงวันหัวเขียว(Blow fly)ที่ชอบสิ่งปฏิกูลจะช่วยผสมเกสรมะม่วงได้ดีที่สุด เพราะฉะนั้น เกษตรกรที่ปลูกมะม่วง เมื่อถึงช่วงที่มะม่วงออกดอกต้องการผสมเกสรดอกมะม่วง ก็จะแขวนเครื่องในหมู หรือปลาตาย หรือนำมาใส่ถังวางไว้ใต้ต้นมะม่วง เพื่อดึงดูดให้แมลงวันหัวเขียวไปวางไข่ เพิ่มปริมาณของแมลงวัน หลังจากที่แมลงวันตอมเศษเนื้อหรือปลาเน่าแล้ว มันก็จะบินไปกินน้ำหวานที่เกสรเพศเมียของมะม่วง จากดอกหนึ่งไปยังอีกดอกหนึ่ง ลักษณะเช่นนี้ถือเป็นการช่วยผสมเกสรให้ดอกมะม่วงอย่างดีเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม การแขวนเครื่องในหมูหรือปลาที่ตายแล้วก็มักจะส่งกลิ่นอันไม่พึงประสงค์ที่หลายๆ คนไม่ชอบ ที่ผ่านมา หน่วยงานเกษตรเคยพัฒนาเอาผงถั่วเหลืองผสมกระดูกปลาป่นในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 เพื่อนำมาเลี้ยงแมลงวันหัวเขียว แต่ว่าเกษตรกรที่ปลูกมะม่วงคิดว่าประสิทธิภาพของการดึงดูดแมลงวันหัวเขียวสู้เครื่องในหมูหรือปลาตายไม่ได้
แมลงวันหัวเขียวช่วยผสมเกสรดอกมะม่วง
หากพูดถึงมะม่วงสุกแล้ว ความหวาน ความสุก ของมะม่วงถือเป็นความชื่นชอบของผู้บริโภค เพราะว่ามะม่วงยิ่งสุกก็ยิ่งหอมหวานอร่อย แต่อย่างไรก็ตาม มีมะม่วงบางสายพันธุ์เมื่อรอให้สุกบนต้นแล้วค่อยเก็บผล จะส่งผลให้เนื้อของมะม่วงเปลี่ยนได้ง่าย ทั้งๆ ที่ดูจากภายนอกของมะม่วงแล้วยังปกติ แต่ถ้าผ่าดูเนื้อข้างในแล้วอาจจะฉ่ำน้ำมากเกินไป อย่างมะม่วงอ้ายเหวิน และเซี่ยเสวี่ย ต้องรอให้สุกบนต้นประมาณ 90% แล้วค่อยเก็บผล แต่มะม่วงจินหวง ไข่เท่อ ไถหนงเบอร์ 1 ถ้าปล่อยให้สุกบนต้น เนื้อปริแตกง่ายและฉ่ำน้ำเกินไป คุณภาพของเนื้อเปลี่ยนได้ง่าย ส่วนใหญ่เก็บผลตอนที่สุกประมาณ 70-80% จากนั้นค่อยนำไปบ่มต่อและขาย อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นมะม่วงสายพันธุ์ไหน ถ้ามะม่วงเริ่มนิ่ม ส่งกลิ่นหอม ก็เหมาะในการนำไปกินได้แล้ว และมะม่วงสุกมากๆ บางครั้งจะมีจุดดำอยู่ที่ผิว จุดดำเหล่านี้เกิดจากโรคแอนแทรคโนสที่เกิดจากเชื้อรา และเชื้อแบคทีเรีย แต่ว่าโรคทั้งสองจะไม่ติดต่อมายังคน เพียงแต่อยู่ที่ผิว ถ้าจุดดำมีไม่มากหรือไม่กินเข้าไปในเนื้อมะม่วง ถึงขนาดที่เนื้อเน่า กลิ่นเปรี้ยว ปาดทิ้งก็สามารถกินได้ ไม่มีปัญหา นอกจากนี้ ที่เปลือกผิวนอกของมะม่วงจะมีผงสีขาวบางๆ ปกคลุมทั่วผิวอยู่ชั้นหนึ่ง ซึ่งแบบนี้เกิดจากธรรมชาติของมะม่วงเอง ซึ่งคล้ายๆ กับองุ่นที่มีสีผงสีขาวบางๆ ปกคลุม ไม่ต้องตกอกตกใจคิดว่าเป็นสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงตกค้าง เพราะถ้าเป็นยาฆ่าแมลงก็จะมีจุดขาวบางๆ ที่กระจายแบบไม่ทั่วทั้งผล และในบางครั้งหลังเก็บผลมะม่วงมักจะผ่านขั้นตอนการล้างน้ำด้วย จึงทำให้มะม่วงบางสายพันธุ์ที่มีคุณภาพดี จะไม่เห็นจุดขาวบางหลงเหลืออยู่ที่ผิวมะม่วง นอกจากนั้นแล้ว บางคนคิดว่ามะม่วงเป็นผลไม้ที่มีพิษ กินแล้วคันตามผิวหนัง ทั้งนี้เป็นเพราะว่ามะม่วงจัดเป็นผลไม้ที่มียางที่สร้างความระคายเคืองได้ ยางมะม่วงมีสารประกอบฟีนอลที่บางทีส่งผลถึงเปลือกและเนื้อของมะม่วง คนที่แพ้ง่ายจึงควรระมัดระวังในการบริโภค
ใช้เครื่องในหมูหรือปลาตายดึงดูดแมลงวันหัวเขียว