
Sign up to save your podcasts
Or
บลูเบอร์รี่(Blueberry) ภาษาจีนเรียกว่า “หลานเหมย-藍莓” เป็นผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว นิยมทานแบบสด หรือนำมาตกแต่งทำขนมต่างๆ หรือทำเป็นแยม ซอส ฯลฯ ก็ได้ เป็นผลไม้ที่มีแอนโทไซยานีน สารสีน้ำเงินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ในไต้หวันมีเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นในปีนี้ชื่อ หยางซื่ออี้(楊士藝) ตอนเรียนปริญญาโทได้เริ่มปลูกบลูเบอร์รี่แล้ว ปัจจุบันมีพื้นที่ 4 แปลงที่เก็บผลผลิตได้แล้ว และอีก 6 แปลงเป็นที่ดินเช่าที่อยู่ระหว่างการปลูก เพราะเล็งเห็นว่าเป็นพืชเศรษฐกิจราคาสูง คนไต้หวันชอบรับประทานมาก สถิติการนำเข้าปี 2017 - 2019 มีประมาณ 1,000-1,200 ตัน ปี 2020 เพิ่มขึ้นเป็น 1,570 ตัน ปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 2,035 ตัน และการซื้อบลูเบอร์รี่ในไต้หวันถือว่าง่าย ในซุปเปอร์มาเก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ตก็มีผลสดขายเยอะ
คุณหยางซื่ออี้ประสบความสำเร็จปลูกบลูเบอร์รี่ออร์แกนิค
หยางซื่ออี้บอกว่า การปลูกบลูเบอร์รี่ในไต้หวันไม่มียาฆ่าแมลงที่ใช้โดยเฉพาะ ผู้ประกอบที่ขายสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงไม่มีการจดทะเบียนขออนุญาตใช้ยาฆ่าแมลงในบลูเบอร์รี่ เนื่องจากการขอจดทะเบียนต้องมีค่าใช้จ่าย พื้นที่เพาะปลูกบลูเบอร์รี่ในไต้หวันมีน้อยมาก ไม่คุ้มต่อการลงทุน เกษตรกรที่ปลูกบลูเบอร์รี่จึงต้องปลูกแบบออร์แกนิคเท่านั้น นอกจากใช้วิธีป้องกันหนอนแมลง เช่น ล่อแมลงด้วยแสงไฟ จับทิ้ง ยังใช้วิธีพ่นน้ำมันที่เป็นเชื้อแบคทีเรียจากธรรมชาติ กำจัดแมลง ซึ่งศัตรูพืชที่พบเห็นบ่อยได้แก่ ตัวอ่อนของแมลงมอธ เพลี้ยไฟ แต่ที่สร้างความปวดหัวคือด้วง เป็นด้วงสีเขียวตัวเล็ก เปลือกแข็ง มันจะกัดกินทุกส่วนไม่ว่าใบ ดอก หรือผลของบลูเบอร์รี่ ส่วนในต่างประเทศปลูกเชิงพาณิชย์จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ปีนี้มีการตรวจพบบลูเบอร์รี่นำเข้ามียาฆ่าแมลงเกินกำหนด 3 ล็อต มาจากญี่ปุ่นและชิลี ดังนั้นใครที่ชอบทานก็ต้องล้างให้สะอาดก่อนบริโภคทุกครั้ง
ในไต้หวันไม่มียาฆ่าแมลงที่ใช้กับบลูเบอร์รี่โดยเฉพาะ
หลินหม่าเหวิน(林馬雯)ผู้ช่วยวิจัยสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไทจงบอกว่า ปัจจุบันเกษตรกรปลูกบลูเบอร์รี่ในไต้หวันมีจำนวนน้อยมากๆ หยางซื่ออี้ ที่ปลูกบลูเบอร์รี่ในภูเขาปากว้าเขตหนานโถวถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกในไต้หวัน มีการส่งขายผลผลิตทางอินเทอร์เน็ตโดยตรง แม้ไต้หวันมีการนำเข้ามาปลูกนานแล้ว แต่เกษตรกรที่ลงทุนปลูกมีน้อย เพราะว่าบลูเบอร์รี่ผลเล็ก ดูแล้วมีปริมาณน้อย หากจะผลักดันให้ปลูกก็ต้องอาศัยเกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรรุ่นเก่าบอกว่าเป็นผลไม้ที่ไม่น่าปลูก
การเก็บผลบลูเบอร์รี่ต้องประคบประหงมมาก
ฤดูกาลของบลูเบอร์รี่ที่ปลูกในไต้หวัน อยู่ระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม การปลูกจนเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ต้องใช้เวลา 3 ปี การผลักดันให้ปลูกไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย คุณหยางซื่ออี้บอกว่า ตัวเองเคยเอาผลบลูเบอร์รี่ให้อาม่ากิน อาม่าบอกว่าผลเล็ก กินไม่อร่อย นอกจากนี้ การขนส่ง การเก็บรักษามีขั้นตอนยุ่งยาก ต้นทุนแรงงานสูง การขายทั่วไปมักจะไม่ได้รับการยอมรับเพราะราคาสูง จึงต้องปลูกเองทำเองทุกอย่าง ไม่ว่าการเพาะพันธุ์ต้นกล้า การดูแลสวน การเก็บผล การรับใบสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต การบรรจุภัณฑ์ส่งขายถึงมือผู้บริโภค แต่เขาก็มีความหวังในการปลูกเพราะคนไต้หวันชอบทาน บลูเบอร์รี่ที่นำเข้าจากอเมริกาเหนือจะขายในราคาที่สูงกว่า น้ำหนัก 125 กรัมต่อแพ็ค ขาย 80-120 เหรียญไต้หวัน ส่วนที่นำเข้าจากชิลีและเปรูน้ำหนักเท่ากันคือ 125 กรัมขายแพ็คละ 50 เหรียญไต้หวัน อย่างไรก็ตาม บลูเบอร์รี่ของนายหยางซื่ออี้ที่ขายในปีนี้แพ็คละ 190 เหรียญไต้หวัน ถือว่าสูงกว่ามาก แต่ผู้บริโภคชื่นชอบ เพราะมีความสด ปลอดสาร ปลูกไม่พอขายอีกด้วย
การปลูกบลูเบอร์รี่ต้องปรับสภาพดินให้เหมาะสม
บลูเบอร์รี่(Blueberry) ภาษาจีนเรียกว่า “หลานเหมย-藍莓” เป็นผลไม้ในตระกูลเบอร์รี่ มีรสชาติหวานอมเปรี้ยว นิยมทานแบบสด หรือนำมาตกแต่งทำขนมต่างๆ หรือทำเป็นแยม ซอส ฯลฯ ก็ได้ เป็นผลไม้ที่มีแอนโทไซยานีน สารสีน้ำเงินที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ ในไต้หวันมีเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นในปีนี้ชื่อ หยางซื่ออี้(楊士藝) ตอนเรียนปริญญาโทได้เริ่มปลูกบลูเบอร์รี่แล้ว ปัจจุบันมีพื้นที่ 4 แปลงที่เก็บผลผลิตได้แล้ว และอีก 6 แปลงเป็นที่ดินเช่าที่อยู่ระหว่างการปลูก เพราะเล็งเห็นว่าเป็นพืชเศรษฐกิจราคาสูง คนไต้หวันชอบรับประทานมาก สถิติการนำเข้าปี 2017 - 2019 มีประมาณ 1,000-1,200 ตัน ปี 2020 เพิ่มขึ้นเป็น 1,570 ตัน ปี 2021 เพิ่มขึ้นเป็น 2,035 ตัน และการซื้อบลูเบอร์รี่ในไต้หวันถือว่าง่าย ในซุปเปอร์มาเก็ต ไฮเปอร์มาร์เก็ตก็มีผลสดขายเยอะ
คุณหยางซื่ออี้ประสบความสำเร็จปลูกบลูเบอร์รี่ออร์แกนิค
หยางซื่ออี้บอกว่า การปลูกบลูเบอร์รี่ในไต้หวันไม่มียาฆ่าแมลงที่ใช้โดยเฉพาะ ผู้ประกอบที่ขายสารเคมีหรือยาฆ่าแมลงไม่มีการจดทะเบียนขออนุญาตใช้ยาฆ่าแมลงในบลูเบอร์รี่ เนื่องจากการขอจดทะเบียนต้องมีค่าใช้จ่าย พื้นที่เพาะปลูกบลูเบอร์รี่ในไต้หวันมีน้อยมาก ไม่คุ้มต่อการลงทุน เกษตรกรที่ปลูกบลูเบอร์รี่จึงต้องปลูกแบบออร์แกนิคเท่านั้น นอกจากใช้วิธีป้องกันหนอนแมลง เช่น ล่อแมลงด้วยแสงไฟ จับทิ้ง ยังใช้วิธีพ่นน้ำมันที่เป็นเชื้อแบคทีเรียจากธรรมชาติ กำจัดแมลง ซึ่งศัตรูพืชที่พบเห็นบ่อยได้แก่ ตัวอ่อนของแมลงมอธ เพลี้ยไฟ แต่ที่สร้างความปวดหัวคือด้วง เป็นด้วงสีเขียวตัวเล็ก เปลือกแข็ง มันจะกัดกินทุกส่วนไม่ว่าใบ ดอก หรือผลของบลูเบอร์รี่ ส่วนในต่างประเทศปลูกเชิงพาณิชย์จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง ปีนี้มีการตรวจพบบลูเบอร์รี่นำเข้ามียาฆ่าแมลงเกินกำหนด 3 ล็อต มาจากญี่ปุ่นและชิลี ดังนั้นใครที่ชอบทานก็ต้องล้างให้สะอาดก่อนบริโภคทุกครั้ง
ในไต้หวันไม่มียาฆ่าแมลงที่ใช้กับบลูเบอร์รี่โดยเฉพาะ
หลินหม่าเหวิน(林馬雯)ผู้ช่วยวิจัยสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตไทจงบอกว่า ปัจจุบันเกษตรกรปลูกบลูเบอร์รี่ในไต้หวันมีจำนวนน้อยมากๆ หยางซื่ออี้ ที่ปลูกบลูเบอร์รี่ในภูเขาปากว้าเขตหนานโถวถือเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการปลูกในไต้หวัน มีการส่งขายผลผลิตทางอินเทอร์เน็ตโดยตรง แม้ไต้หวันมีการนำเข้ามาปลูกนานแล้ว แต่เกษตรกรที่ลงทุนปลูกมีน้อย เพราะว่าบลูเบอร์รี่ผลเล็ก ดูแล้วมีปริมาณน้อย หากจะผลักดันให้ปลูกก็ต้องอาศัยเกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรรุ่นเก่าบอกว่าเป็นผลไม้ที่ไม่น่าปลูก
การเก็บผลบลูเบอร์รี่ต้องประคบประหงมมาก
ฤดูกาลของบลูเบอร์รี่ที่ปลูกในไต้หวัน อยู่ระหว่างเดือนเมษายน-กรกฎาคม การปลูกจนเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ต้องใช้เวลา 3 ปี การผลักดันให้ปลูกไม่ใช่เป็นเรื่องง่าย คุณหยางซื่ออี้บอกว่า ตัวเองเคยเอาผลบลูเบอร์รี่ให้อาม่ากิน อาม่าบอกว่าผลเล็ก กินไม่อร่อย นอกจากนี้ การขนส่ง การเก็บรักษามีขั้นตอนยุ่งยาก ต้นทุนแรงงานสูง การขายทั่วไปมักจะไม่ได้รับการยอมรับเพราะราคาสูง จึงต้องปลูกเองทำเองทุกอย่าง ไม่ว่าการเพาะพันธุ์ต้นกล้า การดูแลสวน การเก็บผล การรับใบสั่งซื้อทางอินเตอร์เน็ต การบรรจุภัณฑ์ส่งขายถึงมือผู้บริโภค แต่เขาก็มีความหวังในการปลูกเพราะคนไต้หวันชอบทาน บลูเบอร์รี่ที่นำเข้าจากอเมริกาเหนือจะขายในราคาที่สูงกว่า น้ำหนัก 125 กรัมต่อแพ็ค ขาย 80-120 เหรียญไต้หวัน ส่วนที่นำเข้าจากชิลีและเปรูน้ำหนักเท่ากันคือ 125 กรัมขายแพ็คละ 50 เหรียญไต้หวัน อย่างไรก็ตาม บลูเบอร์รี่ของนายหยางซื่ออี้ที่ขายในปีนี้แพ็คละ 190 เหรียญไต้หวัน ถือว่าสูงกว่ามาก แต่ผู้บริโภคชื่นชอบ เพราะมีความสด ปลอดสาร ปลูกไม่พอขายอีกด้วย
การปลูกบลูเบอร์รี่ต้องปรับสภาพดินให้เหมาะสม