ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 13 ส.ค.2567


Listen Later

   ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พฤติกรรมการบริโภคชาในไต้หวันเปลี่ยนไปอย่างมาก โดยผู้บริโภคหันมาดื่มชาแบบสำเร็จรูป เช่น ชามือเขย่า ชากระป๋อง และชาบรรจุขวด เนื่องจากสะดวกและมีหลากหลายรสชาติ ชาพันธุ์ต่าง ๆ ในอดีตถูกพัฒนาขึ้นเพื่อการชงแบบดั้งเดิม โดยเน้นกลิ่นและรสชาติ อย่างไรก็ตาม การผลิตชาเชิงพาณิชย์ยังคงพึ่งพาการนำเข้าเป็นหลัก เพื่อรับมือกับความต้องการของตลาดที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายในการเพาะปลูกชา เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการขาดแคลนแรงงาน สถานีวิจัยและส่งเสริมชาในไต้หวันได้พัฒนาพันธุ์ชาเชิงพาณิชย์ตัวแรกชื่อ “ชาไต้หวัน เบอร์ 26” ที่มีคุณสมบัติพิเศษ ใบชาอ่อนตั้งตรง เหมาะสำหรับการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร เจริญเติบโตเร็ว และสามารถเก็บเกี่ยวได้ถึง 7 ครั้งต่อปี ทำให้เหมาะสำหรับการผลิตเป็นเครื่องดื่มชาเย็นและชาร้อน

ชาไต้หวัน เบอร์ 26 ผลิตเป็นชาแดงหรือชาเขียวก็ได้

   ผลการสำรวจของสถานีวิจัยและส่งเสริมชา พบว่าตลาดชาในประเทศประกอบด้วยเครื่องดื่มชามือเขย่า ชากระป๋อง และชาบรรจุขวด ครองสัดส่วน 56% ของการบริโภคทั้งหมด โดยผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวที่มีอายุต่ำกว่า 50 ปี ในขณะที่การบริโภคชาชงแบบดั้งเดิมมีสัดส่วน 44% ส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปี โดยชาเขียวและชาดำยังคงเป็นกระแสหลักของเครื่องดื่มชา

   ตลาดเครื่องดื่มชามือเขย่า ชากระป๋อง และชาบรรจุขวดในไต้หวันส่วนใหญ่ยังคงใช้ชาเชิงพาณิชย์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยในปี 2023 มีการนำเข้าชาเขียวประมาณ 8,800 ตัน และชาแดงประมาณ 15,000 ตัน ตั้งแต่ปี 2008 สถานีวิจัยและส่งเสริมชาได้พัฒนาพันธุ์ชาอย่างต่อเนื่องจนได้พันธุ์ "ชาไต้หวัน เบอร์ 26" ซึ่งผ่านการตรวจสอบเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2024 ชิวฉุยฟง รองผู้อำนวยการสถานีฯ กล่าวว่าจะเปิดโหวตเพื่อหาชื่อผลิตภัณฑ์และยื่นขอจดสิทธิ์ของสายพันธุ์อย่างเป็นทางการ

 

ไต้หวันพัฒนาชาเชิงพาณิชย์ตัวแรก

   ซูจงเจิ้น (蘇宗振) ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมชา ระบุว่า "ชาไต้หวัน เบอร์ 26" มีศักยภาพในการเติบโตสูง ทนทานต่อศัตรูพืช และให้ผลผลิตเป็นสองเท่าของชาเขียวพันธุ์ "ชิงซิน กันไจ่ (青心柑仔)" ทำให้ใช้ใบชาน้อยลงในการผลิตน้ำชาที่มีรสชาติและความเข้มข้นเท่ากัน นอกจากนี้ "ชาไต้หวัน เบอร์ 26" ยังมีปริมาณโพลีฟีนอล คาเทชิน น้ำตาลรีดิวซ์ และสารประกอบอื่น ๆ สูง ส่งผลให้รสชาติเข้มข้นและหลากหลาย เหมาะสำหรับตลาดเครื่องดื่มชา เนื่องจากเทคโนโลยีการสกัดที่รวดเร็ว

   ชาไต้หวัน เบอร์ 26 เหมาะสำหรับการปลูกในพื้นที่ต่ำกว่า 500 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล และเหมาะสำหรับการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร ในอนาคต ทางสถานีวิจัยและส่งเสริมชาจะร่วมมือกับผู้ประกอบการเครื่องดื่มชาเพื่อส่งเสริมการเพาะปลูกในเมืองเถาหยวน ฮัวเหลียน และไถตง คาดว่าจะใช้เวลาอย่างน้อย 3 ปี ก่อนที่จะสามารถนำชาไต้หวัน เบอร์ 26 มาใช้ในเชิงพาณิชย์ได้

ไต้หวันพัฒนาชาเชิงพาณิชย์ตัวแรก

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti