
Sign up to save your podcasts
Or
ฤดูกาลชมดอกกุหลาบพันปี(ตู้จวนฮัว-杜鵑花) หรือดอกอาซาเลีย (Azalea) ที่เขตจินซานกับเขตว่านหลี่เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ และสิ้นสุดในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ใครที่มีโอกาศไปชมงานต้องบอกด้วยเสียงเดียวกันว่ามีความสวยงามมาก เพราะความงดงามมีความแตกต่างจากดอกกุหลาบพันธ์ปีที่พบเห็นตามเกาะกลางถนนหรือลานสาธารณะทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สายพันธุ์ที่หลิ่วจือฟาง(柳枝芳)” ซึ่งเป็นทั้งเกษตรกรและนักวิจัยพัฒนากุหลาบพันธ์ปีถือว่ามีลักษณะโดดเด่นมาก แม้คุณพ่อของหลิ่วจือฟาง จะเป็นชาวสวนดอกไม้รุ่นแรกของเขตว่านหลี่ (萬里) ในนครนิวไทเป แต่ในวัยหนุ่ม เขาเลือกออกไปหาประสบการณ์นอกบ้านเกิด โดยในช่วงเวลานั้น เศรษฐกิจของไต้หวันกำลังเติบโต อุตสาหกรรมพืชสวนและดอกไม้กำลังเฟื่องฟู และด้วยสายเลือดของนักเพาะพันธุ์ดอกไม้ เขาจึงตัดสินใจกลับบ้านเกิด เพื่อสร้างอาณาจักรแห่งดอกไม้ของตนเอง และนั่นคือจุดเริ่มต้นของเส้นทางแห่งการพัฒนาและสร้างสรรค์ดอกกุหลาบพันปีสายพันธุ์ใหม่
ดอกกุหลาบพันปีที่คุณหลิ่วจือฟางพัฒนา
คุณหลิ่วจือฟาง บอกว่า ถ้าต้องการสู้ ก็ต้องมีความได้เปรียบ ซึ่งนี่คือแนวคิดที่ผลักดันให้เขามุ่งมั่นพัฒนาการเพาะพันธุ์กุหลาบพันปีให้เหนือกว่าคู่แข่ง แต่ในช่วงแรก เทคนิคการขยายพันธุ์กุหลาบพันปี ยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้น เขาจึงต้องทุ่มเทเวลาเกือบ 10 ปี เพื่อพัฒนาเทคนิคการขยายพันธุ์ โดยเฉพาะการเพาะต้นอ่อนจากสายพันธุ์ของ "แวคซิเนียม ไรท์ทีไอ- Vaccinium wrightii- " ซึ่งเป็นพืชในตระกูลกุหลาบพันปี ให้ออกรากเร็วขึ้นและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น ผลลัพธ์คือ เขาสามารถเพาะพันธุ์กุหลาบพันปีที่แข็งแรงขึ้น สวยงามขึ้น และด้วยนวัตกรรมการเพาะพันธุ์นี้ เขาได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นเสินหนง ในปี 1998 ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของการสร้างอาณาจักรแห่งดอกไม้ของเขา
ดอกกุหลาบพันปีที่คุณหลิ่วจือฟางพัฒนา
คุณหลิ่วจือฟางทดลองผสมกุหลาบพันปีพันธุ์ “แมงปอม่วง” ซึ่งเป็นดอกชั้นเดียว กับพันธุ์ดอกซ้อน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้กุหลาบพันปีดอกซ้อนสีม่วงเข้มหายากในตลาด แต่ผลลัพธ์กลับเกินความคาดหมาย เพราะนอกจากได้ดอกซ้อนสีม่วงและชมพูอ่อนตามเป้าแล้ว ยังได้พันธุ์ใหม่ที่มีกลีบดอกปลายแยกริ้วคล้ายขนนก ซึ่งเขาไม่เคยเห็นมาก่อน และหลงรักทันที โดยเฉพาะลักษณะเวลาร่วงหล่นที่กลีบดอกโปรยลงเป็นเส้นเบาบางบนผิวน้ำ ต่างจากกุหลาบทั่วไปที่ร่วงทั้งช่อ เขาจึงมองว่าการเพาะพันธุ์ดอกไม้เป็นศิลปะแห่งความไม่แน่นอน แม้จะศึกษาและวางแผนอย่างละเอียด แต่ผลลัพธ์ก็ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและธรรมชาติที่คาดเดาไม่ได้ เขาเคยผสมพันธุ์ดอกไม้เพื่อให้ได้สีม่วงซ้อน แต่กลับได้ดอกสีขาวล้วน ซึ่งเกิดจากยีนสีขาวที่ซ่อนอยู่ในสายพันธุ์พ่อแม่ โดยไม่สามารถอธิบายได้แน่ชัด ความเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมยังอาจส่งผลให้ดอกไม้ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ เช่น ไม่มีละอองเกสร หรือไม่สามารถสร้างฝักเมล็ด นี่คือความท้าทายของนักเพาะพันธุ์ ที่ต้องยอมรับทั้งความสำเร็จและความสูญเปล่าที่อาจใช้เวลานานนับปี
ดอกกุหลาบพันปีที่คุณหลิ่วจือฟางพัฒนา
แม้เขาจะพัฒนากุหลาบพันปีใหม่กว่า 600 สายพันธุ์ แต่กลับยังไม่เปิดตัวใดๆ ในตลาด เนื่องจากสายพันธุ์ยังไม่เสถียร ต้องใช้เวลาในการทดสอบความคงที่ของลักษณะพันธุกรรม อีกทั้งต้นทุนการผลิตสูง หากไม่มีคำสั่งซื้อมากพอ การผลิตเชิงพาณิชย์ก็ไม่คุ้มค่า นอกจากนี้ พื้นที่ที่ใช้ทดลองเพาะพันธุ์ อาจนำไปปลูกดอกไม้เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้มหาศาล แต่เขายังเลือกที่จะลงทุนเพื่อสร้าง “ทางเลือกใหม่” ให้กับวงการดอกไม้ต่อไปอย่างมุ่งมั่น
ดอกกุหลาบพันปีที่คุณหลิ่วจือฟางพัฒนา
ฤดูกาลชมดอกกุหลาบพันปี(ตู้จวนฮัว-杜鵑花) หรือดอกอาซาเลีย (Azalea) ที่เขตจินซานกับเขตว่านหลี่เริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ และสิ้นสุดในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ใครที่มีโอกาศไปชมงานต้องบอกด้วยเสียงเดียวกันว่ามีความสวยงามมาก เพราะความงดงามมีความแตกต่างจากดอกกุหลาบพันธ์ปีที่พบเห็นตามเกาะกลางถนนหรือลานสาธารณะทั่วไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สายพันธุ์ที่หลิ่วจือฟาง(柳枝芳)” ซึ่งเป็นทั้งเกษตรกรและนักวิจัยพัฒนากุหลาบพันธ์ปีถือว่ามีลักษณะโดดเด่นมาก แม้คุณพ่อของหลิ่วจือฟาง จะเป็นชาวสวนดอกไม้รุ่นแรกของเขตว่านหลี่ (萬里) ในนครนิวไทเป แต่ในวัยหนุ่ม เขาเลือกออกไปหาประสบการณ์นอกบ้านเกิด โดยในช่วงเวลานั้น เศรษฐกิจของไต้หวันกำลังเติบโต อุตสาหกรรมพืชสวนและดอกไม้กำลังเฟื่องฟู และด้วยสายเลือดของนักเพาะพันธุ์ดอกไม้ เขาจึงตัดสินใจกลับบ้านเกิด เพื่อสร้างอาณาจักรแห่งดอกไม้ของตนเอง และนั่นคือจุดเริ่มต้นของเส้นทางแห่งการพัฒนาและสร้างสรรค์ดอกกุหลาบพันปีสายพันธุ์ใหม่
ดอกกุหลาบพันปีที่คุณหลิ่วจือฟางพัฒนา
คุณหลิ่วจือฟาง บอกว่า ถ้าต้องการสู้ ก็ต้องมีความได้เปรียบ ซึ่งนี่คือแนวคิดที่ผลักดันให้เขามุ่งมั่นพัฒนาการเพาะพันธุ์กุหลาบพันปีให้เหนือกว่าคู่แข่ง แต่ในช่วงแรก เทคนิคการขยายพันธุ์กุหลาบพันปี ยังไม่สมบูรณ์ ดังนั้น เขาจึงต้องทุ่มเทเวลาเกือบ 10 ปี เพื่อพัฒนาเทคนิคการขยายพันธุ์ โดยเฉพาะการเพาะต้นอ่อนจากสายพันธุ์ของ "แวคซิเนียม ไรท์ทีไอ- Vaccinium wrightii- " ซึ่งเป็นพืชในตระกูลกุหลาบพันปี ให้ออกรากเร็วขึ้นและปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดีขึ้น ผลลัพธ์คือ เขาสามารถเพาะพันธุ์กุหลาบพันปีที่แข็งแรงขึ้น สวยงามขึ้น และด้วยนวัตกรรมการเพาะพันธุ์นี้ เขาได้รับรางวัลเกษตรกรดีเด่นเสินหนง ในปี 1998 ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญของการสร้างอาณาจักรแห่งดอกไม้ของเขา
ดอกกุหลาบพันปีที่คุณหลิ่วจือฟางพัฒนา
คุณหลิ่วจือฟางทดลองผสมกุหลาบพันปีพันธุ์ “แมงปอม่วง” ซึ่งเป็นดอกชั้นเดียว กับพันธุ์ดอกซ้อน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ได้กุหลาบพันปีดอกซ้อนสีม่วงเข้มหายากในตลาด แต่ผลลัพธ์กลับเกินความคาดหมาย เพราะนอกจากได้ดอกซ้อนสีม่วงและชมพูอ่อนตามเป้าแล้ว ยังได้พันธุ์ใหม่ที่มีกลีบดอกปลายแยกริ้วคล้ายขนนก ซึ่งเขาไม่เคยเห็นมาก่อน และหลงรักทันที โดยเฉพาะลักษณะเวลาร่วงหล่นที่กลีบดอกโปรยลงเป็นเส้นเบาบางบนผิวน้ำ ต่างจากกุหลาบทั่วไปที่ร่วงทั้งช่อ เขาจึงมองว่าการเพาะพันธุ์ดอกไม้เป็นศิลปะแห่งความไม่แน่นอน แม้จะศึกษาและวางแผนอย่างละเอียด แต่ผลลัพธ์ก็ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมและธรรมชาติที่คาดเดาไม่ได้ เขาเคยผสมพันธุ์ดอกไม้เพื่อให้ได้สีม่วงซ้อน แต่กลับได้ดอกสีขาวล้วน ซึ่งเกิดจากยีนสีขาวที่ซ่อนอยู่ในสายพันธุ์พ่อแม่ โดยไม่สามารถอธิบายได้แน่ชัด ความเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมยังอาจส่งผลให้ดอกไม้ไม่สามารถสืบพันธุ์ได้ เช่น ไม่มีละอองเกสร หรือไม่สามารถสร้างฝักเมล็ด นี่คือความท้าทายของนักเพาะพันธุ์ ที่ต้องยอมรับทั้งความสำเร็จและความสูญเปล่าที่อาจใช้เวลานานนับปี
ดอกกุหลาบพันปีที่คุณหลิ่วจือฟางพัฒนา
แม้เขาจะพัฒนากุหลาบพันปีใหม่กว่า 600 สายพันธุ์ แต่กลับยังไม่เปิดตัวใดๆ ในตลาด เนื่องจากสายพันธุ์ยังไม่เสถียร ต้องใช้เวลาในการทดสอบความคงที่ของลักษณะพันธุกรรม อีกทั้งต้นทุนการผลิตสูง หากไม่มีคำสั่งซื้อมากพอ การผลิตเชิงพาณิชย์ก็ไม่คุ้มค่า นอกจากนี้ พื้นที่ที่ใช้ทดลองเพาะพันธุ์ อาจนำไปปลูกดอกไม้เชิงพาณิชย์เพื่อสร้างรายได้มหาศาล แต่เขายังเลือกที่จะลงทุนเพื่อสร้าง “ทางเลือกใหม่” ให้กับวงการดอกไม้ต่อไปอย่างมุ่งมั่น
ดอกกุหลาบพันปีที่คุณหลิ่วจือฟางพัฒนา