
Sign up to save your podcasts
Or
ส้มเมอร์คอทปีนี้มีปริมาณมาก
ส้มเมอร์คอท(Murcott) หรือส้มเม่ากู่(茂谷柑) เป็นพันธุ์ส้มชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงในไต้หวัน รสชาติอร่อย หวานชุ่มฉ่ำอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีการนำพันธุ์จากรัฐฟอริดาของสหรัฐฯเข้ามาปลูกในไต้หวันในปี 1971 ช่วงนี้ถือเป็นช่วงฤดูกาลของส้มเม่ากู่ในไต้หวัน มีขายตามท้องตลาดมากมาย นายอู๋เป่าไหล(吳寶來)หัวหน้าเกษตรกรกลุ่ม 81 ของเขตตงชื่อ นครไทจงพูดโอดครวญว่า ขณะนี้ยังมีส้มเมอร์คอทของกลุ่มสมาชิกแขวนอยู่บนต้นที่ยังไม่เก็บผลจำนวนมาก ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี เนื่องจากช่องทางการขายยังมีน้อย ทั้งนี้ที่ผ่านมา ส้มเมอร์คอทที่ปลูกในเขตนครไทจงประมาณ 70-80 % ส่งขายต่างประเทศแต่ว่าเริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว การส่งขายประต่างประเทศลดลงประมาณ 50% ทำให้ส้มเมอร์คอทที่ส่งขายต่างประเทศไม่ได้ต้องนำมาขายในท้องตลาดไต้หวัน ปริมาณที่มีมากจนทำให้ราคาตกต่ำลงไปมาก
ส้มเมอร์คอทไต้หวัน
ไช่หย่งเซิ่ง(蔡勇勝)รองผู้อำนวยการสำนักการเกษตรนครไทจงชี้ว่า ขณะนี้ยังมีส้มเมอร์คอทในเขตนครไทจงที่กำลังจะเก็บผลมีประมาณ 10-20 % และยังมีส้มที่อยู่ในคลังสินค้าประมาณ 4,000 – 5,000 ตัน หากรวมกันแล้วมีส้มทั้งหมดประมาณ 60 %ที่ต้องระบายขายสู่ท้องตลาด นายอู๋เป่าไหลยังบอกด้วยว่า ไม่กี่ปีนี้ สภาพอากาศแปรปรวนทำให้หนอนแมลงแพร่ระบาดหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลี้ยไฟได้ทำให้ส้มเมอร์คอทของปีนี้มีคุณภาพด้อยเพิ่มขึ้น เนื่องจากเพลี้ยไฟทำให้ผิวของส้มหยาบและมีรอยแตกร้าวไม่สวย ผู้บริโภคไม่อยากซื้อ ขายได้ในราคาประมาณครึ่งหนึ่งของส้มปกติเท่านั้น
ที่ผ่านมาจีนแผ่นดินใหญ่ถือเป็นรายใหญ่ที่นำเข้าส้มเมอร์คอทจากไต้หวัน ปี 2020 ส่งออกไปขายที่จีนแผ่นดินใหญ่ประมาณ 1,130 ตัน ครองสัดส่วนปริมาณการส่งออกประมาณ 78% แต่ปี 2021 ส้มเมอร์คอทส่งไปขายจีนลดลงไปมาก เหลือเพียง 243 ตัน แม้มีการรวมส้มเมอร์คอทที่ส่งไปขายฮ่องกงด้วยแต่รวมกันทั้งหมดมีเพียง 526 ตันเท่านั้น หลิวคุนหง(柳昆宏) ผอ.สำนักวางแผนด้านการเกษตรแผนกต่างประเทศของเมืองหยุนหลินบอกว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว มีพ่อค้าส่งออก รวมทั้งเกษตรกรแจ้งว่าจีนแผ่นดินใหญ่จะยกระดับความเข้มงวดตรวจโรคพืชประเภทส้มของไต้หวัน เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เป็นการแสดงความจงใจที่จะกลั่นแกล้งไต้หวัน ที่จากเดิมเป็นการตรวจสอบยาฆ่าแมลงแบบสุ่ม เปลี่ยนเป็นการตรวจสอบทุกล็อต และไม่กี่ปีนี้ จีนแผ่นดินใหญ่ยกระดับการตรวจเชื้อแบคทีเรียซานโทโมนาสที่ทำให้เกิดการเน่าดำด้วย
ขนส่งส้มติดอยู่ที่ท่าเรือฮ่องกงนาน ส้มเน่า ต้องทิ้งเป็นขยะ
นายไช่เหวินจั่น(蔡文展)พ่อค้าที่ส่งส้มเมอร์คอทขายฮ่องกงเป็นหลักบอกว่า ขณะนี้ฮ่องกงเกิดการระบาดของ covid 19 อย่างรุนแรง มีคนติดเชื้อมากกว่าหมื่นคนต่อวัน เขายอมรับว่า ส้มเมอร์คอทขายยากมาก แม้ปัจจุบันส่งส้มไปขายฮ่องกงคงไว้ที่ 2 คอนเทนเนอร์ต่อสัปดาห์ สินค้าส่งไปถึงท่าเรือตามกำหนดเวลา แต่ว่าที่ท่าเรือฮ่องกงระบายสินค้าไม่ทัน ทำให้ส้มเมอร์คอทเน่าทั้งหมด เท่ากับว่าเป็นการส่งขยะ 2 คอนเทนเนอร์ไปที่ฮ่องกง แถมยังต้องจ้างรถมาบรรทุกขยะอีกด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงเทศกาลเช็งเม้งจะมีเร่งขายส้มให้หมด คณะกรรมการการเกษตรรับปากว่าจะรับซื้อส้มเมอร์คอทน้ำหนัก 10 ชั่งหรือ 6 กก.ต่อลัง จำนวน 10,000 ลัง และเพิ่มช่องทางการขายในประเทศ รวมทั้งมีการนำไปแปรรูปทำเป็นน้ำผลไม้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังช่วยขยายตลาดต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน หรือแคนาดา เป็นต้น
ส้มเมอร์คอทปีนี้มีปริมาณมาก
ส้มเมอร์คอท(Murcott) หรือส้มเม่ากู่(茂谷柑) เป็นพันธุ์ส้มชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมสูงในไต้หวัน รสชาติอร่อย หวานชุ่มฉ่ำอมเปรี้ยวเล็กน้อย มีการนำพันธุ์จากรัฐฟอริดาของสหรัฐฯเข้ามาปลูกในไต้หวันในปี 1971 ช่วงนี้ถือเป็นช่วงฤดูกาลของส้มเม่ากู่ในไต้หวัน มีขายตามท้องตลาดมากมาย นายอู๋เป่าไหล(吳寶來)หัวหน้าเกษตรกรกลุ่ม 81 ของเขตตงชื่อ นครไทจงพูดโอดครวญว่า ขณะนี้ยังมีส้มเมอร์คอทของกลุ่มสมาชิกแขวนอยู่บนต้นที่ยังไม่เก็บผลจำนวนมาก ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดี เนื่องจากช่องทางการขายยังมีน้อย ทั้งนี้ที่ผ่านมา ส้มเมอร์คอทที่ปลูกในเขตนครไทจงประมาณ 70-80 % ส่งขายต่างประเทศแต่ว่าเริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว การส่งขายประต่างประเทศลดลงประมาณ 50% ทำให้ส้มเมอร์คอทที่ส่งขายต่างประเทศไม่ได้ต้องนำมาขายในท้องตลาดไต้หวัน ปริมาณที่มีมากจนทำให้ราคาตกต่ำลงไปมาก
ส้มเมอร์คอทไต้หวัน
ไช่หย่งเซิ่ง(蔡勇勝)รองผู้อำนวยการสำนักการเกษตรนครไทจงชี้ว่า ขณะนี้ยังมีส้มเมอร์คอทในเขตนครไทจงที่กำลังจะเก็บผลมีประมาณ 10-20 % และยังมีส้มที่อยู่ในคลังสินค้าประมาณ 4,000 – 5,000 ตัน หากรวมกันแล้วมีส้มทั้งหมดประมาณ 60 %ที่ต้องระบายขายสู่ท้องตลาด นายอู๋เป่าไหลยังบอกด้วยว่า ไม่กี่ปีนี้ สภาพอากาศแปรปรวนทำให้หนอนแมลงแพร่ระบาดหนัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพลี้ยไฟได้ทำให้ส้มเมอร์คอทของปีนี้มีคุณภาพด้อยเพิ่มขึ้น เนื่องจากเพลี้ยไฟทำให้ผิวของส้มหยาบและมีรอยแตกร้าวไม่สวย ผู้บริโภคไม่อยากซื้อ ขายได้ในราคาประมาณครึ่งหนึ่งของส้มปกติเท่านั้น
ที่ผ่านมาจีนแผ่นดินใหญ่ถือเป็นรายใหญ่ที่นำเข้าส้มเมอร์คอทจากไต้หวัน ปี 2020 ส่งออกไปขายที่จีนแผ่นดินใหญ่ประมาณ 1,130 ตัน ครองสัดส่วนปริมาณการส่งออกประมาณ 78% แต่ปี 2021 ส้มเมอร์คอทส่งไปขายจีนลดลงไปมาก เหลือเพียง 243 ตัน แม้มีการรวมส้มเมอร์คอทที่ส่งไปขายฮ่องกงด้วยแต่รวมกันทั้งหมดมีเพียง 526 ตันเท่านั้น หลิวคุนหง(柳昆宏) ผอ.สำนักวางแผนด้านการเกษตรแผนกต่างประเทศของเมืองหยุนหลินบอกว่า ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว มีพ่อค้าส่งออก รวมทั้งเกษตรกรแจ้งว่าจีนแผ่นดินใหญ่จะยกระดับความเข้มงวดตรวจโรคพืชประเภทส้มของไต้หวัน เป็นอุปสรรคต่อการส่งออก เป็นการแสดงความจงใจที่จะกลั่นแกล้งไต้หวัน ที่จากเดิมเป็นการตรวจสอบยาฆ่าแมลงแบบสุ่ม เปลี่ยนเป็นการตรวจสอบทุกล็อต และไม่กี่ปีนี้ จีนแผ่นดินใหญ่ยกระดับการตรวจเชื้อแบคทีเรียซานโทโมนาสที่ทำให้เกิดการเน่าดำด้วย
ขนส่งส้มติดอยู่ที่ท่าเรือฮ่องกงนาน ส้มเน่า ต้องทิ้งเป็นขยะ
นายไช่เหวินจั่น(蔡文展)พ่อค้าที่ส่งส้มเมอร์คอทขายฮ่องกงเป็นหลักบอกว่า ขณะนี้ฮ่องกงเกิดการระบาดของ covid 19 อย่างรุนแรง มีคนติดเชื้อมากกว่าหมื่นคนต่อวัน เขายอมรับว่า ส้มเมอร์คอทขายยากมาก แม้ปัจจุบันส่งส้มไปขายฮ่องกงคงไว้ที่ 2 คอนเทนเนอร์ต่อสัปดาห์ สินค้าส่งไปถึงท่าเรือตามกำหนดเวลา แต่ว่าที่ท่าเรือฮ่องกงระบายสินค้าไม่ทัน ทำให้ส้มเมอร์คอทเน่าทั้งหมด เท่ากับว่าเป็นการส่งขยะ 2 คอนเทนเนอร์ไปที่ฮ่องกง แถมยังต้องจ้างรถมาบรรทุกขยะอีกด้วย อย่างไรก็ตาม คาดว่าในช่วงเทศกาลเช็งเม้งจะมีเร่งขายส้มให้หมด คณะกรรมการการเกษตรรับปากว่าจะรับซื้อส้มเมอร์คอทน้ำหนัก 10 ชั่งหรือ 6 กก.ต่อลัง จำนวน 10,000 ลัง และเพิ่มช่องทางการขายในประเทศ รวมทั้งมีการนำไปแปรรูปทำเป็นน้ำผลไม้ นอกจากนี้ รัฐบาลยังช่วยขยายตลาดต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย บรูไน หรือแคนาดา เป็นต้น