
Sign up to save your podcasts
Or
การสร้างสรรค์ไอศกรีมไข่ปลากระบอกเพื่อฟื้นฟูหมู่บ้านจินหู
เส้นทางหลวงหมายเลข 61 ซึ่งเชื่อมชายฝั่งตะวันตกของไต้หวัน เป็นเส้นทางยอดนิยมสำหรับนักบิดมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ อย่างไรก็ตาม หมู่บ้านจินหูในเมืองหยุนหลินกลับถูกมองข้าม แม้ว่าจะมีอาหารทะเลสดอย่างหอยตลับ หอยนางรม และกุ้งขาวที่น่าลิ้มลอง เจิงเจียอิ้ว(曾家祐) ทายาทรุ่นที่ 3 ของโรงงานผลิตน้ำแข็งในหมู่บ้าน รู้สึกแปลกใจที่นักท่องเที่ยวไม่แวะเข้ามา เขาจึงตัดสินใจสร้างเอกลักษณ์ใหม่ให้หมู่บ้าน ด้วยการทำไอศกรีมไข่ปลากระบอก
ไอศกรีมไข่ปลากระบอก
แนวคิดนี้เกิดจากการเดินทางไปญี่ปุ่น ที่นั่นเขาได้ลิ้มลองไอศกรีมมัทฉะเลี่ยมทองคำเปลว ซึ่งแม้จะหรูหราแต่ไม่มีรสชาติ เขาจึงคิดถึงไข่ปลากระบอกสีทองของบ้านเกิดที่อร่อยและไม่เหมือนใคร หลังกลับมา เขาเริ่มทดลองทำไอศกรีมไข่ปลากระบอก และปรับโรงงานน้ำแข็งเก่าให้กลายเป็นร้านไอศกรีมสไตล์ย้อนยุค โดยยังมีพายสับปะรดไข่ปลากระบอกเพิ่มเป็นทางเลือก ซึ่งเป้าหมายของเขาคือทำให้หมู่บ้านจินหูเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวและทำให้ไข่ปลากระบอกกลายเป็นอาหารที่ผู้คนทั่วไปเพลิดเพลินได้ทุกวัน
ตำบลโข่วหู เมืองหยุนหลินเป็นแหล่งผลิตไข่ปลากระบอกที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน คิดเป็นกว่า 90% ของการผลิตในประเทศ มีมูลค่าตลาดกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญไต้หวัน เจิงเจียอิ้ว ทายาทรุ่นที่ 3 ของโรงงานน้ำแข็งในหมู่บ้านจินหู เล่าว่าไข่ปลากระบอกคือรสชาติของบ้านเกิดและวัยเด็ก ทุกครอบครัวในหมู่บ้านมักจะตากไข่ปลากระบอกหน้าบ้านในฤดูหนาว โดยเด็กๆ ต้องเฝ้าระวังลมมรสุมและแมวป่าที่อาจขโมยไปกิน
ไข่ปลากระบอกตากแห้ง
คุณเจิงเจียอิ้ว อธิบายว่าการตากไข่ปลากระบอกในฤดูหนาวที่ลมหนาวและความชื้นของเกลือจากทะเล ช่วยให้ได้รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ แม้ว่าจะอบแห้งได้ แต่ไม่มีกลิ่นหอมเท่ากับการตากแดด นอกจากนี้ เขายังเปิดร้านขายไอศกรีมไข่ปลากระบอก หวังฟื้นฟูอุตสาหกรรมไข่ปลากระบอกดั้งเดิมและสร้างชีวิตชีวาให้หมู่บ้าน
ครอบครัวของคุณเจิงเจียอิ้วเริ่มต้นจากธุรกิจเลี้ยงปลาไหล ซึ่งต่อมาได้ขยายไปสู่อุตสาหกรรมน้ำแข็งเพื่อใช้ในกระบวนการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ทั้งปลาทะเลและหอยนางรม ในช่วงพีคของการเลี้ยงปลากระบอก ตำบลโข่วหูผลิตไข่ปลากระบอกได้สูงถึง 2,000 ตันต่อปี ส่งผลให้อุตสาหกรรมไข่ปลากระบอกมีมูลค่ามากกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญไต้หวัน คุณเจิงห้วนอี้ ซึ่งเป็นคุณพ่อของเขาได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ โดยเริ่มแบรนด์ "ลุงปลากระบอก(烏魚伯)" เมื่อ 20 ปีก่อน และประสบความสำเร็จในการส่งออกไข่ปลากระบอกผ่านช่องทางออนไลน์ แม้ว่าจะถูกวิจารณ์ในตอนแรกก็ตาม
ร้านไอศกรีมเดิมคือโรงงานผลิตน้ำแข็งซินหรง
การทำธุรกิจไข่ปลากระบอกนั้นจำกัดอยู่ในช่วง 3-4 เดือนของปี ทำให้คุณเจิงเจียอิ้วเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างความหลากหลาย เช่น ซอสหอยเชลล์ไข่ปลากระบอก ขนมบ๊ะจ่างไข่ปลากระบอก และพายสับปะรดไข่ปลากระบอก รวมถึงการเปิดร้านไอศกรีมไข่ปลากระบอกในโรงงานน้ำแข็งเดิม เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจตลอดทั้งปี นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงอนาคตของตำบลโข่วหู ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสินค้าสัตว์น้ำที่สำคัญของไต้หวัน เช่น หอยกาบ หอยนางรม และกุ้งขาว เขามุ่งหวังที่จะขยายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นผ่านการร่วมมือกับสมาคมย่านธุรกิจ และเปิดร้านค้าที่มีเอกลักษณ์ เช่น ร้านบะหมี่ และร้านซีฟู้ด โดยมีเป้าหมายที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่น
การสร้างสรรค์ไอศกรีมไข่ปลากระบอกเพื่อฟื้นฟูหมู่บ้านจินหู
เส้นทางหลวงหมายเลข 61 ซึ่งเชื่อมชายฝั่งตะวันตกของไต้หวัน เป็นเส้นทางยอดนิยมสำหรับนักบิดมอเตอร์ไซค์บิ๊กไบค์ อย่างไรก็ตาม หมู่บ้านจินหูในเมืองหยุนหลินกลับถูกมองข้าม แม้ว่าจะมีอาหารทะเลสดอย่างหอยตลับ หอยนางรม และกุ้งขาวที่น่าลิ้มลอง เจิงเจียอิ้ว(曾家祐) ทายาทรุ่นที่ 3 ของโรงงานผลิตน้ำแข็งในหมู่บ้าน รู้สึกแปลกใจที่นักท่องเที่ยวไม่แวะเข้ามา เขาจึงตัดสินใจสร้างเอกลักษณ์ใหม่ให้หมู่บ้าน ด้วยการทำไอศกรีมไข่ปลากระบอก
ไอศกรีมไข่ปลากระบอก
แนวคิดนี้เกิดจากการเดินทางไปญี่ปุ่น ที่นั่นเขาได้ลิ้มลองไอศกรีมมัทฉะเลี่ยมทองคำเปลว ซึ่งแม้จะหรูหราแต่ไม่มีรสชาติ เขาจึงคิดถึงไข่ปลากระบอกสีทองของบ้านเกิดที่อร่อยและไม่เหมือนใคร หลังกลับมา เขาเริ่มทดลองทำไอศกรีมไข่ปลากระบอก และปรับโรงงานน้ำแข็งเก่าให้กลายเป็นร้านไอศกรีมสไตล์ย้อนยุค โดยยังมีพายสับปะรดไข่ปลากระบอกเพิ่มเป็นทางเลือก ซึ่งเป้าหมายของเขาคือทำให้หมู่บ้านจินหูเป็นจุดหมายการท่องเที่ยวและทำให้ไข่ปลากระบอกกลายเป็นอาหารที่ผู้คนทั่วไปเพลิดเพลินได้ทุกวัน
ตำบลโข่วหู เมืองหยุนหลินเป็นแหล่งผลิตไข่ปลากระบอกที่ใหญ่ที่สุดในไต้หวัน คิดเป็นกว่า 90% ของการผลิตในประเทศ มีมูลค่าตลาดกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญไต้หวัน เจิงเจียอิ้ว ทายาทรุ่นที่ 3 ของโรงงานน้ำแข็งในหมู่บ้านจินหู เล่าว่าไข่ปลากระบอกคือรสชาติของบ้านเกิดและวัยเด็ก ทุกครอบครัวในหมู่บ้านมักจะตากไข่ปลากระบอกหน้าบ้านในฤดูหนาว โดยเด็กๆ ต้องเฝ้าระวังลมมรสุมและแมวป่าที่อาจขโมยไปกิน
ไข่ปลากระบอกตากแห้ง
คุณเจิงเจียอิ้ว อธิบายว่าการตากไข่ปลากระบอกในฤดูหนาวที่ลมหนาวและความชื้นของเกลือจากทะเล ช่วยให้ได้รสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ แม้ว่าจะอบแห้งได้ แต่ไม่มีกลิ่นหอมเท่ากับการตากแดด นอกจากนี้ เขายังเปิดร้านขายไอศกรีมไข่ปลากระบอก หวังฟื้นฟูอุตสาหกรรมไข่ปลากระบอกดั้งเดิมและสร้างชีวิตชีวาให้หมู่บ้าน
ครอบครัวของคุณเจิงเจียอิ้วเริ่มต้นจากธุรกิจเลี้ยงปลาไหล ซึ่งต่อมาได้ขยายไปสู่อุตสาหกรรมน้ำแข็งเพื่อใช้ในกระบวนการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ ทั้งปลาทะเลและหอยนางรม ในช่วงพีคของการเลี้ยงปลากระบอก ตำบลโข่วหูผลิตไข่ปลากระบอกได้สูงถึง 2,000 ตันต่อปี ส่งผลให้อุตสาหกรรมไข่ปลากระบอกมีมูลค่ามากกว่า 1 หมื่นล้านเหรียญไต้หวัน คุณเจิงห้วนอี้ ซึ่งเป็นคุณพ่อของเขาได้เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมนี้ โดยเริ่มแบรนด์ "ลุงปลากระบอก(烏魚伯)" เมื่อ 20 ปีก่อน และประสบความสำเร็จในการส่งออกไข่ปลากระบอกผ่านช่องทางออนไลน์ แม้ว่าจะถูกวิจารณ์ในตอนแรกก็ตาม
ร้านไอศกรีมเดิมคือโรงงานผลิตน้ำแข็งซินหรง
การทำธุรกิจไข่ปลากระบอกนั้นจำกัดอยู่ในช่วง 3-4 เดือนของปี ทำให้คุณเจิงเจียอิ้วเห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ เพื่อสร้างความหลากหลาย เช่น ซอสหอยเชลล์ไข่ปลากระบอก ขนมบ๊ะจ่างไข่ปลากระบอก และพายสับปะรดไข่ปลากระบอก รวมถึงการเปิดร้านไอศกรีมไข่ปลากระบอกในโรงงานน้ำแข็งเดิม เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจตลอดทั้งปี นอกจากนี้ เขายังกล่าวถึงอนาคตของตำบลโข่วหู ซึ่งเป็นแหล่งผลิตสินค้าสัตว์น้ำที่สำคัญของไต้หวัน เช่น หอยกาบ หอยนางรม และกุ้งขาว เขามุ่งหวังที่จะขยายอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นผ่านการร่วมมือกับสมาคมย่านธุรกิจ และเปิดร้านค้าที่มีเอกลักษณ์ เช่น ร้านบะหมี่ และร้านซีฟู้ด โดยมีเป้าหมายที่จะดึงดูดนักท่องเที่ยวและสร้างความเติบโตให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่น