
Sign up to save your podcasts
Or
เคยทานไหม? มะเขือเทศสุดหล่อ (帥哥番茄) สีแดง ผลกลมรี รสชาติกลมกล่อม อร่อย ไม่เปรี้ยวและไม่หวานมาก
ช่วงนี้ถือเป็นฤดูกาลของมะเขือเทศในไต้หวัน ปีนี้ผลผลิตมาก ราคาถูก มีบางสวนที่ปลูกมะเขือเทศผลใหญ่ในเมืองเจียอี้ถึงขนาดเปิดสวนให้ประชาชนเข้าไปเก็บฟรีด้วย และไต้หวันเองก็มีการเพาะปลูกมะเขือเทศทั้งผลเล็กและผลใหญ่ที่หลากหลายสายพันธุ์ รสชาติอร่อย อย่างเช่น มะเขือเทศสีดา มะเขือเทศราชินี มะเขือเทศบิ๊กบีฟหรือหนิวฟันเฉีย เป็นต้น แต่ว่าในครั้งนี้ขอนำเรื่องของมะเขือเทศผลเล็กที่ภาษาจีนเรียกว่า "เสี่ยวฟันเฉีย小番茄" ที่ปลูกในเขตเหยียนสุ่ยของนครไถหนานมาเล่าให้ฟัง ชิวจื่อเซวียน (邱子軒) ประธานสหกรณ์เกษตรเขตเหยียนสุ่ยบอกว่า ที่เขตเหยียนสุ่ยของนครไถหนานมีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีชื่อ 2 อย่าง ซึ่งอย่างแรกคือ ข้าวโพดเนื้อแข็งที่ใช้ทำอาหารสัตว์ ครองสัดส่วนเนื้อที่การเพาะปลูก 73% ส่วนอย่างที่ 2 คือ มะเขือเทศผลเล็ก มีเนื้อที่เพาะปลูก 120 เฮกตาร์ และในจำนวนนี้เป็นสายพันธุ์เสี่ยวหมิง (小明番茄) สูงถึง 80% ถือเป็นมะเขือดาวเด่นที่ได้รับความนิยมในขณะนี้ มีชื่อเรียกทั่วไปที่หลายคนรู้จักว่า "ซ่วยเกอฟันเฉีย-帥哥番茄" ถ้าให้แปลตรงๆ ก็คือ "มะเขือเทศสุดหล่อ" สร้างมูลค่าประมาณ 130 ล้านเหรียญไต้หวัน/ปี โดยที่ผ่านมา เกษตรกรเขตเหยียนสุ่ยก็เคยปลูกมะเขือเทศหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นมะเขือเทศผลเล็กหรือผลใหญ่ มีทั้งมะเขือเทศสีดา มะเขือเทศราชินี แต่ว่าในปัจจุบัน สายพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดเป็นสายพันธุ์เสี่ยวหมิง (ซ่วยเกอฟันเฉีย) มีสีแดง ผลเล็กค่อนข้างกลมรี มีรสชาติอร่อย ไม่หวานมากและไม่เปรี้ยวมาก เหมาะต่อการปลูกในพื้นดินที่มีความเป็นด่างคือดินค่อนข้างเค็ม เพราะว่าเขตเหยียนสุ่ยของนครไถหนานตั้งอยู่ในช่วงปลายของเขตชลประทาน ทำให้มะเขือเสี่ยวหมิงที่ปลูกได้มีรสชาติที่เป็นพิเศษกว่าที่อื่น(บางคนบอกว่ามีรสเค็มของเกลือนิดๆ อยู่ด้วย)
พื้นดินเป็นด่างค่อนข้างเค็ม แต่มะเขือเทศที่ปลูกได้รสชาติอร่อย
หลิวอีชัง (劉依昌) ผู้ช่วยนักวิจัยสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชไถหนานบอกว่า หลังปี 1980 ธุรกิจผลิตน้ำตาลเริ่มซบเซา อุตสาหกรรมการแปรรูปมะเขือเทศเริ่มได้รับความนิยม ทำให้เมืองไถหนานมีความนิยมปลูกมะเขือเทศเป็นจำนวนมาก ขายได้ราคาดีกว่าข้าว และเขตเหยียนสุ่ยถือเป็นช่วงปลายของการชลประทาน ได้รับน้ำสำหรับการเพาะปลูกน้อย เพราะฉะนั้น การปลูกข้าว อ้อย ที่ต้องการน้ำมากจึงมีจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ แต่เนื่องจากมะเขือเทศเสี่ยวหมิงมีความคงทน เหมาะกับสภาพอากาศที่แปรปรวน ในพื้นดินที่มีน้ำน้อยและมีความเค็มด้วย ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกกันมากขึ้น จนกลายเป็นผลผลิตที่มีชื่อเสียงของเขตเหยียนสุ่ย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม หลิวอีชังยังบอกด้วยว่า การปลูกมะเขือเทศของที่นี่จะประสบปัญหาสำคัญ 2 อย่างคือ 1.ปัญหาการควบคุมหนอนแมลง 2. ปัญหาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากการปลูกมะเขือเทศในที่กลางแจ้ง ไม่ได้แยกจากสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง แต่ว่าเกษตรกรต้องควบคุมการใช้ยาฆ่าแมลงในอัตราส่วนที่เหมาะสม จึงไม่มีปัญหาของยาฆ่าแมลงตกค้าง ปี 2020 สภาพอากาศส่วนใหญ่ร้อนและแล้ง ทำให้แมลงหวี่ขาวทำลายมะเขือเทศรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ไม่กี่ปีนี้ รัฐบาลรณรงค์ให้ปลูกมะเขือเทศในโรงเรือน แต่เนื่องจากภาคใต้ของไต้หวันมีอากาศร้อน การติดตั้งอุปกรณ์ยิ่งทำให้สภาพแวดล้อมร้อนขึ้น เกษตรกรจึงหันมาเลือกเวลาเพาะปลูก จนทำให้ผลผลิตกระจุกอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่งผลให้ผลผลิตล้นตลาด และนอกจากนี้ การติดตั้งอุปกรณ์มีต้นทุนสูง หากพื้นที่มากหน่อยจะต้องลงทุนอย่างน้อย 600,000-700,000 เหรียญไต้หวัน ถือเป็นการลงทุนที่สูง และอีกประการหนึ่งคือ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ หากไม่มีลูกหลานสืบทอดกิจการ ก็มักจะไม่อยากลงทุนต่อไป
สหกรณ์เกษตรเหยียนสุ่ยส่งเสริมการขายมะเขือเทศ
หลังการที่รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของการปลูกแล้ว ได้ทำให้การปลูกมะเขือเทศของเขตเหยียนสุ่ยเริ่มมีชื่อเสียง แต่ว่าถ้าเป็นช่วงฤดูกาลคือช่วงเดือนพฤศจิกายน, เดือนธันวาคม จนถึงเดือนมีนาคม, เดือนเมษายน ก็จะได้รับผลกระทบจากปริมาณที่ล้นตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังเดือนม.ค.ไปแล้วถือว่าผลิตผลมะเขือเทศมีมาก ทำให้ราคาตก ดังนั้น ทางสหกรณ์เกษตรจึงดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ด้วยการรับซื้อมะเขือเทศผลสุก นำไปผลิตเป็นมะเขือเทศแห้ง ชิวจื่อเซวียน ประธานสหกรณ์เกษตรเขตเหยียนสุ่ยบอกว่า การที่เลือกนำมะเขือเทศช่วงฤดูกาลที่ล้นตลาดนำมาทำเป็นมะเขือเทศแห้ง เหตุผลคือ หลังแปรรูปแล้ว คาดหวังรักษาความสดต่อไป เพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการไว้ เนื่องจากส่วนประกอบหลักๆ ของมะเขือเทศแห้งมีเพียงเกลือและน้ำตาล ไม่เติมสารกันบูด เก็บรักษาได้นานถึง 8 เดือน เหมาะสำหรับคนที่ต้องการรับประทานมะเขือเทศนอกฤดูกาลหรือช่วงที่ผลผลิตของมะเขือเทศน้อย ราคาแพง แก้ความอยากของผู้บริโภคได้ และยังได้สารอาหารไลโคปีนที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ส่วนการเรียกชื่อมะเขือเทศสายพันธุ์เสี่ยวหมิงของเขตเหยียนสุ่ยเมืองไถหนานอีกชื่อว่า "มะเขือเทศสุดหล่อ-ซ่วยเกอฟันเฉีย-帥哥番茄" ก็เพราะต้องการให้ผู้บริโภคจดจำได้ดี เป็นการสร้างแบรนด์ว่ามาจากเขตเหยียนสุ่ยที่เดียว เนื่องจากสายพันธุ์มะเขือเทศทั่วไต้หวันมีมากมาย เมื่อนำมาผลิตเป็นมะเขือเทศแห้งก็มีการใช้บรรจุห่อแบบดั้งเดิม ขณะเดียวกันมีการจ้างผู้เชี่ยวชาญออกแบบสไตล์ที่ไม่เหมือนกันเพื่อดึงดูดสายตาผู้บริโภคด้วย นอกจากนี้ มีการรับซื้อมะเขือเทศจากเกษตรกรในราคาท้องตลาด และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โรงงานแปรรูปยังได้รับมาตรฐาน HACCP และ ISO 22000 ด้วย อีกทั้งเพื่อรับประกันคุณภาพของมะเขือเทศสด ทางสหกรณ์เกษตรจะรับซื้อมะเขือเทศที่มีใบรับรองตรวจสอบแหล่งปลูก เพื่อตรวจสอบขั้นตอนการปลูก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใส่ปุ๋ย การใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 14 ราย และทางสหกรณ์เกษตรยังช่วยหาตลาดให้กับเกษตรกร มีการใช้ลังใส่มะเขือเทศที่มีตราสัญลักษณ์ของสหกรณ์เกษตร ส่งไปขายตลาดค้าส่งทางภาคเหนือ
ช่วงมะเขือเทศล้นตลาด สหกรณ์เกษตรรับซื้อมาแปรรูปเป็นมะเขือเทศแห้ง
อู๋เฉิงชง (吳承聰) เกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศสายพันธุ์เสี่ยวหมิงบอกว่า ที่ผ่านมาจะปลูกมะเขือเทศสายพันธุ์สีดา และมะเขือเทศราชินี แต่เนื่องจากทั้งสองสายพันธุ์เปลือกบาง ผลปริแตกง่าย หลังทราบข่าวทางสมาคมมีโครงการส่งเสริมปลูกมะเขือเทศสายพันธุ์เสี่ยวหมิงที่มีข้อดีหลายประการ จึงหันมาปลูกด้วย หากเป็นช่วงที่มีพายุไต้ฝุ่นพัดเข้ามา จะต้องปกคลุมด้วยตาข่ายเพื่อป้องกันลมที่พัดแรง แต่ถ้าอากาศร้อน ก็จะเอาผ้าคลุมพลาสติกออก แล้วปูด้วยฟางข้าวไว้ที่ข้างๆ เพื่อกันแดดให้กับต้นกล้า แต่ถ้าฝนแล้ง ก็ต้องอาศัยน้ำจากเขื่อน แต่ถ้าไม่มีน้ำเหมือนสถานการณ์ปัจจุบันก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร นายอู๋บอกด้วยว่า ขอให้ใช้ยาฆ่าแมลงตามใบรับรองตรวจสอบแหล่งปลูก ก็จะสามารถป้องกันหนอนแมลงได้ผล และหลังเก็บเกี่ยวมะเขือเทศ อาจจะปลูกแตงโมผลเล็กหรือฟักทองจำนวนไม่มาก เพื่อเป็นการพักหน้าดิน อู๋คุนจื๋อ (吳坤值) เกษตรกรปลูกมะเขือเทศอีกท่านและยังเป็นหัวหน้ากลุ่มย่อยของสหกรณ์เกษตรเหยียนสุ่ยบอกว่า เนื้อที่ 30 ไร่เศษ ปลูกมะเขือเทศพันธุ์เสี่ยวหมิงได้ประมาณ 100 ตัน/ปี เขาได้แบ่งปันประสบการณ์ให้เกษตรกรุ่นใหม่ว่า ก่อนปลูกมะเขือเทศ จะต้องประเมินฐานะการเงินของตนเองว่า รับภาระค่าเครื่องจักรและค่าแรงเก็บผลมะเขือเทศได้หรือไม่ สำหรับคนที่ทำงานประจำและต้องการปลูกมะเขือเทศเป็นงานเสริม ก็จะกลายเป็นภาระที่หนักอึ้งได้ อีกประการหนึ่งคือ ต้องถามตัวเองว่ามีความอดทนมากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม ตลาดที่แปรปรวน เพราะว่าไม่ว่าจะปลูกอะไรก็ต้องมีความอดทนทั้งนั้น ยิ่งงานเกษตรเป็นงานที่ต้องอาศัยดินฟ้าอากาศ ปลูกแล้วมีความร่ำรวยมหาศาลคงยาก ขอเพียงแค่ให้มีความราบรื่นปลอดภัยเป็นสำคัญ ส่วนอู๋ชิวสี (吳秋習) หัวหน้ากลุ่มเกษตรของสหกรณ์เขตเหยียนสุ่ยบอกว่า ตัวเขาเองทำเกษตรในเนื้อที่ประมาณ 36 ไร่กว่า ทำมานาน 30 ปี เขาพูดปนหัวเราะว่า ถ้าจะถามถึงปริมาณการปลูกก็ไม่เคยนับตัวเลขที่แม่นยำ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะส่งมะเขือขายเป็นลัง ปัจจุบันมีลูกชายคือ นายอู๋เหอเซิ่ง ที่ช่วยดำเนินกิจการ ทำให้ตัวเขาเองกลายเป็นแนวหน้าของการปลูกมะเขือเทศ ถ้าจะถามว่า มีเคล็ดลับอะไรในการปลูกมะเขือเทศเสี่ยวหมิง เขาบอกว่า การปลูกมะเขือเทศไม่มีเคล็ดลับอะไร ข้อสำคัญอยู่ที่ว่ายอมเรียนรู้ ยอมซักถามหรือไม่ หาวิธีการปลูกที่เหมาะสมที่สุด เมื่อปลูกนานแล้วก็จะรู้ว่าช่วงไหนควรทำอะไร สรุปคือ ต้องใส่ใจจึงจะได้ผลตอบแทนนั่นเอง
อู๋ชิวสีเกษตรกรนครไถหนานและลูกชายช่วยกันปลูกมะเขือเทศอย่างมีความสุข
เคยทานไหม? มะเขือเทศสุดหล่อ (帥哥番茄) สีแดง ผลกลมรี รสชาติกลมกล่อม อร่อย ไม่เปรี้ยวและไม่หวานมาก
ช่วงนี้ถือเป็นฤดูกาลของมะเขือเทศในไต้หวัน ปีนี้ผลผลิตมาก ราคาถูก มีบางสวนที่ปลูกมะเขือเทศผลใหญ่ในเมืองเจียอี้ถึงขนาดเปิดสวนให้ประชาชนเข้าไปเก็บฟรีด้วย และไต้หวันเองก็มีการเพาะปลูกมะเขือเทศทั้งผลเล็กและผลใหญ่ที่หลากหลายสายพันธุ์ รสชาติอร่อย อย่างเช่น มะเขือเทศสีดา มะเขือเทศราชินี มะเขือเทศบิ๊กบีฟหรือหนิวฟันเฉีย เป็นต้น แต่ว่าในครั้งนี้ขอนำเรื่องของมะเขือเทศผลเล็กที่ภาษาจีนเรียกว่า "เสี่ยวฟันเฉีย小番茄" ที่ปลูกในเขตเหยียนสุ่ยของนครไถหนานมาเล่าให้ฟัง ชิวจื่อเซวียน (邱子軒) ประธานสหกรณ์เกษตรเขตเหยียนสุ่ยบอกว่า ที่เขตเหยียนสุ่ยของนครไถหนานมีผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรมีชื่อ 2 อย่าง ซึ่งอย่างแรกคือ ข้าวโพดเนื้อแข็งที่ใช้ทำอาหารสัตว์ ครองสัดส่วนเนื้อที่การเพาะปลูก 73% ส่วนอย่างที่ 2 คือ มะเขือเทศผลเล็ก มีเนื้อที่เพาะปลูก 120 เฮกตาร์ และในจำนวนนี้เป็นสายพันธุ์เสี่ยวหมิง (小明番茄) สูงถึง 80% ถือเป็นมะเขือดาวเด่นที่ได้รับความนิยมในขณะนี้ มีชื่อเรียกทั่วไปที่หลายคนรู้จักว่า "ซ่วยเกอฟันเฉีย-帥哥番茄" ถ้าให้แปลตรงๆ ก็คือ "มะเขือเทศสุดหล่อ" สร้างมูลค่าประมาณ 130 ล้านเหรียญไต้หวัน/ปี โดยที่ผ่านมา เกษตรกรเขตเหยียนสุ่ยก็เคยปลูกมะเขือเทศหลายสายพันธุ์ ไม่ว่าจะเป็นมะเขือเทศผลเล็กหรือผลใหญ่ มีทั้งมะเขือเทศสีดา มะเขือเทศราชินี แต่ว่าในปัจจุบัน สายพันธุ์ที่ปลูกมากที่สุดเป็นสายพันธุ์เสี่ยวหมิง (ซ่วยเกอฟันเฉีย) มีสีแดง ผลเล็กค่อนข้างกลมรี มีรสชาติอร่อย ไม่หวานมากและไม่เปรี้ยวมาก เหมาะต่อการปลูกในพื้นดินที่มีความเป็นด่างคือดินค่อนข้างเค็ม เพราะว่าเขตเหยียนสุ่ยของนครไถหนานตั้งอยู่ในช่วงปลายของเขตชลประทาน ทำให้มะเขือเสี่ยวหมิงที่ปลูกได้มีรสชาติที่เป็นพิเศษกว่าที่อื่น(บางคนบอกว่ามีรสเค็มของเกลือนิดๆ อยู่ด้วย)
พื้นดินเป็นด่างค่อนข้างเค็ม แต่มะเขือเทศที่ปลูกได้รสชาติอร่อย
หลิวอีชัง (劉依昌) ผู้ช่วยนักวิจัยสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชไถหนานบอกว่า หลังปี 1980 ธุรกิจผลิตน้ำตาลเริ่มซบเซา อุตสาหกรรมการแปรรูปมะเขือเทศเริ่มได้รับความนิยม ทำให้เมืองไถหนานมีความนิยมปลูกมะเขือเทศเป็นจำนวนมาก ขายได้ราคาดีกว่าข้าว และเขตเหยียนสุ่ยถือเป็นช่วงปลายของการชลประทาน ได้รับน้ำสำหรับการเพาะปลูกน้อย เพราะฉะนั้น การปลูกข้าว อ้อย ที่ต้องการน้ำมากจึงมีจำนวนน้อยลงไปเรื่อยๆ แต่เนื่องจากมะเขือเทศเสี่ยวหมิงมีความคงทน เหมาะกับสภาพอากาศที่แปรปรวน ในพื้นดินที่มีน้ำน้อยและมีความเค็มด้วย ทำให้เกษตรกรหันมาปลูกกันมากขึ้น จนกลายเป็นผลผลิตที่มีชื่อเสียงของเขตเหยียนสุ่ย แต่ถึงกระนั้นก็ตาม หลิวอีชังยังบอกด้วยว่า การปลูกมะเขือเทศของที่นี่จะประสบปัญหาสำคัญ 2 อย่างคือ 1.ปัญหาการควบคุมหนอนแมลง 2. ปัญหาสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากการปลูกมะเขือเทศในที่กลางแจ้ง ไม่ได้แยกจากสิ่งแวดล้อม จึงจำเป็นต้องใช้ยาฆ่าแมลง แต่ว่าเกษตรกรต้องควบคุมการใช้ยาฆ่าแมลงในอัตราส่วนที่เหมาะสม จึงไม่มีปัญหาของยาฆ่าแมลงตกค้าง ปี 2020 สภาพอากาศส่วนใหญ่ร้อนและแล้ง ทำให้แมลงหวี่ขาวทำลายมะเขือเทศรุนแรงขึ้น ส่งผลให้ไม่กี่ปีนี้ รัฐบาลรณรงค์ให้ปลูกมะเขือเทศในโรงเรือน แต่เนื่องจากภาคใต้ของไต้หวันมีอากาศร้อน การติดตั้งอุปกรณ์ยิ่งทำให้สภาพแวดล้อมร้อนขึ้น เกษตรกรจึงหันมาเลือกเวลาเพาะปลูก จนทำให้ผลผลิตกระจุกอยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่งผลให้ผลผลิตล้นตลาด และนอกจากนี้ การติดตั้งอุปกรณ์มีต้นทุนสูง หากพื้นที่มากหน่อยจะต้องลงทุนอย่างน้อย 600,000-700,000 เหรียญไต้หวัน ถือเป็นการลงทุนที่สูง และอีกประการหนึ่งคือ เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ หากไม่มีลูกหลานสืบทอดกิจการ ก็มักจะไม่อยากลงทุนต่อไป
สหกรณ์เกษตรเหยียนสุ่ยส่งเสริมการขายมะเขือเทศ
หลังการที่รัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องของการปลูกแล้ว ได้ทำให้การปลูกมะเขือเทศของเขตเหยียนสุ่ยเริ่มมีชื่อเสียง แต่ว่าถ้าเป็นช่วงฤดูกาลคือช่วงเดือนพฤศจิกายน, เดือนธันวาคม จนถึงเดือนมีนาคม, เดือนเมษายน ก็จะได้รับผลกระทบจากปริมาณที่ล้นตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังเดือนม.ค.ไปแล้วถือว่าผลิตผลมะเขือเทศมีมาก ทำให้ราคาตก ดังนั้น ทางสหกรณ์เกษตรจึงดำเนินมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร ด้วยการรับซื้อมะเขือเทศผลสุก นำไปผลิตเป็นมะเขือเทศแห้ง ชิวจื่อเซวียน ประธานสหกรณ์เกษตรเขตเหยียนสุ่ยบอกว่า การที่เลือกนำมะเขือเทศช่วงฤดูกาลที่ล้นตลาดนำมาทำเป็นมะเขือเทศแห้ง เหตุผลคือ หลังแปรรูปแล้ว คาดหวังรักษาความสดต่อไป เพื่อรักษาคุณค่าทางโภชนาการไว้ เนื่องจากส่วนประกอบหลักๆ ของมะเขือเทศแห้งมีเพียงเกลือและน้ำตาล ไม่เติมสารกันบูด เก็บรักษาได้นานถึง 8 เดือน เหมาะสำหรับคนที่ต้องการรับประทานมะเขือเทศนอกฤดูกาลหรือช่วงที่ผลผลิตของมะเขือเทศน้อย ราคาแพง แก้ความอยากของผู้บริโภคได้ และยังได้สารอาหารไลโคปีนที่เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ส่วนการเรียกชื่อมะเขือเทศสายพันธุ์เสี่ยวหมิงของเขตเหยียนสุ่ยเมืองไถหนานอีกชื่อว่า "มะเขือเทศสุดหล่อ-ซ่วยเกอฟันเฉีย-帥哥番茄" ก็เพราะต้องการให้ผู้บริโภคจดจำได้ดี เป็นการสร้างแบรนด์ว่ามาจากเขตเหยียนสุ่ยที่เดียว เนื่องจากสายพันธุ์มะเขือเทศทั่วไต้หวันมีมากมาย เมื่อนำมาผลิตเป็นมะเขือเทศแห้งก็มีการใช้บรรจุห่อแบบดั้งเดิม ขณะเดียวกันมีการจ้างผู้เชี่ยวชาญออกแบบสไตล์ที่ไม่เหมือนกันเพื่อดึงดูดสายตาผู้บริโภคด้วย นอกจากนี้ มีการรับซื้อมะเขือเทศจากเกษตรกรในราคาท้องตลาด และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค โรงงานแปรรูปยังได้รับมาตรฐาน HACCP และ ISO 22000 ด้วย อีกทั้งเพื่อรับประกันคุณภาพของมะเขือเทศสด ทางสหกรณ์เกษตรจะรับซื้อมะเขือเทศที่มีใบรับรองตรวจสอบแหล่งปลูก เพื่อตรวจสอบขั้นตอนการปลูก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการใส่ปุ๋ย การใช้ยาฆ่าแมลง ซึ่งปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการทั้งหมด 14 ราย และทางสหกรณ์เกษตรยังช่วยหาตลาดให้กับเกษตรกร มีการใช้ลังใส่มะเขือเทศที่มีตราสัญลักษณ์ของสหกรณ์เกษตร ส่งไปขายตลาดค้าส่งทางภาคเหนือ
ช่วงมะเขือเทศล้นตลาด สหกรณ์เกษตรรับซื้อมาแปรรูปเป็นมะเขือเทศแห้ง
อู๋เฉิงชง (吳承聰) เกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศสายพันธุ์เสี่ยวหมิงบอกว่า ที่ผ่านมาจะปลูกมะเขือเทศสายพันธุ์สีดา และมะเขือเทศราชินี แต่เนื่องจากทั้งสองสายพันธุ์เปลือกบาง ผลปริแตกง่าย หลังทราบข่าวทางสมาคมมีโครงการส่งเสริมปลูกมะเขือเทศสายพันธุ์เสี่ยวหมิงที่มีข้อดีหลายประการ จึงหันมาปลูกด้วย หากเป็นช่วงที่มีพายุไต้ฝุ่นพัดเข้ามา จะต้องปกคลุมด้วยตาข่ายเพื่อป้องกันลมที่พัดแรง แต่ถ้าอากาศร้อน ก็จะเอาผ้าคลุมพลาสติกออก แล้วปูด้วยฟางข้าวไว้ที่ข้างๆ เพื่อกันแดดให้กับต้นกล้า แต่ถ้าฝนแล้ง ก็ต้องอาศัยน้ำจากเขื่อน แต่ถ้าไม่มีน้ำเหมือนสถานการณ์ปัจจุบันก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไร นายอู๋บอกด้วยว่า ขอให้ใช้ยาฆ่าแมลงตามใบรับรองตรวจสอบแหล่งปลูก ก็จะสามารถป้องกันหนอนแมลงได้ผล และหลังเก็บเกี่ยวมะเขือเทศ อาจจะปลูกแตงโมผลเล็กหรือฟักทองจำนวนไม่มาก เพื่อเป็นการพักหน้าดิน อู๋คุนจื๋อ (吳坤值) เกษตรกรปลูกมะเขือเทศอีกท่านและยังเป็นหัวหน้ากลุ่มย่อยของสหกรณ์เกษตรเหยียนสุ่ยบอกว่า เนื้อที่ 30 ไร่เศษ ปลูกมะเขือเทศพันธุ์เสี่ยวหมิงได้ประมาณ 100 ตัน/ปี เขาได้แบ่งปันประสบการณ์ให้เกษตรกรุ่นใหม่ว่า ก่อนปลูกมะเขือเทศ จะต้องประเมินฐานะการเงินของตนเองว่า รับภาระค่าเครื่องจักรและค่าแรงเก็บผลมะเขือเทศได้หรือไม่ สำหรับคนที่ทำงานประจำและต้องการปลูกมะเขือเทศเป็นงานเสริม ก็จะกลายเป็นภาระที่หนักอึ้งได้ อีกประการหนึ่งคือ ต้องถามตัวเองว่ามีความอดทนมากน้อยแค่ไหน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสิ่งแวดล้อม ตลาดที่แปรปรวน เพราะว่าไม่ว่าจะปลูกอะไรก็ต้องมีความอดทนทั้งนั้น ยิ่งงานเกษตรเป็นงานที่ต้องอาศัยดินฟ้าอากาศ ปลูกแล้วมีความร่ำรวยมหาศาลคงยาก ขอเพียงแค่ให้มีความราบรื่นปลอดภัยเป็นสำคัญ ส่วนอู๋ชิวสี (吳秋習) หัวหน้ากลุ่มเกษตรของสหกรณ์เขตเหยียนสุ่ยบอกว่า ตัวเขาเองทำเกษตรในเนื้อที่ประมาณ 36 ไร่กว่า ทำมานาน 30 ปี เขาพูดปนหัวเราะว่า ถ้าจะถามถึงปริมาณการปลูกก็ไม่เคยนับตัวเลขที่แม่นยำ แต่ส่วนใหญ่แล้วจะส่งมะเขือขายเป็นลัง ปัจจุบันมีลูกชายคือ นายอู๋เหอเซิ่ง ที่ช่วยดำเนินกิจการ ทำให้ตัวเขาเองกลายเป็นแนวหน้าของการปลูกมะเขือเทศ ถ้าจะถามว่า มีเคล็ดลับอะไรในการปลูกมะเขือเทศเสี่ยวหมิง เขาบอกว่า การปลูกมะเขือเทศไม่มีเคล็ดลับอะไร ข้อสำคัญอยู่ที่ว่ายอมเรียนรู้ ยอมซักถามหรือไม่ หาวิธีการปลูกที่เหมาะสมที่สุด เมื่อปลูกนานแล้วก็จะรู้ว่าช่วงไหนควรทำอะไร สรุปคือ ต้องใส่ใจจึงจะได้ผลตอบแทนนั่นเอง
อู๋ชิวสีเกษตรกรนครไถหนานและลูกชายช่วยกันปลูกมะเขือเทศอย่างมีความสุข