
Sign up to save your podcasts
Or
เฉาก๊วยหรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “วุ้นดำ” ทำมาจากหญ้าเฉาก๊วยหรือภาษาจีนกลางเรียกว่า “เซียนเฉ่า-仙草” ที่แปลว่าหญ้าเทวดา เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยามากมาย ช่วยลดอาการร้อนใน กระหายน้ำได้ดี การเลือกรับประทานเฉาก๊วยมีหลากหลายรูปแบบ อาจไม่ได้อยู่ในรูปของวุ้นสีดำอย่างเดียว ยังมีรูปแบบน้ำเฉาก๊วย ช่วงอากาศร้อนๆ ถ้าได้ดื่มน้ำเฉาก๊วยเย็นๆ จะให้ความสดชื่นไม่น้อย ตามท้องตลาดในไต้หวันขายน้ำเฉาก๊วยมีทั้งแบบใส่น้ำตาลหรือไม่ใส่ให้เลือกซื้อได้ และไม่เพียงแต่หน้าร้อนเท่านั้น ช่วงหน้าหนาวถ้าได้ดื่มน้ำเฉาก๊วยร้อนๆ หรือเลือกดื่มชาเฉาก๊วยที่แพคห่อแบบถุงชาชงก็สร้างความอบอุ่นให้กับร่างกายได้ไม่น้อยเช่นกัน
ต้นเฉาก๊วยสายพันธุ์เถาหยวนเบอร์ 1
กงไฉลี่(龔財立) หัวหน้าสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตเถาหยวนบอกว่า ปัจจุบันเฉาก๊วยที่นิยมปลูกในไต้หวันมี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ เถาหยวนเบอร์ 1 และเถาหยวนเบอร์ 2 โดยสายพันธุ์เถาหยวนเบอร์ 1 ส่วนใหญ่ปลูกที่ตำบลกวนซีเมืองซินจู๋ นำมาผลิตเป็นวุ้นเฉาก๊วยที่มีการใช้ทุกส่วนของลำต้น ส่วนเถาหยวนเบอร์ 2 แหล่งปลูกอยู่ที่เขตหยางเหมยของนครเถาหยวน เอกลักษณ์ของสายพันธุ์นี้คือ มีกลิ่นหอมกว่า นิยมนำใช้ใบและก้านผลิตเป็นน้ำเฉาก๊วยหรือชาชงที่ใส่ห่อคล้ายใบชา เมื่อดูจากภายนอกทั้งสองสายพันธุ์จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน หลังจากปลูกนาน 1-2 เดือนแล้วสายพันธุ์เถาหยวนเบอร์ 1 จะเลื้อยไปตามดิน ลำต้นสีออกเขียวและมีขนน้อยกว่า ส่วนเถาหยวนเบอร์ 2 จะเติบโตแบบชูขึ้นเหนือดิน ลำต้นสีออกแดงม่วงเข้ม มีขนเห็นเด่นชัด
ต้นเฉาก๊วยสายพันธุ์เถาหยวนเบอร์ 2
มีคำถามว่า ทำไมที่ตำบลกวนซีของเมืองซินจู๋จึงนิยมปลูกเฉาก๊วยสายพันธุ์เถาหยวนเบอร์ 1 คำตอบคือ เขตกวนซีเป็นพื้นที่ที่มีลมแรง เหมาะกับการปลูกพืชที่ไม่ขึ้นสูง เฉินจิ้นสี่(陳進喜) ผู้อำนวยการส่งเสริมเกษตรของสมาคมตำบลกวนซีบอกว่า ที่ผ่านมามีโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ เพื่อต้องการสร้างเอกลักษณ์ของตำบล ทางตำบลได้ทดลองปลูกเกาเหลียงและข้าวโพด แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นช่วงที่มีลมแรง ลำต้นของพืชที่ชูสูงถูกลมพัดล้มเสียหาย แต่ต้นเฉาก๊วยเถาหยวนเบอร์ 1 เติบโตแบบเลื้อยไปตามดินกลับไม่ได้รับอิทธิพลจากลมแรง จึงกลายเป็นพืชสำคัญของที่นี่ เกษตรกรแซ่จางบอกว่า ปกติเดือนมีนาคมจะเริ่มปลูกเฉาก๊วย ปลูกอย่างน้อย 180 วันจึงเก็บเกี่ยว เขตกวนซีอากาศแห้งหนอนแมลงและโรคพืชน้อย เฉาก๊วยมีคุณภาพดี เมื่อถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่มีลมแรงก็เป็นช่วงเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้ว ลมแรงจึงเหมาะต่อการตากเฉาก๊วย อากาศดี ตากเพียง 2-3 วันก็แห้ง หลังตากแห้งแล้วจะมัดเป็นก้อนวางซ้อนเก็บไว้ในโกดัง
หลังเก็บเกี่ยว เกษตรกรตากเฉาก้วยให้แห้ง จากนั้นนำไปเก็บไว้ในโกดัง(photo:newsmarket)
เฉินซิ่นอวี่(陳信瑀) เจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมเกษตรของสมาคมเกษตรหยางเหมยบอกว่า เฉาก๊วยสายพันธุ์เถาหยวนเบอร์ 2 ปลูกในเขตหยางเหมยเป็นส่วนใหญ่ ใบและลำต้นมีความหอมเป็นพิเศษ ใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยวได้ 1 ปีเก็บเกี่ยวได้ 4-5 ครั้ง หลังเก็บเกี่ยวแล้วนำมาแปรรูปเป็นเฉาก๊วยชงที่คล้ายกับการผลิตชา เกษตรกรเก็บเกี่ยวช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง จึงไม่ค่อยเห็นต้นเฉาก๊วยออกดอก แต่ก็ยังมีการปลูกเฉาก๊วยที่ออกดอกช่วงหน้าหนาวเพื่อจัดเทศกาลชมดอกเฉาก๊วยด้วย ส่วนการเก็บรักษาหญ้าเฉาก๊วยแห้ง จะเก็บไว้ในโกดัง 8 เดือนถึง 1 ปีจึงค่อยนำไปใช้ แต่การทำชาเฉาก๊วยเขตหยางเหมยที่นำไปแปรรูปไม่จำเป็นต้องเก็บนาน แปรรูปขายในปีเดียวกันได้ ส่วนการเลือกซื้อเฉาก๊วยแห้งต้องระวังเรื่องการเก็บรักษา หากดมแล้วมีกลิ่นแปลกๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงซื้อ อย่างไรก็ตาม เฉาก๊วยที่ขายในท้องตลาดไต้หวันส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีทั้งจากจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย เพราะราคาถูกกว่า สถิตินำเข้าปี 2021 จากอินโดนีเซีย 828 ตัน จีน 354 ตัน เวียดนาม 90 ตัน ส่วนที่ปลูกในไต้หวันมีเพียง 697 ตัน ครองสัดส่วน 35% หากจะสังเกตเฉาก๊วยแห้งที่นำเข้ากับที่ปลูกในไต้หวันเมื่อดูภายนอกแตกต่างน้อยมาก เมื่อนำมาผลิตเป็นอาหารยิ่งสังเกตยาก หากผู้บริโภคต้องการทราบแหล่งที่มา ควรดูที่ฉลากสินค้า ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยในไต้หวันส่วนใหญ่จะตรวจสอบแหล่งที่ปลูกได้
ดอกเฉาก๊วย
นอกจากนี้ยังมีคำถามว่า ทำไมเฉาก๊วยจึงจับตัวเป็นก้อนได้? เฉาก๊วยปลอมคืออะไร? เซี่ยเหม่ยหลิง(謝美玲)ผู้อำนวยการฝ่ายขายของตำบลกวนซีเมืองซินจู๋บอกว่า เฉาก๊วยที่มีส่วนประกอบทั้งต้นและรากจะมีสารที่ทำให้เกิดเจลลี่มาก จับตัวเป็นก้อนง่าย แต่ส่วนใหญ่มีการเติมแป้งมันให้จับตัว หรือถ้าชอบวุ้นเฉาก๊วยที่แข็งขึ้นมีความยืดหยุ่นจะเติมผงวุ้นแทนแป้งก็ได้ ถ้าผลิตแบบดั้งเดิมมักใช้แป้งจากลำต้นของข้าวหรือเส้นใยมันเทศเคี่ยวผสมในน้ำเฉาก๊วย ส่วนที่มีการกล่าวทางโซเชียลว่ามีเฉาก๊วยปลอมนั้น ส่วนใหญ่เป็นการเติมโซเดียมคาร์บอเนตเพื่อย่นเวลาการเคี่ยวให้เฉาก๊วยจับตัวเป็นก้อน การเติมสารปรุงแต่งที่เป็นโซเดียมคาร์บอเนตปริมาณเหมาะสมถือว่าถูกต้องตามกฎหมาย เพียงแต่ต้องระบุว่ามีการเติมสารปรุงแต่ง แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นเฉาก๊วยปลอม แต่ถ้าผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยที่ไม่มีส่วนผสมของเฉาก๊วยเลย มีแต่ใส่สารปรุงแต่งกลิ่น สีจากน้ำตาลไหม้ ถือว่ามีโทษกับร่างกาย ผู้บริโภคควรระวังยิ่งนัก
เฉาก๊วยหรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “วุ้นดำ” ทำมาจากหญ้าเฉาก๊วยหรือภาษาจีนกลางเรียกว่า “เซียนเฉ่า-仙草” ที่แปลว่าหญ้าเทวดา เป็นพืชสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยามากมาย ช่วยลดอาการร้อนใน กระหายน้ำได้ดี การเลือกรับประทานเฉาก๊วยมีหลากหลายรูปแบบ อาจไม่ได้อยู่ในรูปของวุ้นสีดำอย่างเดียว ยังมีรูปแบบน้ำเฉาก๊วย ช่วงอากาศร้อนๆ ถ้าได้ดื่มน้ำเฉาก๊วยเย็นๆ จะให้ความสดชื่นไม่น้อย ตามท้องตลาดในไต้หวันขายน้ำเฉาก๊วยมีทั้งแบบใส่น้ำตาลหรือไม่ใส่ให้เลือกซื้อได้ และไม่เพียงแต่หน้าร้อนเท่านั้น ช่วงหน้าหนาวถ้าได้ดื่มน้ำเฉาก๊วยร้อนๆ หรือเลือกดื่มชาเฉาก๊วยที่แพคห่อแบบถุงชาชงก็สร้างความอบอุ่นให้กับร่างกายได้ไม่น้อยเช่นกัน
ต้นเฉาก๊วยสายพันธุ์เถาหยวนเบอร์ 1
กงไฉลี่(龔財立) หัวหน้าสถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตเถาหยวนบอกว่า ปัจจุบันเฉาก๊วยที่นิยมปลูกในไต้หวันมี 2 สายพันธุ์ ได้แก่ เถาหยวนเบอร์ 1 และเถาหยวนเบอร์ 2 โดยสายพันธุ์เถาหยวนเบอร์ 1 ส่วนใหญ่ปลูกที่ตำบลกวนซีเมืองซินจู๋ นำมาผลิตเป็นวุ้นเฉาก๊วยที่มีการใช้ทุกส่วนของลำต้น ส่วนเถาหยวนเบอร์ 2 แหล่งปลูกอยู่ที่เขตหยางเหมยของนครเถาหยวน เอกลักษณ์ของสายพันธุ์นี้คือ มีกลิ่นหอมกว่า นิยมนำใช้ใบและก้านผลิตเป็นน้ำเฉาก๊วยหรือชาชงที่ใส่ห่อคล้ายใบชา เมื่อดูจากภายนอกทั้งสองสายพันธุ์จะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน หลังจากปลูกนาน 1-2 เดือนแล้วสายพันธุ์เถาหยวนเบอร์ 1 จะเลื้อยไปตามดิน ลำต้นสีออกเขียวและมีขนน้อยกว่า ส่วนเถาหยวนเบอร์ 2 จะเติบโตแบบชูขึ้นเหนือดิน ลำต้นสีออกแดงม่วงเข้ม มีขนเห็นเด่นชัด
ต้นเฉาก๊วยสายพันธุ์เถาหยวนเบอร์ 2
มีคำถามว่า ทำไมที่ตำบลกวนซีของเมืองซินจู๋จึงนิยมปลูกเฉาก๊วยสายพันธุ์เถาหยวนเบอร์ 1 คำตอบคือ เขตกวนซีเป็นพื้นที่ที่มีลมแรง เหมาะกับการปลูกพืชที่ไม่ขึ้นสูง เฉินจิ้นสี่(陳進喜) ผู้อำนวยการส่งเสริมเกษตรของสมาคมตำบลกวนซีบอกว่า ที่ผ่านมามีโครงการ 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ เพื่อต้องการสร้างเอกลักษณ์ของตำบล ทางตำบลได้ทดลองปลูกเกาเหลียงและข้าวโพด แต่เมื่อเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วงซึ่งเป็นช่วงที่มีลมแรง ลำต้นของพืชที่ชูสูงถูกลมพัดล้มเสียหาย แต่ต้นเฉาก๊วยเถาหยวนเบอร์ 1 เติบโตแบบเลื้อยไปตามดินกลับไม่ได้รับอิทธิพลจากลมแรง จึงกลายเป็นพืชสำคัญของที่นี่ เกษตรกรแซ่จางบอกว่า ปกติเดือนมีนาคมจะเริ่มปลูกเฉาก๊วย ปลูกอย่างน้อย 180 วันจึงเก็บเกี่ยว เขตกวนซีอากาศแห้งหนอนแมลงและโรคพืชน้อย เฉาก๊วยมีคุณภาพดี เมื่อถึงช่วงฤดูใบไม้ร่วงที่มีลมแรงก็เป็นช่วงเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้ว ลมแรงจึงเหมาะต่อการตากเฉาก๊วย อากาศดี ตากเพียง 2-3 วันก็แห้ง หลังตากแห้งแล้วจะมัดเป็นก้อนวางซ้อนเก็บไว้ในโกดัง
หลังเก็บเกี่ยว เกษตรกรตากเฉาก้วยให้แห้ง จากนั้นนำไปเก็บไว้ในโกดัง(photo:newsmarket)
เฉินซิ่นอวี่(陳信瑀) เจ้าหน้าที่ฝ่ายส่งเสริมเกษตรของสมาคมเกษตรหยางเหมยบอกว่า เฉาก๊วยสายพันธุ์เถาหยวนเบอร์ 2 ปลูกในเขตหยางเหมยเป็นส่วนใหญ่ ใบและลำต้นมีความหอมเป็นพิเศษ ใช้เครื่องจักรเก็บเกี่ยวได้ 1 ปีเก็บเกี่ยวได้ 4-5 ครั้ง หลังเก็บเกี่ยวแล้วนำมาแปรรูปเป็นเฉาก๊วยชงที่คล้ายกับการผลิตชา เกษตรกรเก็บเกี่ยวช่วงปลายฤดูใบไม้ร่วง จึงไม่ค่อยเห็นต้นเฉาก๊วยออกดอก แต่ก็ยังมีการปลูกเฉาก๊วยที่ออกดอกช่วงหน้าหนาวเพื่อจัดเทศกาลชมดอกเฉาก๊วยด้วย ส่วนการเก็บรักษาหญ้าเฉาก๊วยแห้ง จะเก็บไว้ในโกดัง 8 เดือนถึง 1 ปีจึงค่อยนำไปใช้ แต่การทำชาเฉาก๊วยเขตหยางเหมยที่นำไปแปรรูปไม่จำเป็นต้องเก็บนาน แปรรูปขายในปีเดียวกันได้ ส่วนการเลือกซื้อเฉาก๊วยแห้งต้องระวังเรื่องการเก็บรักษา หากดมแล้วมีกลิ่นแปลกๆ ก็ควรหลีกเลี่ยงซื้อ อย่างไรก็ตาม เฉาก๊วยที่ขายในท้องตลาดไต้หวันส่วนใหญ่นำเข้ามาจากต่างประเทศ มีทั้งจากจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย เพราะราคาถูกกว่า สถิตินำเข้าปี 2021 จากอินโดนีเซีย 828 ตัน จีน 354 ตัน เวียดนาม 90 ตัน ส่วนที่ปลูกในไต้หวันมีเพียง 697 ตัน ครองสัดส่วน 35% หากจะสังเกตเฉาก๊วยแห้งที่นำเข้ากับที่ปลูกในไต้หวันเมื่อดูภายนอกแตกต่างน้อยมาก เมื่อนำมาผลิตเป็นอาหารยิ่งสังเกตยาก หากผู้บริโภคต้องการทราบแหล่งที่มา ควรดูที่ฉลากสินค้า ผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยในไต้หวันส่วนใหญ่จะตรวจสอบแหล่งที่ปลูกได้
ดอกเฉาก๊วย
นอกจากนี้ยังมีคำถามว่า ทำไมเฉาก๊วยจึงจับตัวเป็นก้อนได้? เฉาก๊วยปลอมคืออะไร? เซี่ยเหม่ยหลิง(謝美玲)ผู้อำนวยการฝ่ายขายของตำบลกวนซีเมืองซินจู๋บอกว่า เฉาก๊วยที่มีส่วนประกอบทั้งต้นและรากจะมีสารที่ทำให้เกิดเจลลี่มาก จับตัวเป็นก้อนง่าย แต่ส่วนใหญ่มีการเติมแป้งมันให้จับตัว หรือถ้าชอบวุ้นเฉาก๊วยที่แข็งขึ้นมีความยืดหยุ่นจะเติมผงวุ้นแทนแป้งก็ได้ ถ้าผลิตแบบดั้งเดิมมักใช้แป้งจากลำต้นของข้าวหรือเส้นใยมันเทศเคี่ยวผสมในน้ำเฉาก๊วย ส่วนที่มีการกล่าวทางโซเชียลว่ามีเฉาก๊วยปลอมนั้น ส่วนใหญ่เป็นการเติมโซเดียมคาร์บอเนตเพื่อย่นเวลาการเคี่ยวให้เฉาก๊วยจับตัวเป็นก้อน การเติมสารปรุงแต่งที่เป็นโซเดียมคาร์บอเนตปริมาณเหมาะสมถือว่าถูกต้องตามกฎหมาย เพียงแต่ต้องระบุว่ามีการเติมสารปรุงแต่ง แบบนี้ไม่ถือว่าเป็นเฉาก๊วยปลอม แต่ถ้าผลิตภัณฑ์เฉาก๊วยที่ไม่มีส่วนผสมของเฉาก๊วยเลย มีแต่ใส่สารปรุงแต่งกลิ่น สีจากน้ำตาลไหม้ ถือว่ามีโทษกับร่างกาย ผู้บริโภคควรระวังยิ่งนัก