ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 18 เม.ย.2566


Listen Later

     ผึ้งเป็นแมลงที่มีประโยชน์มากมาย นอกจากช่วยทำน้ำผึ้งแล้ว ผึ้งยังช่วยผสมเกสรของพืชเศรษฐกิจมากมายอีกด้วย แม้ไต้หวันจะมีเทคโนโลยีการเพาะปลูกที่ทันสมัย แต่การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลายชนิดยังต้องใช้ผึ้งในการช่วยผสมเกสรเพื่อเพิ่มผลผลิต การใช้ผึ้งช่วยผสมเกสรสำหรับเกษตรกรที่ปลูกพืชในเรือนกระจก บางครั้งต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ เช่น ขาดแคลนลังผึ้งขณะที่เป็นช่วงฤดูกาลผลิตน้ำผึ้งขายของผู้เลี้ยงผึ้ง เพื่อสร้างความสะดวก ง่ายต่อการทำงาน และมีความปลอดภัย ภาควิชากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ได้พัฒนาเทคนิคที่ไม่ต้องใช้ผึ้งนางพญา หันมาใช้ฟีโรโมนแทนเพื่อควบคุมให้ผึ้งงานทำงาน ทำให้การใช้จำนวนของผึ้งงานจากหลักหมื่นตัวลดลงเหลือแค่หลักพันก็ยังผสมเกสรได้ และผึ้งงานยังมีความเชื่องขึ้น

ผึ้งช่วยผสมเกสร เพิ่มผลผลิตให้เกษตรกร

     เกษตรกรที่ทดลองใช้เทคนิคดังกล่าวล้วนบอกว่าดี และอยากที่จะซื้อมาใช้อีก ซึ่งเทคนิคนี้ปัจจุบันได้ถ่ายโอนสิทธิ์ให้กับผู้ประกอบการ เพื่อผลิตขายให้กับเกษตรกร ทำให้เกษตรกรมีผึ้งช่วยผสมเกสรได้ตลอดทั้งปี หยางเอินเฉิง(楊恩誠) ศต.สาขากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันบอกว่า ซุกินีซึ่งเป็นพืชตระกูลแตง เมลอน สตรอว์เบอร์รี ล้วนเป็นพืชที่ต้องอาศัยผึ้งในการผสมเกสร หากไม่มีผึ้งช่วยผสมเกสร ผลผลิตต่ำที่ได้จะต่ำ ผลผิดรูปง่าย ขายได้ราคาน้อยลง ซึ่งการผสมเกสรด้วยคนจะเสียเวลา เพิ่มต้นทุนค่าแรง และยังผสมเกสรไม่สมบูรณ์อีกด้วย

สตรอว์เบอร์รีที่ไม่มีผึ้งผสมเกสร รูปไม่สวย

     ไม่กี่ปีนี้เกิดภาวะอากาศแปรปรวนทั่วไต้หวัน การเพาะปลูกพืชที่มีการติดตั้งอุปกรณ์การเพาะปลูกมีพื้นที่เพิ่มขึ้นเป็น 30,726 เฮกตาร์ เกษตรกรเพาะปลูกพืชในเรือนกระจกเพิ่มขึ้น 3.3 เท่า ความต้องการผึ้งในการช่วยผสมเกสรเพิ่มขึ้น เซี่ยเสียงเหวิน(謝祥文) ผู้รับผิดชอบบริษัทไบโอเทคโนโลยีคุนเสียงและยังเป็นนักศึกษาปริญญาเอก สาขากีฏวิทยา มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน บอกว่า การปลูกพืชในเรือนกระจกจะปิดกั้นสิ่งมีชีวิตภายนอก ไม่สามารถให้แมลงจากธรรมชาติเข้าไปช่วยผสมเกสรในเรือนกระจก เกษตรกรส่วนใหญ่ต้องสั่งซื้อลังผึ้งจากผู้เลี้ยงผึ้งเพื่อช่วยผสมเกสรให้กับพืชที่เพาะปลูกในเรือนกระจก

การดูแลผึ้งทั่วไปต้องสวมชุดป้องกันผึ้งต่อย

     ตามวงจรชีวิตของผึ้ง ลังผึ้งแบบดั้งเดิมจะมีผึ้งงานแบ่งหน้าที่กันทำงาน ส่วนหนึ่งทำหน้าดูแลอยู่ในรังผึ้ง อีกส่วนหนึ่งเป็นผึ้งสนามที่บินออกไปนอกรังเพื่อสำรวจและหาอาหาร เซี่ยเสียงเหวิน(謝祥文) ยังบอกว่า เวลาที่ผึ้งสนามบินออกไปหาน้ำหวานมักจะบินไปในตำแหน่งที่มีแสงอาทิตย์ หลังจากที่เกษตรกรซื้อลังผึ้งดั้งเดิมมาเลี้ยงไว้ในเรือนกระจกที่ปลูกพืช ผึ้งก็จะบินในทิศทางที่มีแสงอาทิตย์ จึงมักบินชนตาข่ายจนผึ้งงานเสียชีวิตที่ส่งผลประสิทธิภาพการผสมเกสรลดลง ถ้าพื้นที่เพาะปลูกในเรือนกระจกมีขนาดใหญ่จะพบว่าอาหารของผึ้งจะไม่พอ ผึ้งก็จะบินชนตาข่ายบ่อยจนทำให้ผึ้งตาย แต่ถ้าพื้นที่เพาะปลูกในเรือนกระจกมีขนาดเล็ก ผึ้งก็จะหิวง่าย และมีการจู่โจมสูง

การเลี้ยงผึ้งโดยไม่ต้องใช้ผึ้งนางพญาในการช่วยผสมเกสร

     สำหรับเทคนิคที่ไม่ต้องใช้ผึ้งนางพญา ขณะนี้มีเกษตรกรทดลองนำไปใช้งานเกือบ 90 รายแล้ว ผลการใช้งานส่วนใหญ่บอกว่ามีความสะดวก ดูแลง่าย บางคนถึงกับลืมว่าไม่มีผึ้งนางพญาอยู่ด้วย และผึ้งก็มีความเชื่อง เกษตรกรที่ใช้ไม่ถูกผึ้งต่อยอีก และอยากใช้เทคนิคนี้ต่อไปด้วย เกษตรกรหยางซื่อเจีย(黃士珈) ที่ปลูกแตงกวาเล็กและซุกินี ในเมืองหยุนหลิน บอกว่า ถ้าเทียบกับการใช้คนในการช่วยผสมเกสรแล้ว การใช้ลังผึ้งที่ไม่มีผึ้งนางพญา ผลผลิตที่ได้เสียหายลดลงเหลือประมาณ 1 ใน 10 นอกจากนี้ ยังดูแลง่าย ความต้องการอาหารให้กับผึ้งงานน้อยลง เพียงแค่วางน้ำเปล่าที่สะอาดไว้ข้างๆ ลังผึ้งก็เพียงพอแล้ว ประหยัดแรงงาน ประหยัดเวลา 

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti