
Sign up to save your podcasts
Or
ความสำเร็จของการจับกุ้งซากุระในไต้หวัน
กุ้งซากุระ มีสีชมพูแดงคล้ายกับสีของดอกซากุระ เป็นกุ้งขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 4-5 ซม.ราวกับกุ้งฝอย พบได้ทั่วไปในทะเลทางตอนใต้แถบอ่าวซุรุกะของจังหวัดชิซึโอกะในประเทศญี่ปุ่น ส่วนในไต้หวันจับได้แถบชายฝั่งรอบนอกของตำบลตงกั่งเมืองผิงตงและเมืองอี๋หลาน เป็นกุ้งที่มีชื่อเสียง รสชาติหวานอร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและ มีแคลเซียมและเส้นใยอาหารสูง นำมาเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารหลากหลายชนิด คนญี่ปุ่นชอบกินกุ้งชนิดนี้มาก เอาไปชุบแป้งทอดกับผักชนิดต่างๆ ส่วนคนไต้หวันชอบเอามาผัดข้าว ผัดผัก หรือโรยบนข้าวเหนียวทรงเครื่องอย่างหยิวฟั่น
ใช้แรงงานคนเลือกปลาที่ปนมากับกุ้งซากุระ
ความสามัคคีของชาวประมงที่จับกุ้งซากุระตำบลตงกั่งที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม มีความเข้มงวดในการทำสัญญาร่วมกัน เมื่อเข้ากลุ่มแล้วก็ห้ามขายกุ้งเป็นการส่วนตัว มีการกำหนดปริมาณการจับกุ้งซากุระ ผู้ฝ่าฝืนมีการปรับโทษหนัก เป็นต้น ซึ่งบอกได้ว่า การตั้งกลุ่มชาวประมงจับกุ้งซากุระตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สามารถยกระดับการประมูลราคาเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า ทรัพยากรกุ้งซากุระยังได้รับการปกป้อง ทำให้ปริมาณการจับมีความคงที่ ซึ่งวิธีการบริหารกุ้งซากุระของตำบลตงกั่งได้กลายเป็นความภาคภูมิใจที่ได้รับการบันทึกไว้ ยังดึงดูดผู้ประกอบการประมงของญี่ปุ่นจัดกรุ๊ปมาดูเป็นตัวอย่างด้วย ซึ่งในความเป็นจริง ชาวประมงรู้ว่ามีกุ้งตัวเล็กๆ ชนิดหนึ่งที่แหวกว่ายอยู่ในทะเลน้ำลึก เปล่งประกายระยิบระยับที่เรียกในภาษาท้องถิ่นว่า “ฮัวเข๋อไจ่花殼仔” มานานแล้ว แต่ว่าในอดีตกุ้งชนิดนี้มักจะนำมาทำบดปนกับเศษปลาชนิดต่างๆ แล้วนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ จนกระทั่งในปี 1991 มีนักวิชาการแสดงหลักฐานว่าเป็นกุ้งสายพันธุ์เดียวกับกุ้งซากุระที่อยู่ในทะเลรอบนอกของจังหวัดชิซูโอกะในญี่ปุ่น เพราะฉะนั้น ในชั่วพริบตาได้ทำให้กุ้งซากุระของไต้หวันมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาได้กลายเป็นสินค้าส่งออกไปขายที่ญี่ปุ่นจนกระทั่งปัจจุบัน
การประมูลซื้อขายกุ้งซากุระแบบโปร่งใส
กุ้งซากุระของไต้หวันจับที่ร่องทะเลน้ำลึกระหว่างหุบเขาเกาผิงและฟังเหลียว เนื่องจากในช่วงเวลากลางวันกุ้งซากุระจะรวมกลุ่มอยู่ในทะเลน้ำลึกประมาณ 200 เมตร เมื่อถึงเวลากลางคืนก็จะไปแหวกว่ายขึ้นไปอยู่ใกล้กับผิวน้ำทะเล เพราะฉะนั้นชาวประมงจะใช้เครื่องตรวจเพื่อกำหนดความลึกของอวนลากกลางน้ำ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการวางไข่ของกุ้งซากุระในช่วงเวลากลางคืน มีการกำหนดในหนังสือสัญญาว่า คนที่จับกุ้งซากุระจะต้องออกเรือหลังตี 3 ไปแล้ว และการจับกุ้งซากุระถือเป็นการประมงที่ต้องได้รับการอนุญาตเป็นพิเศษ ในเรือลำหนึ่งประกอบด้วยกำลังคนอย่างน้อย 4 คนขึ้นไป ส่วนใหญ่เรือลำหนึ่งจะเป็นคนบ้านเดียวกันหรือตระกูลเดียวกัน ที่เหลือค่อยจ้างแรงงานประมงต่างชาติ ปัจจุบันที่ตำบลตงกั่งมีเรือจับกุ้งซากุระประมาณ 105 ลำ มีเรือที่ออกไปจับกุ้งประมาณ 70 - 80 ลำ/วัน จากสถิติระบุ ผลประกอบการของเรือแต่ละลำประมาณ 2,000,000-3,000,000 เหรียญไต้หวัน/ปี หากผลผลิตเยอะรายได้อาจสูง 6,000,000-7,000,000 เหรียญไต้หวัน/ปี
ผู้ประกอบการญี่ปุ่นมาดูงานการจับกุ้งซากุระไต้หวัน
ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของกลุ่มชาวประมงกุ้งซากุระก็คือการมีระบบประมูลราคาที่เปิดเผย เพื่อปกป้องราคากุ้งซากุระที่จับได้ทั้งหมด จะต้องผ่านการประมูลที่เปิดเผยจากสมาคมปลา มีตัวแทนจำหน่ายเปิดประมูลราคา และห้ามชาวประมงมีการขายกันเอง ถ้าพบว่าชาวประมงแอบขาย นอกจากถูกริบสินค้าแล้ว ยังถูกปรับหนักถึง 200,000 เหรียญไต้หวัน ผู้ฝ่าฝืนครั้งแรกจะถูกตักเตือนก่อน หากฝ่าฝืนครั้งที่ 2 จะถูกถอดถอนออกจากกลุ่มชาวประมงซากุระ ซึ่งสัญญาที่ทำขึ้นอย่างเข้มงวดนี้ ไม่ใช่เป็นการพูดลอยๆ เท่านั้น แต่มีการบันทึกไว้ในเอกสารที่ผ่านการรับรองจากศาลมีผลบังคับใช้ด้วย นอกจากนี้ การจับกุ้งซากุระของตงกั่งยังเป็นการประมงที่ต้องได้รับอนุญาตโดยเฉพาะ ถ้าถูกถอนจากกลุ่มชาวประมงซากุระก็จะไม่ได้รับการรับรองจากสมาคมปลาในการมีสิทธิ์ที่จะจับปลา ด้วยระบบแบบนี้เอง ทำให้ผู้คนอยากรู้อยากเห็นว่าทำได้อย่างไร เพราะที่ผ่านมา ระบบการประมงของไต้หวันส่วนใหญ่เรียนรู้หรือเอาแบบอย่างจากประเทศญี่ปุ่น แต่การจับกุ้งซากุระที่ประสบความสำเร็จของไต้หวัน กลับทำให้ญี่ปุ่นต้องมาดูงานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้
ข้าวอบหน้ากุ้งซากุระ
ความสำเร็จของการจับกุ้งซากุระในไต้หวัน
กุ้งซากุระ มีสีชมพูแดงคล้ายกับสีของดอกซากุระ เป็นกุ้งขนาดเล็ก ลำตัวยาวประมาณ 4-5 ซม.ราวกับกุ้งฝอย พบได้ทั่วไปในทะเลทางตอนใต้แถบอ่าวซุรุกะของจังหวัดชิซึโอกะในประเทศญี่ปุ่น ส่วนในไต้หวันจับได้แถบชายฝั่งรอบนอกของตำบลตงกั่งเมืองผิงตงและเมืองอี๋หลาน เป็นกุ้งที่มีชื่อเสียง รสชาติหวานอร่อย มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและ มีแคลเซียมและเส้นใยอาหารสูง นำมาเป็นวัตถุดิบในการปรุงอาหารหลากหลายชนิด คนญี่ปุ่นชอบกินกุ้งชนิดนี้มาก เอาไปชุบแป้งทอดกับผักชนิดต่างๆ ส่วนคนไต้หวันชอบเอามาผัดข้าว ผัดผัก หรือโรยบนข้าวเหนียวทรงเครื่องอย่างหยิวฟั่น
ใช้แรงงานคนเลือกปลาที่ปนมากับกุ้งซากุระ
ความสามัคคีของชาวประมงที่จับกุ้งซากุระตำบลตงกั่งที่มีการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม มีความเข้มงวดในการทำสัญญาร่วมกัน เมื่อเข้ากลุ่มแล้วก็ห้ามขายกุ้งเป็นการส่วนตัว มีการกำหนดปริมาณการจับกุ้งซากุระ ผู้ฝ่าฝืนมีการปรับโทษหนัก เป็นต้น ซึ่งบอกได้ว่า การตั้งกลุ่มชาวประมงจับกุ้งซากุระตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งปัจจุบัน ไม่เพียงแต่สามารถยกระดับการประมูลราคาเพิ่มขึ้นเป็น 10 เท่า ทรัพยากรกุ้งซากุระยังได้รับการปกป้อง ทำให้ปริมาณการจับมีความคงที่ ซึ่งวิธีการบริหารกุ้งซากุระของตำบลตงกั่งได้กลายเป็นความภาคภูมิใจที่ได้รับการบันทึกไว้ ยังดึงดูดผู้ประกอบการประมงของญี่ปุ่นจัดกรุ๊ปมาดูเป็นตัวอย่างด้วย ซึ่งในความเป็นจริง ชาวประมงรู้ว่ามีกุ้งตัวเล็กๆ ชนิดหนึ่งที่แหวกว่ายอยู่ในทะเลน้ำลึก เปล่งประกายระยิบระยับที่เรียกในภาษาท้องถิ่นว่า “ฮัวเข๋อไจ่花殼仔” มานานแล้ว แต่ว่าในอดีตกุ้งชนิดนี้มักจะนำมาทำบดปนกับเศษปลาชนิดต่างๆ แล้วนำมาทำเป็นอาหารสัตว์ จนกระทั่งในปี 1991 มีนักวิชาการแสดงหลักฐานว่าเป็นกุ้งสายพันธุ์เดียวกับกุ้งซากุระที่อยู่ในทะเลรอบนอกของจังหวัดชิซูโอกะในญี่ปุ่น เพราะฉะนั้น ในชั่วพริบตาได้ทำให้กุ้งซากุระของไต้หวันมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาได้กลายเป็นสินค้าส่งออกไปขายที่ญี่ปุ่นจนกระทั่งปัจจุบัน
การประมูลซื้อขายกุ้งซากุระแบบโปร่งใส
กุ้งซากุระของไต้หวันจับที่ร่องทะเลน้ำลึกระหว่างหุบเขาเกาผิงและฟังเหลียว เนื่องจากในช่วงเวลากลางวันกุ้งซากุระจะรวมกลุ่มอยู่ในทะเลน้ำลึกประมาณ 200 เมตร เมื่อถึงเวลากลางคืนก็จะไปแหวกว่ายขึ้นไปอยู่ใกล้กับผิวน้ำทะเล เพราะฉะนั้นชาวประมงจะใช้เครื่องตรวจเพื่อกำหนดความลึกของอวนลากกลางน้ำ แต่เพื่อหลีกเลี่ยงการวางไข่ของกุ้งซากุระในช่วงเวลากลางคืน มีการกำหนดในหนังสือสัญญาว่า คนที่จับกุ้งซากุระจะต้องออกเรือหลังตี 3 ไปแล้ว และการจับกุ้งซากุระถือเป็นการประมงที่ต้องได้รับการอนุญาตเป็นพิเศษ ในเรือลำหนึ่งประกอบด้วยกำลังคนอย่างน้อย 4 คนขึ้นไป ส่วนใหญ่เรือลำหนึ่งจะเป็นคนบ้านเดียวกันหรือตระกูลเดียวกัน ที่เหลือค่อยจ้างแรงงานประมงต่างชาติ ปัจจุบันที่ตำบลตงกั่งมีเรือจับกุ้งซากุระประมาณ 105 ลำ มีเรือที่ออกไปจับกุ้งประมาณ 70 - 80 ลำ/วัน จากสถิติระบุ ผลประกอบการของเรือแต่ละลำประมาณ 2,000,000-3,000,000 เหรียญไต้หวัน/ปี หากผลผลิตเยอะรายได้อาจสูง 6,000,000-7,000,000 เหรียญไต้หวัน/ปี
ผู้ประกอบการญี่ปุ่นมาดูงานการจับกุ้งซากุระไต้หวัน
ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของกลุ่มชาวประมงกุ้งซากุระก็คือการมีระบบประมูลราคาที่เปิดเผย เพื่อปกป้องราคากุ้งซากุระที่จับได้ทั้งหมด จะต้องผ่านการประมูลที่เปิดเผยจากสมาคมปลา มีตัวแทนจำหน่ายเปิดประมูลราคา และห้ามชาวประมงมีการขายกันเอง ถ้าพบว่าชาวประมงแอบขาย นอกจากถูกริบสินค้าแล้ว ยังถูกปรับหนักถึง 200,000 เหรียญไต้หวัน ผู้ฝ่าฝืนครั้งแรกจะถูกตักเตือนก่อน หากฝ่าฝืนครั้งที่ 2 จะถูกถอดถอนออกจากกลุ่มชาวประมงซากุระ ซึ่งสัญญาที่ทำขึ้นอย่างเข้มงวดนี้ ไม่ใช่เป็นการพูดลอยๆ เท่านั้น แต่มีการบันทึกไว้ในเอกสารที่ผ่านการรับรองจากศาลมีผลบังคับใช้ด้วย นอกจากนี้ การจับกุ้งซากุระของตงกั่งยังเป็นการประมงที่ต้องได้รับอนุญาตโดยเฉพาะ ถ้าถูกถอนจากกลุ่มชาวประมงซากุระก็จะไม่ได้รับการรับรองจากสมาคมปลาในการมีสิทธิ์ที่จะจับปลา ด้วยระบบแบบนี้เอง ทำให้ผู้คนอยากรู้อยากเห็นว่าทำได้อย่างไร เพราะที่ผ่านมา ระบบการประมงของไต้หวันส่วนใหญ่เรียนรู้หรือเอาแบบอย่างจากประเทศญี่ปุ่น แต่การจับกุ้งซากุระที่ประสบความสำเร็จของไต้หวัน กลับทำให้ญี่ปุ่นต้องมาดูงานเพื่อนำไปประยุกต์ใช้
ข้าวอบหน้ากุ้งซากุระ