ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 19 เม.ย.2565


Listen Later

กระแสความนิยมบริโภคมันเทศในไต้หวันเพิ่มขึ้น

ชิวอวี้เสียง(邱裕翔) ผู้จัดการสวนกัวกัว(瓜瓜園K.K.ORCHARD) ซึ่งเป็นผู้ประกอบการมันเทศรายใหญ่ของไต้หวัน และมีการทำพันธสัญญากับเกษตรกรกว่า 700 ครัวเรือนในเนื้อที่ประมาณ 1,000 เฮกตาร์บอกว่า ขณะนี้เกิดความท้าทายในห่วงโซ่อุปทานเฟรนช์ฟรายส์มันฝรั่งทั่วโลก ทำให้เกิดกระแสการใช้มันเทศที่ปลูกในไต้หวันทดแทนมันฝรั่งมากขึ้น หลายแบรนด์ฟาสต์ฟู้ดมีความต้องการใช้เฟรนช์ฟรายส์มันเทศมากขึ้น โดยไม่นานมานี้ แมคโดนัลด์ไต้หวันได้เลือกใช้มันเทศสายพันธุ์ “ไถหนงเบอร์ 57” ในการโปรโมทและจำหน่ายมันเทศทอดที่เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ และนับเป็นครั้งแรกของแมคโดนัลด์ที่ตั้งสาขามาเป็นเวลา 38 ปี เริ่มจำหน่ายเฟรนช์ฟรายส์มันเทศ จากนั้น มอส เบอร์เกอร์ ก็หันมาเริ่มจำหน่ายมันเทศทอดตามติดกันมา อีกทั้งอาหารฟาสต์ฟู้ดหลายแบรนด์ในไต้หวันที่มีเมนูมันเทศทอดจำหน่ายอยู่แล้วก็หันมาจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขายมันเทศทอดด้วย นายชิวยังสังเกตว่า จริงๆ แล้วคนไต้หวันเริ่มหันมาบริโภคมันเทศซึ่งเป็นอาหารสุขภาพตั้งแต่เดือนพ.ค.ปีที่แล้ว โดยช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด 19 ที่มีมาตรการป้องกันระดับ 3 ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มซบเซามาก ทางสวนกัวกัวรับซื้อและจำหน่ายมันเทศทางออนไลน์ คนที่กักตัวที่บ้านก็นิยมสั่งซื้อเฟรนช์ฟรายมันเทศทางออนไลน์เพื่อทอดเองที่บ้านด้วย แต่ว่าในปีนี้ กระแสความนิยมรับประทานมันเทศเฟรนช์ฟรายส์กลายเป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ป้อนให้กับผู้บริโภค รวมทั้งร้านไก่ทอดทั่วไป ร้านไก่ทอดในตลาดกลางคืน ล้วนต้องการใช้มันเทศทอดทั้งนั้น คาดว่ายอดขายของมันเทศจะเพิ่มขึ้นกว่า 30%

มันเทศไถหนงเบอร์ 57 หวานอร่อย เหมาะในการทอด อบ นึ่ง

ทั้งนี้ ไต้หวันนำเข้าเฟรนช์ฟรายส์มันฝรั่งหลักๆ มาจากประเทศสหรัฐฯ,แคนาดา,เบลเยี่ยม,ฮอลแลนด์, นิวซีแลนด์,อินเดีย, ฝรั่งเศส และอาร์เจนตินา แต่ประมาณ 70-80 % นำเข้ามาจากสหรัฐฯ สถิติการนำเข้าเฟรนช์ฟรายส์จากสหรัฐฯช่วงต้นปีลดลงจำนวนมาก สถิติของกรมศุลกากรในเดือนมกราคมปีนี้มีการนำเข้าเฟรนช์ฟรายส์ทั้งหมดประมาณ 3,948 ตัน เทียบกับปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกันลดลง 23% ส่วนเฟรนฟรายส์ที่นำเข้าจากสหรัฐฯในเดือนมกราคมปีที่แล้วมีจำนวน 4,068 ตัน มาในปีนี้เหลือเพียง 2,412 ตัน ลดลงมากถึง 40 %

มันเทศไถหนงเบอร์ 66 หวานนุ่ม เหมาะในการแปรรูปหรือทำขนมหวาน

นายเซียว(蕭先生) ผู้ประกอบการนำเข้าเฟรนช์ฟรายส์บอกว่า มันฝรั่งที่ปลูกในสหรัฐฯเก็บเกี่ยวปีละครั้ง เก็บเกี่ยวผลผลิตเดือนกันยายน เก็บและใช้จนถึงเดือนกันยายนปีถัดไป แต่ปีที่แล้ว แห้งแล้งทำให้มันฝรั่งคุณภาพลดลง ก่อนหน้านี้มันฝรั่ง 1,000 กก.ทำเฟรนช์ฟรายส์ได้ 300-400 กก. แต่ปีนี้ทำได้แค่ 100- 200 กก.และยังมีการปรับขึ้นราคา 2-3 ครั้งแล้ว คาดเมษายนปีนี้จะจำกัดปริมาณส่งออก และปรับขึ้นราคาอีกรอบ ต้นปีนี้เฟรนช์ฟรายส์นำเข้าได้รับผลกระทบจากการขนส่งทางเรือ ต่อมาปริมาณการปลูกมันฝรั่งของสหรัฐฯลดลงมาก ส่วนแคนาดาซึ่งเป็นผู้ปลูกมันฝรั่งรายใหญ่อันดับ 4  ที่ส่งขายทั่วโลกเกิดปัญหาดินถล่ม ทำให้ทางหลวงสายแวนคูเวอร์ไปยังท่าเรือตัดขาดจนส่งผลต่อการขนส่ง ผู้ประกอบการรายใหญ่ของแคนาดาบอกว่า ขณะนี้ใบสั่งซื้อจากทั่วโลกต่อคิวยาวถึงเดือนเมษายนปีหน้า จึงจะเข้าสู่ภาวะปกติ เมื่อพื้นที่ปลูกมันฝรั่งในยุโรปและอเมริกาเหนือไม่สามารถส่งสินค้าขายต่างประเทศได้ ผู้ประกอบการในไต้หวันจึงหันมาซื้อเฟรนช์ฟรายส์จากเบลเยี่ยม ฮอลแลนด์ฝรั่งเศส แต่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดอีก คือสงครามรัสเซียยูเครน เนื่องจากยูเครนเป็นผู้ปลูกดอกทานตะวันที่ใช้กลั่นน้ำมันนำมาทอดเฟรนช์ฟรายส์มากที่สุดส่งขายต่างประเทศไม่ได้

ไต้หวันเหมาะต่อการปลูกมันเทศ ปัจจุบันมีกระแสบริโภคมากขึ้น

ไล่หย่งชาง(賴永昌) ผอ.วิจัยพืชประเภทหัวและรากทอด สถาบันวิจัยการเกษตรสาขาเมืองเจียอี้บอกว่า มันเทศสายพันธุ์ไถหนงเบอร์ 57 มีการนำมาใช้อย่างกว้างขวาง ปลูกมากที่สุด ครองสัดส่วนเกือบ 70% เหมาะในการอบ,ย่าง,ปิ้ง,ทอด ที่เหลือเกือบ 30% เป็นมันเทศเนื้อแดงสายพันธุ์ไถหนงเบอร์ 66 เนื่องจากมีส่วนประกอบของน้ำมากกว่า ไม่เหมาะกับการทอด เหมาะกับการนำมาแปรรูป เช่น ขนมอี๊มันเทศ หรือทำขนมหวาน เป็นต้น

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti