
Sign up to save your podcasts
Or
ไม่หวั่นโควิด!! ไต้หวันเดินหน้าส่งออกกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสไปต่างประเทศต่อเนื่อง
ไต้หวันถือเป็นประเทศที่ได้รับสมญานาม“อาณาจักรกล้วยไม้” เป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้สกุลฟาแลนนอปซิสที่เปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวาถือเป็นดาวเด่นในหมู่กล้วยไม้ กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสเกรด A คุณภาพดีส่วนใหญ่จะส่งขายต่างประเทศ แต่ละปีส่งออกกว่า 80 ล้านต้น มูลค่าการส่งออกเกือบ 6,000 ล้านเหรียญไต้หวัน และเพื่อการส่งออกและขยายตลาดกล้วยไม้อย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลเมืองผิงตงร่วมกับผู้ประกอบการกล้วยไม้หย่งหง(永宏蘭業) ได้แถลงข่าวการส่งออกกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสไปยังสหรัฐฯ พันเมิ่งอัน(潘孟安) ผู้ว่าเมืองผิงตงบอกว่า เทคนิกการปลูกกล้วยไม้ของไต้หวันได้รับการสะสมประสบการณ์มานานและมีความแข็งแกร่ง ในภาวะการระบาดของโควิด 19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ แต่การส่งออกกล้วยไม้ของไต้หวันยังคงมีความต่อเนื่องไม่หยุดอยู่กับที่
กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสที่ส่งขายต่างประเทศ
สำหรับในครั้งนี้ ผู้ประกอบการกล้วยไม้หย่งหงได้ส่งออกต้นกล้าของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส น้ำหนักเกือบ 8 ตัน จำนวน 33,152 ต้น บรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุตไปขายยังสหรัฐ อีกทั้งในอนาคตวางแผนส่งออกกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสไปยังสหรัฐฯและแคนาดาเดือนละ 2 ครั้งด้วย ซึ่งหลังจากที่ต้นกล้าของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสส่งถึงสหรัฐแล้ว จะมีผู้ประกอบการดอกไม้ในท้องถิ่นทำการเพาะเลี้ยงต่อ จากนั้นจึงค่อยนำไปจำหน่ายในท้องตลาด ผู้ประกอบการกล้วยไม้หย่งหงกล่าวว่า ครึ่งปีแรกของปีที่แล้วที่มีการระบาดใหญ่ของโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อแผนการส่งออก ใบสั่งซื้อเดือนมี.ค.ถูกยกเลิกไปหมด สูญเสียไม่น้อย แต่ทางผู้ประกอบการหย่งหงนำกล้วยไม้ที่ส่งออกไม่ได้จำนวน 1,800 ต้น บริจาคให้กับที่ว่าการท้องถิ่นตำบลเฉาโจวเพื่อนำไปประดับประดาตามสวนสาธารณะต่างๆ ให้เกิดความสวยงาม อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการของครึ่งปีหลังในปีที่แล้วค่อยๆ ดีขึ้นอย่างไม่คาดคิด ยอดการส่งออกทั้งปีเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้นลดลงเล็กน้อย และมาในปีนี้ แม้การระบาดของโควิด 19 ที่ทั่วโลกยังประสบความรุนแรงอยู่ แต่ใบสั่งซื้อขณะนี้มีจนถึงปี 2022 แล้ว หลักๆ เป็นประเทศสหรัฐและแคนาดา ถึงกระนั้นก็ตาม ต้นทุนการขนส่งสำหรับการส่งออกนั้นสูงขึ้นกว่าหลายเท่าตัว ทำให้ผู้ประกอบการยังคงมีความวิตกกังวลที่ผลประกอบการลดลง และอีกประการหนึ่งคือ เดิมทีไต้หวันมีคู่แข่งเพียงประเทศเนเธอแลนด์ แต่ไม่กี่ปีนี้ก็มีคู่แข่งที่กำลังเร่งสปีดตามติดมาคือจีนแผ่นดินใหญ่และเวียดนาม ทำให้ผู้ประกอบการกล้วยไม้ในไต้หวันไม่หยุดที่จะพัฒนาและคงความมีศักยภาพไว้ ซึ่งนอกจากการส่งกล้วยไม้ไปขายต่างประเทศแล้ว ยังต้องเพิ่มช่องทางการจำหน่ายกล้วยไม้ในประเทศให้มากขึ้น อย่างเช่น บุกเบิกหรือพัฒนากล้วยไม้กระถางเพื่อสะดวกในการส่งมอบเป็นของขวัญของฝาก เป็นต้น
โรงเรือนปลูกกล้วยไม้
พันเมิ่งอัน ผู้ว่าเมืองผิงตงกล่าวว่า ที่เมืองผิงตงมีผู้ประกอบการกล้วยไม้อยู่หลายเจ้าที่มีการส่งออกไปขายต่างประเทศ อย่างเช่น ญี่ปุ่น เนเธอแลนด์ เวียดนาม แคนาดา สิงคโปร์ เป็นต้น การขยายตลาดส่งออกหลากหลายประเทศและมีความต่อเนื่องก็เพื่อให้ชาวโลกได้ชื่นชมความงดงามของกล้วยไม้ไต้หวัน ผู้ว่าพันยังกล่าวด้วยว่า ไต้หวันส่งออกกล้วยไม้หลักๆ แล้วเป็นกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสที่ครองสัดส่วนเกิน 90% ที่ยิ่งไปกว่านี้ สัดส่วนการส่งออกเกือบ 50% มาจากเมืองผิงตง จึงกล่าวได้ว่า เมืองผิงตงเป็นฐานการวิจัยพัฒนาและเพาะต้นกล้าของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสที่สำคัญแห่งหนึ่งของไต้หวัน และยังเป็นผู้นำการวิจัยพัฒนากล้วยไม้พันธุ์ใหม่ๆ ที่สามารถรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของกล้วยไม้ตลาดโลกได้อย่างทันท่วงที ถือเป็นเมืองที่เป็น 1 ไม่มี 2 ของฐานการผลิตกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส โดยมีผู้ประการที่พัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกที่ต่อเนื่อง มีการบุกเบิกตลาดหาลูกค้าใหม่ มีการผนวกผู้ประกอบการดอกไม้และผู้ประการในท้องถิ่นเข้าด้วยกัน มีทั้งนักธุรกิจ มีทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้อง จนทำให้ธุริกิจดอกไม้ของเมืองผิงตงในวันนี้มีความแข็งแกร่ง
กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสเมืองผิงตงส่งออกครองสัดส่วนเกือบ 50% ของทั้งประเทศ
และก็ยังมีอีกตัวอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการกล้วยไม้ในไต้หวันที่ส่งกล้วยไม้ไปขายต่างประเทศ แต่ว่าขณะนี้ได้หันมาขยายตลาดในประเทศด้วย ซึ่งบริษัทนี้ชื่อ “ก้วนเฉิน冠辰蘭業” ที่ต้องการให้ผู้บริโภคในไต้หวันได้ซื้อกล้วยไม้คุณภาพดี แม้ปัจจุบันตลาดกล้วยไม้ในประเทศของไต้หวันถือว่าไม่ใหญ่มาก ความยืดหยุ่นของราคากล้วยไม้ก็ค่อนข้างตายตัว กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสเกรด A ส่วนใหญ่จะส่งออกไปขายต่างประเทศ คนไต้หวันเองจะมีโอกาสซื้อกล้วยไม้เกรดดีได้ค่อนข้างน้อย ยิ่งไปกว่านั้น หลายๆ คนในไต้หวันมีความเห็นว่าคุณภาพของกล้วยไม้อยู่ในระดับกลางเท่านั้น ดังนั้นผู้ประกอบการกล้วยไม้ก้วนเฉินก็เลยปิ๊งไอเดีย และมองการไกลที่อยากจะให้คนไต้หวันได้ชื่นชมและภูมิใจกับความงามของกล้วยไม้ จึงขยายตลาดกล้วยไม้เกรด A ในประเทศ บริษัทก้วนเฉิงจัดตั้งมาตั้งแต่ปี 2010 ทำการเพาะเลี้ยงต้นกล้าของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส หลักๆ แล้วจะประกอบธุรกิจแบบ B2B มีการส่งไปยังตลาดสหรัฐและญี่ปุ่น โดยได้รับใบสั่งจองจากทั้ง 2 ประเทศดังกล่าว มีผลประกอบการมากกว่า 90% ปี 2019 บริษัทก้วนเฉินได้ตั้งระบบสารสนเทศลูกค้า(CIS) และในปีนี้วางแผนทำแพลตฟอร์มสำหรับตลาดออนไลน์ให้ลูกค้าได้เลือกซื้อกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส เพราะฉะนั้นจากเดิมที่ทำธุรกิจ B2B เพื่อส่งออกต่างประเทศอย่างเดียว ได้เพิ่มช่องทางการจำหน่าย ประกอบธุรกิจ B2C เป็นรูปแบบทางธุรกิจที่มีการส่งมอบสินค้าจากผู้ประกอบการถึงมือผู้บริโภคโดยตรงด้วย
บริษัทก้วนเฉินปลูกกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสกว่า 300 สายพันธุ์
ไม่หวั่นโควิด!! ไต้หวันเดินหน้าส่งออกกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสไปต่างประเทศต่อเนื่อง
ไต้หวันถือเป็นประเทศที่ได้รับสมญานาม“อาณาจักรกล้วยไม้” เป็นที่รู้จักโด่งดังไปทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกล้วยไม้สกุลฟาแลนนอปซิสที่เปี่ยมไปด้วยชีวิตชีวาถือเป็นดาวเด่นในหมู่กล้วยไม้ กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสเกรด A คุณภาพดีส่วนใหญ่จะส่งขายต่างประเทศ แต่ละปีส่งออกกว่า 80 ล้านต้น มูลค่าการส่งออกเกือบ 6,000 ล้านเหรียญไต้หวัน และเพื่อการส่งออกและขยายตลาดกล้วยไม้อย่างต่อเนื่อง ในวันที่ 11 ม.ค.ที่ผ่านมา รัฐบาลเมืองผิงตงร่วมกับผู้ประกอบการกล้วยไม้หย่งหง(永宏蘭業) ได้แถลงข่าวการส่งออกกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสไปยังสหรัฐฯ พันเมิ่งอัน(潘孟安) ผู้ว่าเมืองผิงตงบอกว่า เทคนิกการปลูกกล้วยไม้ของไต้หวันได้รับการสะสมประสบการณ์มานานและมีความแข็งแกร่ง ในภาวะการระบาดของโควิด 19 ที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ แต่การส่งออกกล้วยไม้ของไต้หวันยังคงมีความต่อเนื่องไม่หยุดอยู่กับที่
กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสที่ส่งขายต่างประเทศ
สำหรับในครั้งนี้ ผู้ประกอบการกล้วยไม้หย่งหงได้ส่งออกต้นกล้าของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส น้ำหนักเกือบ 8 ตัน จำนวน 33,152 ต้น บรรจุลงตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 40 ฟุตไปขายยังสหรัฐ อีกทั้งในอนาคตวางแผนส่งออกกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสไปยังสหรัฐฯและแคนาดาเดือนละ 2 ครั้งด้วย ซึ่งหลังจากที่ต้นกล้าของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสส่งถึงสหรัฐแล้ว จะมีผู้ประกอบการดอกไม้ในท้องถิ่นทำการเพาะเลี้ยงต่อ จากนั้นจึงค่อยนำไปจำหน่ายในท้องตลาด ผู้ประกอบการกล้วยไม้หย่งหงกล่าวว่า ครึ่งปีแรกของปีที่แล้วที่มีการระบาดใหญ่ของโควิด 19 ได้ส่งผลกระทบต่อแผนการส่งออก ใบสั่งซื้อเดือนมี.ค.ถูกยกเลิกไปหมด สูญเสียไม่น้อย แต่ทางผู้ประกอบการหย่งหงนำกล้วยไม้ที่ส่งออกไม่ได้จำนวน 1,800 ต้น บริจาคให้กับที่ว่าการท้องถิ่นตำบลเฉาโจวเพื่อนำไปประดับประดาตามสวนสาธารณะต่างๆ ให้เกิดความสวยงาม อย่างไรก็ตาม ผลประกอบการของครึ่งปีหลังในปีที่แล้วค่อยๆ ดีขึ้นอย่างไม่คาดคิด ยอดการส่งออกทั้งปีเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้านั้นลดลงเล็กน้อย และมาในปีนี้ แม้การระบาดของโควิด 19 ที่ทั่วโลกยังประสบความรุนแรงอยู่ แต่ใบสั่งซื้อขณะนี้มีจนถึงปี 2022 แล้ว หลักๆ เป็นประเทศสหรัฐและแคนาดา ถึงกระนั้นก็ตาม ต้นทุนการขนส่งสำหรับการส่งออกนั้นสูงขึ้นกว่าหลายเท่าตัว ทำให้ผู้ประกอบการยังคงมีความวิตกกังวลที่ผลประกอบการลดลง และอีกประการหนึ่งคือ เดิมทีไต้หวันมีคู่แข่งเพียงประเทศเนเธอแลนด์ แต่ไม่กี่ปีนี้ก็มีคู่แข่งที่กำลังเร่งสปีดตามติดมาคือจีนแผ่นดินใหญ่และเวียดนาม ทำให้ผู้ประกอบการกล้วยไม้ในไต้หวันไม่หยุดที่จะพัฒนาและคงความมีศักยภาพไว้ ซึ่งนอกจากการส่งกล้วยไม้ไปขายต่างประเทศแล้ว ยังต้องเพิ่มช่องทางการจำหน่ายกล้วยไม้ในประเทศให้มากขึ้น อย่างเช่น บุกเบิกหรือพัฒนากล้วยไม้กระถางเพื่อสะดวกในการส่งมอบเป็นของขวัญของฝาก เป็นต้น
โรงเรือนปลูกกล้วยไม้
พันเมิ่งอัน ผู้ว่าเมืองผิงตงกล่าวว่า ที่เมืองผิงตงมีผู้ประกอบการกล้วยไม้อยู่หลายเจ้าที่มีการส่งออกไปขายต่างประเทศ อย่างเช่น ญี่ปุ่น เนเธอแลนด์ เวียดนาม แคนาดา สิงคโปร์ เป็นต้น การขยายตลาดส่งออกหลากหลายประเทศและมีความต่อเนื่องก็เพื่อให้ชาวโลกได้ชื่นชมความงดงามของกล้วยไม้ไต้หวัน ผู้ว่าพันยังกล่าวด้วยว่า ไต้หวันส่งออกกล้วยไม้หลักๆ แล้วเป็นกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสที่ครองสัดส่วนเกิน 90% ที่ยิ่งไปกว่านี้ สัดส่วนการส่งออกเกือบ 50% มาจากเมืองผิงตง จึงกล่าวได้ว่า เมืองผิงตงเป็นฐานการวิจัยพัฒนาและเพาะต้นกล้าของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสที่สำคัญแห่งหนึ่งของไต้หวัน และยังเป็นผู้นำการวิจัยพัฒนากล้วยไม้พันธุ์ใหม่ๆ ที่สามารถรับมือกับสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของกล้วยไม้ตลาดโลกได้อย่างทันท่วงที ถือเป็นเมืองที่เป็น 1 ไม่มี 2 ของฐานการผลิตกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส โดยมีผู้ประการที่พัฒนาเทคโนโลยีการเพาะปลูกที่ต่อเนื่อง มีการบุกเบิกตลาดหาลูกค้าใหม่ มีการผนวกผู้ประกอบการดอกไม้และผู้ประการในท้องถิ่นเข้าด้วยกัน มีทั้งนักธุรกิจ มีทั้งองค์กรที่เกี่ยวข้อง จนทำให้ธุริกิจดอกไม้ของเมืองผิงตงในวันนี้มีความแข็งแกร่ง
กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสเมืองผิงตงส่งออกครองสัดส่วนเกือบ 50% ของทั้งประเทศ
และก็ยังมีอีกตัวอย่างหนึ่งของผู้ประกอบการกล้วยไม้ในไต้หวันที่ส่งกล้วยไม้ไปขายต่างประเทศ แต่ว่าขณะนี้ได้หันมาขยายตลาดในประเทศด้วย ซึ่งบริษัทนี้ชื่อ “ก้วนเฉิน冠辰蘭業” ที่ต้องการให้ผู้บริโภคในไต้หวันได้ซื้อกล้วยไม้คุณภาพดี แม้ปัจจุบันตลาดกล้วยไม้ในประเทศของไต้หวันถือว่าไม่ใหญ่มาก ความยืดหยุ่นของราคากล้วยไม้ก็ค่อนข้างตายตัว กล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสเกรด A ส่วนใหญ่จะส่งออกไปขายต่างประเทศ คนไต้หวันเองจะมีโอกาสซื้อกล้วยไม้เกรดดีได้ค่อนข้างน้อย ยิ่งไปกว่านั้น หลายๆ คนในไต้หวันมีความเห็นว่าคุณภาพของกล้วยไม้อยู่ในระดับกลางเท่านั้น ดังนั้นผู้ประกอบการกล้วยไม้ก้วนเฉินก็เลยปิ๊งไอเดีย และมองการไกลที่อยากจะให้คนไต้หวันได้ชื่นชมและภูมิใจกับความงามของกล้วยไม้ จึงขยายตลาดกล้วยไม้เกรด A ในประเทศ บริษัทก้วนเฉิงจัดตั้งมาตั้งแต่ปี 2010 ทำการเพาะเลี้ยงต้นกล้าของกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส หลักๆ แล้วจะประกอบธุรกิจแบบ B2B มีการส่งไปยังตลาดสหรัฐและญี่ปุ่น โดยได้รับใบสั่งจองจากทั้ง 2 ประเทศดังกล่าว มีผลประกอบการมากกว่า 90% ปี 2019 บริษัทก้วนเฉินได้ตั้งระบบสารสนเทศลูกค้า(CIS) และในปีนี้วางแผนทำแพลตฟอร์มสำหรับตลาดออนไลน์ให้ลูกค้าได้เลือกซื้อกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิส เพราะฉะนั้นจากเดิมที่ทำธุรกิจ B2B เพื่อส่งออกต่างประเทศอย่างเดียว ได้เพิ่มช่องทางการจำหน่าย ประกอบธุรกิจ B2C เป็นรูปแบบทางธุรกิจที่มีการส่งมอบสินค้าจากผู้ประกอบการถึงมือผู้บริโภคโดยตรงด้วย
บริษัทก้วนเฉินปลูกกล้วยไม้ฟาแลนนอปซิสกว่า 300 สายพันธุ์