
Sign up to save your podcasts
Or
ต้นหอมตำบลซานซิงเมืองอี๋หลานเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในด้านคุณภาพและราคาที่สูง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พื้นที่เพาะปลูกกลับลดลง ซึ่งสาเหตุหลักมาจากหนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua Hubner)ที่มีความต้านทานยาสูง ทำให้เกษตรกรฉีดยาฆ่าแมลงได้ผลไม่ดี ส่งผลให้เกษตรกรหลายรายเลิกปลูกไป สถาบันวิจัยการเกษตรไต้หวัน กระทรวงเกษตร(Taiwan Agricultural Research Institute :TARI) จึงได้พัฒนาเทคนิคการควบคุมแมลงศัตรูพืชด้วยแสงไฟกลางคืน โดยใช้แสง "สีเขียว" ที่เหมาะสมในการส่องสว่างแปลงปลูกต้นหอม ซึ่งสามารถลดการทำลายของหนอนกระทู้หอมได้ถึง 40% และยังช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้นหอม ทำให้ส่วนสีขาวของต้นหอมยาวขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 23%
ต้นหอมซานซิงคุณภาพดี ราคาสูง
จากการสำรวจของกรมการเกษตรและอาหาร(Agriculture and Food Agency) พบว่า พื้นที่ปลูกต้นหอมในตำบลซานซิง เมืองอี๋หลาน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สูงสุดที่ 428 เฮกตาร์ในปี 2016 จากนั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง เหลือเพียง 269 เฮกตาร์ในปีที่แล้ว(2023) ซึ่งลดลงกว่า 160 เฮกตาร์ หนอนกระทู้หอมมีความไวต่อแสง โดยจะออกหากินในเวลากลางคืน ทางสถาบันวิจัยการเกษตรจึงพัฒนาเทคนิคการควบคุมศัตรูพืชด้วยแสงไฟสีเขียวเพื่อลดการเคลื่อนไหวของหนอนกระทู้หอมในเวลากลางคืน
หนอนกระทู้หอมเป็นศัตรูพืชหลักของต้นหอม
สำหรับการใช้แสงสีเขียวในตอนกลางคืนจะต้องใช้หลอด LED ขนาด 12 วัตต์ จำนวน 40 หลอดต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ โดยเปิดตั้งแต่เวลา 18.00 น. ถึง 6.00 น. ของวันรุ่งขึ้น คิดเป็นค่าไฟฟ้าเดือนละประมาณ 500 เหรียญไต้หวัน ซึ่งเป็นต้นทุนที่ไม่สูงมากนักและเหมาะแก่การส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปใช้ ฟางซิ่นซิ่ว กล่าวว่าการใช้แสงสีเขียวในการควบคุมศัตรูพืชมีประสิทธิภาพอย่างเห็นได้ชัด แต่ปัจจุบันมีผลการทดลองเฉพาะในพื้นที่ปลูกแบบดั้งเดิมเท่านั้น ทางสถาบันวิจัยการเกษตรสาขาโฟ่งซานมีแผนที่จะทดลองเพิ่มเติมในการลดการใช้ยา หรือเปลี่ยนไปใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น แบคทีเรียบีที (BT) ในพื้นที่เพาะปลูก เพื่อช่วยให้เกษตรกรปลูกต้นหอมสามารถหยุดการใช้ยาฆ่าแมลงได้เร็วขึ้นเมื่อใช้แสงสีเขียวควบคุมศัตรูพืช ซึ่งจะช่วยลดจำนวนครั้งในการฉีดพ่นยา ลดต้นทุน และยังส่งผลดีต่อความปลอดภัยของอาหารสำหรับผู้บริโภคอีกด้วย
ส่องไฟสีเขียวค่าไฟเพิ่มขึ้น 500 เหรียญไต้หวันต่อเฮกตาร์
ต้นหอมตำบลซานซิงเมืองอี๋หลานเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในด้านคุณภาพและราคาที่สูง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พื้นที่เพาะปลูกกลับลดลง ซึ่งสาเหตุหลักมาจากหนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua Hubner)ที่มีความต้านทานยาสูง ทำให้เกษตรกรฉีดยาฆ่าแมลงได้ผลไม่ดี ส่งผลให้เกษตรกรหลายรายเลิกปลูกไป สถาบันวิจัยการเกษตรไต้หวัน กระทรวงเกษตร(Taiwan Agricultural Research Institute :TARI) จึงได้พัฒนาเทคนิคการควบคุมแมลงศัตรูพืชด้วยแสงไฟกลางคืน โดยใช้แสง "สีเขียว" ที่เหมาะสมในการส่องสว่างแปลงปลูกต้นหอม ซึ่งสามารถลดการทำลายของหนอนกระทู้หอมได้ถึง 40% และยังช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของต้นหอม ทำให้ส่วนสีขาวของต้นหอมยาวขึ้น ส่งผลให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นถึง 23%
ต้นหอมซานซิงคุณภาพดี ราคาสูง
จากการสำรวจของกรมการเกษตรและอาหาร(Agriculture and Food Agency) พบว่า พื้นที่ปลูกต้นหอมในตำบลซานซิง เมืองอี๋หลาน ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สูงสุดที่ 428 เฮกตาร์ในปี 2016 จากนั้นลดลงอย่างต่อเนื่อง เหลือเพียง 269 เฮกตาร์ในปีที่แล้ว(2023) ซึ่งลดลงกว่า 160 เฮกตาร์ หนอนกระทู้หอมมีความไวต่อแสง โดยจะออกหากินในเวลากลางคืน ทางสถาบันวิจัยการเกษตรจึงพัฒนาเทคนิคการควบคุมศัตรูพืชด้วยแสงไฟสีเขียวเพื่อลดการเคลื่อนไหวของหนอนกระทู้หอมในเวลากลางคืน
หนอนกระทู้หอมเป็นศัตรูพืชหลักของต้นหอม
สำหรับการใช้แสงสีเขียวในตอนกลางคืนจะต้องใช้หลอด LED ขนาด 12 วัตต์ จำนวน 40 หลอดต่อพื้นที่ 1 เฮกตาร์ โดยเปิดตั้งแต่เวลา 18.00 น. ถึง 6.00 น. ของวันรุ่งขึ้น คิดเป็นค่าไฟฟ้าเดือนละประมาณ 500 เหรียญไต้หวัน ซึ่งเป็นต้นทุนที่ไม่สูงมากนักและเหมาะแก่การส่งเสริมให้เกษตรกรนำไปใช้ ฟางซิ่นซิ่ว กล่าวว่าการใช้แสงสีเขียวในการควบคุมศัตรูพืชมีประสิทธิภาพอย่างเห็นได้ชัด แต่ปัจจุบันมีผลการทดลองเฉพาะในพื้นที่ปลูกแบบดั้งเดิมเท่านั้น ทางสถาบันวิจัยการเกษตรสาขาโฟ่งซานมีแผนที่จะทดลองเพิ่มเติมในการลดการใช้ยา หรือเปลี่ยนไปใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น แบคทีเรียบีที (BT) ในพื้นที่เพาะปลูก เพื่อช่วยให้เกษตรกรปลูกต้นหอมสามารถหยุดการใช้ยาฆ่าแมลงได้เร็วขึ้นเมื่อใช้แสงสีเขียวควบคุมศัตรูพืช ซึ่งจะช่วยลดจำนวนครั้งในการฉีดพ่นยา ลดต้นทุน และยังส่งผลดีต่อความปลอดภัยของอาหารสำหรับผู้บริโภคอีกด้วย
ส่องไฟสีเขียวค่าไฟเพิ่มขึ้น 500 เหรียญไต้หวันต่อเฮกตาร์