ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 20 ก.พ.2567


Listen Later

   พริกหวานมีสีสดใสใช้ทำผักสลัดหรือนำมาผัดก็อร่อย เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค พริกหวานมีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูง ความต้องการพริกหวานในไต้หวันเพิ่มขึ้นทุกปี พื้นที่เพาะปลูกก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยในปี 2022 มีพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1,242 เฮกตาร์ ส่วนใหญ่ปลูกที่ตำบลซิ่นอี้ ตำบลเหรินอ้าย เมืองหนานโถว, ตำบลซินกั่ง เมืองเจียอี้ และตำบลชื่อโถง เมืองหยุนหลิน แม้ว่าความต้องการบริโภคพริกหวานในไต้หวันมีมาก แต่ส่วนใหญ่เป็นสายพันธุ์ที่นำเข้าจากประเทศในยุโรปและอเมริกา จึงปรับตัวให้เข้ากับสภาพอากาศของไต้หวันได้ยาก มีศักยภาพในการเติบโตต่ำ และเสี่ยงต่อโรคและแมลงศัตรูพืชหลายชนิด เกษตรกรต้องใช้ยาฆ่าแมลงจำนวนมาก

สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไทจงเปิดตัวพริกหวาน 2 สายพันธุ์

   ดังนั้น สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไทจง(Taichung District Agricultural Research and Extension Station) ได้ร่วมกับศูนย์พืชผักโลก(The World Vegetable Center) ใช้เวลา 6 ปีในการวิจัยพัฒนาพริกหวาน ได้พันธุ์สีแดง “ไทจงหย่าซู เบอร์ 1" และพันธุ์สีเหลือง ไทจงหย่าซู เบอร์ 2 โดยพริกหวานทั้งสองชนิดล้วนมีรูปลักษณ์สวย มีน้ำหนักและขนาดปานกลาง สีสันสดใส เนื้อหนา หวานและกรอบ ความหวาน 6-7 บริกซ์ ผลเรียบและเป็นมันเงา ให้ผลผลิตสูง และทนทานต่อโรคต่างๆ เช่น ไวรัสมันฝรั่ง Y และไวรัสรอยดำของพริกไทย ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกได้ง่ายขึ้น

พริกหวาน ไทจงหย่าซู เบอร์ 1 เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีแดง

   ทั้งนี้ คนไต้หวันส่วนใหญ่ชอบพริกหวานสีแดงและสีเหลืองที่มีผิวมันวาว น้ำหนักต่อผล 150 - 250 กรัม รูปทรงระฆัง อ้วนกลม ไม่ชอบรูปทรงหัวโตท้ายลีบเรียวหรือบิดเบี้ยว ซึ่งการปลูกพริกหวานในไต้หวันเริ่มจากฤดูร้อนจนถึงก่อนเดือนธันวาคมส่วนใหญ่ปลูกในเขตภูเขาทางภาคกลาง และหลังจากฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวแล้วส่วนใหญ่ปลูกในพื้นที่ราบภาคกลางของเมืองเจียอี้ และเมืองหยุนหลิน ดังนั้นสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรไทจงจึงร่วมมือกับเกษตรกรในเขตภูเขาของตำบลซิ่นอี้ เมืองหนานโถวปลูกในช่วงฤดูร้อน ส่วนในช่วงฤดูหนาวก็นำไปปลูกที่ตำบลชื่อโถง เมืองหยุนหลิน ตำบลซินกั่ง เมืองเจียอี้ เพื่อยืนยันว่าพริกหวานทั้ง 2 พันธุ์ที่พัฒนาได้เติบโตได้ดีในพื้นที่ต่างกัน

พริกหวาน ไทจงหย่าซู เบอร์ 2 เมื่อสุกแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

   สำหรับพริกหวานทั้ง 2 พันธุ์ขณะนี้ได้จดสิทธิ์ของสายพันธุ์แล้ว และจะถ่ายโอนสิทธิ์ให้กับผู้ประกอบการต้นกล้า และคาดว่าจะนำไปให้เกษตรกรปลูกภายในปีนี้ หยางหงอิง(楊宏瑛 ) ผู้อำนวยการสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไทจง กล่าวว่าทางสถานีวิจัยฯได้จัดตั้งเทคโนโลยี IPM สำหรับการปลูกพริกหวานด้วย ซึ่ง IPM คือ การใช้วิธีการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ให้เกษตรกรใช้เครื่องมือวัดอุณหภูมิ ความชื้น ปริมาณน้ำฝน ฯลฯ เพื่อพยากรณ์การระบาดของศัตรูพืช รวมถึงจัดทำแปลงสำรวจเตือนภัยการระบาดของศัตรูพืชก่อนดำเนินการป้องกันกำจัด และแนะนำเกษตรกรใช้มะนาวกำมะถัน กรดฟอสฟอรัส และวัสดุอื่นๆ เพื่อควบคุมโรคพริกหวานและแมลงศัตรูพืช วัตถุประสงค์เพื่อผลิตพริกหวานที่มีคุณภาพดีขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ผลิตและผู้ขาย

พริกหวานทำได้หลายเมนู ในภาพเป็นพริกหวานกราแต็ง 

   ในอนาคตทางสถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรยังคงศึกษาการเพาะพันธุ์พริกหวานต่อไป ยกตัวอย่าง พริกหวานสีเขียว สีม่วง และสีอื่นๆ หรือพริกหวานที่มีรูปร่างแคบและยาว เพื่อมีตัวเลือกพันธุ์พริกหวานของไต้หวันมากขึ้น นอกจากนี้ ในอนาคตยังคงร่วมมือกับศูนย์พืชผักโลก(The World Vegetable Center)คัดพันธุ์มะเขือเทศหรือผักชนิดอื่นๆ เพื่อเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรชาวไต้หวัน จะได้มีผักและผลไม้คุณภาพสูงมากขึ้น

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti