ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 20 มิ.ย.2566


Listen Later

     ที่ผ่านมา คณะกรรมการการเกษตรผลักดันโครงการ "การสร้างระบบสาธิตสำหรับโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็นและการประกันคุณภาพสินค้าเกษตร" ซึ่งหนึ่งในโครงการนี้คือ การยกระดับและปรับปรุงโรงอบความร้อนด้วยไอน้ำ จนถึงขณะนี้ได้ทุ่มงบไปแล้ว 12,600 ล้านเหรียญไต้หวัน และยังของบจากสภาบริหารเพิ่มอีก 4 พันล้านเหรียญไต้หวัน ซึ่งในส่วนของโรงงานอบไอน้ำอวี้จิ่งที่เดิมมีอยู่ 2 โรง มีประสิทธิภาพการทำงานไม่ดีและเป็นอุปกรณ์ติดตั้งที่ผลิตในไต้หวัน ทางคณะกรรมการการเกษตรและรัฐบาลเมืองไถหนานจึงร่วมกันเปลี่ยนอุปกรณ์ติดตั้งใหม่ โดยงบ 85% มาจากคณะกรรมการการเกษตร 15% มาจากรัฐบาลท้องถิ่น ส่วนกรมการเกษตรและอาหารให้เงินอุดหนุนซื้อตู้อบความร้อนด้วยไอน้ำที่มีลักษณะคล้ายตู้คอนเทนเนอร์ จำนวน 2 ตู้ ด้วยงบ  54.051  ล้านเหรียญไต้หวันจากประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้อบไอน้ำมะม่วงสำหรับส่งขายตลาดต่างประเทศ นอกจากนี้ ในปีนี้ กรมการเกษตรและอาหารยังให้เงินอุดหนุนสำหรับการซื้อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าฉุกเฉินจำนวน 2.967 ล้านเหรียญไต้หวันด้วย

ตู้อบไอน้ำมะม่วง

         การส่งมะม่วงไปขายยังประเทศญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ จะต้องผ่านการอบไอน้ำด้วยความร้อน 46.5°C เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นจึงค่อยลดอุณหภูมิเข้าสู่ภาวะเป็นปกติ ตะกร้าใส่มะม่วงที่คลุมด้วยตาข่ายกันแมลงจะถูกส่งไปยังตู้อบไอน้ำพร้อมกับพาเลท เจ้าหน้าที่กักกันโรคพืชจะเลือกผลไม้ที่ใหญ่ที่สุดในตะกร้าและสอดเข็มวัดอุณหภูมิ จากนั้นเอาผลไม้กลับไปวางบนพาเลท ให้อุณหภูมิค่อยๆสูงขึ้นจนถึงจุดสูงสุดที่กำหนดไว้ เพื่อให้เกิดความแน่ชัดว่าอุณหภูมิของจุดศูนย์กลางมะม่วงทั้งชุดถึงจุดที่ฆ่าแมลงได้

         หลังจากเปลี่ยนอุปกรณ์เก่าของโรงอบไอน้ำอวี้จิ่งแล้ว นอกจากกำลังการผลิตสามารถเพิ่มจาก 8 เมตริกตันเป็น 10 เมตริกตัน เวลาอบไอน้ำของเครื่องเก่าใช้เวลา 4.5 ชั่วโมง แต่หลังเปลี่ยนเครื่องใหม่แล้วใช้เวลาเพียง 3 ชั่วโมงเท่านั้น ทำให้ลดเวลาลง 1 ใน 3 และการกระจายอุณหภูมิและความชื้นของเครื่องใหม่ดีขึ้น ได้ผลดีเกือบ 100% นอกจากนี้ ยังสามารถยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์จาก 8 วันเป็น 14 วัน

มะม่วงที่ผ่านการอบไอน้ำรสชาติเหมือนเดิม 

        คณะกรรมการการเกษตรกำลังให้ความช่วยเหลือรัฐบาลเมืองไถหนานในการสร้าง "ศูนย์แปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตรและโลจิสติกซ์ห่วงโซ่ความเย็นที่อวี้จิ่ง" ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในวันที่ 7 พฤษภาคมปีหน้า(2024) ในอนาคตจะกลายเป็นแหล่งบริการรวบรวมผลไม้สด คัดเกรด บรรจุหีบห่อ แปรรูป กักกันศัตรูพืช แช่เย็นหรือแช่แข็ง รวมทั้งการปรับการขนส่ง ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแปรรูปผลไม้สดอย่างน้อย 5,500 เมตริกตันต่อปี

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti