
Sign up to save your podcasts
Or
มะเฟืองเป็นไม้ผลเมืองร้อนที่มีถิ่นกำเนิดในมาเลเซียและอินโดนีเซีย เริ่มมีการปลูกในไต้หวันตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง โดยในช่วงแรกจำกัดการปลูกอยู่ในภาคเหนือก่อนขยายสู่การปลูกเชิงพาณิชย์ พื้นที่ปลูกสำคัญในปัจจุบันได้แก่เขตหนานซีและอวี้จิ่งในนครไถหนาน ซึ่งคิดเป็น 40% ของผลผลิตทั้งหมด ในปี 1970 การปลูกมะเฟืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการลดลงของพืชบางชนิด เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง โดยในปี 1988 ผลผลิตมะเฟืองเพิ่มขึ้นถึง 48,000 ตันต่อปี ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูก 3,050 เฮกตาร์
มะเฟืองไต้หวัน(photo:Adobe Stock)
การเพาะปลูกมะเฟืองไม่เพียงสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ผลิตหลักอย่างเขตหนานซีในนครไถหนาน แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนด้วย อาคารที่สร้างขึ้นในช่วงนี้จึงมักถูกเรียกว่า "บ้านมะเฟือง" และมะเฟืองก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทางการเกษตรภายใต้แนวคิด "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์" ของไต้หวัน อย่างไรก็ตาม การเพาะปลูกมะเฟืองต้องใช้แรงงานอย่างมากในการดูแล ตั้งแต่การตั้งร้าน การตัดแต่งกิ่ง การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว กระบวนการบรรจุภัณฑ์ และการขนส่ง เนื่องจากมะเฟืองเป็นผลไม้ที่เปลือกบางและฉ่ำน้ำ จึงต้องการความระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มเปลี่ยนแปลง และอุตสาหกรรมพัฒนาอย่างรวดเร็ว ความต้องการแรงงานในภาคอื่น ๆ เพิ่มขึ้น งานเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก รายได้ต่ำ และการขาดแคลนแรงงานเนื่องจากเกษตรกรสูงอายุ ส่งผลให้การปลูกมะเฟืองเผชิญกับความท้าทายอย่างมากในปัจจุบัน
มะเฟืองที่ขายในซูเปอร์มาร์เก็ตไต้หวัน
สถิติทางการเกษตรระบุว่าการผลิตมะเฟืองและพื้นที่เพาะปลูกถึงจุดสูงสุดในปี 1988 โดยมีผลผลิตมากกว่า 48,000 ตัน หลังจากนั้น ผลผลิตและพื้นที่เพาะปลูกลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 1998 ผลผลิตลดลง 50% เหลือ 24,000 ตัน และพื้นที่เพาะปลูกลดลงเหลือประมาณ 1,800 เฮกตาร์ ภายในปี 2018 ผลผลิตลดลงเหลือเพียง 8,800 ตัน คิดเป็น 18% ของช่วงพีค ส่วนพื้นที่เพาะปลูกลดลงเหลือเพียง 700 เฮกตาร์ คิดเป็น 25% ของช่วงพีค อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการระบาดของโควิดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การผลิตมะเฟืองหดตัวอย่างรุนแรง โดยในเวลาเพียง 5 ปี ผลผลิตลดลงเหลือ 6,000 ตัน และพื้นที่เพาะปลูกลดลงเกือบ 30% เหลือมากกว่า 500 เฮกตาร์ แม้ว่าการผลิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ราคาต่อหน่วยผลผลิตกลับเพิ่มขึ้นทุกปี จากราคาเดิมประมาณ 16,000 เหรียญไต้หวันต่อตัน เป็นมากกว่า 23,000 เหรียญไต้หวัน และสูงสุดถึง 30,000 เหรียญไต้หวันต่อตัน แสดงให้เห็นว่ามะเฟืองยังคงมีความต้องการในตลาด
มะเฟืองที่ขายในซูเปอร์มาร์เก็ตอเมริกาเหนือ
ในช่วงทศวรรษ 1980 เมื่อการผลิตมะเฟืองเพิ่มขึ้น ยอดขายในตลาดภายในประเทศเริ่มอิ่มตัว รัฐบาลจึงเริ่มพิจารณาการส่งออก อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกเทคโนโลยีการเก็บรักษาผลไม้ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้การส่งออกมะเฟืองสดจำกัดอยู่ในระยะทางขนส่งสั้น ๆ จนกระทั่งปี 1994 สหกรณ์การขนส่งและการตลาดผลไม้เริ่มส่งออกมะเฟืองไปยังฮ่องกง และในปี 1995 เริ่มส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาหลังผ่านกฎระเบียบเกี่ยวกับยาฆ่าแมลงและแมลงศัตรูพืช ส่งผลให้ยอดส่งออกมะเฟืองเพิ่มขึ้น
ราคาส่งออกของมะเฟืองแสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างตลาดต่างประเทศ โดยราคาส่งออกไปยังจีนและฮ่องกงอยู่ที่ประมาณ 34,000-36,000 เหรียญไต้หวันต่อตัน ขณะที่ราคาส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา แคนาดา และสิงคโปร์สูงถึง 70,000-72,000 เหรียญไต้หวันต่อตัน หรือประมาณสองเท่าของราคาส่งออกในจีนและฮ่องกง และแม้ว่าตลาดในจีนและฮ่องกงจะมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพในช่วงแรกของการส่งออก แต่ราคากลับเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของตลาดในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเปิดกว้างในการลงทุนในเทคโนโลยีห่วงโซ่ความเย็น ตลาดสหรัฐฯ จึงอาจกลายเป็นตลาดเป้าหมายสำคัญในอนาคต มะเฟืองยังเป็นผลไม้ที่พบได้น้อยในสหรัฐอเมริกา แต่ได้รับความนิยมในวัฒนธรรมการบริโภคของชาวเอเชียและละติน โดยใช้ทำเป็นน้ำผลไม้ สลัด หรือไวน์ นอกจากนี้ การย้ายถิ่นฐานของชาวเอเชียไปยังสหรัฐและยุโรปที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการตระหนักรู้ด้านสุขภาพที่ดีขึ้นของผู้บริโภค ทำให้ความต้องการมะเฟืองในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ร้านกาแฟในเครือ Starbucks ยังได้เปิดตัวเครื่องดื่มที่มีมะเฟืองเป็นส่วนประกอบด้วย
น้ำผลไม้ใน Starbucksของอเมริกาเหนือมีมะเฟืองเป็นส่วนประกอบด้วย(photo:Kaizen Nguy on Unsplash)
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรไต้หวันได้ลงทุนอย่างจริงจังในการจัดการเรื่องความปลอดภัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่ความเย็น ทำให้การปลูกมะเฟืองได้รับความสนใจมากขึ้น ปัจจุบันมะเฟืองที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามักใช้การจัดการอุณหภูมิต่ำ โดยควบคุมอุณหภูมิศูนย์กลางของผลไม้ให้อยู่ที่ 0.99°C หรือต่ำกว่าเป็นเวลา 15 วัน หรือที่ 1.38°C หรือต่ำกว่าเป็นเวลา 18 วัน กระทรวงเกษตรได้ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีห่วงโซ่ความเย็นมาตั้งแต่ปี 2020 และเริ่มส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัยตั้งแต่ครึ่งปีแรกของปี 2024 ซึ่งรวมถึงการบรรจุภัณฑ์ที่มีความแม่นยำ
มะเฟืองเป็นไม้ผลเมืองร้อนที่มีถิ่นกำเนิดในมาเลเซียและอินโดนีเซีย เริ่มมีการปลูกในไต้หวันตั้งแต่สมัยราชวงศ์ชิง โดยในช่วงแรกจำกัดการปลูกอยู่ในภาคเหนือก่อนขยายสู่การปลูกเชิงพาณิชย์ พื้นที่ปลูกสำคัญในปัจจุบันได้แก่เขตหนานซีและอวี้จิ่งในนครไถหนาน ซึ่งคิดเป็น 40% ของผลผลิตทั้งหมด ในปี 1970 การปลูกมะเฟืองขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการลดลงของพืชบางชนิด เช่น อ้อยและมันสำปะหลัง โดยในปี 1988 ผลผลิตมะเฟืองเพิ่มขึ้นถึง 48,000 ตันต่อปี ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูก 3,050 เฮกตาร์
มะเฟืองไต้หวัน(photo:Adobe Stock)
การเพาะปลูกมะเฟืองไม่เพียงสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ผลิตหลักอย่างเขตหนานซีในนครไถหนาน แต่ยังช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนด้วย อาคารที่สร้างขึ้นในช่วงนี้จึงมักถูกเรียกว่า "บ้านมะเฟือง" และมะเฟืองก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ทางการเกษตรภายใต้แนวคิด "หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์" ของไต้หวัน อย่างไรก็ตาม การเพาะปลูกมะเฟืองต้องใช้แรงงานอย่างมากในการดูแล ตั้งแต่การตั้งร้าน การตัดแต่งกิ่ง การกำจัดวัชพืช การใส่ปุ๋ย ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว กระบวนการบรรจุภัณฑ์ และการขนส่ง เนื่องจากมะเฟืองเป็นผลไม้ที่เปลือกบางและฉ่ำน้ำ จึงต้องการความระมัดระวังเป็นพิเศษ แต่เมื่อเศรษฐกิจเริ่มเปลี่ยนแปลง และอุตสาหกรรมพัฒนาอย่างรวดเร็ว ความต้องการแรงงานในภาคอื่น ๆ เพิ่มขึ้น งานเกษตรแบบดั้งเดิมที่ต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่ยากลำบาก รายได้ต่ำ และการขาดแคลนแรงงานเนื่องจากเกษตรกรสูงอายุ ส่งผลให้การปลูกมะเฟืองเผชิญกับความท้าทายอย่างมากในปัจจุบัน
มะเฟืองที่ขายในซูเปอร์มาร์เก็ตไต้หวัน
สถิติทางการเกษตรระบุว่าการผลิตมะเฟืองและพื้นที่เพาะปลูกถึงจุดสูงสุดในปี 1988 โดยมีผลผลิตมากกว่า 48,000 ตัน หลังจากนั้น ผลผลิตและพื้นที่เพาะปลูกลดลงอย่างต่อเนื่อง ในปี 1998 ผลผลิตลดลง 50% เหลือ 24,000 ตัน และพื้นที่เพาะปลูกลดลงเหลือประมาณ 1,800 เฮกตาร์ ภายในปี 2018 ผลผลิตลดลงเหลือเพียง 8,800 ตัน คิดเป็น 18% ของช่วงพีค ส่วนพื้นที่เพาะปลูกลดลงเหลือเพียง 700 เฮกตาร์ คิดเป็น 25% ของช่วงพีค อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากการระบาดของโควิดในช่วงที่ผ่านมา ทำให้การผลิตมะเฟืองหดตัวอย่างรุนแรง โดยในเวลาเพียง 5 ปี ผลผลิตลดลงเหลือ 6,000 ตัน และพื้นที่เพาะปลูกลดลงเกือบ 30% เหลือมากกว่า 500 เฮกตาร์ แม้ว่าการผลิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว แต่ราคาต่อหน่วยผลผลิตกลับเพิ่มขึ้นทุกปี จากราคาเดิมประมาณ 16,000 เหรียญไต้หวันต่อตัน เป็นมากกว่า 23,000 เหรียญไต้หวัน และสูงสุดถึง 30,000 เหรียญไต้หวันต่อตัน แสดงให้เห็นว่ามะเฟืองยังคงมีความต้องการในตลาด
มะเฟืองที่ขายในซูเปอร์มาร์เก็ตอเมริกาเหนือ
ในช่วงทศวรรษ 1980 เมื่อการผลิตมะเฟืองเพิ่มขึ้น ยอดขายในตลาดภายในประเทศเริ่มอิ่มตัว รัฐบาลจึงเริ่มพิจารณาการส่งออก อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกเทคโนโลยีการเก็บรักษาผลไม้ยังไม่สมบูรณ์ ทำให้การส่งออกมะเฟืองสดจำกัดอยู่ในระยะทางขนส่งสั้น ๆ จนกระทั่งปี 1994 สหกรณ์การขนส่งและการตลาดผลไม้เริ่มส่งออกมะเฟืองไปยังฮ่องกง และในปี 1995 เริ่มส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาหลังผ่านกฎระเบียบเกี่ยวกับยาฆ่าแมลงและแมลงศัตรูพืช ส่งผลให้ยอดส่งออกมะเฟืองเพิ่มขึ้น
ราคาส่งออกของมะเฟืองแสดงให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนระหว่างตลาดต่างประเทศ โดยราคาส่งออกไปยังจีนและฮ่องกงอยู่ที่ประมาณ 34,000-36,000 เหรียญไต้หวันต่อตัน ขณะที่ราคาส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกา แคนาดา และสิงคโปร์สูงถึง 70,000-72,000 เหรียญไต้หวันต่อตัน หรือประมาณสองเท่าของราคาส่งออกในจีนและฮ่องกง และแม้ว่าตลาดในจีนและฮ่องกงจะมีขนาดใหญ่และมีเสถียรภาพในช่วงแรกของการส่งออก แต่ราคากลับเป็นเพียงครึ่งหนึ่งของตลาดในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา เนื่องจากสหรัฐอเมริกาเปิดกว้างในการลงทุนในเทคโนโลยีห่วงโซ่ความเย็น ตลาดสหรัฐฯ จึงอาจกลายเป็นตลาดเป้าหมายสำคัญในอนาคต มะเฟืองยังเป็นผลไม้ที่พบได้น้อยในสหรัฐอเมริกา แต่ได้รับความนิยมในวัฒนธรรมการบริโภคของชาวเอเชียและละติน โดยใช้ทำเป็นน้ำผลไม้ สลัด หรือไวน์ นอกจากนี้ การย้ายถิ่นฐานของชาวเอเชียไปยังสหรัฐและยุโรปที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการตระหนักรู้ด้านสุขภาพที่ดีขึ้นของผู้บริโภค ทำให้ความต้องการมะเฟืองในสหรัฐอเมริกาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2020 เป็นต้นมา ร้านกาแฟในเครือ Starbucks ยังได้เปิดตัวเครื่องดื่มที่มีมะเฟืองเป็นส่วนประกอบด้วย
น้ำผลไม้ใน Starbucksของอเมริกาเหนือมีมะเฟืองเป็นส่วนประกอบด้วย(photo:Kaizen Nguy on Unsplash)
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา กระทรวงเกษตรไต้หวันได้ลงทุนอย่างจริงจังในการจัดการเรื่องความปลอดภัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่ความเย็น ทำให้การปลูกมะเฟืองได้รับความสนใจมากขึ้น ปัจจุบันมะเฟืองที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกามักใช้การจัดการอุณหภูมิต่ำ โดยควบคุมอุณหภูมิศูนย์กลางของผลไม้ให้อยู่ที่ 0.99°C หรือต่ำกว่าเป็นเวลา 15 วัน หรือที่ 1.38°C หรือต่ำกว่าเป็นเวลา 18 วัน กระทรวงเกษตรได้ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีห่วงโซ่ความเย็นมาตั้งแต่ปี 2020 และเริ่มส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพเทคโนโลยีห่วงโซ่อุปทานที่ปลอดภัยตั้งแต่ครึ่งปีแรกของปี 2024 ซึ่งรวมถึงการบรรจุภัณฑ์ที่มีความแม่นยำ