
Sign up to save your podcasts
Or
วันนี้มีเรื่องราวการผลิตดาบไม้ไผ่ของบริษัทหงต๋า(HON DAR BAMBOO SWORDS CO., LTD.) ที่มีชื่อเสียงและมีฝีมือการผลิต มีประสบการณ์การผลิตดาบไม้ไผ่นานกว่า 50 ปี เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้รักศิลปะการต่อสู้ด้วยดาบแบบญี่ปุ่นมาเล่าสู่กันฟัง หากจะพูดถึงธุรกิจการแปรรูปไม้ไผ่ในไต้หวันแล้ว สิ่งแรกที่ทำให้คนนึกถึงคืออะไร? ก็อาจจะเป็นไม้จิ้มฟัน ตะเกียบ จักสานไม้ไผ่ หรือว่าการแกะสลักไม้ไผ่... แต่ถ้าเดินทางไปที่ตำบลจู๋ซานของเมืองหนานโถว ก็จะพบว่ามีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไม้ไผ่ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ กลับเป็นดาบไม้ไผ่ที่หลายคนไม่คุ้นเคย หรือถ้าคนที่รู้จักดาบไม้ไผ่ก็อาจจะมองว่าเป็นสุดยอดเทคโนโลยีของธุรกิจแปรรูปไม้ไผ่ ซึ่งบริษัทดาบไม้ไผ่หงต๋า ก่อตั้งในปี 1968 มีการถ่ายทอดฝีมือการผลิตมาตั้งแต่ยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน เนื่องจาก เคนโด (Kendo) เป็นศิลปะการป้องกันตัวที่ต้องใช้ดาบไม้ไผ่ในการฝึก แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา การผลิตดาบไม้ไผ่ในไต้หวันได้พัฒนาวิจัยวิธีการผลิตที่ต่างจากญี่ปุ่น และยังถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จที่ดีที่สุดที่พัฒนาจากงานฝีมือกลายเป็นสินค้า หลินซิ่นหง(林信宏) เจ้าของบริษัทหงต๋าและเป็นผู้สืบทอดกิจการรุ่นที่ 2 มีประสบการณ์และมีเทคนิคการผลิตดาบไม้ไผ่พูดประโยคหนึ่งว่า “หากไม่มีดาบไม้ไผ่ ธุรกิจไม้ไผ่ของตำบลจู๋ซานคงจะสูญหายไปแล้ว”
ไผ่กุ้ยจู๋คุณภาพดีเข้าสู่ขั้นตอนการล้าง
ปัจจุบันบริษัทหงต๋าจัดอยู่ใน 2 โรงงานที่ยังมีการผลิตดาบไม้ไผ่ในตำบลจู๋ซาน และยังคงการผลิตดาบไม้ไผ่ที่มีเทคนิคละเอียดลออ เป็นโรงงานผลิตดาบไม้ไผ่ที่สำคัญของโลก จากรุ่นที่ 1 ที่มีโรงงานเรียบง่ายเป็นโครงไผ่ หลังคามุงสังกะสี เมื่อถึงรุ่นที่ 2 มีการสร้างโรงงานและคลังเก็บสิ่งของที่สมบูรณ์ขึ้น ไม่กี่ปีนี้ บริษัทหงต๋าต้องประสบปัญหากำลังคนและค่าแรงที่สูงขึ้น มีการย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ จนปัจจุบันดาบไม้ไผ่หงต๋ากลายเป็นโรงงานผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดาบไม้ไผ่ที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น เฉลี่ย 2 เล่ม จะมี 1 เล่มที่ผลิตในไต้หวัน นายหลินซิ่นหงกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า ตั้งแต่สืบทอดกิจการต่อจากคุณพ่อ และปัจจุบันได้สืบทอดให้ลูกชาย 2 คนที่เป็นรุ่นที่ 3 ลูกชายคนโตรับผิดชอบในเรื่องของการขาย ตั้งบริษัทอยู่ที่ญี่ปุ่น ขายสินค้าแบรนด์ของตัวเองโดยตรง ส่วนลูกชายคนเล็กรับผิดชอบเป็นผู้ผลิต ก่อนการระบาดของโควิด 19 จะบินไปมาจัดการเรื่องการผลิตระหว่างไต้หวันกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นายหลินยังบอกด้วยว่า ตั้งแต่เล็กจนโต ได้เห็นการพัฒนาธุรกิจดาบไม้ไผ่จากที่ไม่รู้อะไรเลยจนกระทั่งมีกิจการ เขายังจำได้ว่า ตอนที่เรียนชั้นมัธยมต้น มีอาจารย์สอนศิลปะดาบไม้ไผ่จากเมืองเจียอี้ท่านหนึ่ง รู้จักผู้ประกอบการดาบไม้ไผ่ของญี่ปุ่นที่รู้ว่าไต้หวันมีไม้ไผ่คุณภาพดีที่เรียกว่า กุ้ยจู๋ เป็นจำนวนมาก ก็เลยให้อาจารย์ท่านนี้เป็นนายหน้าหาผู้ประกอบการในตำบลจู๋ซานรับจ้างผลิตดาบไม้ไผ่ และในขณะนั้น ที่ตำบลจู๋ซานมีโรงงานทำธุรกิจแปรรูปไม้ไผ่ 200-300 แห่ง เมื่อทุกคนได้ข่าวว่าการทำดาบไม้ไผ่ 1 เล่มราคา 16 เหรียญไต้หวัน เมื่อเทียบกับค่าแรง 1 วันที่ได้รับเพียง 9 เหรียญไต้หวันรู้สึกว่าสูงกว่ามากมาย ก็เลยมีผู้แย่งรับจ้างผลิตกันมาก หลินมู่ชัง(林牧倉)ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานรุ่นแรกของหงต๋าและเป็นคุณพ่อของหลินซิ่นหง เดิมทีเป็นเภสัชกรทำงานในโรงพยาบาล ยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน ธุรกิจไม้ในเมืองหนานโถวกำลังรุ่งเรือง หลินมู่ชังจึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพลงทุนกิจการไม้ แต่เนื่องจากบริหารงานไม่ดี สุดท้ายผู้ร่วมทุนต่างแยกย้ายกันไป หลินมู่ชังได้ส่วนแบ่งเฉพาะรถบรรทุก 1 คน ดังนั้นในเวลาต่อมาจึงทำธุรกิจขนส่งสินค้า จากนั้นหันมาค้าขายวัสดุ แล้วค่อยๆ เข้าสู่ธุรกิจแปรรูปไม้ไผ่ เมื่อถึงช่วงที่ธุรกิจผลิตดาบไม้ไผ่กำลังบูม หลินมู่ชังก็ได้เริ่มพัฒนาเทคนิคการผลิตดาบไม้ไผ่ด้วย และพบว่า ดาบไม้ไผ่ญี่ปุ่นเป็นงานศิลปะที่มีการสืบทอดจากอาจารย์ที่มีฝีมือ และการที่จะกลายเป็นอาจารย์ช่างที่มีฝีมือไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจารย์ช่างฝีมือ 1 คนจะผลิตดาบไม้ไผ่ได้สักเล่มจะต้องใช้เวลานาน หลินมู่ชังคิดว่า ถ้าจะผลิตดาบไม้ไผ่แบบดั้งเดิมจะไม่เหมาะต่อการพัฒนาธุรกิจ ดังนั้นจึงนำวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมนี้แยกเป็นขั้นเป็นตอน แต่ละขั้นตอนจะมีผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบโดยเฉพาะ ดีกว่าที่คนเดียวทำทุกขั้นตอน และยังสามารถผลิตดาบไม้ไผ่คุณภาพดีเป็นที่ต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งถ้าคุณดูดาบไม้ไผ่ 1 เล่ม คุณอาจคิดว่าทำง่าย แต่ว่าถ้าจะทำให้เป็นที่ถูกใจของทุกๆ คนนั้นไม่ใช่ง่าย ประการแรก ผู้บริโภคที่เรียนรู้ขั้นพื้นฐานมักจะไม่ค่อยเข้าใจเรื่องดาบไม้ไผ่มากนัก ส่วนผู้เรียนรู้ขั้นสูงแล้ว มักจะเลือกสรรอย่างละเอียด เพราะฉะนั้น ราคาและคุณภาพจึงเป็นสิ่งท้าทายต่อการผลิตมากที่สุด
ไผ่กุ้ยจู๋มีความแข็งแรง เหนียว ใช้ทำดาบ เป็นที่ชื่นชอบของคนญี่ปุ่น
ในสายตาของผู้ประกอบการแปรรูปไผ่ในท้องถิ่น มักจะมองว่า การผลิตดาบไม้ไผ่เป็นเทคโนโลยีสุดยอดของธุรกิจ แต่หลินซิ่นหงกลับมองว่า ดาบไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติ ไม่ใช่วัสดุความละเอียดสูง แต่ว่าในดาบไม้ไผ่ 1 เล่มจะประกอบด้วยแผ่นไผ่ 4 ชิ้น และทั้ง 4 ชิ้นนี้อาจมาจากส่วนของไม้ไผ่ที่ไม่เหมือนกัน และไผ่แต่ละชิ้นอาจจะต่างกันที่ความหนาบาง ความโค้งงอ มีข้อไผ่ และสี แต่ถ้าแผ่นไผ่ทั้ง 4 ชิ้น สามารถนำมาประกอบกันก็จะเกิดความสวยงาม ซึ่งสิ่งนี้เองที่จะทดสอบความแม่นยำของการผลิตได้ แต่ถ้าจะแยกแยะขั้นตอนการผลิตดาบไม้ไผ่ ตั้งแต่ไผ่ดิบสีเขียวที่ขนส่งจากบนภูเขา ประการแรกต้องคัดเลือกขนาดของลำไผ่และทำการขจัดเปลือกผิวสีเขียวของไผ่ จากนั้นคัดเกรดตามน้ำหนักและดูสภาพภายนอก จากนั้นจึงจะเข้าสู่กกระบวนการแปรรูป ในขณะที่ทำการแปรรูป จะต้องดัดความโค้งงอ จากนั้นผ่านขั้นตอนการตัด การขัด การปรับ การขูด เป็นต้น หลังจากได้รูปแบบที่ต้องการแล้ว จึงเข้าสู่ขั้นตอนการจัดหมวดหมู่ โดยแต่ละขั้นตอนล้วนมีความสำคัญ ลำไผ่สีเขียว 1 รถบรรทุก หลังจากที่ผ่านการคัดสรรเบื้องต้นแล้ว นำไปใช้งานได้มีเพียง 15-18% และหลังจากนำไปคัดเลือกอย่างละเอียดอีกครั้ง ก็จะมีส่วนที่เสียหายเพิ่มขึ้นไปอีก 10-20% เพราะฉะนั้นกล่าวได้ว่า คุณภาพของดาบไม้ไผ่ที่ดีต้องอาศัยคนในการเลือกสรร ก็มีคำถามว่า คุณต้องการพัฒนาให้เป็นงานศิลปะหรือว่าเป็นสินค้า? สิ่งนี้เป็นปัจจัยแรกที่จะต้องแยกแยะให้ชัดเจน หลินซิ่นหงหวลคิดถึงอดีต ทิศทางที่คุณพ่อเลือกเป็นตัวตัดสินอนาคตของธุรกิจดาบไม้ไผ่หงต๋า การผลิตที่มีขนาดเดียวกัน ปริมาณการผลิต สินค้าราคาสูง เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของห่วงโซ่ธุรกิจแปรรูปดาบไม้ไผ่ที่สามารถยืนหยัดต่อไปได้ หลินซิ่นหงยังบอกด้วยว่า มาตรฐานการเลือกดาบไม้ไผ่ นอกจากในเรื่องของความยาว ข้อไผ่ และสีแล้ว สิ่งที่ควบคุมได้ยากที่สุดคือน้ำหนัก ขนาดของดาบไม้ไผ่และการใช้งานที่ต่างกัน น้ำหนักก็จะต่างกัน เพราะฉะนั้นแต่ละขั้นตอนการผลิตจะต้องชั่งน้ำหนัก หากเจอช่วงที่ฝนตก ความชื้นก็จะสูง แผ่นไผ่จะมีน้ำเพิ่มขึ้น 4-8 กรัม เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันก็จะคาดเคลื่อนจากสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
ทุกขั้นตอนต้องใช้แรงงานคนในการคัดสรร
ดาบไม้ไผ่ไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนเทคโนโลยีชั้นสูง แต่ยังทำให้ห่วงโซ่การแปรรูปไม้ไผ่ต้นน้ำและปลายน้ำมีความครบถ้วน ซึ่งมีคนมักจะกล่าวว่า ไผ่ 1 ลำ จะมีเถ้าแก่ถึง 3 คน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าการนำไปแปรรูปที่ไม่เหมือนกัน คนที่ซื้อก็ต่างกันด้วย ยกตัวอย่าง ส่วนหัวของไผ่จะดีที่สุด จะนำมาทำเป็นดาบไม้ไผ่ ส่วนกลางเหมาะในการทำมู่ลี่ ถักทอเสื่อ ส่วนปลายของไผ่คุณภาพแย่ที่สุด ได้แต่นำมาทำเป็นไม้ปิ้งเนื้อ หากไม่มีดาบไม้ไผ่ที่ขายได้ราคาสูงมาช่วยแบ่งเบ่าต้นทุน สินค้าแปรรูปปลายน้ำก็จะขาดศักยภาพการแข่งขัน และถ้าเข้าไปเยี่ยมชมโรงงานด้านข้าง ก็จะเห็นอาม่ากลุ่มหนึ่งกำลังควบคุมสายการผลิต นำไผ่ที่เป็นลำตัดให้เป็นท่อนๆ หรือไม่ก็นำแผ่นไผ่ตัดให้เป็นไม้จิ้มฟัน ส่วนที่ไม่สามารถแปรรูปก็จะนำไปกองไว้อีกที่ ผู้ประกอบการที่ต้องการก็จะมาคัดเลือกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่น เอาไปทำเป็นโครงสำหรับเลี้ยงหอยนางรม เป็นแผงกั้นลม เป็นต้น แต่ว่าผลกำไรที่ได้จากการแปรรูปปลายน้ำน้อยมาก ผลประกอบการหลักต้องอาศัยการผลิตดาบ หลินซิ่นหงบอกว่า ทั่วโลกล้วนมีทรัพยากรป่าไผ่ แต่ว่าไต้หวันพิเศษกว่าคือมีไผ่สายพันธุ์กุ้ยจู๋ ประกอบกับไต้หวันมีสภาพอากาศที่เป็นเกาะมีความชุ่มชื้น ทำให้ไผ่กุ้ยจู๋มีเส้นใยละเอียดและมีความแข็งแรง รวมทั้งประสบการณ์แปรรูปที่มีความสุกงอม แม้จะต้องแข่งขันกับสินค้าราคาต่ำจากจีน แต่ดาบไม้ไผ่ไต้หวันก็ยังคงอยู่ได้ในตลาดโลก
คนงานตัดไผ่เป็นชิ้นเล็ก แบ่งเกรดการใช้งาน
วันนี้มีเรื่องราวการผลิตดาบไม้ไผ่ของบริษัทหงต๋า(HON DAR BAMBOO SWORDS CO., LTD.) ที่มีชื่อเสียงและมีฝีมือการผลิต มีประสบการณ์การผลิตดาบไม้ไผ่นานกว่า 50 ปี เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้รักศิลปะการต่อสู้ด้วยดาบแบบญี่ปุ่นมาเล่าสู่กันฟัง หากจะพูดถึงธุรกิจการแปรรูปไม้ไผ่ในไต้หวันแล้ว สิ่งแรกที่ทำให้คนนึกถึงคืออะไร? ก็อาจจะเป็นไม้จิ้มฟัน ตะเกียบ จักสานไม้ไผ่ หรือว่าการแกะสลักไม้ไผ่... แต่ถ้าเดินทางไปที่ตำบลจู๋ซานของเมืองหนานโถว ก็จะพบว่ามีธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับไม้ไผ่ที่ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ กลับเป็นดาบไม้ไผ่ที่หลายคนไม่คุ้นเคย หรือถ้าคนที่รู้จักดาบไม้ไผ่ก็อาจจะมองว่าเป็นสุดยอดเทคโนโลยีของธุรกิจแปรรูปไม้ไผ่ ซึ่งบริษัทดาบไม้ไผ่หงต๋า ก่อตั้งในปี 1968 มีการถ่ายทอดฝีมือการผลิตมาตั้งแต่ยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน เนื่องจาก เคนโด (Kendo) เป็นศิลปะการป้องกันตัวที่ต้องใช้ดาบไม้ไผ่ในการฝึก แต่อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา การผลิตดาบไม้ไผ่ในไต้หวันได้พัฒนาวิจัยวิธีการผลิตที่ต่างจากญี่ปุ่น และยังถือเป็นตัวอย่างความสำเร็จที่ดีที่สุดที่พัฒนาจากงานฝีมือกลายเป็นสินค้า หลินซิ่นหง(林信宏) เจ้าของบริษัทหงต๋าและเป็นผู้สืบทอดกิจการรุ่นที่ 2 มีประสบการณ์และมีเทคนิคการผลิตดาบไม้ไผ่พูดประโยคหนึ่งว่า “หากไม่มีดาบไม้ไผ่ ธุรกิจไม้ไผ่ของตำบลจู๋ซานคงจะสูญหายไปแล้ว”
ไผ่กุ้ยจู๋คุณภาพดีเข้าสู่ขั้นตอนการล้าง
ปัจจุบันบริษัทหงต๋าจัดอยู่ใน 2 โรงงานที่ยังมีการผลิตดาบไม้ไผ่ในตำบลจู๋ซาน และยังคงการผลิตดาบไม้ไผ่ที่มีเทคนิคละเอียดลออ เป็นโรงงานผลิตดาบไม้ไผ่ที่สำคัญของโลก จากรุ่นที่ 1 ที่มีโรงงานเรียบง่ายเป็นโครงไผ่ หลังคามุงสังกะสี เมื่อถึงรุ่นที่ 2 มีการสร้างโรงงานและคลังเก็บสิ่งของที่สมบูรณ์ขึ้น ไม่กี่ปีนี้ บริษัทหงต๋าต้องประสบปัญหากำลังคนและค่าแรงที่สูงขึ้น มีการย้ายฐานการผลิตไปต่างประเทศ จนปัจจุบันดาบไม้ไผ่หงต๋ากลายเป็นโรงงานผลิตที่ใหญ่ที่สุดในโลก ดาบไม้ไผ่ที่ใช้ในประเทศญี่ปุ่น เฉลี่ย 2 เล่ม จะมี 1 เล่มที่ผลิตในไต้หวัน นายหลินซิ่นหงกล่าวด้วยความภาคภูมิใจว่า ตั้งแต่สืบทอดกิจการต่อจากคุณพ่อ และปัจจุบันได้สืบทอดให้ลูกชาย 2 คนที่เป็นรุ่นที่ 3 ลูกชายคนโตรับผิดชอบในเรื่องของการขาย ตั้งบริษัทอยู่ที่ญี่ปุ่น ขายสินค้าแบรนด์ของตัวเองโดยตรง ส่วนลูกชายคนเล็กรับผิดชอบเป็นผู้ผลิต ก่อนการระบาดของโควิด 19 จะบินไปมาจัดการเรื่องการผลิตระหว่างไต้หวันกับประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นายหลินยังบอกด้วยว่า ตั้งแต่เล็กจนโต ได้เห็นการพัฒนาธุรกิจดาบไม้ไผ่จากที่ไม่รู้อะไรเลยจนกระทั่งมีกิจการ เขายังจำได้ว่า ตอนที่เรียนชั้นมัธยมต้น มีอาจารย์สอนศิลปะดาบไม้ไผ่จากเมืองเจียอี้ท่านหนึ่ง รู้จักผู้ประกอบการดาบไม้ไผ่ของญี่ปุ่นที่รู้ว่าไต้หวันมีไม้ไผ่คุณภาพดีที่เรียกว่า กุ้ยจู๋ เป็นจำนวนมาก ก็เลยให้อาจารย์ท่านนี้เป็นนายหน้าหาผู้ประกอบการในตำบลจู๋ซานรับจ้างผลิตดาบไม้ไผ่ และในขณะนั้น ที่ตำบลจู๋ซานมีโรงงานทำธุรกิจแปรรูปไม้ไผ่ 200-300 แห่ง เมื่อทุกคนได้ข่าวว่าการทำดาบไม้ไผ่ 1 เล่มราคา 16 เหรียญไต้หวัน เมื่อเทียบกับค่าแรง 1 วันที่ได้รับเพียง 9 เหรียญไต้หวันรู้สึกว่าสูงกว่ามากมาย ก็เลยมีผู้แย่งรับจ้างผลิตกันมาก หลินมู่ชัง(林牧倉)ซึ่งเป็นเจ้าของโรงงานรุ่นแรกของหงต๋าและเป็นคุณพ่อของหลินซิ่นหง เดิมทีเป็นเภสัชกรทำงานในโรงพยาบาล ยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวัน ธุรกิจไม้ในเมืองหนานโถวกำลังรุ่งเรือง หลินมู่ชังจึงตัดสินใจเปลี่ยนอาชีพลงทุนกิจการไม้ แต่เนื่องจากบริหารงานไม่ดี สุดท้ายผู้ร่วมทุนต่างแยกย้ายกันไป หลินมู่ชังได้ส่วนแบ่งเฉพาะรถบรรทุก 1 คน ดังนั้นในเวลาต่อมาจึงทำธุรกิจขนส่งสินค้า จากนั้นหันมาค้าขายวัสดุ แล้วค่อยๆ เข้าสู่ธุรกิจแปรรูปไม้ไผ่ เมื่อถึงช่วงที่ธุรกิจผลิตดาบไม้ไผ่กำลังบูม หลินมู่ชังก็ได้เริ่มพัฒนาเทคนิคการผลิตดาบไม้ไผ่ด้วย และพบว่า ดาบไม้ไผ่ญี่ปุ่นเป็นงานศิลปะที่มีการสืบทอดจากอาจารย์ที่มีฝีมือ และการที่จะกลายเป็นอาจารย์ช่างที่มีฝีมือไม่ใช่เรื่องง่าย และอาจารย์ช่างฝีมือ 1 คนจะผลิตดาบไม้ไผ่ได้สักเล่มจะต้องใช้เวลานาน หลินมู่ชังคิดว่า ถ้าจะผลิตดาบไม้ไผ่แบบดั้งเดิมจะไม่เหมาะต่อการพัฒนาธุรกิจ ดังนั้นจึงนำวิธีการผลิตแบบดั้งเดิมนี้แยกเป็นขั้นเป็นตอน แต่ละขั้นตอนจะมีผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบโดยเฉพาะ ดีกว่าที่คนเดียวทำทุกขั้นตอน และยังสามารถผลิตดาบไม้ไผ่คุณภาพดีเป็นที่ต้องการของลูกค้าได้ ซึ่งถ้าคุณดูดาบไม้ไผ่ 1 เล่ม คุณอาจคิดว่าทำง่าย แต่ว่าถ้าจะทำให้เป็นที่ถูกใจของทุกๆ คนนั้นไม่ใช่ง่าย ประการแรก ผู้บริโภคที่เรียนรู้ขั้นพื้นฐานมักจะไม่ค่อยเข้าใจเรื่องดาบไม้ไผ่มากนัก ส่วนผู้เรียนรู้ขั้นสูงแล้ว มักจะเลือกสรรอย่างละเอียด เพราะฉะนั้น ราคาและคุณภาพจึงเป็นสิ่งท้าทายต่อการผลิตมากที่สุด
ไผ่กุ้ยจู๋มีความแข็งแรง เหนียว ใช้ทำดาบ เป็นที่ชื่นชอบของคนญี่ปุ่น
ในสายตาของผู้ประกอบการแปรรูปไผ่ในท้องถิ่น มักจะมองว่า การผลิตดาบไม้ไผ่เป็นเทคโนโลยีสุดยอดของธุรกิจ แต่หลินซิ่นหงกลับมองว่า ดาบไม้ไผ่เป็นวัสดุธรรมชาติ ไม่ใช่วัสดุความละเอียดสูง แต่ว่าในดาบไม้ไผ่ 1 เล่มจะประกอบด้วยแผ่นไผ่ 4 ชิ้น และทั้ง 4 ชิ้นนี้อาจมาจากส่วนของไม้ไผ่ที่ไม่เหมือนกัน และไผ่แต่ละชิ้นอาจจะต่างกันที่ความหนาบาง ความโค้งงอ มีข้อไผ่ และสี แต่ถ้าแผ่นไผ่ทั้ง 4 ชิ้น สามารถนำมาประกอบกันก็จะเกิดความสวยงาม ซึ่งสิ่งนี้เองที่จะทดสอบความแม่นยำของการผลิตได้ แต่ถ้าจะแยกแยะขั้นตอนการผลิตดาบไม้ไผ่ ตั้งแต่ไผ่ดิบสีเขียวที่ขนส่งจากบนภูเขา ประการแรกต้องคัดเลือกขนาดของลำไผ่และทำการขจัดเปลือกผิวสีเขียวของไผ่ จากนั้นคัดเกรดตามน้ำหนักและดูสภาพภายนอก จากนั้นจึงจะเข้าสู่กกระบวนการแปรรูป ในขณะที่ทำการแปรรูป จะต้องดัดความโค้งงอ จากนั้นผ่านขั้นตอนการตัด การขัด การปรับ การขูด เป็นต้น หลังจากได้รูปแบบที่ต้องการแล้ว จึงเข้าสู่ขั้นตอนการจัดหมวดหมู่ โดยแต่ละขั้นตอนล้วนมีความสำคัญ ลำไผ่สีเขียว 1 รถบรรทุก หลังจากที่ผ่านการคัดสรรเบื้องต้นแล้ว นำไปใช้งานได้มีเพียง 15-18% และหลังจากนำไปคัดเลือกอย่างละเอียดอีกครั้ง ก็จะมีส่วนที่เสียหายเพิ่มขึ้นไปอีก 10-20% เพราะฉะนั้นกล่าวได้ว่า คุณภาพของดาบไม้ไผ่ที่ดีต้องอาศัยคนในการเลือกสรร ก็มีคำถามว่า คุณต้องการพัฒนาให้เป็นงานศิลปะหรือว่าเป็นสินค้า? สิ่งนี้เป็นปัจจัยแรกที่จะต้องแยกแยะให้ชัดเจน หลินซิ่นหงหวลคิดถึงอดีต ทิศทางที่คุณพ่อเลือกเป็นตัวตัดสินอนาคตของธุรกิจดาบไม้ไผ่หงต๋า การผลิตที่มีขนาดเดียวกัน ปริมาณการผลิต สินค้าราคาสูง เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดของห่วงโซ่ธุรกิจแปรรูปดาบไม้ไผ่ที่สามารถยืนหยัดต่อไปได้ หลินซิ่นหงยังบอกด้วยว่า มาตรฐานการเลือกดาบไม้ไผ่ นอกจากในเรื่องของความยาว ข้อไผ่ และสีแล้ว สิ่งที่ควบคุมได้ยากที่สุดคือน้ำหนัก ขนาดของดาบไม้ไผ่และการใช้งานที่ต่างกัน น้ำหนักก็จะต่างกัน เพราะฉะนั้นแต่ละขั้นตอนการผลิตจะต้องชั่งน้ำหนัก หากเจอช่วงที่ฝนตก ความชื้นก็จะสูง แผ่นไผ่จะมีน้ำเพิ่มขึ้น 4-8 กรัม เมื่อนำมาประกอบเข้าด้วยกันก็จะคาดเคลื่อนจากสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
ทุกขั้นตอนต้องใช้แรงงานคนในการคัดสรร
ดาบไม้ไผ่ไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนเทคโนโลยีชั้นสูง แต่ยังทำให้ห่วงโซ่การแปรรูปไม้ไผ่ต้นน้ำและปลายน้ำมีความครบถ้วน ซึ่งมีคนมักจะกล่าวว่า ไผ่ 1 ลำ จะมีเถ้าแก่ถึง 3 คน ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่าการนำไปแปรรูปที่ไม่เหมือนกัน คนที่ซื้อก็ต่างกันด้วย ยกตัวอย่าง ส่วนหัวของไผ่จะดีที่สุด จะนำมาทำเป็นดาบไม้ไผ่ ส่วนกลางเหมาะในการทำมู่ลี่ ถักทอเสื่อ ส่วนปลายของไผ่คุณภาพแย่ที่สุด ได้แต่นำมาทำเป็นไม้ปิ้งเนื้อ หากไม่มีดาบไม้ไผ่ที่ขายได้ราคาสูงมาช่วยแบ่งเบ่าต้นทุน สินค้าแปรรูปปลายน้ำก็จะขาดศักยภาพการแข่งขัน และถ้าเข้าไปเยี่ยมชมโรงงานด้านข้าง ก็จะเห็นอาม่ากลุ่มหนึ่งกำลังควบคุมสายการผลิต นำไผ่ที่เป็นลำตัดให้เป็นท่อนๆ หรือไม่ก็นำแผ่นไผ่ตัดให้เป็นไม้จิ้มฟัน ส่วนที่ไม่สามารถแปรรูปก็จะนำไปกองไว้อีกที่ ผู้ประกอบการที่ต้องการก็จะมาคัดเลือกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ เช่น เอาไปทำเป็นโครงสำหรับเลี้ยงหอยนางรม เป็นแผงกั้นลม เป็นต้น แต่ว่าผลกำไรที่ได้จากการแปรรูปปลายน้ำน้อยมาก ผลประกอบการหลักต้องอาศัยการผลิตดาบ หลินซิ่นหงบอกว่า ทั่วโลกล้วนมีทรัพยากรป่าไผ่ แต่ว่าไต้หวันพิเศษกว่าคือมีไผ่สายพันธุ์กุ้ยจู๋ ประกอบกับไต้หวันมีสภาพอากาศที่เป็นเกาะมีความชุ่มชื้น ทำให้ไผ่กุ้ยจู๋มีเส้นใยละเอียดและมีความแข็งแรง รวมทั้งประสบการณ์แปรรูปที่มีความสุกงอม แม้จะต้องแข่งขันกับสินค้าราคาต่ำจากจีน แต่ดาบไม้ไผ่ไต้หวันก็ยังคงอยู่ได้ในตลาดโลก
คนงานตัดไผ่เป็นชิ้นเล็ก แบ่งเกรดการใช้งาน