
Sign up to save your podcasts
Or
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุเรียนเป็นที่รู้จักในนาม "ราชาแห่งผลไม้" เนื่องจากมีเนื้อเนียน หวาน และอร่อยมาก แม้กลิ่นที่แรงบางครั้งอาจทำให้บางคนไม่ชอบกิน แต่ความต้องการในการบริโภคทุเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าการค้าทุเรียนทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ นิกเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) ยังรายงานว่า เพื่อตอบสนองตลาดในจีน เกษตรกรเวียดนามได้ตัดต้นกาแฟทิ้งและเริ่มปลูกทุเรียนแทน นี้เป็นสัญญาณชัดเจนที่บ่งบอกถึงความนิยมและความต้องการที่มีอยู่ต่อทุเรียนในตลาดโลกในปัจจุบัน
เว่ยเต๋อชัง เกษตรกรปลูกทุเรียนที่ผิงตง
ในไต้หวันก็มีการนำเข้าทุเรียนเกือบหมื่นตันทุกปี แต่หลังจากตลาดจีนเติบโตขึ้น การนำเข้าทุเรียนไปยังไต้หวันลดลงและราคาก็แพงขึ้น เกษตรกรในไต้หวันจึงเริ่มปลูกทุเรียนในประเทศ แม้ว่าไต้หวันจะไม่ใช่พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกทุเรียน แต่มีเกษตรกรที่สามารถเอาชนะอุปสรรคและปลูกทุเรียนรสชาติอร่อยได้ โดยขายในราคาสูงถึง 600 เหรียญไต้หวันต่อกิโลกรัม ซึ่งทุเรียนมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และชอบสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงคงที่ รายงานบางฉบับชี้ว่ากลิ่นทุเรียนที่รุนแรงมาจากเอไทโอนีน (ethionine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกลิ่นรุนแรงคล้ายกำมะถัน สำหรับคนที่ชอบทุเรียนจะคิดว่ามีกลิ่นหอม แต่คนที่เกลียดทุเรียนจะคิดว่ามีกลิ่นเหม็น ทุเรียนมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น โพแทสเซียม วิตามินซี กรดโฟลิก กรดลิโนเลอิก และทริปโตเฟน นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนเอสโตรเจนที่อาจช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในสตรีที่มีบุตรยาก และรายงานบางฉบับชี้ว่ากลิ่นทุเรียนที่รุนแรงมาจากกรดอะมิโนชื่ออีไทโอนิน (Ethionine) ที่อยู่ในทุเรียน สำหรับคนที่ชอบทุเรียนจะคิดว่ามีกลิ่นหอม แต่คนที่เกลียดทุเรียนจะคิดว่ามีกลิ่นเหม็น
สวนทุเรียนของเกษตรเว่ยเต๋อชัง
ตลาดทุเรียนกำลังขยายตัว FAO เผยภาพรวมตลาดทุเรียนทั่วโลกในปี 2023 ชี้ว่าพื้นที่ปลูกทุเรียนหลักคือไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90% เวียดนาม 3% มาเลเซีย 3% ส่วนฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียส่งออกเล็กน้อย โดยส่งออกไปจีนมากถึง 95% สำหรับในไต้หวัน ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมบริโภคเช่นกัน จากข้อมูลของสำนักงานศุลกากร ปี 2002 มีการนำเข้าทุเรียนมาไต้หวันนับหมื่นตันต่อปี แต่ความต้องการทุเรียนของจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ปริมาณทุเรียนที่นำเข้ามาไต้หวันลดลงและราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งคุณภาพและรสชาติก็ไม่ดีเหมือนเมื่อก่อน ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาระบุว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทุเรียนนำเข้ายังสุ่มตรวจพบยาฆ่าแมลงตกค้างและพบแคดเมียมซึ่งเป็นโลหะหนักถึง 11 ครั้ง
ห่อทุเรียนป้องกันมวนลำไย
แม้ว่าไต้หวันจะไม่ใช่พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกทุเรียน แต่ก็ยังมีเกษตรกรที่สามารถเอาชนะอุปสรรคด้านสภาพอากาศและปลูกทุเรียนรสชาติอร่อยได้ ปัจจุบันการปลูกทุเรียนในไต้หวันยังถือว่าน้อยมาก ตัวอย่างเช่น คุณเว่ยเต๋อชัง(魏德昌) อยู่ที่ตำบลขั่นติ่ง เมืองผิงตง เน้นปลูกทุเรียนเป็นหลัก เขารวบรวมเมล็ดพันธุ์ เพาะต้นกล้า ผลิตและจำหน่ายด้วยตัวเอง โดยซื้อทุเรียนสดนำเข้าจากผู้ค้าส่งหลายร้อยกล่อง แกะเอาเนื้อออก เหลือเมล็ดไว้เพาะและทาบกิ่งต้นกล้าทุเรียนพันธุ์ต่างๆ และคุณเว่ยเต๋อชังพบว่าต้นกล้าที่ทาบกิ่งจะเกิดผลได้เร็วที่สุดใน 4 ปี และคุณภาพของผลทุเรียนก็ดี เขาใช้วิธีถมดินยกร่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และปลูกทุเรียนในระยะห่าง 6 เมตร เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี ปัจจุบันเขาปลูกทุเรียนมากกว่า 10 พันธุ์ แต่พันธุ์หลักคือ มูซันคิง แบล็คทรอน และหมอนทอง
เกษตรกรเว่ยเต๋อชังเพาะต้นกล้าและทาบกิ่งทุเรียนเอง
ทุเรียนที่ปลูกในไต้หวันยังขายได้ในราคาสูง แม้จะปลูกในพื้นที่จำกัด การปลูกทุเรียนในไต้หวันถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสร้างรายได้ที่ดี สำหรับผู้ที่ชอบทุเรียน การบริโภคทุเรียนไต้หวันเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากคุณภาพและรสชาติที่อร่อย เป็นทุเรียนที่สุกบนต้น แต่ถ้าเป็นทุเรียนที่นำเข้าทางเรือสุกแค่ 60-70% ก็ตัดส่งขายแล้ว
ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทุเรียนเป็นที่รู้จักในนาม "ราชาแห่งผลไม้" เนื่องจากมีเนื้อเนียน หวาน และอร่อยมาก แม้กลิ่นที่แรงบางครั้งอาจทำให้บางคนไม่ชอบกิน แต่ความต้องการในการบริโภคทุเรียนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ระบุว่าการค้าทุเรียนทั่วโลกเพิ่มขึ้นเกือบ 10 เท่าในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้ นิกเคอิ เอเชีย (Nikkei Asia) ยังรายงานว่า เพื่อตอบสนองตลาดในจีน เกษตรกรเวียดนามได้ตัดต้นกาแฟทิ้งและเริ่มปลูกทุเรียนแทน นี้เป็นสัญญาณชัดเจนที่บ่งบอกถึงความนิยมและความต้องการที่มีอยู่ต่อทุเรียนในตลาดโลกในปัจจุบัน
เว่ยเต๋อชัง เกษตรกรปลูกทุเรียนที่ผิงตง
ในไต้หวันก็มีการนำเข้าทุเรียนเกือบหมื่นตันทุกปี แต่หลังจากตลาดจีนเติบโตขึ้น การนำเข้าทุเรียนไปยังไต้หวันลดลงและราคาก็แพงขึ้น เกษตรกรในไต้หวันจึงเริ่มปลูกทุเรียนในประเทศ แม้ว่าไต้หวันจะไม่ใช่พื้นที่ที่เหมาะสมในการปลูกทุเรียน แต่มีเกษตรกรที่สามารถเอาชนะอุปสรรคและปลูกทุเรียนรสชาติอร่อยได้ โดยขายในราคาสูงถึง 600 เหรียญไต้หวันต่อกิโลกรัม ซึ่งทุเรียนมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และชอบสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูงคงที่ รายงานบางฉบับชี้ว่ากลิ่นทุเรียนที่รุนแรงมาจากเอไทโอนีน (ethionine) ซึ่งเป็นกรดอะมิโนที่มีกลิ่นรุนแรงคล้ายกำมะถัน สำหรับคนที่ชอบทุเรียนจะคิดว่ามีกลิ่นหอม แต่คนที่เกลียดทุเรียนจะคิดว่ามีกลิ่นเหม็น ทุเรียนมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น โพแทสเซียม วิตามินซี กรดโฟลิก กรดลิโนเลอิก และทริปโตเฟน นอกจากนี้ยังมีฮอร์โมนเอสโตรเจนที่อาจช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนในสตรีที่มีบุตรยาก และรายงานบางฉบับชี้ว่ากลิ่นทุเรียนที่รุนแรงมาจากกรดอะมิโนชื่ออีไทโอนิน (Ethionine) ที่อยู่ในทุเรียน สำหรับคนที่ชอบทุเรียนจะคิดว่ามีกลิ่นหอม แต่คนที่เกลียดทุเรียนจะคิดว่ามีกลิ่นเหม็น
สวนทุเรียนของเกษตรเว่ยเต๋อชัง
ตลาดทุเรียนกำลังขยายตัว FAO เผยภาพรวมตลาดทุเรียนทั่วโลกในปี 2023 ชี้ว่าพื้นที่ปลูกทุเรียนหลักคือไทย มาเลเซีย และอินโดนีเซีย โดยไทยคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 90% เวียดนาม 3% มาเลเซีย 3% ส่วนฟิลิปปินส์และอินโดนีเซียส่งออกเล็กน้อย โดยส่งออกไปจีนมากถึง 95% สำหรับในไต้หวัน ทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยมบริโภคเช่นกัน จากข้อมูลของสำนักงานศุลกากร ปี 2002 มีการนำเข้าทุเรียนมาไต้หวันนับหมื่นตันต่อปี แต่ความต้องการทุเรียนของจีนเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทำให้ปริมาณทุเรียนที่นำเข้ามาไต้หวันลดลงและราคาแพงขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งคุณภาพและรสชาติก็ไม่ดีเหมือนเมื่อก่อน ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาระบุว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทุเรียนนำเข้ายังสุ่มตรวจพบยาฆ่าแมลงตกค้างและพบแคดเมียมซึ่งเป็นโลหะหนักถึง 11 ครั้ง
ห่อทุเรียนป้องกันมวนลำไย
แม้ว่าไต้หวันจะไม่ใช่พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับการปลูกทุเรียน แต่ก็ยังมีเกษตรกรที่สามารถเอาชนะอุปสรรคด้านสภาพอากาศและปลูกทุเรียนรสชาติอร่อยได้ ปัจจุบันการปลูกทุเรียนในไต้หวันยังถือว่าน้อยมาก ตัวอย่างเช่น คุณเว่ยเต๋อชัง(魏德昌) อยู่ที่ตำบลขั่นติ่ง เมืองผิงตง เน้นปลูกทุเรียนเป็นหลัก เขารวบรวมเมล็ดพันธุ์ เพาะต้นกล้า ผลิตและจำหน่ายด้วยตัวเอง โดยซื้อทุเรียนสดนำเข้าจากผู้ค้าส่งหลายร้อยกล่อง แกะเอาเนื้อออก เหลือเมล็ดไว้เพาะและทาบกิ่งต้นกล้าทุเรียนพันธุ์ต่างๆ และคุณเว่ยเต๋อชังพบว่าต้นกล้าที่ทาบกิ่งจะเกิดผลได้เร็วที่สุดใน 4 ปี และคุณภาพของผลทุเรียนก็ดี เขาใช้วิธีถมดินยกร่องเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ และปลูกทุเรียนในระยะห่าง 6 เมตร เพื่อให้มีการระบายอากาศที่ดี ปัจจุบันเขาปลูกทุเรียนมากกว่า 10 พันธุ์ แต่พันธุ์หลักคือ มูซันคิง แบล็คทรอน และหมอนทอง
เกษตรกรเว่ยเต๋อชังเพาะต้นกล้าและทาบกิ่งทุเรียนเอง
ทุเรียนที่ปลูกในไต้หวันยังขายได้ในราคาสูง แม้จะปลูกในพื้นที่จำกัด การปลูกทุเรียนในไต้หวันถือเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าและสร้างรายได้ที่ดี สำหรับผู้ที่ชอบทุเรียน การบริโภคทุเรียนไต้หวันเป็นทางเลือกที่ดี เนื่องจากคุณภาพและรสชาติที่อร่อย เป็นทุเรียนที่สุกบนต้น แต่ถ้าเป็นทุเรียนที่นำเข้าทางเรือสุกแค่ 60-70% ก็ตัดส่งขายแล้ว