
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันพัฒนากาแฟสายพันธุ์ใหม่ รสชาติหอมอร่อย แต่ความพิเศษอยู่ที่ใบกาแฟ สกัดเอากรดคลอโรจินิกที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงาม อาหารเสริมสุขภาพที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจได้
“กาแฟไถหนงหมายเลข 1-台農1號” เป็นกาแฟสายพันธุ์แรกของไต้หวันที่พัฒนาจากสายพันธุ์อาราบิกา รสชาติไม่เพียงแต่อร่อย แม้แต่ใบของกาแฟสายพันธุ์นี้ยังมีส่วนประกอบของกรดคลอโรจินิก ( Chlorogenic acid ) ที่เป็น 2 เท่าของกาแฟทั่วไปด้วย ความสำเร็จของการพัฒนาสายพันธุ์กาแฟนี้ ยังสอดคล้องกับการพัฒนาเทคนิค “การสกัดกรดคลอโรจินิก”จากใบกาแฟ เพื่อนำมาต่อยอดผลิตผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังขอจดสิทธิ์สายพันธุ์ใหม่ และทางกองการเกษตรเมืองเจียอี้บันทึกความจำขอถ่ายโอนเทคนิคจากสถาบันวิจัยการเกษตรไต้หวัน (Taiwan Agricultural Research Institute :COA) จางสูเฟิน(張淑芬) ผู้ช่วยวิจัยและดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการเกษตรเมืองเจียอี้บอกว่า กาแฟไถหนงหมายเลข 1 เป็นกาแฟสายพันธุ์อาราบิกา เอกลักษณ์พิเศษของสายพันธุ์นี้คือ ต้นกาแฟมีความแข็งแรง หลังล้างเมล็ดกาแฟแล้วนำไปอบ จะมีกลิ่นหอม เมื่อนำมาชงจะมีรสชาติอร่อย หอม กลมกล่อม เป็นกาแฟที่สามารถปลูกในพื้นที่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางและต่ำ หากปลูกในพื้นที่ราบ เมล็ดกาแฟที่ได้รสชาติก็ไม่เลว หอม อร่อย แต่อย่างไรก็ตาม ศักยภาพหรือเอกลักษณ์พิเศษของการนำกาแฟสายพันธุ์ใหม่นี้ที่มีการนำมาใช้ประโยชน์อยู่ที่ใบกาแฟ ไม่ใช่เมล็ดกาแฟ
กาแฟไถหนงหมายเลข 1 มีส่วนประกอบของกรดคลอโรจินิกมากกว่าใบกาแฟพันธุ์ทั่วไป 2 เท่า
ทั้งนี้ ใบของกาแฟสายพันธุ์ไถหนงหมายเลข 1 ที่พัฒนาได้นั้น มีส่วนประกอบของกรดคลอโรจินิกมากกว่าใบกาแฟพันธุ์ทั่วไปถึง 2 เท่า และกรดคลอโรจินิก เป็นสารสำคัญที่ต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดตีบในหัวใจ ป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเข้าไปยับยั้งการผลิตน้ำตาลในเซลล์ตับ และหากต้องการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากกรดคลอโรจินิก กาแฟไถหนงหมายเลข 1 ถือเป็นทางเลือกที่ดี ทางสถาบันวิจัยการเกษตรมีเทคโนโลยีการเอาใบกาแฟไปใช้ประโยชน์หลายรายการ รวมทั้งเทคนิคการสกัดกรดคลอโรจินิก เทคนิคการเพิ่มปริมาณกรดคลอโรจินิกในใบกาแฟสูงถึง 7 เท่า และการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมความงาม อาหารบำรุง เป็นต้น
กรดคลอโรจินิก เป็นสารสำคัญที่พบได้ในเครื่องดื่มกาแฟ ชา นอกเหนือจากคาเฟอีน แต่ว่าสารตัวนี้จะลดลงเหลือครึ่งหนึ่งเมื่อผ่านกระบวนการคั่ว ซึ่งคุณสมบัติสำคัญของกรดคลอโรจินิก คือ 1. ชะลอการหลั่งกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดหลังรับประทานอาหาร ดังนั้น การดื่มกาแฟร้อนจะได้ประโยชน์จากสารนี้ แต่ต้องระมัดระวังปริมาณของคาเฟอีนด้วย 2. ยับยั้งการดูดซึมของไขมัน โดยไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ที่ย่อยไขมัน และช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ในเลือด 3. ยับยั้งการสะสมของไขมันในร่างกายและป้องกันการสะสมของไขมันในตับหรือไขมันพอกตับ 4. เพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย 5. ส่งเสริมให้เอ็นไซม์ คาร์นิทีน ปามิโตอิล ทรานซ์เฟอร์เลส (Carnitine Pamitoyl Transferase) ในตับให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้นำไขมันที่สะสมในร่างกาย ไปใช้เป็นพลังงานได้ดีขึ้น 6. กระตุ้นการสร้างคาร์โบไฮเดรทจากสารที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรท โดยการสร้างจากไขมันที่สะสม ไปใช้ทดแทนเป็นพลังงานที่สูง จึงช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานอีกทางหนึ่ง
สถาบันวิจัยการเกษตรพัฒนาเทคนิคการผลิตใบกาแฟที่เพิ่มกรดคลอโรจินิกเป็น 7 เท่า
กาแฟเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาและทวีปอเมริกาใต้ ต่อมามีการปลูกไปทั่วโลก และมีการเอาเมล็ดกาแฟมาคั่วแล้วชงดื่มเป็นที่นิยมของผู้คนในปัจจุบัน ส่วนใบกาแฟนั้น เดิมก็มีการนำเอาใบกาแฟมาชงเดื่มแล้วเหมือนกัน แต่ในไต้หวันเพิ่งจะออกกฏหมายอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 เดือนมกราคมปีนี้ ที่สามารถนำใบกาแฟมาทำเป็นวัตถุดิบของอาหาร และยังจำกัดเฉพาะในการนำใบกาแฟมาชงเป็นเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ถึงกระนั้นก็ตาม สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตเกาสงและสถาบันวิจัยการเกษตรไต้หวันก็เริ่มพัฒนาเทคนิคการผลิตใบกาแฟมานานแล้ว จางสูเฟินยังบอกด้วยว่า เทคนิคการผลิตใบกาแฟของทางสถาบันวิจัยสามารถยกระดับปริมาณของกรดคลอโรจินิกได้ สามารถเลือกพันธุ์กาแฟที่เฉพาะเจาะจงได้ โดยผ่านกระบวนการผลิตช่วงของการนวดใบกาแฟ การหมักกาแฟ เพื่อเพิ่มปริมาณของกรดคลอโรจินิกให้สูงกว่า 7 เท่า นอกจากนี้ ทางสถาบันวิจัยการเกษตรยังมีเทคนิคการสกัดกรดคลอโรจินิกอีกหนึ่งรายการ สามารถสกัดได้กรดคลอโรจินิกเพิ่มเป็น 5 เท่า ซึ่งเทคนิคนี้ได้เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว(2020) แต่ยังไม่ได้ผ่านการมอบสิทธิ์เฉพาะ และทางสถาบันวิจัยการเกษตรไต้หวันยังบอกด้วยว่า ปัจจุบันเทคนิคการสกัดกรดคลอโรจินิกจากใบกาแฟถือเป็นรายแรกของโลก เพราะว่าในปัจจุบันมีเพียงการสกัดกรดคลอโรจินิกจากเมล็ดกาแฟเท่านั้น นอกจากนี้ การสกัดกรดคลอโรจินิกจากใบกาแฟมีต้นทุนของวัสดุจะต่ำกว่าการสกัดจากเมล็ดกาแฟมาก ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าการนำไปใช้ประโยชน์ที่ดีด้วย
ใบกาแฟสามารถชงดื่มได้
ไต้หวันพัฒนากาแฟสายพันธุ์ใหม่ รสชาติหอมอร่อย แต่ความพิเศษอยู่ที่ใบกาแฟ สกัดเอากรดคลอโรจินิกที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง ต่อยอดเป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงาม อาหารเสริมสุขภาพที่สร้างมูลค่าเศรษฐกิจได้
“กาแฟไถหนงหมายเลข 1-台農1號” เป็นกาแฟสายพันธุ์แรกของไต้หวันที่พัฒนาจากสายพันธุ์อาราบิกา รสชาติไม่เพียงแต่อร่อย แม้แต่ใบของกาแฟสายพันธุ์นี้ยังมีส่วนประกอบของกรดคลอโรจินิก ( Chlorogenic acid ) ที่เป็น 2 เท่าของกาแฟทั่วไปด้วย ความสำเร็จของการพัฒนาสายพันธุ์กาแฟนี้ ยังสอดคล้องกับการพัฒนาเทคนิค “การสกัดกรดคลอโรจินิก”จากใบกาแฟ เพื่อนำมาต่อยอดผลิตผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ผลิตภัณฑ์เสริมสุขภาพด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังขอจดสิทธิ์สายพันธุ์ใหม่ และทางกองการเกษตรเมืองเจียอี้บันทึกความจำขอถ่ายโอนเทคนิคจากสถาบันวิจัยการเกษตรไต้หวัน (Taiwan Agricultural Research Institute :COA) จางสูเฟิน(張淑芬) ผู้ช่วยวิจัยและดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองการเกษตรเมืองเจียอี้บอกว่า กาแฟไถหนงหมายเลข 1 เป็นกาแฟสายพันธุ์อาราบิกา เอกลักษณ์พิเศษของสายพันธุ์นี้คือ ต้นกาแฟมีความแข็งแรง หลังล้างเมล็ดกาแฟแล้วนำไปอบ จะมีกลิ่นหอม เมื่อนำมาชงจะมีรสชาติอร่อย หอม กลมกล่อม เป็นกาแฟที่สามารถปลูกในพื้นที่เหนือระดับน้ำทะเลปานกลางและต่ำ หากปลูกในพื้นที่ราบ เมล็ดกาแฟที่ได้รสชาติก็ไม่เลว หอม อร่อย แต่อย่างไรก็ตาม ศักยภาพหรือเอกลักษณ์พิเศษของการนำกาแฟสายพันธุ์ใหม่นี้ที่มีการนำมาใช้ประโยชน์อยู่ที่ใบกาแฟ ไม่ใช่เมล็ดกาแฟ
กาแฟไถหนงหมายเลข 1 มีส่วนประกอบของกรดคลอโรจินิกมากกว่าใบกาแฟพันธุ์ทั่วไป 2 เท่า
ทั้งนี้ ใบของกาแฟสายพันธุ์ไถหนงหมายเลข 1 ที่พัฒนาได้นั้น มีส่วนประกอบของกรดคลอโรจินิกมากกว่าใบกาแฟพันธุ์ทั่วไปถึง 2 เท่า และกรดคลอโรจินิก เป็นสารสำคัญที่ต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง ช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดตีบในหัวใจ ป้องกันโรคเบาหวานชนิดที่ 2 โดยเข้าไปยับยั้งการผลิตน้ำตาลในเซลล์ตับ และหากต้องการพัฒนาต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่สกัดจากกรดคลอโรจินิก กาแฟไถหนงหมายเลข 1 ถือเป็นทางเลือกที่ดี ทางสถาบันวิจัยการเกษตรมีเทคโนโลยีการเอาใบกาแฟไปใช้ประโยชน์หลายรายการ รวมทั้งเทคนิคการสกัดกรดคลอโรจินิก เทคนิคการเพิ่มปริมาณกรดคลอโรจินิกในใบกาแฟสูงถึง 7 เท่า และการผลิตผลิตภัณฑ์เสริมความงาม อาหารบำรุง เป็นต้น
กรดคลอโรจินิก เป็นสารสำคัญที่พบได้ในเครื่องดื่มกาแฟ ชา นอกเหนือจากคาเฟอีน แต่ว่าสารตัวนี้จะลดลงเหลือครึ่งหนึ่งเมื่อผ่านกระบวนการคั่ว ซึ่งคุณสมบัติสำคัญของกรดคลอโรจินิก คือ 1. ชะลอการหลั่งกลูโคสเข้าสู่กระแสเลือดหลังรับประทานอาหาร ดังนั้น การดื่มกาแฟร้อนจะได้ประโยชน์จากสารนี้ แต่ต้องระมัดระวังปริมาณของคาเฟอีนด้วย 2. ยับยั้งการดูดซึมของไขมัน โดยไปยับยั้งการทำงานของเอ็นไซม์ที่ย่อยไขมัน และช่วยลดระดับไตรกลีเซอไรด์ ในเลือด 3. ยับยั้งการสะสมของไขมันในร่างกายและป้องกันการสะสมของไขมันในตับหรือไขมันพอกตับ 4. เพิ่มการเผาผลาญไขมันในร่างกาย 5. ส่งเสริมให้เอ็นไซม์ คาร์นิทีน ปามิโตอิล ทรานซ์เฟอร์เลส (Carnitine Pamitoyl Transferase) ในตับให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้นำไขมันที่สะสมในร่างกาย ไปใช้เป็นพลังงานได้ดีขึ้น 6. กระตุ้นการสร้างคาร์โบไฮเดรทจากสารที่ไม่ใช่คาร์โบไฮเดรท โดยการสร้างจากไขมันที่สะสม ไปใช้ทดแทนเป็นพลังงานที่สูง จึงช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานอีกทางหนึ่ง
สถาบันวิจัยการเกษตรพัฒนาเทคนิคการผลิตใบกาแฟที่เพิ่มกรดคลอโรจินิกเป็น 7 เท่า
กาแฟเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดในแอฟริกาและทวีปอเมริกาใต้ ต่อมามีการปลูกไปทั่วโลก และมีการเอาเมล็ดกาแฟมาคั่วแล้วชงดื่มเป็นที่นิยมของผู้คนในปัจจุบัน ส่วนใบกาแฟนั้น เดิมก็มีการนำเอาใบกาแฟมาชงเดื่มแล้วเหมือนกัน แต่ในไต้หวันเพิ่งจะออกกฏหมายอย่างเป็นทางการในวันที่ 5 เดือนมกราคมปีนี้ ที่สามารถนำใบกาแฟมาทำเป็นวัตถุดิบของอาหาร และยังจำกัดเฉพาะในการนำใบกาแฟมาชงเป็นเครื่องดื่มเท่านั้น แต่ถึงกระนั้นก็ตาม สถานีปรับปรุงพันธุ์พืชเขตเกาสงและสถาบันวิจัยการเกษตรไต้หวันก็เริ่มพัฒนาเทคนิคการผลิตใบกาแฟมานานแล้ว จางสูเฟินยังบอกด้วยว่า เทคนิคการผลิตใบกาแฟของทางสถาบันวิจัยสามารถยกระดับปริมาณของกรดคลอโรจินิกได้ สามารถเลือกพันธุ์กาแฟที่เฉพาะเจาะจงได้ โดยผ่านกระบวนการผลิตช่วงของการนวดใบกาแฟ การหมักกาแฟ เพื่อเพิ่มปริมาณของกรดคลอโรจินิกให้สูงกว่า 7 เท่า นอกจากนี้ ทางสถาบันวิจัยการเกษตรยังมีเทคนิคการสกัดกรดคลอโรจินิกอีกหนึ่งรายการ สามารถสกัดได้กรดคลอโรจินิกเพิ่มเป็น 5 เท่า ซึ่งเทคนิคนี้ได้เปิดตัวเมื่อปีที่แล้ว(2020) แต่ยังไม่ได้ผ่านการมอบสิทธิ์เฉพาะ และทางสถาบันวิจัยการเกษตรไต้หวันยังบอกด้วยว่า ปัจจุบันเทคนิคการสกัดกรดคลอโรจินิกจากใบกาแฟถือเป็นรายแรกของโลก เพราะว่าในปัจจุบันมีเพียงการสกัดกรดคลอโรจินิกจากเมล็ดกาแฟเท่านั้น นอกจากนี้ การสกัดกรดคลอโรจินิกจากใบกาแฟมีต้นทุนของวัสดุจะต่ำกว่าการสกัดจากเมล็ดกาแฟมาก ถือเป็นการเพิ่มมูลค่าการนำไปใช้ประโยชน์ที่ดีด้วย
ใบกาแฟสามารถชงดื่มได้