
Sign up to save your podcasts
Or
การปลูกมะละกอ(มู่กัว-木瓜) ของไต้หวันมีมานับร้อยปีแล้ว ก่อนปี 1940 มะละกอที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม่ค่อยดี เทคนิคการปลูกค่อนข้างล้าหลัง คุณภาพก็ไม่ค่อยดีด้วย มักปลูกเป็นอาชีพเสริมในเนื้อที่ประมาณ 300 เฮกตาร์ ต่อมา สถาบันวิจัยการเกษตร(Taiwan Agricultural Research Institute :COA)ทุ่มงบด้านการวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์และเทคนิคการเพาะปลูก หลังยกระดับคุณภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนรู้ถึงคุณค่าทางโภชนาการของมะละกอแล้ว ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่การปลูกก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นด้วย
เนื่องจากมะละกอปลูกง่ายและโตเร็ว ใช้เวลาปลูกเพียง 9 - 10 เดือนก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และยังปลูกได้ทั้งปี ให้ผลผลิตสูง จึงกลายเป็นหนึ่งในไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของไต้หวัน สถิติจากรายงานประจำปีการเกษตรปี 2022 พื้นที่ปลูกมะละกอในไต้หวันอยู่ที่ 2,730 เฮกตาร์(17,062.5 ไร่) โดยมีเมืองผิงตงและนครไถหนานเป็นพื้นที่ปลูกหลัก สัดส่วน 49% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด ที่เหลือปลูกที่นครเกาสง เจียอี้ หนานโถว ฮัวเหลียน ไถตง เป็นต้น
ปัจจุบันมะละกอสายพันธุ์หลักที่ปลูกในไต้หวันคือ ไถหนง เบอร์ 2 ซึ่งเพาะพันธุ์โดยสถาบันวิจัยการเกษตรสาขาเฟิ่งซานในปี 1982 ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้คือ ปลูกง่าย โตเร็ว ลำต้นแข็งแรง ให้ผลผลิตสูง ก้านผลยาว รสหวาน เนื้อสีส้มแดง เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค ปลูกมานาน 40 ปีแล้ว และครองสัดส่วนการปลูกมากกว่า 90% แม้จะมีการพัฒนาพันธุ์ใหม่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนมะละกอพันธุ์ไถหนง เบอร์ 2 ได้ แต่ช่วงไม่กี่ปีนี้ ต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประสิทธิภาพของดอกมะละกอมีความอ่อนไหวต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้การออกดอกไม่เสถียร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอุณหภูมิสูงและฝนตกต่อเนื่อง จะส่งผลต่อเสถียรภาพการผลิตและอุปทานมะละกอ และยังมีข้อบกพร่องอื่นๆ เช่น ผลสุกของมะละกอมีรสจืดและเน่าง่าย ความทนทานต่อการจัดเก็บและการขนส่งลดลง ขนาดผลใหญ่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคที่มีครอบครัวเล็ก เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคและรักษาเสถียรภาพรายได้ของเกษตรกร สถานีวิจัยสาขาเฟิ่งซานจึงปรับปรุงพันธุ์มะละกอ ได้สายพันธุ์ใหม่ชื่อว่า “ไถหนง เบอร์ 11 -เสี่ยวเป่า(小寶) ซึ่งมีวิธีการเพาะปลูกและมีผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์ไถหนงเบอร์ 2 เนื้อแน่นสีเหลืองส้ม น้ำหนักผลเฉลี่ยน้อยกว่าไถหนง เบอร์ 2 เหมาะสำหรับครอบครัวขนาดเล็ก และยังให้ผลผลิตสูง ผลสวย ผลที่บิดเบี้ยวมีน้อย เก็บรักษาได้นานขึ้น ที่สำคัญมีกลิ่นหอมของดอกไม้อ่อน ๆสามารถส่งเสริมให้ปลูกเพิ่มขึ้นได้ โดยพันธุ์นี้เกิดจากการผสมพันธุ์ แม่พันธุ์คือ ไถหนง เบอร์ 2 ส่วนพ่อพันธุ์คือ carabao solo ของฟิลิปปินส์ที่ผ่านการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์แล้ว โดยมะละกอไถหนง เบอร์ 11 ได้รับสิทธิ์ของสายพันธุ์ในเดือนพฤษภาคม ปี 2022 แต่พันธุ์นี้มีความไวต่อไวรัสโรคเน่ามะละกอและไม่เหมาะกับการเพาะปลูกกลางแจ้ง ควรปลูกในโรงเรือนที่มีตาข่ายเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช
การปลูกมะละกอ(มู่กัว-木瓜) ของไต้หวันมีมานับร้อยปีแล้ว ก่อนปี 1940 มะละกอที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ไม่ค่อยดี เทคนิคการปลูกค่อนข้างล้าหลัง คุณภาพก็ไม่ค่อยดีด้วย มักปลูกเป็นอาชีพเสริมในเนื้อที่ประมาณ 300 เฮกตาร์ ต่อมา สถาบันวิจัยการเกษตร(Taiwan Agricultural Research Institute :COA)ทุ่มงบด้านการวิจัยเพื่อปรับปรุงพันธุ์และเทคนิคการเพาะปลูก หลังยกระดับคุณภาพ ส่งเสริมให้ประชาชนรู้ถึงคุณค่าทางโภชนาการของมะละกอแล้ว ความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่การปลูกก็ค่อยๆเพิ่มขึ้นด้วย
เนื่องจากมะละกอปลูกง่ายและโตเร็ว ใช้เวลาปลูกเพียง 9 - 10 เดือนก็เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ และยังปลูกได้ทั้งปี ให้ผลผลิตสูง จึงกลายเป็นหนึ่งในไม้ผลเศรษฐกิจที่สำคัญของไต้หวัน สถิติจากรายงานประจำปีการเกษตรปี 2022 พื้นที่ปลูกมะละกอในไต้หวันอยู่ที่ 2,730 เฮกตาร์(17,062.5 ไร่) โดยมีเมืองผิงตงและนครไถหนานเป็นพื้นที่ปลูกหลัก สัดส่วน 49% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด ที่เหลือปลูกที่นครเกาสง เจียอี้ หนานโถว ฮัวเหลียน ไถตง เป็นต้น
ปัจจุบันมะละกอสายพันธุ์หลักที่ปลูกในไต้หวันคือ ไถหนง เบอร์ 2 ซึ่งเพาะพันธุ์โดยสถาบันวิจัยการเกษตรสาขาเฟิ่งซานในปี 1982 ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้คือ ปลูกง่าย โตเร็ว ลำต้นแข็งแรง ให้ผลผลิตสูง ก้านผลยาว รสหวาน เนื้อสีส้มแดง เป็นที่ชื่นชอบของผู้บริโภค ปลูกมานาน 40 ปีแล้ว และครองสัดส่วนการปลูกมากกว่า 90% แม้จะมีการพัฒนาพันธุ์ใหม่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ก็ยังไม่สามารถทดแทนมะละกอพันธุ์ไถหนง เบอร์ 2 ได้ แต่ช่วงไม่กี่ปีนี้ ต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ประสิทธิภาพของดอกมะละกอมีความอ่อนไหวต่อปฏิสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้การออกดอกไม่เสถียร โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีอุณหภูมิสูงและฝนตกต่อเนื่อง จะส่งผลต่อเสถียรภาพการผลิตและอุปทานมะละกอ และยังมีข้อบกพร่องอื่นๆ เช่น ผลสุกของมะละกอมีรสจืดและเน่าง่าย ความทนทานต่อการจัดเก็บและการขนส่งลดลง ขนาดผลใหญ่ไม่ค่อยเป็นที่นิยมของผู้บริโภคที่มีครอบครัวเล็ก เป็นต้น
ดังนั้น เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคและรักษาเสถียรภาพรายได้ของเกษตรกร สถานีวิจัยสาขาเฟิ่งซานจึงปรับปรุงพันธุ์มะละกอ ได้สายพันธุ์ใหม่ชื่อว่า “ไถหนง เบอร์ 11 -เสี่ยวเป่า(小寶) ซึ่งมีวิธีการเพาะปลูกและมีผลผลิตใกล้เคียงกับพันธุ์ไถหนงเบอร์ 2 เนื้อแน่นสีเหลืองส้ม น้ำหนักผลเฉลี่ยน้อยกว่าไถหนง เบอร์ 2 เหมาะสำหรับครอบครัวขนาดเล็ก และยังให้ผลผลิตสูง ผลสวย ผลที่บิดเบี้ยวมีน้อย เก็บรักษาได้นานขึ้น ที่สำคัญมีกลิ่นหอมของดอกไม้อ่อน ๆสามารถส่งเสริมให้ปลูกเพิ่มขึ้นได้ โดยพันธุ์นี้เกิดจากการผสมพันธุ์ แม่พันธุ์คือ ไถหนง เบอร์ 2 ส่วนพ่อพันธุ์คือ carabao solo ของฟิลิปปินส์ที่ผ่านการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์แล้ว โดยมะละกอไถหนง เบอร์ 11 ได้รับสิทธิ์ของสายพันธุ์ในเดือนพฤษภาคม ปี 2022 แต่พันธุ์นี้มีความไวต่อไวรัสโรคเน่ามะละกอและไม่เหมาะกับการเพาะปลูกกลางแจ้ง ควรปลูกในโรงเรือนที่มีตาข่ายเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืช