
Sign up to save your podcasts
Or
พลัง 4 สาว 3 เจเนอเรชัน นำว่านหางจระเข้แปรรูปเป็นบะหมี่มีชื่อส่งขายต่างประเทศ
คลิกฟังรายการที่นี่
ในไต้หวัน มีอาม่าขยันคนหนึ่งชื่อ ซูหวงเคอ(蘇黃酠) แม้อายุเยอะถึง 87 ปีแล้ว แต่อาม่าก็ไม่ชอบอยู่เฉยๆ เพราะมีนิสัยความขยันมาตั้งแต่เด็กๆอาม่าซูเกิดในยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวันซึ่งเป็นยุคที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบาก อาม่าบอกว่าตัวเองคือโอชินฉบับไต้หวัน ต้องเก็บหัวมันเทศกิน ช่วยเก็บเกี่ยวข้าว หากที่บ้านไม่มีอาหารก็ต้องหาทางช่วยเหลือตัวเอง อายุ 16 ปี เริ่มทำการค้าโดยซื้อหอยนางรมจากตลาดค้าส่งไปขายในตลาดสด เถ้าแก่แผงขายปลาข้างๆ เห็นความขยัน ได้นำแหวน 2 วงพร้อมกับเงินสดจำนวน 2,000 ไต้หวันเป็นสินสอดทองหมั้นเพื่อสู่ขอมาเป็นลูกสะใภ้ในบ้าน หลังแต่งงาน อาม่าและสามีได้เป็นแม่ค้าในตลาดต่อ จากนั้นมีบุตรธิดาด้วยกัน 5 คน คุณซูเสวี่ยลี่(蘇雪莉) ซึ่งลูกสาวคนโตอาม่าก็ได้รับยีนขยันจากคุณแม่ มีความรับผิดชอบ มองโลกในแง่ดี เป็นตัวอย่างของน้องๆ หลังแต่งงานมีครอบครัวเริ่มทำงานด้านการออกแบบ "สุนทรียภาพทางสายตา-Visual Design " ส่วนลูกสาว 2 คนของคุณซูเสวี่ยลี่ คือ หลินหย่าหง(林雅鴻) และหลินหย่าหรง(林雅鴻) มีนิสัยต่างจากคุณซูเสวี่ยลี่มาก ทั้งสองยอมรับว่าเกิดในครอบครัวที่มีความพร้อม ไม่มีเป้าหมายและความใฝ่ฝันอะไรในชีวิต หลินหย่าหงจบปริญญาโทจากรัสเซีย ส่วนหลินหย่าหรงเดินตามรอยคุณแม่คือเรียนด้านการออกแบบ หลังเรียนจบการศึกษาทั้งสองก็ยังไม่มีเป้าหมายว่าจะทำงานอะไร อย่างไรก็ตาม ว่านหางจระเข้ของอาม่าซูหวงเคอได้ทำให้เป้าหมายของทุกคนในบ้านไปในทิศทางเดียวกัน
อาม่าซูหวงเคอแม้อายุ 87 ปีแล้ว แต่ยังคงขยันและไปดูแลว่านหางจระเข้ในสวนทุกวัน
อาม่าซูอายุย่าง 60 ได้นำว่านหางจระเข้ 2 ต้นที่ลูกชายมอบให้ปลูกบนดาดฟ้า ไม่คาดคิด ว่านหางจระเข้ที่ปลูกสวยงาม จนเพื่อนบ้านและเพื่อนต่างจังหวัดได้ข่าวก็อยากขอแบ่งซื้อ ทำให้อาม่าเพิ่งจะรู้ว่าว่านหางจระเข้มีสรรพคุณพิเศษมากมาย เช่น ลดความดันโลหิต แก้ท้องผูก ขจัดสิว ฯลฯ จากจุดเริ่มต้นการปลูกว่านหางจระเข้ที่ไม่มีเป้าหมายกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิต หลังจากที่ลูกๆ ขอร้องให้เลิกค้าขายในตลาด อาม่าเริ่มหันมาปลูกว่านหางจระเข้และผักต่างๆ ในสวน อย่างไรก็ตาม ไต้ฝุ่นมรกตที่พัดเข้าไต้หวันในวันที่ 21 ก.ย.ปี 1999 เกิดอุทกภัยในนครไถหนานอย่างหนัก สวนผักของอาม่าเสียหายไม่น้อย หลังน้ำลด ว่านหางจระเข้เหลือเพียง 1 ใน 3 ของเดิม หน้าตาของว่านไม่สวย จะทิ้งก็เสียดาย จึงปรึกษาขอความเห็นจากลูกๆ ซูเสวี่ยลี่ซึ่งเป็นลูกสาวคนโตของอาม่าเสนอว่า ควรนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เพราะมีช่องทางการขายที่มากกว่า เพดานการผลิตอาหารแปรรูปมีข้อจำกัดที่น้อยกว่า ด้วยเหตุนี้คุณซูเสวี่ยลี่จึงทดลองเอาว่านหางจระเข้ที่ไม่สวยทำเป็นบะหมี่ หลังทดสอบหลายครั้ง ในที่สุดอาม่าและคุณซูเสวี่ยลี่ได้ทำบะหมี่ว่านหางจระเข้ที่มีรสชาติอร่อยออกมาได้ และยังเป็นบะหมี่เจ 100%ด้วย
ว่านหางจระเข้นำมาประกอบอาหารหลากหลายเมนูได้ รวมทั้งแปรรูปในบะหมี่ก็ได้
เนื่องจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนไม่สามารถระบายว่านหางจระเข้ที่มีอยู่จำนวนมากได้ โชคดี หลังสอบถามโรงงานผลิตบะหมี่กวนเมี่ยวมีชื่อยินยอมรับจ้างผลิตบะหมี่ว่านหางจระเข้ ดังนั้น บะหมี่ว่านหางจระเข้ที่เหนียวหนึบจึงถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากเส้นบะหมี่มีลักษณะเป็นคลื่นหยักคล้ายกับลูกไม้ของชายกระโปรง คุณซูหวงเคอจึงตั้งชื่อที่ไพเราว่า “บะหมี่หยักลูกไม้蕾絲麵” หลังจากนั้น คุณซูเสวี่ยลี่และสามี จัดตั้งแบรนด์ “ชุนเจียเว่ย村家味” ขายผลิตภัณฑ์แปรรูปเกษตรต่างๆ รวมทั้งบะหมี่ว่านหางจระเข้ด้วย และช่วงในนั้นไต้หวันกำลังประสบปัญหาความปลอดภัยด้านอาหาร การปลูกว่านหางจระเข้แม้ไม่มียาฆ่าแมลงและปลูกแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่เพื่อความปลอดภัยของอาหารระดับสูงสุด คุณซูเสวี่ยลี่ตัดสินใจปลูกว่านหางจระเข้อินทรีย์ แต่เนื่องจากที่ดินที่ปลูกไม่สามารถแยกออกจากสวนเพื่อนบ้านที่ปลูกแบบปกติที่มีการฉีดยาฆ่าแมลง ประจวบเหมาะมีพื้นที่เกษตรแปลงหนึ่งที่ตั้งอยู่ในนครไถหนานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะต้องการปล่อยที่ดินให้เช่า คุณซูเสวี่ยลี่จึงตัดสินใจไปเช่าที่ผืนนั้นอย่างกล้าหาญ และกลายเป็นเกษตรกรมือใหม่ที่ไม่กลัวความลำบากทันที
บะหมี่แห้งที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
หลังทำเกษตรในเขตเกษตรอินทรีย์จะมีผู้อาวุโสคอยให้ความรู้ ขณะเดียวกันได้นำพาคุณแม่(อาม่า)และลูกสาวทั้ง 2 ไปทำสวนและเรียนรู้วิชาเกษตรอินทรีย์ด้วยกัน ทั้ง 3 เจเนอเรชันได้กลายเป็นนักเรียนในห้องเรียนเดียวกัน บางวิชาทำคะแนนได้ดี แต่บางวิชาสอบไม่ผ่าน ต้องสอบซ่อมหลายครั้ง ในเวลาต่อมาเริ่มหันมาปลูกพืชอินทรีย์อื่นเพิ่ม เช่น มันเทศสีม่วง ฟักทอง หัวผักกาด และพืชสมุนไพรอื่นๆ คุณซูเสวี่ยลี่ได้นำผลิตผลการเกษตรใส่เข้าไปในบะหมี่ ขณะเดียวกันทำซอสผักต่างๆ เพื่อใช้คลุกกับบะหมี่ ดังนั้น บะหมี่หลากสีและเป็นผลดีต่อสุขภาพได้ถือกำเนิดขึ้นมากมาย ได้รับการตอบจากผู้บริโภคอย่างดี ต่อมากลายเป็นของฝาก 1 ใน 10 ของนครไถหนาน และยังเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากการประมง 1 ใน100 ของไต้หวันด้วย
ผลิตภัณฑ์แปรรูปอินทรีย์แบรนด์ “ชุนเจียเว่ย村家味”
คุณซูเสวี่ยลี่ได้ทำการเกษตรในสิ่งที่ตนใฝ่ฝัน แต่ลูกสาวอีก 2 คนซึ่งเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่สบายกลับรู้สึกว่าการทำเกษตรคือฝันร้าย คนหนึ่งกลัวแดด อีกคนหนึ่งกลัวหนอนแมลง หลินหย่าหงบอกว่า ต่อให้เหงื่อไหลไคลย้อยจนหมดร่างกาย ก็มิอาจเรียกน้ำตาแห่งความปลื้มปีติได้ เพราะบอกตรงๆ ว่าไม่ชอบทำเกษตรนัก หากถามว่าทำไมจึงเลือกทำการเกษตร เธอให้คำตอบว่าเนื่องจากไม่รู้ว่าจะทำอะไร คนที่บ้านต้องการให้ช่วยก็เลยช่วยไปก่อน แต่ต่อมารู้ว่าคุณแม่ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพราะเกษตรอินทรีย์ไม่เพียงแต่ทำให้คนมีสุขภาพดี ยังมีประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมด้วย หลินหย่าหรงบอกว่า หลังปลูกผักอินทรีย์แล้วเพิ่งจะรู้ว่าทำไมผักอินทรีย์จึงมีราคาแพง และยังบอกอย่างเต็มปากเต็มคำว่าราคาของผักอินทรีย์ในปัจจุบันยังแพงไม่พอ แม้ไม่ชอบงานเกษตรแต่ด้วยความขยันและทุ่มเทของลูกสาวทั้งสอง ทำให้บะหมี่ว่านหางจระเข้ รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปอินทรีย์อื่นๆ เริ่มส่งไปขายต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์,ญี่ปุ่น,มาเลเซีย, ฮ่องกง สหรัฐ, แคนาดา เป็นต้น
พลัง 4 สาว 3 เจเนอเรชัน นำว่านหางจระเข้แปรรูปเป็นบะหมี่มีชื่อส่งขายต่างประเทศ
คลิกฟังรายการที่นี่
ในไต้หวัน มีอาม่าขยันคนหนึ่งชื่อ ซูหวงเคอ(蘇黃酠) แม้อายุเยอะถึง 87 ปีแล้ว แต่อาม่าก็ไม่ชอบอยู่เฉยๆ เพราะมีนิสัยความขยันมาตั้งแต่เด็กๆอาม่าซูเกิดในยุคญี่ปุ่นปกครองไต้หวันซึ่งเป็นยุคที่มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ลำบาก อาม่าบอกว่าตัวเองคือโอชินฉบับไต้หวัน ต้องเก็บหัวมันเทศกิน ช่วยเก็บเกี่ยวข้าว หากที่บ้านไม่มีอาหารก็ต้องหาทางช่วยเหลือตัวเอง อายุ 16 ปี เริ่มทำการค้าโดยซื้อหอยนางรมจากตลาดค้าส่งไปขายในตลาดสด เถ้าแก่แผงขายปลาข้างๆ เห็นความขยัน ได้นำแหวน 2 วงพร้อมกับเงินสดจำนวน 2,000 ไต้หวันเป็นสินสอดทองหมั้นเพื่อสู่ขอมาเป็นลูกสะใภ้ในบ้าน หลังแต่งงาน อาม่าและสามีได้เป็นแม่ค้าในตลาดต่อ จากนั้นมีบุตรธิดาด้วยกัน 5 คน คุณซูเสวี่ยลี่(蘇雪莉) ซึ่งลูกสาวคนโตอาม่าก็ได้รับยีนขยันจากคุณแม่ มีความรับผิดชอบ มองโลกในแง่ดี เป็นตัวอย่างของน้องๆ หลังแต่งงานมีครอบครัวเริ่มทำงานด้านการออกแบบ "สุนทรียภาพทางสายตา-Visual Design " ส่วนลูกสาว 2 คนของคุณซูเสวี่ยลี่ คือ หลินหย่าหง(林雅鴻) และหลินหย่าหรง(林雅鴻) มีนิสัยต่างจากคุณซูเสวี่ยลี่มาก ทั้งสองยอมรับว่าเกิดในครอบครัวที่มีความพร้อม ไม่มีเป้าหมายและความใฝ่ฝันอะไรในชีวิต หลินหย่าหงจบปริญญาโทจากรัสเซีย ส่วนหลินหย่าหรงเดินตามรอยคุณแม่คือเรียนด้านการออกแบบ หลังเรียนจบการศึกษาทั้งสองก็ยังไม่มีเป้าหมายว่าจะทำงานอะไร อย่างไรก็ตาม ว่านหางจระเข้ของอาม่าซูหวงเคอได้ทำให้เป้าหมายของทุกคนในบ้านไปในทิศทางเดียวกัน
อาม่าซูหวงเคอแม้อายุ 87 ปีแล้ว แต่ยังคงขยันและไปดูแลว่านหางจระเข้ในสวนทุกวัน
อาม่าซูอายุย่าง 60 ได้นำว่านหางจระเข้ 2 ต้นที่ลูกชายมอบให้ปลูกบนดาดฟ้า ไม่คาดคิด ว่านหางจระเข้ที่ปลูกสวยงาม จนเพื่อนบ้านและเพื่อนต่างจังหวัดได้ข่าวก็อยากขอแบ่งซื้อ ทำให้อาม่าเพิ่งจะรู้ว่าว่านหางจระเข้มีสรรพคุณพิเศษมากมาย เช่น ลดความดันโลหิต แก้ท้องผูก ขจัดสิว ฯลฯ จากจุดเริ่มต้นการปลูกว่านหางจระเข้ที่ไม่มีเป้าหมายกลายเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของชีวิต หลังจากที่ลูกๆ ขอร้องให้เลิกค้าขายในตลาด อาม่าเริ่มหันมาปลูกว่านหางจระเข้และผักต่างๆ ในสวน อย่างไรก็ตาม ไต้ฝุ่นมรกตที่พัดเข้าไต้หวันในวันที่ 21 ก.ย.ปี 1999 เกิดอุทกภัยในนครไถหนานอย่างหนัก สวนผักของอาม่าเสียหายไม่น้อย หลังน้ำลด ว่านหางจระเข้เหลือเพียง 1 ใน 3 ของเดิม หน้าตาของว่านไม่สวย จะทิ้งก็เสียดาย จึงปรึกษาขอความเห็นจากลูกๆ ซูเสวี่ยลี่ซึ่งเป็นลูกสาวคนโตของอาม่าเสนอว่า ควรนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร เพราะมีช่องทางการขายที่มากกว่า เพดานการผลิตอาหารแปรรูปมีข้อจำกัดที่น้อยกว่า ด้วยเหตุนี้คุณซูเสวี่ยลี่จึงทดลองเอาว่านหางจระเข้ที่ไม่สวยทำเป็นบะหมี่ หลังทดสอบหลายครั้ง ในที่สุดอาม่าและคุณซูเสวี่ยลี่ได้ทำบะหมี่ว่านหางจระเข้ที่มีรสชาติอร่อยออกมาได้ และยังเป็นบะหมี่เจ 100%ด้วย
ว่านหางจระเข้นำมาประกอบอาหารหลากหลายเมนูได้ รวมทั้งแปรรูปในบะหมี่ก็ได้
เนื่องจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนไม่สามารถระบายว่านหางจระเข้ที่มีอยู่จำนวนมากได้ โชคดี หลังสอบถามโรงงานผลิตบะหมี่กวนเมี่ยวมีชื่อยินยอมรับจ้างผลิตบะหมี่ว่านหางจระเข้ ดังนั้น บะหมี่ว่านหางจระเข้ที่เหนียวหนึบจึงถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากเส้นบะหมี่มีลักษณะเป็นคลื่นหยักคล้ายกับลูกไม้ของชายกระโปรง คุณซูหวงเคอจึงตั้งชื่อที่ไพเราว่า “บะหมี่หยักลูกไม้蕾絲麵” หลังจากนั้น คุณซูเสวี่ยลี่และสามี จัดตั้งแบรนด์ “ชุนเจียเว่ย村家味” ขายผลิตภัณฑ์แปรรูปเกษตรต่างๆ รวมทั้งบะหมี่ว่านหางจระเข้ด้วย และช่วงในนั้นไต้หวันกำลังประสบปัญหาความปลอดภัยด้านอาหาร การปลูกว่านหางจระเข้แม้ไม่มียาฆ่าแมลงและปลูกแบบเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่เพื่อความปลอดภัยของอาหารระดับสูงสุด คุณซูเสวี่ยลี่ตัดสินใจปลูกว่านหางจระเข้อินทรีย์ แต่เนื่องจากที่ดินที่ปลูกไม่สามารถแยกออกจากสวนเพื่อนบ้านที่ปลูกแบบปกติที่มีการฉีดยาฆ่าแมลง ประจวบเหมาะมีพื้นที่เกษตรแปลงหนึ่งที่ตั้งอยู่ในนครไถหนานที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เกษตรอินทรีย์โดยเฉพาะต้องการปล่อยที่ดินให้เช่า คุณซูเสวี่ยลี่จึงตัดสินใจไปเช่าที่ผืนนั้นอย่างกล้าหาญ และกลายเป็นเกษตรกรมือใหม่ที่ไม่กลัวความลำบากทันที
บะหมี่แห้งที่ผลิตจากผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์
หลังทำเกษตรในเขตเกษตรอินทรีย์จะมีผู้อาวุโสคอยให้ความรู้ ขณะเดียวกันได้นำพาคุณแม่(อาม่า)และลูกสาวทั้ง 2 ไปทำสวนและเรียนรู้วิชาเกษตรอินทรีย์ด้วยกัน ทั้ง 3 เจเนอเรชันได้กลายเป็นนักเรียนในห้องเรียนเดียวกัน บางวิชาทำคะแนนได้ดี แต่บางวิชาสอบไม่ผ่าน ต้องสอบซ่อมหลายครั้ง ในเวลาต่อมาเริ่มหันมาปลูกพืชอินทรีย์อื่นเพิ่ม เช่น มันเทศสีม่วง ฟักทอง หัวผักกาด และพืชสมุนไพรอื่นๆ คุณซูเสวี่ยลี่ได้นำผลิตผลการเกษตรใส่เข้าไปในบะหมี่ ขณะเดียวกันทำซอสผักต่างๆ เพื่อใช้คลุกกับบะหมี่ ดังนั้น บะหมี่หลากสีและเป็นผลดีต่อสุขภาพได้ถือกำเนิดขึ้นมากมาย ได้รับการตอบจากผู้บริโภคอย่างดี ต่อมากลายเป็นของฝาก 1 ใน 10 ของนครไถหนาน และยังเป็นผลิตภัณฑ์ของฝากการประมง 1 ใน100 ของไต้หวันด้วย
ผลิตภัณฑ์แปรรูปอินทรีย์แบรนด์ “ชุนเจียเว่ย村家味”
คุณซูเสวี่ยลี่ได้ทำการเกษตรในสิ่งที่ตนใฝ่ฝัน แต่ลูกสาวอีก 2 คนซึ่งเติบโตในสิ่งแวดล้อมที่สบายกลับรู้สึกว่าการทำเกษตรคือฝันร้าย คนหนึ่งกลัวแดด อีกคนหนึ่งกลัวหนอนแมลง หลินหย่าหงบอกว่า ต่อให้เหงื่อไหลไคลย้อยจนหมดร่างกาย ก็มิอาจเรียกน้ำตาแห่งความปลื้มปีติได้ เพราะบอกตรงๆ ว่าไม่ชอบทำเกษตรนัก หากถามว่าทำไมจึงเลือกทำการเกษตร เธอให้คำตอบว่าเนื่องจากไม่รู้ว่าจะทำอะไร คนที่บ้านต้องการให้ช่วยก็เลยช่วยไปก่อน แต่ต่อมารู้ว่าคุณแม่ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพราะเกษตรอินทรีย์ไม่เพียงแต่ทำให้คนมีสุขภาพดี ยังมีประโยชน์กับสิ่งแวดล้อมด้วย หลินหย่าหรงบอกว่า หลังปลูกผักอินทรีย์แล้วเพิ่งจะรู้ว่าทำไมผักอินทรีย์จึงมีราคาแพง และยังบอกอย่างเต็มปากเต็มคำว่าราคาของผักอินทรีย์ในปัจจุบันยังแพงไม่พอ แม้ไม่ชอบงานเกษตรแต่ด้วยความขยันและทุ่มเทของลูกสาวทั้งสอง ทำให้บะหมี่ว่านหางจระเข้ รวมทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปอินทรีย์อื่นๆ เริ่มส่งไปขายต่างประเทศ เช่น สิงคโปร์,ญี่ปุ่น,มาเลเซีย, ฮ่องกง สหรัฐ, แคนาดา เป็นต้น