
Sign up to save your podcasts
Or
กล้วยหอมถือเป็นพืชผลที่ใหญ่เป็นอันดับสี่รองจากข้าวเจ้า ข้าวสาลี และข้าวโพด ผลผลิตของโลกอยู่ที่ 120 ล้านเมตริกตัน โดยในเอเชียครองสัดส่วนสูงถึง 65% ส่วนในไต้หวันมีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมมากถึง 15,000 เฮกตาร์ มีผลผลิต 350,000 เมตริกตันต่อปี มากกว่า 99% ส่งขายในประเทศ และส่งออกเพียง 1% โดยส่งขายญี่ปุ่นเป็นหลัก แต่ไม่กี่ปีนี้ ค่าเงินเยน อ่อนค่า ทำให้ราคากล้วยหอมที่ขายในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 30% กำลังซื้อลดลง นอกจากนี้ ถ้าเป็นช่วงที่มีพายุไต้ฝุ่นหรือฝนตกหนัก ทำให้กล้วยหอมเกรด B และเกรด C ที่มีตำหนิมีจำนวนมาก ขายไม่ได้ราคา จึงจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยหอมดิบให้มีความหลากหลาย เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
กล้วยหอมดิบฉาบ
หูจงอี(胡忠一) อธิบดีกรมการเกษตรและอาหาร กระทรวงเกษตรไต้หวัน กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีการนำกล้วยหอมสีเหลืองไปแปรรูปมากกว่า 2,000 ตันต่อปี และไม่นานมานี้ แปรรูปเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ตัน และกล้วยหอมดิบผิวเขียวเพิ่งเริ่มนำมาแปรรูปในเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบในปีที่แล้ว จำนวน 50 ตัน ในปีนี้คาดว่าจะแปรรูปสูงถึง 100 ตัน และหวังว่าจะเพิ่มเท่าตัวเป็น 200 ตันในปีหน้า โดยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลาย เช่น กล้วยหอมดิบเฟรนช์ฟรายส์ กล้วยฉาบ ป๊อปคอร์น มิลค์เชค ไอศกรีม ลูกชิ้น กุนเชียง ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมดิบที่หลากหลาย
ชิวจู้อิง(邱祝櫻) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยกล้วยหอมไต้หวัน กล่าวว่า ในสมัยก่อนกล้วยหอมดิบเป็นอาหารหลักที่สำคัญ แต่เนื่องจากกล้วยหอมดิบมียาง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้บริโภคที่ต้องทำเองที่บ้าน และกล้วยหอมดิบอุดมไปด้วยแป้งทนต่อการย่อย เอนไซม์ในลำไส้เล็กไม่สามารถย่อยสลายได้ และจะถูกย่อยสลายในลำไส้ใหญ่ กินแล้วอิ่มท้อง มีคุณสมบัติเทียบเท่าเส้นใยอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมดิบที่หลากหลาย
ทั้งนี้ องค์ประกอบของแป้งจากกล้วยหอมดิบและกล้วยหอมเหลืองสุกมีความต่างกัน กล้วยหอมดิบมี "แป้งที่ทนต่อการย่อย" ในสัดส่วนที่สูงกว่า ในระหว่างกระบวนการที่กล้วยกำลังจะสุก แป้งทนย่อยจะถูกเปลี่ยนเป็น "แป้งที่ย่อยได้" กล้วยเหลืองสุกจึงมีสัดส่วนของแป้งทนย่อยลดลง โดยแป้งทนต่อการย่อยให้พลังงานเพียง 2.8 แคลอรี่ต่อกรัมเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าแป้งธรรมดาที่ให้พลังงาน 4 แคลอรี่ต่อกรัม จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีการแนะนำให้กินกล้วยห่ามๆ จะให้พลังงานน้อยกว่านั่นเอง ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ แนะให้คนไต้หวัน กินอาหารที่ทำจากแป้งทนการย่อยวันละหนึ่งมื้อแทนอาหารที่ทำจากแป้งอื่นได้
กล้วยหอมถือเป็นพืชผลที่ใหญ่เป็นอันดับสี่รองจากข้าวเจ้า ข้าวสาลี และข้าวโพด ผลผลิตของโลกอยู่ที่ 120 ล้านเมตริกตัน โดยในเอเชียครองสัดส่วนสูงถึง 65% ส่วนในไต้หวันมีพื้นที่ปลูกกล้วยหอมมากถึง 15,000 เฮกตาร์ มีผลผลิต 350,000 เมตริกตันต่อปี มากกว่า 99% ส่งขายในประเทศ และส่งออกเพียง 1% โดยส่งขายญี่ปุ่นเป็นหลัก แต่ไม่กี่ปีนี้ ค่าเงินเยน อ่อนค่า ทำให้ราคากล้วยหอมที่ขายในญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 30% กำลังซื้อลดลง นอกจากนี้ ถ้าเป็นช่วงที่มีพายุไต้ฝุ่นหรือฝนตกหนัก ทำให้กล้วยหอมเกรด B และเกรด C ที่มีตำหนิมีจำนวนมาก ขายไม่ได้ราคา จึงจำเป็นต้องพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยหอมดิบให้มีความหลากหลาย เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร
กล้วยหอมดิบฉาบ
หูจงอี(胡忠一) อธิบดีกรมการเกษตรและอาหาร กระทรวงเกษตรไต้หวัน กล่าวว่า ที่ผ่านมา มีการนำกล้วยหอมสีเหลืองไปแปรรูปมากกว่า 2,000 ตันต่อปี และไม่นานมานี้ แปรรูปเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ตัน และกล้วยหอมดิบผิวเขียวเพิ่งเริ่มนำมาแปรรูปในเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบในปีที่แล้ว จำนวน 50 ตัน ในปีนี้คาดว่าจะแปรรูปสูงถึง 100 ตัน และหวังว่าจะเพิ่มเท่าตัวเป็น 200 ตันในปีหน้า โดยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหลากหลาย เช่น กล้วยหอมดิบเฟรนช์ฟรายส์ กล้วยฉาบ ป๊อปคอร์น มิลค์เชค ไอศกรีม ลูกชิ้น กุนเชียง ฯลฯ
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมดิบที่หลากหลาย
ชิวจู้อิง(邱祝櫻) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยกล้วยหอมไต้หวัน กล่าวว่า ในสมัยก่อนกล้วยหอมดิบเป็นอาหารหลักที่สำคัญ แต่เนื่องจากกล้วยหอมดิบมียาง ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับผู้บริโภคที่ต้องทำเองที่บ้าน และกล้วยหอมดิบอุดมไปด้วยแป้งทนต่อการย่อย เอนไซม์ในลำไส้เล็กไม่สามารถย่อยสลายได้ และจะถูกย่อยสลายในลำไส้ใหญ่ กินแล้วอิ่มท้อง มีคุณสมบัติเทียบเท่าเส้นใยอาหาร เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก
ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยหอมดิบที่หลากหลาย
ทั้งนี้ องค์ประกอบของแป้งจากกล้วยหอมดิบและกล้วยหอมเหลืองสุกมีความต่างกัน กล้วยหอมดิบมี "แป้งที่ทนต่อการย่อย" ในสัดส่วนที่สูงกว่า ในระหว่างกระบวนการที่กล้วยกำลังจะสุก แป้งทนย่อยจะถูกเปลี่ยนเป็น "แป้งที่ย่อยได้" กล้วยเหลืองสุกจึงมีสัดส่วนของแป้งทนย่อยลดลง โดยแป้งทนต่อการย่อยให้พลังงานเพียง 2.8 แคลอรี่ต่อกรัมเท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าแป้งธรรมดาที่ให้พลังงาน 4 แคลอรี่ต่อกรัม จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่ามีการแนะนำให้กินกล้วยห่ามๆ จะให้พลังงานน้อยกว่านั่นเอง ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ แนะให้คนไต้หวัน กินอาหารที่ทำจากแป้งทนการย่อยวันละหนึ่งมื้อแทนอาหารที่ทำจากแป้งอื่นได้