
Sign up to save your podcasts
Or
หากพูดถึงลูกหม่อน หลายคนคงจะรู้จักดี แต่ก็ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “มัลเบอร์รี” เป็นผลไม้ในตระกูลเบอร์รี เช่นเดียวกับสตรอว์เบอร์รี บลูเบอร์รี ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและคุณประโยชน์มากมาย สำหรับในไต้หวันไม่ค่อยมีใครปลูกขายในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากการเพาะปลูกและการเก็บผลล้วนต้องอาศัยแรงงานคน ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวและระยะเวลาการขายก็สั้น พื้นที่เพาะปลูกจึงลดลงทุกปี เหลือเพียง 56.92 เฮกตาร์ แม้จะปลูกลดลง แต่ฟาร์มตระกูลเฉิน "เฉิน เจียจวง陳稼莊" ในไถหนานกลับสร้างรายได้มหาศาล คุณเฉินคุนเซิน(陳坤生) เจ้าของฟาร์มได้ดื่มน้ำหม่อนเมื่อ 30 ปีก่อน พบว่า น้ำหม่อนอุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามิน จึงผันตัวจากเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เป็นเกษตรกรปลูกหม่อนแบบอินทรีย์โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยากำจัดวัชพืช
หม่อนที่ฟาร์มเฉินเจียจวงปลูกเป็นพันธุ์ผลกลม
การเก็บรักษาหม่อนสดไม่ใช่เรื่องง่าย คุณเฉินคุนเซินใช้วิธีการแปรรูปผลหม่อนตั้งแต่เริ่มต้น นอกจากปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตแล้ว ยังเอาชนะอุปสรรคการแปรรูปต่างๆ และพัฒนาน้ำหม่อนที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้ สร้างโรงงานแปรรูปเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เช่น น้ำส้มสายชูผลไม้ เยลลี ฯลฯ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์หม่อนคุณภาพสูงยังประสบความสำเร็จการขายสู่ไฮเปอร์มาร์เก็ต Costco ยิ่งไปกว่านี้ ยังส่งออกผลิตภัณฑ์หม่อนมูลค่ากว่า 30 ล้านเหรียญไต้หวันต่อปี ซึ่งตำนานการปลูกหม่อนขณะนี้กำลังสืบทอดโดยลูก ๆ ของเขา เฉินโป๋จัง(陳柏璋) ลูกชายของเขายังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 100 เกษตรกรรุ่นใหม่เมื่อปีที่แล้ว และเผยแพร่ข้อมูลการปลูกหม่อนและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปให้กับเกษตรกรท่านอื่นด้วย
หม่อนของฟาร์มเฉินเจียจวง
ในสายตาของเกษตรกรคนอื่นๆ เมื่อ 30 ปีที่แล้ว คุณเฉินคุนเซิน จัดเป็นคนทำอะไรก็แปลกไปหมด ไม่ว่าพืชผลเลือกปลูก วิธีการปลูก และวิธีการขาย คุณเฉินโป๋จัง บุตรชายของเขาบอกว่า หม่อนมีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้น ซึ่งแตกต่างจากกล้วย สับปะรด และผลไม้อื่น ๆ และการเก็บเกี่ยวนั้นใช้แรงงานจำนวนมาก นอกจากนี้ หม่อนยังออกเสียงเหมือนกันกับคำไว้ทุกข์ในภาษาจีน ดังนั้น เกษตรกรจำนวนมากจึงไม่นิยมปลูก เมื่อคุณพ่อเขาปลูกก็ไม่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ซึ่งขัดแย้งกับการทำเกษตรแบบเดิมๆ หันมาใช้มูลวัว มูลไก่ มูลสุกร กากถั่วเหลือง ใบไม้ร่วงในสวน และกากที่ได้จากการแปรรูป นำมาหมักเป็นปุ๋ยเพื่อใช้เอง ส่วนวิธีการขายผลิตผลก็ไม่ได้ขายแบบผลไม้สด แต่หันไปแปรรูปโดยเฉพาะ
เฉินโป๋จัง ผู้รับผิดชอบขยายตลาดต่างประเทศ
หม่อนที่ฟาร์มของตระกูลเฉินปลูกเป็นหม่อนผลกลม เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงดำ รสหวานอมเปรี้ยว อร่อย เมื่อนำมาแปรรูปไม่ต้องเติมสารปรุงแต่งใดๆ ซึ่งผู้รับผิดชอบขยายตลาดต่างประเทศคือคุณเฉินโป๋จัง เขาไปต่างประเทศเพื่อเข้าร่วมนิทรรศการอาหาร จนได้ใบสั่งซื้อจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา สิงคโปร์ และฮ่องกงอย่างต่อเนื่อง เหตุผลที่ได้รับการตอบรับจากตลาดต่างประเทศคือ "รสชาติดี" ซึ่งการส่งออกช่วงแรกต้องอาศัยตลาดคนจีน แต่ต่อมามีการรวมรสของน้ำผลไม้อยู่ในแพ็คเดียวกัน เช่น มีน้ำหม่อน น้ำเสาวรส และน้ำสตรอว์เบอร์รี ชาวต่างชาติไม่รู้จักน้ำหม่อนเท่าใดนัก แต่อยากลองเพราะมีน้ำเสาวรสกับน้ำสตรอว์เบอรีด้วย แต่เมื่อชิมน้ำหม่อนแล้วติดใจก็เลยซื้อซ้ำ
โรงงานแปรรูปหม่อนสร้างขึ้นตั้งแต่ 18 ปีที่แล้ว
หากพูดถึงลูกหม่อน หลายคนคงจะรู้จักดี แต่ก็ยังมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “มัลเบอร์รี” เป็นผลไม้ในตระกูลเบอร์รี เช่นเดียวกับสตรอว์เบอร์รี บลูเบอร์รี ที่อุดมไปด้วยสารอาหารและคุณประโยชน์มากมาย สำหรับในไต้หวันไม่ค่อยมีใครปลูกขายในเชิงพาณิชย์ เนื่องจากการเพาะปลูกและการเก็บผลล้วนต้องอาศัยแรงงานคน ช่วงเวลาเก็บเกี่ยวและระยะเวลาการขายก็สั้น พื้นที่เพาะปลูกจึงลดลงทุกปี เหลือเพียง 56.92 เฮกตาร์ แม้จะปลูกลดลง แต่ฟาร์มตระกูลเฉิน "เฉิน เจียจวง陳稼莊" ในไถหนานกลับสร้างรายได้มหาศาล คุณเฉินคุนเซิน(陳坤生) เจ้าของฟาร์มได้ดื่มน้ำหม่อนเมื่อ 30 ปีก่อน พบว่า น้ำหม่อนอุดมไปด้วยสารอาหารและวิตามิน จึงผันตัวจากเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เป็นเกษตรกรปลูกหม่อนแบบอินทรีย์โดยไม่ใช้ปุ๋ยเคมีและยากำจัดวัชพืช
หม่อนที่ฟาร์มเฉินเจียจวงปลูกเป็นพันธุ์ผลกลม
การเก็บรักษาหม่อนสดไม่ใช่เรื่องง่าย คุณเฉินคุนเซินใช้วิธีการแปรรูปผลหม่อนตั้งแต่เริ่มต้น นอกจากปรับปรุงเทคโนโลยีการผลิตแล้ว ยังเอาชนะอุปสรรคการแปรรูปต่างๆ และพัฒนาน้ำหม่อนที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องได้ สร้างโรงงานแปรรูปเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เช่น น้ำส้มสายชูผลไม้ เยลลี ฯลฯ นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์หม่อนคุณภาพสูงยังประสบความสำเร็จการขายสู่ไฮเปอร์มาร์เก็ต Costco ยิ่งไปกว่านี้ ยังส่งออกผลิตภัณฑ์หม่อนมูลค่ากว่า 30 ล้านเหรียญไต้หวันต่อปี ซึ่งตำนานการปลูกหม่อนขณะนี้กำลังสืบทอดโดยลูก ๆ ของเขา เฉินโป๋จัง(陳柏璋) ลูกชายของเขายังได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งใน 100 เกษตรกรรุ่นใหม่เมื่อปีที่แล้ว และเผยแพร่ข้อมูลการปลูกหม่อนและพัฒนาผลิตภัณฑ์แปรรูปให้กับเกษตรกรท่านอื่นด้วย
หม่อนของฟาร์มเฉินเจียจวง
ในสายตาของเกษตรกรคนอื่นๆ เมื่อ 30 ปีที่แล้ว คุณเฉินคุนเซิน จัดเป็นคนทำอะไรก็แปลกไปหมด ไม่ว่าพืชผลเลือกปลูก วิธีการปลูก และวิธีการขาย คุณเฉินโป๋จัง บุตรชายของเขาบอกว่า หม่อนมีอายุการเก็บเกี่ยวที่สั้น ซึ่งแตกต่างจากกล้วย สับปะรด และผลไม้อื่น ๆ และการเก็บเกี่ยวนั้นใช้แรงงานจำนวนมาก นอกจากนี้ หม่อนยังออกเสียงเหมือนกันกับคำไว้ทุกข์ในภาษาจีน ดังนั้น เกษตรกรจำนวนมากจึงไม่นิยมปลูก เมื่อคุณพ่อเขาปลูกก็ไม่ใช้สารเคมี ปุ๋ยเคมี ซึ่งขัดแย้งกับการทำเกษตรแบบเดิมๆ หันมาใช้มูลวัว มูลไก่ มูลสุกร กากถั่วเหลือง ใบไม้ร่วงในสวน และกากที่ได้จากการแปรรูป นำมาหมักเป็นปุ๋ยเพื่อใช้เอง ส่วนวิธีการขายผลิตผลก็ไม่ได้ขายแบบผลไม้สด แต่หันไปแปรรูปโดยเฉพาะ
เฉินโป๋จัง ผู้รับผิดชอบขยายตลาดต่างประเทศ
หม่อนที่ฟาร์มของตระกูลเฉินปลูกเป็นหม่อนผลกลม เมื่อสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดงดำ รสหวานอมเปรี้ยว อร่อย เมื่อนำมาแปรรูปไม่ต้องเติมสารปรุงแต่งใดๆ ซึ่งผู้รับผิดชอบขยายตลาดต่างประเทศคือคุณเฉินโป๋จัง เขาไปต่างประเทศเพื่อเข้าร่วมนิทรรศการอาหาร จนได้ใบสั่งซื้อจากสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น แคนาดา สิงคโปร์ และฮ่องกงอย่างต่อเนื่อง เหตุผลที่ได้รับการตอบรับจากตลาดต่างประเทศคือ "รสชาติดี" ซึ่งการส่งออกช่วงแรกต้องอาศัยตลาดคนจีน แต่ต่อมามีการรวมรสของน้ำผลไม้อยู่ในแพ็คเดียวกัน เช่น มีน้ำหม่อน น้ำเสาวรส และน้ำสตรอว์เบอร์รี ชาวต่างชาติไม่รู้จักน้ำหม่อนเท่าใดนัก แต่อยากลองเพราะมีน้ำเสาวรสกับน้ำสตรอว์เบอรีด้วย แต่เมื่อชิมน้ำหม่อนแล้วติดใจก็เลยซื้อซ้ำ
โรงงานแปรรูปหม่อนสร้างขึ้นตั้งแต่ 18 ปีที่แล้ว