ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 25 มี.ค.2568


Listen Later

   ล่าสุด สถาบันวิจัยสารเคมีเกษตร (Agricultural Chemicals Research Institute) ภายใต้กระทรวงเกษตรของไต้หวันได้ศึกษาวิจัยมากว่า 20 ปี และยืนยันว่า แบคทีเรียเรืองแสง (Photorhabdus luminescens) มีประสิทธิภาพสูงในการกำจัดไรแดง อีกทั้งยังปลอดภัยต่อมนุษย์ รวมถึงสัตว์เลี้ยงอย่างสุนัขและแมว ปัจจุบัน เทคโนโลยีนี้ได้ถูกถ่ายทอดไปยังบริษัทสารเคมีทางการเกษตรซิงหนง(興農農藥公司-Sinon Corporation) ซึ่งมีการวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตัวแรกแล้ว เป็นสารกำจัดไรสำหรับมะละกอ นอกจากนี้ มีการตั้งราคาที่เข้าถึงง่าย ใกล้เคียงกับสารเคมีทั่วไปอีกด้วย

แบคทีเรียเรืองแสงสามารถทำลายไรแดง

   เซี่ยโฟ่งเจีย(謝奉家) หัวหน้าฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุปกรณ์สถาบันวิจัยสารเคมีเกษตร ระบุว่า ไรแดงเป็นศัตรูพืชขนาดเล็กที่สร้างความเดือดร้อนให้เกษตรกร โดยเฉพาะ ไรแมงมุมคันซาวา หรือที่รู้จักกันในชื่อ "แมงมุมแดง" และ ไรแดงสองจุด หรือ "แมงมุมขาว" ซึ่งถูกยกให้เป็นศัตรูพืชที่กำจัดได้ยากที่สุด ทั้งนี้ ไรแดง (Tetranychus sp.) เป็นแมงศัตรูพืชขนาดเล็กมาก ตัวสีแดง รูปร่างคล้ายแมงมุม ระบาดมากในช่วงอากาศแห้ง ตัวเต็มวัยวางไข่สีเหลือง และไข่ฟักเป็นตัวอ่อนได้ภายใน 2-3 วัน ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยมักอาศัยอยู่บริเวณเส้นใบ ด้านใต้ใบมะเขือ และดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ใบเป็นจุดด่างเหลือง ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล และมีสีเงินเคลือบ ใบงองุ้ม ต้นชะงักการเจริญเติบโต ใบ ยอด แคระแกร็น หากใบเสียหายมาก จะกระทบต่อการติดดอกออกผล

   ไรแดงสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว มีวงจรชีวิตสั้น และสามารถพัฒนาภูมิต้านทานต่อสารเคมีได้ง่าย ทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อพืชผัก ผลไม้ และไม้ดอก เป็นศัตรูสำคัญของพืชหลายชนิด ได้แก่ มะละกอ กุหลาบ ฝ้าย สตรอเบอรี่ ท้อ สาลี่ องุ่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ละหุ่ง กระเทียม แตงไทย ถั่วฝักยาว มะเขือ ไฮเดรนเยีย แกลดิโอลัส  ดาวเรือง โป๊ยเซียน ข้าว ชา และหม่อน แม้ว่าปัจจุบันจะมีสารกำจัดไรชนิดเคมีอยู่ถึง 19 ชนิดในตลาด แต่ก็ยังไม่สามารถแก้ปัญหานี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรจำนวนมากจึงต้องใช้วิธี สลับการใช้สารกำจัดไร ส่งผลให้เกิดปัญหาสารเคมีตกค้างในพืชเกินค่ามาตรฐานบ่อยครั้ง
   หลังจากที่สถาบันวิจัยสารเคมีเกษตร ทุ่มเทค้นคว้ามากว่า 20 ปี ในที่สุด ก็พบจุลินทรีย์ที่สามารถกำจัดไรแดงได้ ซึ่งก็คือ แบคทีเรียเรืองแสง ซึ่งผลิตสารเมตาโบไลต์ที่สามารถฆ่า หนอนใยผัก เชื้อรา และ ไรแดง ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแบคทีเรียเรืองแสงก็เป็นแบคทีเรียรูปแท่งประเภทแกรมลบ ที่สามารถเปล่งแสงเย็นได้ แม้ว่าจะเรืองแสง แต่การค้นหามันก็ไม่ใช่เรื่องง่าย

แบคทีเรียเรืองแสงภายใต้สภาวะปกติ (ซ้าย) และในที่มืด (ขวา) โดยแสดงลักษณะของโคโลนีและการเรืองแสง

   เซี่ยโฟ่งเจีย อธิบายว่า ปกติแล้ว เชื้อจุลินทรีย์ที่ใช้ในผลิตภัณฑ์เกษตรมักพบในดิน แต่แบคทีเรียชนิดนี้ไม่ได้อาศัยอยู่ในดินโดยตรง กลับซ่อนตัวอยู่ใน ลำคอของไส้เดือนฝอยที่เป็นปรสิตของแมลง อย่าง ไส้เดือนฝอยเฮเธอโรฮับดิทิส( Heterorhabditis) เนื่องจากไส้เดือนฝอยมีขนาดเล็กมากอยู่แล้ว และแบคทีเรียยิ่งเล็กกว่านั้นอีก การแยกเพาะเลี้ยงจึงเป็นเรื่องที่ยากเย็นสุดขีด—เพียงแค่คัดกรองแบคทีเรียนี้ก็ใช้เวลานานถึงหนึ่งปีเต็ม อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก แบคทีเรียเรืองแสง สามารถเรืองแสงได้ นักวิจัยจึงต้องทำงานภายใต้ห้องมืดเพื่อแยกคัดกรอง จนในที่สุดก็สามารถแยกสายพันธุ์ย่อยของแบคทีเรียได้ถึงสามชนิด ซึ่งแต่ละสายพันธุ์มีความสามารถในการกำจัดศัตรูพืชในระดับที่แตกต่างกัน

   เซี่ยโฟ่งเจีย เปรียบกระบวนการกำจัดศัตรูพืชของ แบคทีเรียเรืองแสง ว่าเหมือนกับ "แผนม้าไม้เมืองทรอย" โดยที่ ไส้เดือนฝอยเปรียบเสมือนม้าไม้ที่แฝงตัวเข้าไปในร่างของแมลงศัตรูพืช และตัวการที่แท้จริงในการสังหารคือ แบคทีเรียเรืองแสงที่ซ่อนอยู่ภายใน เมื่อไส้เดือนฝอยบุกรุกเข้าสู่ร่างของศัตรูพืช แบคทีเรียเรืองแสงจะปล่อยสารเมตาโบไลต์ออกมาทำลายระบบทางเดินอาหารของเหยื่อ ส่งผลให้เกิดความเสียหายรุนแรงจนแมลง ไส้ขาดไส้ทะลัก และตายในที่สุด กระบวนการเดียวกันนี้ยังสามารถใช้กำจัดเชื้อราและไรแดงได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน

แปลงทดลองปลูกมะละกอที่ใช้แบคทีเรียเรืองแสงในจู๋ซาน เมืองหนานโถว ต้นแข็งแรงมาก

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti