
Sign up to save your podcasts
Or
การจัดตั้งกลุ่มชาวประมงซากุระตงกั่งที่มีความแข็งแกร่งและเข้มงวด
จากครั้งที่แล้วได้กล่าวถึงบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการจัดตั้งกลุ่มชาวประมงซากุระที่สำคัญที่สุดก็คือนายเจิ้งฝูซาน(鄭福山) ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมาคมปลาเขตตงกั่ง แต่เมื่อ 30 ปีก่อน เขาเป็นเพียงพนักงานของสมาคมปลาที่มีอายุน้อย และยังได้เจอเหตุการณ์ที่ค้นพบว่ากุ้งซากุระเป็นกุ้งมีค่าขายได้ราคาสูง เขาได้หวนคิดถึงปัญหาตอนที่จัดตั้งกลุ่มมากมาย และตอนนั้นยังเคยคิดว่าเงินเดือนก็น้อย ปัญหาก็เยอะน่าจะเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นดีกว่า หรือถ้าตั้งกลุ่มไม่สำเร็จก็ถือโอกาสเปลี่ยนงานซะเลย ราคากุ้งซากุระของญี่ปุ่นมากกว่าไต้หวัน 10 เท่า ชาวประมงไต้หวันจับกุ้งด้วยความยากลำบาก กุ้ง 1 ลังน้ำหนัก 20 กก. ขายได้แค่ 300-400 NT. แต่ผลกำไรตกอยู่ที่พ่อค้าคนกลางเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตม เขาคิดว่างานนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนชาวประมงจึงจะมีโอกาสลืมตาอ้าปาก เพราะขณะนั้นมีพ่อค้าคนกลางขาประจำไม่กี่รายที่ผูกขาดรับซื้อกุ้งซากุระตงกั่ง พ่อค้าต่างถิ่นรายอื่นๆไม่กล้ามาซื้อเลย หลังตั้งกลุ่มผ่านไป 3 ปี ในช่วงกลางปี 1990 กุ้งซากุระ 1 ลัง จากราคา 300-400 NT. ปรับขึ้นเป็น 4,000 NT. เพิ่มขึ้น 10 เท่า นายเจิ้งฝูซาน(鄭福山) บอกว่า ความสำเร็จเกิดขึ้นได้เพราะปัจจัยหลายอย่าง ประการแรกคือ เมื่อขายกุ้งได้ราคาสูงขึ้น ทุกคนมีรายได้ ประการที่ 2 ชาวประมงต้องรวมพลังเป็นหนึ่งเดียว ห้ามแอบขาย นอกจากตกลงด้วยเอกสารแล้ว ยังต้องนำเอกสารไปรับรองจากศาล เพื่อเป็นการประกันให้ทุกคนในกลุ่มปฏิบัติ ทั้งนี้ ตำบลตงกั่งเป็นตำบลเล็กๆ ทุกคนล้วนเป็นญาติสนิทมิตรสหาย การตั้งกลุ่มชาวประมงซากุระจะล้มเหลวไม่ได้ ต้องเข้มงวด หากใครแอบขาย ต้องจัดการอย่างไม่ไว้หน้า มีการประชุมกลุ่มเป็นประจำ ถ้ามีชาวประมงแจ้งว่ากุ้งซากุระที่จับได้มีปริมาณน้อยลงหรือจับไม่ได้ แม้ไม่ใช่ฤดูกาลห้ามจับ ก็มีสิทธิ์บังคับหยุดจับ เพื่อปกป้องทรัพยากรทางทะเล ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษปรับหนักด้วย แต่เนื่องจากระบบที่ตั้งขึ้นมีความเข้มงวดมาก มีกัปตันเรือประมงบางส่วนต้องการออกจากกลุ่มเพื่อบริหารเอง เขาได้ประชุมหารือกับหัวหน้ากลุ่มย่อยและตกลงกันว่า หากพ่อค้าคนกลางซื้อกุ้งที่ไม่ใช่สมาชิกของกลุ่มก็จะรวมตัวกันต่อต้านด้วยการไม่ขายกุ้งให้อีกเลย ความเข้มแข็งและมีพลังแบบนี้ ถือเป็นการหลีกเลี่ยงการแตกความสามัคคีในกลุ่มได้
เจิ้งฝูซาน ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการจัดตั้งกลุ่มประมงซากุระ
หลังจัดระบบการจับกุ้งซากุระแล้ว ส่งผลให้ขายได้ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ผลประโยชน์ของพ่อค้าคนกลางกลับลดลง ความสัมพันธ์ของผู้ผลิตและผู้รับซื้อเริ่มตึงเครียดมากขึ้น มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลังจากเรือประมงส่วนใหญ่กลับเข้าฝั่งแล้ว แต่ปรากฏว่ามีพ่อค้าคนกลางปลารายใหญ่รวมตัวประท้วง ไม่ซื้อ ชาวประมงเริ่มเครียดและถามว่าทำยังไงดี นายเจิ้งฝูซานบอกว่า ตัวเองแทบจะเป็นลม ในที่สุดเรื่องราวที่ไม่อยากเจอได้เกิดขึ้นแล้ว ยังไงก็ต้องเผชิญ เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เขาเรียกพ่อค้าคนกลางที่เป็นรายเล็กเข้าไปปรึกษาในห้องบอกว่า ซื้อได้เท่าไหร่ก็ขอให้ซื้อเท่านั้น ถ้าไม่มีตังค์ จะหาวิธีด้วยการยืมให้ก่อน จนกุ้งซากุระที่จับได้ในวันนั้นขายจนหมดเกลี้ยง พอถึงวันรุ่งขึ้น พ่อค้าคนกลางที่ประท้วงยังคงกดดันต่อ จนโรงงานแปรรูปขนาดเล็กไม่กล้าที่จะเข้าไปซื้อกุ้ง เขาบอกว่าในเมื่อผู้ซื้อกดดัน ก็ต้องเพิ่มมาตรการที่เข้มแข็งขึ้น หลังประชุมหารือกับผู้นำกลุ่ม ประกาศให้เรือที่จับกุ้งซากุระหยุดทำการทั้งหมดโดยไม่มีการกำหนดว่าถึงเมื่อไหร่ เรือ 100 กว่าลำจอดอยู่ที่ท่าเรือ นาน 40 กว่าวัน เขาได้บอกกับทุกคนที่เข้าประชุมว่า ถ้าพ้นวิกฤตนี้ได้ ธุรกิจก็จะมีอนาคต แต่ถ้าล้มเหลวก็จะกลับไปอยู่สภาพเดิมคือถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา อย่างไรก็ตาม เขาเล็งเห็นวิกฤตของพ่อค้าคนกลางขณะนั้น มีแรงกดดันที่รับออเดอร์มาแล้ว ต้องส่งมอบสินค้าตามสัญญา ถ้าไม่มีสินค้าส่งไปญี่ปุ่นจะถูกปรับในข้อหาผิดสัญญา ขณะนั้นก็ถึงเดือนพฤษภาคมที่เป็นปลายฤดูการจับกุ้งซากุระแล้ว เหลืออีกไม่นานก็จับกุ้งไม่ได้
เรือประมงจับกุ้งซากุระต้องติดใบอนุญาตการจับไว้ข้างเรือ
ในที่สุด พ่อค้าคนกลางยอมเจรจา ยุติการประท้วงและรับประกันว่าจะไม่ทำเรื่องแบบนี้อีก นายเจิ้งฝูซานพูดปนหัวเราะว่าคาดไม่ถึง เมื่อนักข่าวถามว่ารวมพลังได้อย่างไร? เขาให้เหตุผลว่า ทุกคนต่างเห็นความหวัง เห็นว่าการขายกุ้งซากุระจากราคา 300-400 NT. /ลัง ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5,000-6,000 NT. /ลัง ไม่เคยคิดจะว่าเกิดขึ้นได้ แม้แต่ฝันก็ยังไม่กล้า ทั้งนี้ ชาวญี่ปุ่นมองว่ากุ้งซากุระเป็นของมีค่าและเป็นอาหารบำรุง เป็นที่ต้องการ จวงซื่อชาง(莊世昌) ผู้ช่วยวิจัยสถาบันสัตว์น้ำบอกว่า ชาวญี่ปุ่นชอบบริโภคกุ้งซากุระมาก การจับกุ้งซากุระในญี่ปุ่นมีปริมาณลดน้อยลงทุกๆปี ต้องอาศัยการนำเข้าจากไต้หวัน ปัจจุบันกุ้งซากุระของไต้หวัน 90% ล้วนส่งไปขายที่ญี่ปุ่น และการจับกุ้งซากุระของไต้หวัน นอกจากอยู่ที่ตงกั่งเมืองผิงตงแล้ว ยังมีที่เมืองอี๋หลาน แต่ว่าปริมาณการจับของตงกั่งมีประมาณ 700-800 ตัน/ปี ส่วนที่เมืองอี๋หลานจับได้ประมาณ 300 ตัน/ปี และฤดูกาลจับกุ้งซากุระที่ตงกั่งอยู่ในช่วงฤดูหนาว ส่วนที่เมืองอี๋หลานอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน การจับกุ้งซากุระทั้ง 2 แห่งไม่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่กุ้งซากุระของตงกั่งขายได้ราคาสูงกว่า เนื่องจากประวัติการจับกุ้งซากุระของตงกั่งนานกว่า และมีเงื่อนไขที่ดีกว่าหลายประการ เช่น ชาวประมงมีการรวมตัวอย่างเข้มแข็ง เรียกร้องเงื่อนไขกับผู้ซื้อได้มากกว่า มีผู้ประกอบการแปรรูปเกือบ 20 รายที่รับซื้อกุ้ง หลังจัดระบบประมูลราคาขายที่มีการแข่งขันแล้ว ยกระดับราคาสินค้าได้ง่ายขึ้น ในทางตรงข้าม ที่เมืองอี๋หลันมีโรงงานแปรรูปน้อยกว่า และการจับกุ้งส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากโรงงานแปรรูป ไม่มีการแข่งขันในเรื่องของราคาเท่าไร จวงซื่อชางบอกด้วยว่า ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการบริโภคกุ้งซากุระที่หลากหลาย มีทั้งกินดิบ มีทั้งนำไปแปรรูปเป็นเท็มปูระทำเป็นกุ้งหยอง กุ้งบดเป็นผง เพราะฉะนั้นราคาของกุ้งซากุระสดจะขายสูงถึง 700 เหรียญไต้หวัน/กก. ส่วนกุ้งซากุระของไต้หวันส่วนใหญ่นำมาตากแห้งกลายเป็นกุ้งซากุระแห้ง เพราะฉะนั้นวัฒนธรรมการบริโภคจึงแตกต่างกัน
คนญี่ปุ่นชอบบริโภคกุ้งซากุระมาก
หวังจื้อหมิน(王志民) ผอ.ส่งเสริมการตลาดของสมาคมปลาตงกั่งบอกว่า ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำในมหาสมุทรที่เปลี่ยนแปลง ไม่กี่ปีนี้ ปริมาณการจับกุ้งซากุระลดลง 20 - 30 ตัน/ปี ส่วนกุ้งซากุระของไต้หวันยังคงจับได้ในปริมาณคงที่ แต่เพื่อเป็นการปกป้องธุรกิจ สมาคมปลาคาดหวังให้เพิ่มมูลค่ากุ้งซากุระ ด้วยการกระตุ้นให้มีการบริโภคในประเทศและขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่เพิ่มปริมาณการจับ ปัจจุบัน สถานีประมูลตงกั่งได้ทำระบบ “Cold Chain” เพื่อสอดคล้องมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร HACCP นอกจากนี้ กำลังเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนสมาคมปลาตงกั่งสมัครมาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำยั่งยืน MSC ถ้าหากผ่านมาตรฐานทั้ง 2 อย่างแล้วก็จะมีโอกาสส่งกุ้งซากุระไปขายต่างประเทศมากขึ้น ถือเป็นการยกระดับธุรกิจเพิ่มขึ้นอีกก้าวหนึ่ง
การจัดตั้งกลุ่มชาวประมงซากุระตงกั่งที่มีความแข็งแกร่งและเข้มงวด
จากครั้งที่แล้วได้กล่าวถึงบุคคลที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จในการจัดตั้งกลุ่มชาวประมงซากุระที่สำคัญที่สุดก็คือนายเจิ้งฝูซาน(鄭福山) ที่ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขาธิการสมาคมปลาเขตตงกั่ง แต่เมื่อ 30 ปีก่อน เขาเป็นเพียงพนักงานของสมาคมปลาที่มีอายุน้อย และยังได้เจอเหตุการณ์ที่ค้นพบว่ากุ้งซากุระเป็นกุ้งมีค่าขายได้ราคาสูง เขาได้หวนคิดถึงปัญหาตอนที่จัดตั้งกลุ่มมากมาย และตอนนั้นยังเคยคิดว่าเงินเดือนก็น้อย ปัญหาก็เยอะน่าจะเปลี่ยนไปทำอาชีพอื่นดีกว่า หรือถ้าตั้งกลุ่มไม่สำเร็จก็ถือโอกาสเปลี่ยนงานซะเลย ราคากุ้งซากุระของญี่ปุ่นมากกว่าไต้หวัน 10 เท่า ชาวประมงไต้หวันจับกุ้งด้วยความยากลำบาก กุ้ง 1 ลังน้ำหนัก 20 กก. ขายได้แค่ 300-400 NT. แต่ผลกำไรตกอยู่ที่พ่อค้าคนกลางเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตม เขาคิดว่างานนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนชาวประมงจึงจะมีโอกาสลืมตาอ้าปาก เพราะขณะนั้นมีพ่อค้าคนกลางขาประจำไม่กี่รายที่ผูกขาดรับซื้อกุ้งซากุระตงกั่ง พ่อค้าต่างถิ่นรายอื่นๆไม่กล้ามาซื้อเลย หลังตั้งกลุ่มผ่านไป 3 ปี ในช่วงกลางปี 1990 กุ้งซากุระ 1 ลัง จากราคา 300-400 NT. ปรับขึ้นเป็น 4,000 NT. เพิ่มขึ้น 10 เท่า นายเจิ้งฝูซาน(鄭福山) บอกว่า ความสำเร็จเกิดขึ้นได้เพราะปัจจัยหลายอย่าง ประการแรกคือ เมื่อขายกุ้งได้ราคาสูงขึ้น ทุกคนมีรายได้ ประการที่ 2 ชาวประมงต้องรวมพลังเป็นหนึ่งเดียว ห้ามแอบขาย นอกจากตกลงด้วยเอกสารแล้ว ยังต้องนำเอกสารไปรับรองจากศาล เพื่อเป็นการประกันให้ทุกคนในกลุ่มปฏิบัติ ทั้งนี้ ตำบลตงกั่งเป็นตำบลเล็กๆ ทุกคนล้วนเป็นญาติสนิทมิตรสหาย การตั้งกลุ่มชาวประมงซากุระจะล้มเหลวไม่ได้ ต้องเข้มงวด หากใครแอบขาย ต้องจัดการอย่างไม่ไว้หน้า มีการประชุมกลุ่มเป็นประจำ ถ้ามีชาวประมงแจ้งว่ากุ้งซากุระที่จับได้มีปริมาณน้อยลงหรือจับไม่ได้ แม้ไม่ใช่ฤดูกาลห้ามจับ ก็มีสิทธิ์บังคับหยุดจับ เพื่อปกป้องทรัพยากรทางทะเล ผู้ฝ่าฝืนจะถูกลงโทษปรับหนักด้วย แต่เนื่องจากระบบที่ตั้งขึ้นมีความเข้มงวดมาก มีกัปตันเรือประมงบางส่วนต้องการออกจากกลุ่มเพื่อบริหารเอง เขาได้ประชุมหารือกับหัวหน้ากลุ่มย่อยและตกลงกันว่า หากพ่อค้าคนกลางซื้อกุ้งที่ไม่ใช่สมาชิกของกลุ่มก็จะรวมตัวกันต่อต้านด้วยการไม่ขายกุ้งให้อีกเลย ความเข้มแข็งและมีพลังแบบนี้ ถือเป็นการหลีกเลี่ยงการแตกความสามัคคีในกลุ่มได้
เจิ้งฝูซาน ผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของการจัดตั้งกลุ่มประมงซากุระ
หลังจัดระบบการจับกุ้งซากุระแล้ว ส่งผลให้ขายได้ราคาสูงขึ้นเรื่อยๆ แต่ผลประโยชน์ของพ่อค้าคนกลางกลับลดลง ความสัมพันธ์ของผู้ผลิตและผู้รับซื้อเริ่มตึงเครียดมากขึ้น มีอยู่ครั้งหนึ่ง หลังจากเรือประมงส่วนใหญ่กลับเข้าฝั่งแล้ว แต่ปรากฏว่ามีพ่อค้าคนกลางปลารายใหญ่รวมตัวประท้วง ไม่ซื้อ ชาวประมงเริ่มเครียดและถามว่าทำยังไงดี นายเจิ้งฝูซานบอกว่า ตัวเองแทบจะเป็นลม ในที่สุดเรื่องราวที่ไม่อยากเจอได้เกิดขึ้นแล้ว ยังไงก็ต้องเผชิญ เพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น เขาเรียกพ่อค้าคนกลางที่เป็นรายเล็กเข้าไปปรึกษาในห้องบอกว่า ซื้อได้เท่าไหร่ก็ขอให้ซื้อเท่านั้น ถ้าไม่มีตังค์ จะหาวิธีด้วยการยืมให้ก่อน จนกุ้งซากุระที่จับได้ในวันนั้นขายจนหมดเกลี้ยง พอถึงวันรุ่งขึ้น พ่อค้าคนกลางที่ประท้วงยังคงกดดันต่อ จนโรงงานแปรรูปขนาดเล็กไม่กล้าที่จะเข้าไปซื้อกุ้ง เขาบอกว่าในเมื่อผู้ซื้อกดดัน ก็ต้องเพิ่มมาตรการที่เข้มแข็งขึ้น หลังประชุมหารือกับผู้นำกลุ่ม ประกาศให้เรือที่จับกุ้งซากุระหยุดทำการทั้งหมดโดยไม่มีการกำหนดว่าถึงเมื่อไหร่ เรือ 100 กว่าลำจอดอยู่ที่ท่าเรือ นาน 40 กว่าวัน เขาได้บอกกับทุกคนที่เข้าประชุมว่า ถ้าพ้นวิกฤตนี้ได้ ธุรกิจก็จะมีอนาคต แต่ถ้าล้มเหลวก็จะกลับไปอยู่สภาพเดิมคือถูกพ่อค้าคนกลางกดราคา อย่างไรก็ตาม เขาเล็งเห็นวิกฤตของพ่อค้าคนกลางขณะนั้น มีแรงกดดันที่รับออเดอร์มาแล้ว ต้องส่งมอบสินค้าตามสัญญา ถ้าไม่มีสินค้าส่งไปญี่ปุ่นจะถูกปรับในข้อหาผิดสัญญา ขณะนั้นก็ถึงเดือนพฤษภาคมที่เป็นปลายฤดูการจับกุ้งซากุระแล้ว เหลืออีกไม่นานก็จับกุ้งไม่ได้
เรือประมงจับกุ้งซากุระต้องติดใบอนุญาตการจับไว้ข้างเรือ
ในที่สุด พ่อค้าคนกลางยอมเจรจา ยุติการประท้วงและรับประกันว่าจะไม่ทำเรื่องแบบนี้อีก นายเจิ้งฝูซานพูดปนหัวเราะว่าคาดไม่ถึง เมื่อนักข่าวถามว่ารวมพลังได้อย่างไร? เขาให้เหตุผลว่า ทุกคนต่างเห็นความหวัง เห็นว่าการขายกุ้งซากุระจากราคา 300-400 NT. /ลัง ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 5,000-6,000 NT. /ลัง ไม่เคยคิดจะว่าเกิดขึ้นได้ แม้แต่ฝันก็ยังไม่กล้า ทั้งนี้ ชาวญี่ปุ่นมองว่ากุ้งซากุระเป็นของมีค่าและเป็นอาหารบำรุง เป็นที่ต้องการ จวงซื่อชาง(莊世昌) ผู้ช่วยวิจัยสถาบันสัตว์น้ำบอกว่า ชาวญี่ปุ่นชอบบริโภคกุ้งซากุระมาก การจับกุ้งซากุระในญี่ปุ่นมีปริมาณลดน้อยลงทุกๆปี ต้องอาศัยการนำเข้าจากไต้หวัน ปัจจุบันกุ้งซากุระของไต้หวัน 90% ล้วนส่งไปขายที่ญี่ปุ่น และการจับกุ้งซากุระของไต้หวัน นอกจากอยู่ที่ตงกั่งเมืองผิงตงแล้ว ยังมีที่เมืองอี๋หลาน แต่ว่าปริมาณการจับของตงกั่งมีประมาณ 700-800 ตัน/ปี ส่วนที่เมืองอี๋หลานจับได้ประมาณ 300 ตัน/ปี และฤดูกาลจับกุ้งซากุระที่ตงกั่งอยู่ในช่วงฤดูหนาว ส่วนที่เมืองอี๋หลานอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน การจับกุ้งซากุระทั้ง 2 แห่งไม่อยู่ในช่วงเวลาเดียวกัน แต่กุ้งซากุระของตงกั่งขายได้ราคาสูงกว่า เนื่องจากประวัติการจับกุ้งซากุระของตงกั่งนานกว่า และมีเงื่อนไขที่ดีกว่าหลายประการ เช่น ชาวประมงมีการรวมตัวอย่างเข้มแข็ง เรียกร้องเงื่อนไขกับผู้ซื้อได้มากกว่า มีผู้ประกอบการแปรรูปเกือบ 20 รายที่รับซื้อกุ้ง หลังจัดระบบประมูลราคาขายที่มีการแข่งขันแล้ว ยกระดับราคาสินค้าได้ง่ายขึ้น ในทางตรงข้าม ที่เมืองอี๋หลันมีโรงงานแปรรูปน้อยกว่า และการจับกุ้งส่วนใหญ่ได้รับการสนับสนุนจากโรงงานแปรรูป ไม่มีการแข่งขันในเรื่องของราคาเท่าไร จวงซื่อชางบอกด้วยว่า ญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการบริโภคกุ้งซากุระที่หลากหลาย มีทั้งกินดิบ มีทั้งนำไปแปรรูปเป็นเท็มปูระทำเป็นกุ้งหยอง กุ้งบดเป็นผง เพราะฉะนั้นราคาของกุ้งซากุระสดจะขายสูงถึง 700 เหรียญไต้หวัน/กก. ส่วนกุ้งซากุระของไต้หวันส่วนใหญ่นำมาตากแห้งกลายเป็นกุ้งซากุระแห้ง เพราะฉะนั้นวัฒนธรรมการบริโภคจึงแตกต่างกัน
คนญี่ปุ่นชอบบริโภคกุ้งซากุระมาก
หวังจื้อหมิน(王志民) ผอ.ส่งเสริมการตลาดของสมาคมปลาตงกั่งบอกว่า ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลจากกระแสน้ำในมหาสมุทรที่เปลี่ยนแปลง ไม่กี่ปีนี้ ปริมาณการจับกุ้งซากุระลดลง 20 - 30 ตัน/ปี ส่วนกุ้งซากุระของไต้หวันยังคงจับได้ในปริมาณคงที่ แต่เพื่อเป็นการปกป้องธุรกิจ สมาคมปลาคาดหวังให้เพิ่มมูลค่ากุ้งซากุระ ด้วยการกระตุ้นให้มีการบริโภคในประเทศและขยายตลาดต่างประเทศเพิ่มขึ้น แต่ไม่ใช่เพิ่มปริมาณการจับ ปัจจุบัน สถานีประมูลตงกั่งได้ทำระบบ “Cold Chain” เพื่อสอดคล้องมาตรฐานความปลอดภัยอาหาร HACCP นอกจากนี้ กำลังเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนสมาคมปลาตงกั่งสมัครมาตรฐานผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำยั่งยืน MSC ถ้าหากผ่านมาตรฐานทั้ง 2 อย่างแล้วก็จะมีโอกาสส่งกุ้งซากุระไปขายต่างประเทศมากขึ้น ถือเป็นการยกระดับธุรกิจเพิ่มขึ้นอีกก้าวหนึ่ง