
Sign up to save your podcasts
Or
ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฏาคมถือเป็นฤดูผสมพันธุ์ของนกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาหรือนกขุนแผนไต้หวัน และมักมีข่าวที่เกี่ยวกับนกสาลิกาชนิดนี้มีความดุดันหรือจู่โจมผู้คนไม่น้อย อย่างเช่น ที่มหาวิทยาลัยเหวินฮั่วในอุทยานแห่งชาติหยางหมิงซาน มีนกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาสร้างรังฟูมฟักไข่ตามต้นไม้ และเพื่อปกป้องลูกน้อยของมัน นกสาลิกาเต็มวัยมักจะบินโฉบหรือเอาขาดึงผมของนักศึกษาที่เดินผ่านไปมา ภาพเหล่านี้มี หวังเสียงอวี้(王翔郁) ศต.คณะการสื่อสารมวล มหาวิทยาลัยเหวินฮั่ว ได้บันทึกภาพเคลื่อนไหวที่น่าสนใจไว้หลายภาพ ซึ่งศต.หวังเสียงอวี้ให้สัมภาษณ์ผ่านสำนักข่าวกลางของไต้หวัน (CNA)ชี้ว่า เมื่อประมาณ 5 ปีก่อน หลี่เทียนเริ่น(李天任) ขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเหวินฮั่ว มีอยู่วันหนึ่งท่านได้โทรศัพท์ไปหาและบอกว่า มีนกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาซึ่งเป็นนกอนุรักษ์ของไต้หวันปรากฏตัวอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยไม่น้อย และเชิญชวนให้ไปถ่ายภาพนก โดยที่ขณะนั้น ศต.หวังเสียงอวี้อยู่ที่เมืองไทจงก็รีบเดินทางกลับมหาวิทยาลัย จากนั้นได้เริ่มทำการถ่ายภาพและได้ดำเนินการติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปีพบว่า นกสาลิกาไต้หวันชนิดนี้จะสร้างรัง กกไข่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยเหวินฮั่วประมาณช่วงเดือน เม.ย., พ.ค.ของทุกปี จากนั้นประมาณเดือน มิ.ย.ถึงเดือนก.ค.หลังจากที่ลูกนกเริ่มโตแล้ว มันก็จะบินจากไป แล้วในปีถัดไปในช่วงฤดูผสมพันธุ์มันก็จะบินกลับมาใหม่อีก ซึ่งเป็นวัฏจักรวงจรชีวิตของมัน
นกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาหรือนกขุนแผนไต้หวัน หางยาว สวยงาม
ศต.หวังเสียงอวี้บอกว่า นกส่วนใหญ่จะมีพ่อนกและแม่นกช่วยกันดูแลปกป้องลูกน้อย แต่สำหรับนกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาหรือนกขุนแผนไต้หวันนั้นจะช่วยกันดูแลทั้งครอบครัว เพราะฉะนั้น การที่นกสาลิกาปรากฏให้เห็น 7-8 ตัว น่าจะเป็นนกในครอบครัวเดียวกัน สำหรับในปีนี้ พวกมันสร้างรังอยู่บนต้นไม้นอกอาคารตึกบริหารของมหาวิทยาลัยที่อยู่ห่างจากพื้นประมาณ 10 เมตร ศต.หวังเสียงอวี้ จึงใช้เลนส์เทเลซูมถ่ายภาพเพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนนก ทำการบันทึกภาพไว้ทั้งหมดตั้งแต่วางไข่ กกไข่ และฟักเป็นลูกนก จนกระทั่งบินไปจากรังของมัน แต่เนื่องจากนกสาลิกาสีนี้เป็นนกที่มีความแข็งแกร่งร่วมมือร่วมใจกันปกป้องรังของมันมาก มันมักจะบินโฉบเอาขาเขี่ยโจมตีศีรษะของนิสิตนักศึกษาเดินผ่านไปมาบริเวณที่มันทำรัง และศต.หวังเสียงอวี้ได้บันทึกภาพที่น่าตื่นเต้นไว้มากมาย และสอบถามความรู้สึกของนักศึกษาหลังจากที่ถูกนกสาลิกาจู่โจม ซึ่งบางคนก็บอกว่า รู้สึกตื่นตระหนก มีบางคนบอกว่า มันไม่ใช่เรื่องแปลกไปเสียแล้ว แต่บางคนก็บอกว่ามันเจ็บจริงๆ ซึ่งนอกจากจับภาพที่นกสาลิกาจู่โจมศีรษะของนักศึกษาแล้ว ศต.หวังเสียงอวี้ยังถ่ายภาพนกสาลิกาไปขโมยไข่ของนกอื่นด้วย เนื่องจากมีการตั้งกล้องไว้เพื่อถ่ายภาพนกเขาพม่าที่อยู่นอกอาคาร ด้วยความบังเอิญ มีนกสาลิกาตัวหนึ่งบินล่อนกเขาพม่าตัวเมียออกจากรังที่กำลังกกไข่ ช่วงที่นกเขาพม่าเผลอบินออกจากรังนี้เอง ก็มีนกสาลิกาอีกตัวบินเข้าไปที่รังของนกเขาพม่าอย่างรวดเร็ว แล้วก็กลืนไข่ของนกเขาพม่าลงท้อง 1 ฟอง ส่วนที่เหลืออีก 1 ฟองก็คาบไปไว้ที่พื้น จากนั้นก็กินกลืนเข้าไปในท้องอีก ศต.หวังเสียงอวี้บอกว่า ช่วงที่ถ่ายภาพเป็นช่วงต้นเดือนเม.ย. คาดว่าเป็นช่วงที่แม่นกสาลิกากำลังสร้างรังวางไข่ แม่นกสาลิกาต้องการเสริมสร้างโปรตีนให้กับร่างกาย จึงไปขโมยไข่ของนกอื่นกิน
นกขุนแผนไต้หวันแอบขโมย กินไข่นกเขาพม่า เสริมพลัง เพื่อวางไข่ ฟูมฟักลูกน้อยของตัวเอง
ศต.หวังเสียงอวี้ยังบอกด้วยว่า การถ่ายภาพที่เกี่ยวกับนิเวศวิทยา เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หรือแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากต้องรู้เทคนิคการถ่ายภาพแล้ว ยังต้องคุ้นเคยกับสัตว์ที่ต้องการถ่ายภาพด้วย ซึ่งปกติมักจะใช้กล้องขนาดเล็กบันทึกภาพ และจะต้องคำนวณช่วงเวลาพิเศษของนก อย่างเช่น ช่วงที่นกฟักไข่ ช่วงที่นกโตขึ้นแล้วบินจากรังไป อีกทั้งยังต้องเตรียมเลนส์เทเลซูมไว้ด้วย จึงจะได้ภาพเด็ดๆ และมีความต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากที่ ศต.หวังเสียงอวี้ถ่ายภาพเด็ดๆ ไว้แล้ว ได้นำไปแชร์ในเฟซบุ๊ก ดึงดูดนักศึกษาจำนวนไม่น้อยเข้ามาแสดงความคิดเห็น ศต.หวังยังพูดด้วยอารมย์ขันว่า นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเหวินฮั่วถูกนกสาลิกาซึ่งเป็นนกอนุรักษ์ของไต้หวันจู่โจมที่ศีรษะ ดูเหมือนเป็นเรื่องที่เท่จริงๆ สามารถเอาไปแชร์อวดคนอื่นๆ ได้
นกขุนแผนไต้หวันเป็นนกที่รักครอบครัวมาก
นกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาหรือนกขุนแผนไต้หวัน ภาษาจีนเรียกว่า “ไถวาลหลานเชวี่ย台灣藍鵲” เป็นนกเฉพาะถิ่นที่พบเห็นในไต้หวัน และยังจัดเป็นนกอนุรักษ์ของไต้หวันด้วย เป็นนกที่เริ่มมีข้อมูลบันทึกเกี่ยวกับนกชนิดนี้ตั้งแต่ยุคราชวงศ์ชิง ปี 1862 นกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาถูกบันทึกไว้ในบทความเกี่ยวกับนกของไต้หวันที่รวบรวมโดย นักปักษาวิทยาและศิลปินนกชาวอังกฤษ จอห์นโกลด์ นกสาลิกาชนิดนี้ถือเป็นนกที่มีความสวยงาม ขนนกของนกเพศผู้และเพศเมียมีความคล้ายคลึงกัน หัว คอ และบริเวณเต้านมจะมีสีดำ ดวงตาสีเหลือง ปากและเท้าสีแดง ส่วนที่เหลือของขนนกส่วนใหญ่เป็นสีน้ำเงิน ขนปีกและหางมีปลายสีขาว ขนหางคู่กลางยาวที่สุด ความยาวของนกทั้งตัวประมาณ 64 ซม. แต่ว่าในส่วนของหางจะยาวมาก มีความยาว 2 ใน 3 ของความยาวตัวทั้งหมด(ประมาณ 42 ซม.) เนื่องจากมีหางยาวและสวยงามจึงได้รับฉายาว่า “สาวภูเขาหางยาว” (ฉางเหว่ยซานเหนียง-長尾山娘long-tailed mountain lady) จัดเป็นนกตระกูลเดียวกับกา อยู่ในสกุลเดียวกับนกขุนแผนที่พบในเมืองไทย เพราะฉะนั้นจึงมีคนเรียกนกชนิดนี้ว่า “นกขุนแผนไต้หวัน” นั่นเอง ส่วนพฤติกรรมของนกชนิดนี้จะไม่กลัวคนมากนัก สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในถิ่นใกล้กับที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตามภูเขาหรือพื้นที่เพาะปลูก และพวกมันจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ส่วนใหญ่รวมกลุ่มกันมากกว่า 3 ตัวขึ้นไปจนถึง 12 ตัวก็ยังมี และเวลาที่มันบินก็จะบินเป็นแนวตามกัน เป็นนกที่รักเดียวใจเดียว ตัวเมียจะทำหน้าที่วางไข่และฟักไข่ ส่วนตัวผู้ก็ช่วยกันสร้างรังและหาอาหาร มันมักจะสร้างรังบนต้นไม้ที่สูง หลังฟักเป็นตัวจะออกจากรังและเริ่มหัดบิน จากนั้นก็บินไปอยู่ที่อื่น แต่ก็มีบางคู่ผสมพันธุ์ครั้งที่ 2 หลังจากนี้ อาหารของนกสาลิกาชนิดนี้ มักจะกินของเน่า หนอนแมลงขนาดเล็ก ไข่นก เศษอาหารของมนุษย์ ผลไม้สุก พืชบางชนิดมันก็กิน หรือแม้แต่งูมันก็ไม่กลัว เคยมีคนบันทึกภาพนกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาล่างูเขียวที่เขตอุทยานหยางหมิงซานเช่นกัน นกสาลิกาจิกงูเขียวแล้วคาบไปที่ต้นไม้ จากนั้นใช้ปากจิก สองเท้าเหยียบย่ำ แยกชิ้นส่วนให้ยุ่ย กลายเป็นอาหารกินเล่นของพวกมันไปเลย ที่ผ่านมาเคยมีคนถูกจู่โจมแล้วเอาลูกหินซัดใส่มัน อย่าหาทำนะ เพราะว่าผิดกฏหมาย มันเป็นนกอนุรักษ์ การที่มันจู่โจมเพราะมันปกป้องลูกน้อยของมันนั่นเอง และก่อนหน้านี้มีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวที่ฟาร์มเกษตรฮุ่ยซุนเมืองหนานโถวบอกว่า ได้เห็นฝูงนกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาบินไปมาตามพื้นโดยไม่กลัวผู้คน จึงถ่ายภาพฝูงนกและโพสต์ขึ้นเน็ตเรียกร้องให้คนที่ไปเที่ยวอย่าให้อาหารนก เพราะว่าจะไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมัน เนื่องจากก่อนหน้านี้นกสาลิกาเหล่านี้เมื่อเห็นผู้คนก็จะบินหนีหลบไปไกลๆ แต่ว่าปัจจุบันมันไม่กลัวผู้คน แถมยังบินป้วนเปี้ยนเข้าใกล้คน ถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะว่าจะไปเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกมัน ทำลายระบบนิเวศของพวกมันได้
นกขุนแผนไต้หวันจิกคาบงูเขียว ใช้สองเท้าเหยียบย่ำ แยกชิ้นส่วนให้ยุ่ย กลายเป็นอาหารกินเล่นไปซะเลย
ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฏาคมถือเป็นฤดูผสมพันธุ์ของนกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาหรือนกขุนแผนไต้หวัน และมักมีข่าวที่เกี่ยวกับนกสาลิกาชนิดนี้มีความดุดันหรือจู่โจมผู้คนไม่น้อย อย่างเช่น ที่มหาวิทยาลัยเหวินฮั่วในอุทยานแห่งชาติหยางหมิงซาน มีนกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาสร้างรังฟูมฟักไข่ตามต้นไม้ และเพื่อปกป้องลูกน้อยของมัน นกสาลิกาเต็มวัยมักจะบินโฉบหรือเอาขาดึงผมของนักศึกษาที่เดินผ่านไปมา ภาพเหล่านี้มี หวังเสียงอวี้(王翔郁) ศต.คณะการสื่อสารมวล มหาวิทยาลัยเหวินฮั่ว ได้บันทึกภาพเคลื่อนไหวที่น่าสนใจไว้หลายภาพ ซึ่งศต.หวังเสียงอวี้ให้สัมภาษณ์ผ่านสำนักข่าวกลางของไต้หวัน (CNA)ชี้ว่า เมื่อประมาณ 5 ปีก่อน หลี่เทียนเริ่น(李天任) ขณะนั้นดำรงตำแหน่งอธิการบดีของมหาวิทยาลัยเหวินฮั่ว มีอยู่วันหนึ่งท่านได้โทรศัพท์ไปหาและบอกว่า มีนกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาซึ่งเป็นนกอนุรักษ์ของไต้หวันปรากฏตัวอยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยไม่น้อย และเชิญชวนให้ไปถ่ายภาพนก โดยที่ขณะนั้น ศต.หวังเสียงอวี้อยู่ที่เมืองไทจงก็รีบเดินทางกลับมหาวิทยาลัย จากนั้นได้เริ่มทำการถ่ายภาพและได้ดำเนินการติดต่อกันมาเป็นเวลาหลายปีพบว่า นกสาลิกาไต้หวันชนิดนี้จะสร้างรัง กกไข่อยู่ในรั้วมหาวิทยาลัยเหวินฮั่วประมาณช่วงเดือน เม.ย., พ.ค.ของทุกปี จากนั้นประมาณเดือน มิ.ย.ถึงเดือนก.ค.หลังจากที่ลูกนกเริ่มโตแล้ว มันก็จะบินจากไป แล้วในปีถัดไปในช่วงฤดูผสมพันธุ์มันก็จะบินกลับมาใหม่อีก ซึ่งเป็นวัฏจักรวงจรชีวิตของมัน
นกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาหรือนกขุนแผนไต้หวัน หางยาว สวยงาม
ศต.หวังเสียงอวี้บอกว่า นกส่วนใหญ่จะมีพ่อนกและแม่นกช่วยกันดูแลปกป้องลูกน้อย แต่สำหรับนกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาหรือนกขุนแผนไต้หวันนั้นจะช่วยกันดูแลทั้งครอบครัว เพราะฉะนั้น การที่นกสาลิกาปรากฏให้เห็น 7-8 ตัว น่าจะเป็นนกในครอบครัวเดียวกัน สำหรับในปีนี้ พวกมันสร้างรังอยู่บนต้นไม้นอกอาคารตึกบริหารของมหาวิทยาลัยที่อยู่ห่างจากพื้นประมาณ 10 เมตร ศต.หวังเสียงอวี้ จึงใช้เลนส์เทเลซูมถ่ายภาพเพื่อไม่ให้เกิดการรบกวนนก ทำการบันทึกภาพไว้ทั้งหมดตั้งแต่วางไข่ กกไข่ และฟักเป็นลูกนก จนกระทั่งบินไปจากรังของมัน แต่เนื่องจากนกสาลิกาสีนี้เป็นนกที่มีความแข็งแกร่งร่วมมือร่วมใจกันปกป้องรังของมันมาก มันมักจะบินโฉบเอาขาเขี่ยโจมตีศีรษะของนิสิตนักศึกษาเดินผ่านไปมาบริเวณที่มันทำรัง และศต.หวังเสียงอวี้ได้บันทึกภาพที่น่าตื่นเต้นไว้มากมาย และสอบถามความรู้สึกของนักศึกษาหลังจากที่ถูกนกสาลิกาจู่โจม ซึ่งบางคนก็บอกว่า รู้สึกตื่นตระหนก มีบางคนบอกว่า มันไม่ใช่เรื่องแปลกไปเสียแล้ว แต่บางคนก็บอกว่ามันเจ็บจริงๆ ซึ่งนอกจากจับภาพที่นกสาลิกาจู่โจมศีรษะของนักศึกษาแล้ว ศต.หวังเสียงอวี้ยังถ่ายภาพนกสาลิกาไปขโมยไข่ของนกอื่นด้วย เนื่องจากมีการตั้งกล้องไว้เพื่อถ่ายภาพนกเขาพม่าที่อยู่นอกอาคาร ด้วยความบังเอิญ มีนกสาลิกาตัวหนึ่งบินล่อนกเขาพม่าตัวเมียออกจากรังที่กำลังกกไข่ ช่วงที่นกเขาพม่าเผลอบินออกจากรังนี้เอง ก็มีนกสาลิกาอีกตัวบินเข้าไปที่รังของนกเขาพม่าอย่างรวดเร็ว แล้วก็กลืนไข่ของนกเขาพม่าลงท้อง 1 ฟอง ส่วนที่เหลืออีก 1 ฟองก็คาบไปไว้ที่พื้น จากนั้นก็กินกลืนเข้าไปในท้องอีก ศต.หวังเสียงอวี้บอกว่า ช่วงที่ถ่ายภาพเป็นช่วงต้นเดือนเม.ย. คาดว่าเป็นช่วงที่แม่นกสาลิกากำลังสร้างรังวางไข่ แม่นกสาลิกาต้องการเสริมสร้างโปรตีนให้กับร่างกาย จึงไปขโมยไข่ของนกอื่นกิน
นกขุนแผนไต้หวันแอบขโมย กินไข่นกเขาพม่า เสริมพลัง เพื่อวางไข่ ฟูมฟักลูกน้อยของตัวเอง
ศต.หวังเสียงอวี้ยังบอกด้วยว่า การถ่ายภาพที่เกี่ยวกับนิเวศวิทยา เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม หรือแหล่งที่อยู่ตามธรรมชาติไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากต้องรู้เทคนิคการถ่ายภาพแล้ว ยังต้องคุ้นเคยกับสัตว์ที่ต้องการถ่ายภาพด้วย ซึ่งปกติมักจะใช้กล้องขนาดเล็กบันทึกภาพ และจะต้องคำนวณช่วงเวลาพิเศษของนก อย่างเช่น ช่วงที่นกฟักไข่ ช่วงที่นกโตขึ้นแล้วบินจากรังไป อีกทั้งยังต้องเตรียมเลนส์เทเลซูมไว้ด้วย จึงจะได้ภาพเด็ดๆ และมีความต่อเนื่อง ซึ่งหลังจากที่ ศต.หวังเสียงอวี้ถ่ายภาพเด็ดๆ ไว้แล้ว ได้นำไปแชร์ในเฟซบุ๊ก ดึงดูดนักศึกษาจำนวนไม่น้อยเข้ามาแสดงความคิดเห็น ศต.หวังยังพูดด้วยอารมย์ขันว่า นักศึกษาของมหาวิทยาลัยเหวินฮั่วถูกนกสาลิกาซึ่งเป็นนกอนุรักษ์ของไต้หวันจู่โจมที่ศีรษะ ดูเหมือนเป็นเรื่องที่เท่จริงๆ สามารถเอาไปแชร์อวดคนอื่นๆ ได้
นกขุนแผนไต้หวันเป็นนกที่รักครอบครัวมาก
นกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาหรือนกขุนแผนไต้หวัน ภาษาจีนเรียกว่า “ไถวาลหลานเชวี่ย台灣藍鵲” เป็นนกเฉพาะถิ่นที่พบเห็นในไต้หวัน และยังจัดเป็นนกอนุรักษ์ของไต้หวันด้วย เป็นนกที่เริ่มมีข้อมูลบันทึกเกี่ยวกับนกชนิดนี้ตั้งแต่ยุคราชวงศ์ชิง ปี 1862 นกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาถูกบันทึกไว้ในบทความเกี่ยวกับนกของไต้หวันที่รวบรวมโดย นักปักษาวิทยาและศิลปินนกชาวอังกฤษ จอห์นโกลด์ นกสาลิกาชนิดนี้ถือเป็นนกที่มีความสวยงาม ขนนกของนกเพศผู้และเพศเมียมีความคล้ายคลึงกัน หัว คอ และบริเวณเต้านมจะมีสีดำ ดวงตาสีเหลือง ปากและเท้าสีแดง ส่วนที่เหลือของขนนกส่วนใหญ่เป็นสีน้ำเงิน ขนปีกและหางมีปลายสีขาว ขนหางคู่กลางยาวที่สุด ความยาวของนกทั้งตัวประมาณ 64 ซม. แต่ว่าในส่วนของหางจะยาวมาก มีความยาว 2 ใน 3 ของความยาวตัวทั้งหมด(ประมาณ 42 ซม.) เนื่องจากมีหางยาวและสวยงามจึงได้รับฉายาว่า “สาวภูเขาหางยาว” (ฉางเหว่ยซานเหนียง-長尾山娘long-tailed mountain lady) จัดเป็นนกตระกูลเดียวกับกา อยู่ในสกุลเดียวกับนกขุนแผนที่พบในเมืองไทย เพราะฉะนั้นจึงมีคนเรียกนกชนิดนี้ว่า “นกขุนแผนไต้หวัน” นั่นเอง ส่วนพฤติกรรมของนกชนิดนี้จะไม่กลัวคนมากนัก สามารถพบเห็นได้ทั่วไปในถิ่นใกล้กับที่อยู่อาศัยของมนุษย์ตามภูเขาหรือพื้นที่เพาะปลูก และพวกมันจะอยู่รวมกันเป็นฝูง ส่วนใหญ่รวมกลุ่มกันมากกว่า 3 ตัวขึ้นไปจนถึง 12 ตัวก็ยังมี และเวลาที่มันบินก็จะบินเป็นแนวตามกัน เป็นนกที่รักเดียวใจเดียว ตัวเมียจะทำหน้าที่วางไข่และฟักไข่ ส่วนตัวผู้ก็ช่วยกันสร้างรังและหาอาหาร มันมักจะสร้างรังบนต้นไม้ที่สูง หลังฟักเป็นตัวจะออกจากรังและเริ่มหัดบิน จากนั้นก็บินไปอยู่ที่อื่น แต่ก็มีบางคู่ผสมพันธุ์ครั้งที่ 2 หลังจากนี้ อาหารของนกสาลิกาชนิดนี้ มักจะกินของเน่า หนอนแมลงขนาดเล็ก ไข่นก เศษอาหารของมนุษย์ ผลไม้สุก พืชบางชนิดมันก็กิน หรือแม้แต่งูมันก็ไม่กลัว เคยมีคนบันทึกภาพนกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาล่างูเขียวที่เขตอุทยานหยางหมิงซานเช่นกัน นกสาลิกาจิกงูเขียวแล้วคาบไปที่ต้นไม้ จากนั้นใช้ปากจิก สองเท้าเหยียบย่ำ แยกชิ้นส่วนให้ยุ่ย กลายเป็นอาหารกินเล่นของพวกมันไปเลย ที่ผ่านมาเคยมีคนถูกจู่โจมแล้วเอาลูกหินซัดใส่มัน อย่าหาทำนะ เพราะว่าผิดกฏหมาย มันเป็นนกอนุรักษ์ การที่มันจู่โจมเพราะมันปกป้องลูกน้อยของมันนั่นเอง และก่อนหน้านี้มีนักท่องเที่ยวไปเที่ยวที่ฟาร์มเกษตรฮุ่ยซุนเมืองหนานโถวบอกว่า ได้เห็นฝูงนกสาลิกาสีน้ำเงินฟอร์โมซาบินไปมาตามพื้นโดยไม่กลัวผู้คน จึงถ่ายภาพฝูงนกและโพสต์ขึ้นเน็ตเรียกร้องให้คนที่ไปเที่ยวอย่าให้อาหารนก เพราะว่าจะไปเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของมัน เนื่องจากก่อนหน้านี้นกสาลิกาเหล่านี้เมื่อเห็นผู้คนก็จะบินหนีหลบไปไกลๆ แต่ว่าปัจจุบันมันไม่กลัวผู้คน แถมยังบินป้วนเปี้ยนเข้าใกล้คน ถือเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะว่าจะไปเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของพวกมัน ทำลายระบบนิเวศของพวกมันได้
นกขุนแผนไต้หวันจิกคาบงูเขียว ใช้สองเท้าเหยียบย่ำ แยกชิ้นส่วนให้ยุ่ย กลายเป็นอาหารกินเล่นไปซะเลย