ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 26 เม.ย.2565


Listen Later

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม! สับปะรดตัดจุกส่งขายญี่ปุ่นบรรจุตะแกรงพลาสติกแทนลังกระดาษ

ต้นเดือนมีนาคมปีที่แล้ว จีนระงับนำเข้าสับปะรดไต้หวัน รัฐบาลและบริษัท Taipei Agriculture Products Marketing ร่วมกันผลักดันการส่งออกไปยังญี่ปุ่น,ฮ่องกง,สิงคโปร์ ทำให้การส่งออกไปญี่ปุ่นเติบโตถึง 9 เท่า ปัจจุบัน การส่งสับปะรดไปขายญี่ปุ่นมีวิธีการบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ ปีนี้นับเป็นครั้งแรกที่มีการหันมาใช้ตะแกรงใส่ของเหลี่ยมสูงที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งไม่เพียงแต่ลดต้นทุนการบรรจุสินค้าได้มากถึง 15% ขณะเดียวกันยังสามารถเพิ่มปริมาณสินค้าที่ขนส่งในตู้คอนเทนเนอร์ขนาดเท่ากันได้มากถึง 20% นอกจากนี้ การขายสับปะรดไปขายญี่ปุ่นในปีที่แล้วมีเพียงช่องทางเดียว แต่ในปีนี้เพิ่มช่องทางการขายอีก 3 แห่ง ในจำนวนนี้เป็นเชนร้านสะดวกซื้อขนาดใหญ่ 2 แห่งคือ ร้านสะดวกซื้อโลสัน(Lawson) และ 7-ELEVEN โดยมีการหั่นสับปะรดเป็นชิ้นบรรจุถุงขึ้นหิ้งขายพร้อมรับประทานได้เลย คาดว่าจะช่วยขยายตลาดสับปะรดของไต้หวันได้มากขึ้น

สับปะรดตัดจุกส่งขายญี่ปุ่นบรรจุตะแกรงพลาสติกแทนลังกระดาษ

คณะกรรมการการเกษตรจัดงานแถลงข่าว การส่งออกสับปะรดใส่ในตะแกรงเหลี่ยมสูงขณะที่ขนส่งในระบบลูกโซ่ความเย็นของสหกรณ์การผลิตผักผลไม้ต่าเมาที่ตำบลหมินสง เมืองเจียอี้(打貓果菜生產合作社) ในวันที่ 20 เม.ย.ที่ผ่านมา สำนักความร่วมมือระหว่างต่างประเทศชี้ว่า เพื่อสอดคล้องแนวโน้มนานาประเทศที่มีการใช้สิ่งของที่นำกลับมาใช้ซ้ำ รวมทั้งลดปริมาณการกำจัดขยะของเสีย สับปะรดไต้หวันที่ส่งขายญี่ปุ่น นอกจากมีการใช้ลังกระดาษแบบดั้งเดิมในการบรรจุภัณฑ์แล้ว ขณะนี้เริ่มใช้ตะแกรงใส่ของเหลี่ยมสูงที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ และตะแกรงนี้ยังสอดคล้องกับขนาดของบรรจุภัณฑ์ที่ต่างประเทศใช้ด้วย เฉินฉีจ้ง ประธานคณะกรรมการการเกษตรไต้หวันชี้ว่า การส่งสับปะรดไปขายญี่ปุ่นเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก มีขั้นตอนการทำงานหลายอย่าง เพื่อรักษาคุณภาพสับปะรด ตั้งแต่แหล่งปลูกจนกระทั่งส่งไปถึงประเทศญี่ปุ่นตลอดเส้นทางต้องรักษาความเย็นไม่ให้ขาดตอน ปีที่แล้ว ไต้หวันส่งสับปะรดไปขายญี่ปุ่นจำนวน 18,000 ตัน แต่ปีนี้ได้ตั้งเป้าการส่งออกคือ 30,000 ตัน ถ้าหากบรรลุเป้าหมายได้ ก็จะแก้ปัญหาที่ต้องอาศัยตลาดส่งออกตลาดเดียวได้

ปีนี้ไต้หวันตั้งเป้าส่งออกสับปะรดไปขายญี่ปุ่นจำนวน 30,000 ตัน

การใช้ตะแกรงพลาสติกใส่ของเหลี่ยมสูงจัดส่งสินค้าไปขายญี่ปุ่น หากไม่ต้องการใช้งานก็สามารถแกะชิ้นส่วนแล้วซ้อนเก็บได้ ไม่เปลืองเนื้อที่การเก็บ เมื่อต้องการใช้งานก็นำมาต่อใหม่ได้ ตะแกรง 1 ใบ สามารถใส่สับปะรดที่ตัดจุกทิ้งประมาณ 17 กก. ผู้ประกอบการที่ส่งสินค้าขายต่างประเทศสามารถเช่าตะแกรงพลาสติกนี้จากบริษัทโลจิสติกส์  เมื่อใช้งานแล้วก็ส่งทางเรือกลับมายังไต้หวัน หลังล้างทำความสะอาดก็เช่าต่อได้เลย สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศชี้ว่า การระบาดของโควิด 19 ทำให้วัตถุดิบที่ใช้ทำลังกระดาษลดลง ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น ดังนั้นความร่วมมือของผู้ประกอบการไต้หวันและญี่ปุ่นที่หันมาใช้ตะแกรงบรรจุสับปะรดที่ตัดจุกทิ้ง ไม่เพียงแต่รักษาความสดของสับปะรด ยังสอดคล้องกับความคุ้นเคยของผู้บริโภคญี่ปุ่นที่ต้องการผลไม้สดและผ่านการหั่นเป็นชิ้นเพื่อบริโภคทันที นอกจากนี้ ยังเป็นการประหยัดเงินค่าบรรจุภัณฑ์และค่ากำจัดจุกสับปะรดที่ต้องขนไปทิ้ง ถือว่ามีประโยชน์หลายประการ

ภาพขั้นตอนการส่งออกสับปะรดไปขายญี่ปุ่น

ตู้คอนเทนเนอร์ที่ขนส่งทางทะเลขนาด 40 ฟุต เมื่อนำกระดาษลังบรรจุสินค้าแล้วซ้อนบนแท่นวางสินค้า จะบรรจุได้ทั้งหมด 1,365 ลัง มีขนาดเท่ากับสับปะรดที่มีหัวจุกประมาณ 14 ตัน แต่ถ้าใช้ตะแกรงดังกล่าว แต่ละตู้คอนเทนเนอร์จะวางตะแกรงได้ 1,000 ใบ เท่ากับสับปะรดที่ตัดหัวจุกทิ้ง 17 ตัน ถือว่าประหยัดต้นทุนได้มาก งานแถลงข่าวที่ผ่านมา ยังได้จัดแสดงเครื่องหั่นสับปะรดเป็นชิ้น หลังปอกเปลือกหั่นสับปะรดเป็นชิ้นจากโรงงาน จากนั้นจะส่งไปยังโรงงานของ supermarket โดยตรง เพื่อบรรจุเป็นห่อเล็กหรือหั่นเป็นชิ้นตามที่ต้องการ ในปีที่แล้ว ผู้ประกอบการญี่ปุ่นพบว่าแกนกลางสับปะรดไต้หวันกินได้และมีรสชาติอร่อย จึงเริ่มพัฒนาการหั่นเป็นชิ้นเพื่อบรรจุขาย ในปีนี้มีการเพิ่มช่องทางการขายอื่นด้วย สำนักความร่วมมือระหว่างต่างประเทศคาดว่า ช่องทางการขายสับปะรดในร้านสะดวกซื้อมีความใกล้ชิดกับผู้บริโภค โอกาสซื้อมีมากขึ้น และยังเป็นโอกาสดีที่จะขายสับปะรดไปที่ญี่ปุ่นมากขึ้นด้วย

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti