
Sign up to save your podcasts
Or
กุ้งลายเสือญี่ปุ่น( Kuruma Ebi หรือ Japanese imperial prawn) ภาษาจีนเรียกว่า “กุ้งปันเจี๋ย斑節蝦” เป็นกุ้งที่นิยมรับประทานในญี่ปุ่น เป็นวัตถุดิบในเมนูอาหารทะเลราคาสูง นิยมทำเป็นซูชิ หรือข้าวหน้าต่างๆ ลักษณะของกุ้งคือ ตัวเป็นลาย สีสันชัดเจน เนื้อแน่น หวานเป็นเอกลักษณ์ แต่การเพาะเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากประสบปัญหาการระบาดของกุ้งในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลให้การเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นในไต้หวันมีความซบเซา มีเพียงเกษตรกรบางส่วนที่มีการเลี้ยงในเมืองอี๋หลานเท่านั้น และส่วนใหญ่ต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ หรืออาศัยชาวประมงจับจากธรรมชาติซึ่งมีปริมาณน้อยและราคาสูง
คุณสวีเจียหลงท้าทายกับการเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นจนสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน มีฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคาซูโอะ( kazuo หรือ一夫水產) ที่ตั้งอยู่ในเขตเสวียเจี่ย เมืองไถหนาน ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นในที่ร่ม และยังเป็นรายแรกในไต้หวันที่มีระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ สวีเจียหลง(徐嘉隆) เจ้าของฟาร์มแห่งนี้ได้เล่าประสบการณ์การเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นในปีที่แล้ว บอกว่า หลังปล่อยลูกกุ้งลงบ่อเลี้ยงในเดือนสิงหาคมและพฤศจิกายน ผ่านไปครึ่งปีก็ยังไม่เห็นกุ้งเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งถ้าเทียบกับการเลี้ยงกุ้งขาวที่ใช้เวลาเท่ากันก็สามารถขายได้แล้ว จนถึงขนาดกังวลว่าจะขาดทุนหรือไม่? แต่ความกังวลนี้ก็ลดลงเมื่อเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต
กุ้งลายเสือญี่ปุ่น ตัวเป็นลาย สีสันชัดเจน
ทำไมคุณสวีเจียหลงจึงหันมาเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่การเพาะเลี้ยงมีความยาก มีความเสี่ยง เขาตอบว่า ก็แค่อยากท้าทายตัวเอง เพราะขณะนั้นมีคนเลี้ยงกุ้งตะกาดซึ่งเป็นกุ้งที่พบเห็นได้น้อยและยังตรวจสอบย้อนกลับได้ จึงอยากเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นดูบ้าง เนื่องจากในช่วงที่เลี้ยงกุ้งขาวยังเคยท้าทายกับการลงทุนเลี้ยงปลาเก๋าและกุ้งกุลาดำมาแล้ว ด้วยอุปนิสัยที่ชอบความท้าทายจึงอยากลองเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นสักตั้ง แม้ว่าเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งลายเสือในญี่ปุ่นจะมีความสุกงอมแล้วก็ตาม แต่สภาพแวดล้อมการเพาะเลี้ยงมีเพดานที่สูงมาก นอกจากนี้ ระยะเวลาการเจริญเติบโตจะมีมากกว่า 3-4 เท่าของกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ ดังนั้นต้นทุนและเวลาในการลงทุนจึงค่อนข้างสูง
ฟาร์มเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นในที่ร่ม
เยี่ยซิ่นลี่(葉信利) อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยประมง บอกว่า เทคโนโลยีการผสมพันธุ์กุ้งลายเสือญี่ปุ่นเทียมของไต้หวันมีต้นกำเนิดจากบริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นในปี 1960 และได้รับการแนะนำโดยลูกศิษย์ของเขาซึ่งก็คือบิดากุ้งกุลาดำไต้หวัน ดร.เลี่ยวอีจิ่ว(廖一久)ในขณะนั้นได้นำมาเพาะเลี้ยงที่สถาบันวิจัยประมงไต้หวัน สาขาไถหนาน จนประสบความสำเร็จ แม้ว่า ดร.เลี่ยวอีจิ่ว จะเป็นที่รู้จักในฐานะบิดากุ้งกุลาดำของไต้หวัน แต่ตอนเรียนที่มหาวิทยาลัยโตเกียว งานที่ทำวิจัยคือกุ้งลายเสือญี่ปุ่น และในปี 1968 ได้นำเทคนิคการเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นกลับมายังไต้หวัน แต่สุดท้ายเลือกวิจัยและพัฒนากุ้งกุลาดำเป็นเป้าหมาย เพราะคิดว่าควรเลือกเลี้ยงกุ้งที่เหมาะกับสภาพของไต้หวันมากกว่า จึงนำเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ จนประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์กุ้งกุลาดำเทียมรายแรกของโลก จนปลายปี 1980 ไต้หวันได้รับฉายาอาณาจักรกุ้งกุลาดำ
ดร.เลี่ยวอีจิ่ว บิดากุ้งกุลาดำไต้หวัน
ในส่วนของกุ้งลายเสือญี่ปุ่นถือเป็นกุ้งที่มีนิสัยดุร้ายมาก คุณสวีเจียหลงบอกว่า ทุกสัปดาห์จะพบกุ้งไม่สมประกอบหรือแขนขาไม่สมบูรณ์มากกว่า 10 ตัว เพราะมันแย่งอาหารรุนแรง ในอนาคต คงต้องหาทางพัฒนาอาหารเลี้ยงกุ้งโดยเฉพาะ และปรับปรุงเทคนิคการเลี้ยงที่เหมาะสมต่อไป ส่วนมุมมองการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไต้หวันในอนาคต ดร.เลี่ยวอีจิ่ว บิดากุ้งกุลาดำ บอกว่า ยังมีความกังวลว่าอาจเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนเมื่อ 20 ปีก่อน เพราะคนรุ่นใหม่หลายคนทุ่มเทกับการใช้เทคโนโลยีในการควบคุมการเพาะเลี้ยงกุ้ง รวมทั้งหน่วยงานรัฐบาลก็ยังให้การสนับสนุน คาดว่าธุรกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งจะค่อยๆได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง แต่เขาย้ำว่า จะต้องไม่ให้เหมือนเหตุการณ์ในอดีต ที่ทุกคนแย่งกันเลี้ยง
กุ้งลายเสือญี่ปุ่น( Kuruma Ebi หรือ Japanese imperial prawn) ภาษาจีนเรียกว่า “กุ้งปันเจี๋ย斑節蝦” เป็นกุ้งที่นิยมรับประทานในญี่ปุ่น เป็นวัตถุดิบในเมนูอาหารทะเลราคาสูง นิยมทำเป็นซูชิ หรือข้าวหน้าต่างๆ ลักษณะของกุ้งคือ ตัวเป็นลาย สีสันชัดเจน เนื้อแน่น หวานเป็นเอกลักษณ์ แต่การเพาะเลี้ยงกุ้งชนิดนี้ค่อนข้างยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากประสบปัญหาการระบาดของกุ้งในช่วงต้นทศวรรษ 1990 ส่งผลให้การเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นในไต้หวันมีความซบเซา มีเพียงเกษตรกรบางส่วนที่มีการเลี้ยงในเมืองอี๋หลานเท่านั้น และส่วนใหญ่ต้องอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศ หรืออาศัยชาวประมงจับจากธรรมชาติซึ่งมีปริมาณน้อยและราคาสูง
คุณสวีเจียหลงท้าทายกับการเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นจนสำเร็จ
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบัน มีฟาร์มเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำคาซูโอะ( kazuo หรือ一夫水產) ที่ตั้งอยู่ในเขตเสวียเจี่ย เมืองไถหนาน ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นในที่ร่ม และยังเป็นรายแรกในไต้หวันที่มีระบบตรวจสอบย้อนกลับผลิตภัณฑ์ สวีเจียหลง(徐嘉隆) เจ้าของฟาร์มแห่งนี้ได้เล่าประสบการณ์การเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นในปีที่แล้ว บอกว่า หลังปล่อยลูกกุ้งลงบ่อเลี้ยงในเดือนสิงหาคมและพฤศจิกายน ผ่านไปครึ่งปีก็ยังไม่เห็นกุ้งเติบโตอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งถ้าเทียบกับการเลี้ยงกุ้งขาวที่ใช้เวลาเท่ากันก็สามารถขายได้แล้ว จนถึงขนาดกังวลว่าจะขาดทุนหรือไม่? แต่ความกังวลนี้ก็ลดลงเมื่อเริ่มเก็บเกี่ยวผลผลิต
กุ้งลายเสือญี่ปุ่น ตัวเป็นลาย สีสันชัดเจน
ทำไมคุณสวีเจียหลงจึงหันมาเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่น ทั้งๆ ที่การเพาะเลี้ยงมีความยาก มีความเสี่ยง เขาตอบว่า ก็แค่อยากท้าทายตัวเอง เพราะขณะนั้นมีคนเลี้ยงกุ้งตะกาดซึ่งเป็นกุ้งที่พบเห็นได้น้อยและยังตรวจสอบย้อนกลับได้ จึงอยากเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นดูบ้าง เนื่องจากในช่วงที่เลี้ยงกุ้งขาวยังเคยท้าทายกับการลงทุนเลี้ยงปลาเก๋าและกุ้งกุลาดำมาแล้ว ด้วยอุปนิสัยที่ชอบความท้าทายจึงอยากลองเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นสักตั้ง แม้ว่าเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งลายเสือในญี่ปุ่นจะมีความสุกงอมแล้วก็ตาม แต่สภาพแวดล้อมการเพาะเลี้ยงมีเพดานที่สูงมาก นอกจากนี้ ระยะเวลาการเจริญเติบโตจะมีมากกว่า 3-4 เท่าของกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ ดังนั้นต้นทุนและเวลาในการลงทุนจึงค่อนข้างสูง
ฟาร์มเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นในที่ร่ม
เยี่ยซิ่นลี่(葉信利) อดีตผู้อำนวยการศูนย์วิจัยสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยประมง บอกว่า เทคโนโลยีการผสมพันธุ์กุ้งลายเสือญี่ปุ่นเทียมของไต้หวันมีต้นกำเนิดจากบริษัทเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่นในปี 1960 และได้รับการแนะนำโดยลูกศิษย์ของเขาซึ่งก็คือบิดากุ้งกุลาดำไต้หวัน ดร.เลี่ยวอีจิ่ว(廖一久)ในขณะนั้นได้นำมาเพาะเลี้ยงที่สถาบันวิจัยประมงไต้หวัน สาขาไถหนาน จนประสบความสำเร็จ แม้ว่า ดร.เลี่ยวอีจิ่ว จะเป็นที่รู้จักในฐานะบิดากุ้งกุลาดำของไต้หวัน แต่ตอนเรียนที่มหาวิทยาลัยโตเกียว งานที่ทำวิจัยคือกุ้งลายเสือญี่ปุ่น และในปี 1968 ได้นำเทคนิคการเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นกลับมายังไต้หวัน แต่สุดท้ายเลือกวิจัยและพัฒนากุ้งกุลาดำเป็นเป้าหมาย เพราะคิดว่าควรเลือกเลี้ยงกุ้งที่เหมาะกับสภาพของไต้หวันมากกว่า จึงนำเทคโนโลยีการเลี้ยงกุ้งลายเสือญี่ปุ่นมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ จนประสบความสำเร็จในการผสมพันธุ์กุ้งกุลาดำเทียมรายแรกของโลก จนปลายปี 1980 ไต้หวันได้รับฉายาอาณาจักรกุ้งกุลาดำ
ดร.เลี่ยวอีจิ่ว บิดากุ้งกุลาดำไต้หวัน
ในส่วนของกุ้งลายเสือญี่ปุ่นถือเป็นกุ้งที่มีนิสัยดุร้ายมาก คุณสวีเจียหลงบอกว่า ทุกสัปดาห์จะพบกุ้งไม่สมประกอบหรือแขนขาไม่สมบูรณ์มากกว่า 10 ตัว เพราะมันแย่งอาหารรุนแรง ในอนาคต คงต้องหาทางพัฒนาอาหารเลี้ยงกุ้งโดยเฉพาะ และปรับปรุงเทคนิคการเลี้ยงที่เหมาะสมต่อไป ส่วนมุมมองการพัฒนาอุตสาหกรรมการเลี้ยงกุ้งของไต้หวันในอนาคต ดร.เลี่ยวอีจิ่ว บิดากุ้งกุลาดำ บอกว่า ยังมีความกังวลว่าอาจเกิดประวัติศาสตร์ซ้ำรอยเหมือนเมื่อ 20 ปีก่อน เพราะคนรุ่นใหม่หลายคนทุ่มเทกับการใช้เทคโนโลยีในการควบคุมการเพาะเลี้ยงกุ้ง รวมทั้งหน่วยงานรัฐบาลก็ยังให้การสนับสนุน คาดว่าธุรกิจการเพาะเลี้ยงกุ้งจะค่อยๆได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง แต่เขาย้ำว่า จะต้องไม่ให้เหมือนเหตุการณ์ในอดีต ที่ทุกคนแย่งกันเลี้ยง