
Sign up to save your podcasts
Or
สร้างความสุขระยะยาวให้ผู้สูงอายุ ชุมชุนเน่ยลี่เมืองซินจู๋ ทำสวนผักพอเพียง ปลูกเองกินเอง
ที่ชุมชนเน่ยลี่ ตำบลซินผู่ เมืองซินจู๋ของไต้หวัน เป็นชุมชนที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวฮากกา มีการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย มีประชากรผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี ครองสัดส่วนสูงถึง 70% มีผู้สูงอายุมากกว่า 70ปีขึ้นไปครองสัดส่วนมากกว่า 30% แต่ว่าชุมชนแห่งนี้ก็ไม่ได้เงียบเหงาหรือซึมเศร้า ในทางตรงข้าม กลับมีอาสาสมัครกลุ่มหนึ่งที่มีอายุเฉลี่ย 60 ปี เป็นผู้นำที่ให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวัน จัดให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มทานอาหารร่วมกัน มีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ร่วมกัน มีการจัดกิจกรรมไปเที่ยวร่วมกัน มีการสังสรรค์ร้องรำทำเพลงตีฆ้องตีกลอง จนผู้สูงอายุแต่ละคนมีชีวิตชีวา ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แต่ละวันผ่านไปอย่างมีคุณค่า และล่าสุดทางชุมชนเน่ยลี่มีการจัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัวไม่ต้องก้มๆเงยๆที่เรียกกันว่า “สวนผักไม่ต้องก้มๆ เงยๆ (เหมี่ยนวันเยาไช่หยวน-免彎腰菜園)” จนเป็นที่รู้จักของผู้คนหลายๆ ชุมชน
สวนผักไม่ต้องก้มๆ เงยๆ เหมาะกับผู้สูงวัย
เวินเหวินเจิ้ง(溫文正) ประธานสมาคมพัฒนาชุมชนเน่ยลี่บอกว่า ผู้สูงอายุร้องรำทำเพลง ตีฆ้องตีกลอง ถือเป็นเรื่องปกติ ในทุกปีที่มีการประกวดโคมไฟของเมืองซินจู๋ ชุมชนเน่ยลี่ได้รับรางวัลชนะเลิศทุกครั้ง ซึ่งสมาชิกที่เข้าร่วมประกวดล้วนเป็นผู้สูงอายุ และยังมีอาม่าวัย 92 ปี เคยเดินทางไปพร้อมกับสมาคม รายงานวิธีการทำเส้นหมี่ “หมี่ไถมู่-米苔目”ที่กองวัฒนธรรม แม้ชุมชุนเน่ยลี่จะมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก แต่ใจของผู้สูงอายุเหล่านี้ยังหนุ่มยังสาว ขอเพียงสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ทุกคนจะให้ความร่วมมืออย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกแรงกายหรือกำลังทรัพย์ มีอย่างเดียวคือกลัวแพ้ชุมชนอื่น และเพื่อเป็นการบริการให้กับผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชน ศูนย์กิจกรรมของชุมชนได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นศูนย์บริการความห่วงใย ในทุกสัปดาห์จะจัดให้ผู้สูงอายุรับประทานร่วมกัน 2 ครั้ง ในช่วงเริ่มต้น คุณแม่ของปธ.สมาคม มาเป็นอาสาสมัครก่อน คุณแม่ของเขาบอกว่า จริงๆ แล้วถ้าอยู่บ้านก็จะใช้เวลาส่วนใหญ่ดูทีวี ดูไปดูมา กลายเป็นทีวีดูคน ถ้าออกมาหาเพื่อนคุย เข้าครัวช่วยทำอาหารกล่องส่งมอบให้กับผู้สูงอายุน่าจะดีกว่า ทำงานกระฉับกระเฉง ช่วยจัดเตรียมกล่องให้ผู้สูงอายุครั้งละ 150 กล่องก็ไม่เหนื่อย ไม่น่าเชื่อว่า ปัจจุบันท่านมีอายุ 82 ปีแล้ว ต่อมารับหน้าที่เป็นผู้จัดการเรื่องราวจีปาถะ คุณเวินได้เริ่มเขียนโครงการต่างๆ เพื่อหาทุนมาจัดกิจกรรม และเพื่อต้องการให้ผู้สูงอายุที่มารับประทานอาหารร่วมกันได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ ของบจากกองวัฒนธรรมเมืองซินจู๋ ให้ผู้สูงอายุทำหมี่ที่เรียกว่า “หมี่ไถมู่米苔目” เพราะว่าหมี่ไถมู่เป็นบะหมี่ดั้งเดิมของชาวฮากกา และยังของบจากกองอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปรับปรุงสระน้ำที่มีอยู่เดิมให้เป็นสถานศึกษาระบบนิเวศ อีกทั้งยังของบจากรัฐบาลท้องถิ่นจัดตั้งสวนผักพอเพียง(知足園) เป็นต้น ปัจจุบัน ทางศูนย์มีการปรุงอาหารให้กับผู้สูงอายุสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ผักที่ปลูกได้ก็ยังมีเหลืออีก แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะจัดอาหารเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 5 วัน เพราะฉะนั้นผักที่ปลูกได้จึงไม่เพียงพอ ทางสมาคมจึงของบประมาณเพิ่มเพื่อทำสวนผักแห่งที่ 2
อาสาสมัครจัดอาหารให้กับผู้สูงอายุ
คุณเวินเหวินเจิ้งบอกว่า ความจริงเบื้องหลังความสำเร็จของการของบประมาณเพื่อใช้ในโครงการต่างๆ ไม่ใช่อยู่ที่ตัวเอง แต่อยู่ที่คุณไช่หรงฟู่(蔡榮富) ประธานกรรมการบริหารสมาคมต่างหาก คุณไช่หรงฟู่บอกว่า ช่วงการระบาดของโควิดที่ค่อนข้าง มีการจำกัดการรับประทานอาหารร่วมกัน เมื่อผู้สูงอายุเลิกเรียน ทุกคนจะต้องนำข้าวกล่องกลับไปทานที่บ้าน ช่วงที่แจกข้าวกล่อง หากใครไม่มารับ จะต้องฝากไปที่บ้าน ในช่วงเริ่มต้นของการจัดอาหารให้กับผู้สูงอายุในชุมชน จะซื้อผักจากตลาด แต่เนื่องจากต้องใช้ปริมาณมากและอีกประการหนึ่งคือต้องการผักราคาต่ำ จึงส่งผลต่อคุณภาพของผักบ้าง หลังจากที่เจ้าของที่ดินแซ่อู๋ทราบว่าทางชุมชนมีโครงการดีๆ แบบนี้ และประสบปัญหาการซื้อผัก จึงบริจาคที่ผืนหนึ่งให้กับชุมชนเพื่อใช้ในการปลูกผักอินทรีย์ ให้ผู้สูงอายุได้รับประทานผักที่ปลอดภัย นอกจากนี้ ยังมีเจ้าของที่แซ่หลิวบริจาคที่อีกผืนหนึ่งเพื่อใช้ปลูกผักเพิ่มอีกด้วย คุณไช่หรงฟู่บอกว่า เน่ยลี่เป็นชุมชุนเกษตร ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เคยเป็นเกษตรกรที่มีฝีมือมาก่อน แม้ปัจจุบันมือไม้ยังคล่องแคล่ว แต่เข่าไม่ค่อยแข็งแรงเพราะเคยตรากตรำมาก่อน เมื่อเขาเห็นอาสาสมัครต้องก้มโน้มตัวลง ต้องก้มๆเงยๆกำจัดวัชพืช ดังนั้น สวนผักพอเพียงแห่งที่ 2 จึงมีการออกแบบแปลงปลูกผักยกพื้น จะได้ไม่มีปัญหาปวดเอว ปวดหลัง แม้การออกแบบแปลงผักยกพื้นได้รับความนิยมในต่างประเทศไม่น้อย และในไต้หวันก็พบเห็นไม่น้อยเช่นกัน แต่ว่าที่ชุมเน่ยลี่ทำสวนผักยกพื้นให้เป็นรูปชาม เพื่อให้ผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นก็สามารถเด็ดผัก มีส่วนร่วมในกิจกรรมได้
ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรม
สวนผักพอเพียงตั้งอยู่เยื้องๆ กับศูนย์กิจกรรม มีความสะดวกมาก ไม่ว่าจะปลูกผักหรือการดูแลจัดการ หรือนำผักไปผัดเป็นอาหารให้กับผู้สูงอายุ นอกจากมีการขุดสระเพื่อเก็บกักน้ำไว้รดต้นผักแล้ว ภายในสวนผักยังมีจุดหมักปุ๋ยสำหรับใช้ปลูกผัก เพราะฉะนั้น ผักที่ปลูกได้จะปลอดสาร การที่คุณไช่หรงฟู่ตั้งชื่อสวนผักนี้ว่า “สวนผักพอเพียง-จือจู๋หยวน(知足園)” ก็เพราะต้องการปลูกผักไว้ใช้ในชุมชน ปลูกพอกินพอใช้นั่นเอง สำหรับแปลงผักที่ไม่ต้องก้มๆ เงยๆ หรือโค้งเอว แปลงผักเป็นรูปชามขนาดใหญ่ รอบๆ ที่เป็นรูปชามล้อมด้วยลำไผ่ที่เอียง 60 องศา เมื่อนั่งรถเข็นเข้าไปใกล้ๆ รถเข็นและเข่าของผู้สูงอายุจะไม่ถูกกีดขวาง เพียงแต่ยื่นมือออกไปเด็ดผักหรือถอนหญ้า ถือว่ามีความสะดวกมาก เจิงซิ่วหย่า(曾綉雅) อจ.แนะแนวโครงการปลูกผักของชุมชนเน่ยลี่บอกว่า มีหลายชุมชนที่นิยมปลูกผักบนแปลงที่ยกพื้นขึ้นสูงโดยไม่ต้องโค้งงอเอวและหลัง และแปลงปลูกผักเหล่านี้ยังเป็นแปลงปลูกผักที่นำผักมาให้ผู้สูงอายุรับประทานด้วย แต่ว่าส่วนใหญ่ไม่ได้ทำอย่างจริงจัง บางครั้งก็มีผัก บางครั้งก็ไม่มีผัก ช่วงที่ไม่มีผักก็มักจะซื้อผักจากตลาด แต่สำหรับชุมชนเน่ยลี่ ไม่เพียงแต่ปลูกผักเพียงพอต่อการบริโภคแล้ว ผลผลิตยังไม่เคยทิ้งช่วง ที่สำคัญ แปลงปลูกผักมีลักษณะเป็นชาม อำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรม ให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายไปด้วย อจ.เจิงบอกด้วยว่า ตอนที่รับโครงการใหม่ๆ คนในชุมชนยังไม่ค่อยสามัคคีเท่าไร เพราะว่าแต่ละคนมาจากพรรค มาจากพวกที่ต่างกัน แต่หลังจากที่ทุกคนรับโครงการและเริ่มบริหารไปแล้ว ผ่านไปช่วงหนึ่ง บรรยากาศค่อยๆ เริ่มดีขึ้น ทุกคนให้ความร่วมมือดี อจ.เจิงชี้ว่า โครงการจะสำเร็จหรือไม่ ตัวบุคคลเป็นสิ่งสำคัญมาก ส่วนแผนการ โครงการ การใช้สรอยพื้นที่มีความสำคัญรองลงมา หลังโพสต์ภาพการปลูกผักลงในกลุ่มไลน์หรือเฟซบุ๊ก ผู้ที่พบเห็นต่างถามว่า ชุมชนเน่ยลี่อยู่ที่ไหน ชุมชนเน่ยลี่เก่งมาก ทำให้ผู้รับผิดชอบปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง ที่น่าแปลกคือ ผู้รับผิดชอบแต่ละคน ต่างมอบความสำเร็จให้ผู้อื่น คือต่างฝ่ายต่างบอกว่าเป็นฝีมือของฝ่ายตรงข้าง เพราะฉะนั้น นักข่าวก็เลยแซวว่า ใช่จะคัดเลือกผู้นำสูงสุด สุดท้ายทุกคนที่ร่วมทำงานต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ความสำเร็จล้วนเป็นของหมู่คณะ”
สวนผักพอเพียง ปลูกเอง กินเอง ปลอดสาร ถูกสุขอนามัย
สร้างความสุขระยะยาวให้ผู้สูงอายุ ชุมชุนเน่ยลี่เมืองซินจู๋ ทำสวนผักพอเพียง ปลูกเองกินเอง
ที่ชุมชนเน่ยลี่ ตำบลซินผู่ เมืองซินจู๋ของไต้หวัน เป็นชุมชนที่คนส่วนใหญ่เป็นชาวฮากกา มีการใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย มีประชากรผู้สูงอายุมากกว่า 50 ปี ครองสัดส่วนสูงถึง 70% มีผู้สูงอายุมากกว่า 70ปีขึ้นไปครองสัดส่วนมากกว่า 30% แต่ว่าชุมชนแห่งนี้ก็ไม่ได้เงียบเหงาหรือซึมเศร้า ในทางตรงข้าม กลับมีอาสาสมัครกลุ่มหนึ่งที่มีอายุเฉลี่ย 60 ปี เป็นผู้นำที่ให้ผู้สูงอายุได้เรียนรู้การใช้ชีวิตประจำวัน จัดให้ผู้สูงอายุมีการรวมกลุ่มทานอาหารร่วมกัน มีการเรียนรู้สิ่งต่างๆ ร่วมกัน มีการจัดกิจกรรมไปเที่ยวร่วมกัน มีการสังสรรค์ร้องรำทำเพลงตีฆ้องตีกลอง จนผู้สูงอายุแต่ละคนมีชีวิตชีวา ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข แต่ละวันผ่านไปอย่างมีคุณค่า และล่าสุดทางชุมชนเน่ยลี่มีการจัดกิจกรรมปลูกผักสวนครัวไม่ต้องก้มๆเงยๆที่เรียกกันว่า “สวนผักไม่ต้องก้มๆ เงยๆ (เหมี่ยนวันเยาไช่หยวน-免彎腰菜園)” จนเป็นที่รู้จักของผู้คนหลายๆ ชุมชน
สวนผักไม่ต้องก้มๆ เงยๆ เหมาะกับผู้สูงวัย
เวินเหวินเจิ้ง(溫文正) ประธานสมาคมพัฒนาชุมชนเน่ยลี่บอกว่า ผู้สูงอายุร้องรำทำเพลง ตีฆ้องตีกลอง ถือเป็นเรื่องปกติ ในทุกปีที่มีการประกวดโคมไฟของเมืองซินจู๋ ชุมชนเน่ยลี่ได้รับรางวัลชนะเลิศทุกครั้ง ซึ่งสมาชิกที่เข้าร่วมประกวดล้วนเป็นผู้สูงอายุ และยังมีอาม่าวัย 92 ปี เคยเดินทางไปพร้อมกับสมาคม รายงานวิธีการทำเส้นหมี่ “หมี่ไถมู่-米苔目”ที่กองวัฒนธรรม แม้ชุมชุนเน่ยลี่จะมีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก แต่ใจของผู้สูงอายุเหล่านี้ยังหนุ่มยังสาว ขอเพียงสิ่งที่มีประโยชน์ต่อชุมชน ทุกคนจะให้ความร่วมมืออย่างดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการออกแรงกายหรือกำลังทรัพย์ มีอย่างเดียวคือกลัวแพ้ชุมชนอื่น และเพื่อเป็นการบริการให้กับผู้สูงอายุที่อยู่ในชุมชน ศูนย์กิจกรรมของชุมชนได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นศูนย์บริการความห่วงใย ในทุกสัปดาห์จะจัดให้ผู้สูงอายุรับประทานร่วมกัน 2 ครั้ง ในช่วงเริ่มต้น คุณแม่ของปธ.สมาคม มาเป็นอาสาสมัครก่อน คุณแม่ของเขาบอกว่า จริงๆ แล้วถ้าอยู่บ้านก็จะใช้เวลาส่วนใหญ่ดูทีวี ดูไปดูมา กลายเป็นทีวีดูคน ถ้าออกมาหาเพื่อนคุย เข้าครัวช่วยทำอาหารกล่องส่งมอบให้กับผู้สูงอายุน่าจะดีกว่า ทำงานกระฉับกระเฉง ช่วยจัดเตรียมกล่องให้ผู้สูงอายุครั้งละ 150 กล่องก็ไม่เหนื่อย ไม่น่าเชื่อว่า ปัจจุบันท่านมีอายุ 82 ปีแล้ว ต่อมารับหน้าที่เป็นผู้จัดการเรื่องราวจีปาถะ คุณเวินได้เริ่มเขียนโครงการต่างๆ เพื่อหาทุนมาจัดกิจกรรม และเพื่อต้องการให้ผู้สูงอายุที่มารับประทานอาหารร่วมกันได้มีโอกาสเรียนรู้สิ่งต่างๆ ของบประมาณจากกระทรวงสาธารณสุขและสวัสดิการ ของบจากกองวัฒนธรรมเมืองซินจู๋ ให้ผู้สูงอายุทำหมี่ที่เรียกว่า “หมี่ไถมู่米苔目” เพราะว่าหมี่ไถมู่เป็นบะหมี่ดั้งเดิมของชาวฮากกา และยังของบจากกองอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ปรับปรุงสระน้ำที่มีอยู่เดิมให้เป็นสถานศึกษาระบบนิเวศ อีกทั้งยังของบจากรัฐบาลท้องถิ่นจัดตั้งสวนผักพอเพียง(知足園) เป็นต้น ปัจจุบัน ทางศูนย์มีการปรุงอาหารให้กับผู้สูงอายุสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ผักที่ปลูกได้ก็ยังมีเหลืออีก แต่อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะจัดอาหารเพิ่มเป็นสัปดาห์ละ 5 วัน เพราะฉะนั้นผักที่ปลูกได้จึงไม่เพียงพอ ทางสมาคมจึงของบประมาณเพิ่มเพื่อทำสวนผักแห่งที่ 2
อาสาสมัครจัดอาหารให้กับผู้สูงอายุ
คุณเวินเหวินเจิ้งบอกว่า ความจริงเบื้องหลังความสำเร็จของการของบประมาณเพื่อใช้ในโครงการต่างๆ ไม่ใช่อยู่ที่ตัวเอง แต่อยู่ที่คุณไช่หรงฟู่(蔡榮富) ประธานกรรมการบริหารสมาคมต่างหาก คุณไช่หรงฟู่บอกว่า ช่วงการระบาดของโควิดที่ค่อนข้าง มีการจำกัดการรับประทานอาหารร่วมกัน เมื่อผู้สูงอายุเลิกเรียน ทุกคนจะต้องนำข้าวกล่องกลับไปทานที่บ้าน ช่วงที่แจกข้าวกล่อง หากใครไม่มารับ จะต้องฝากไปที่บ้าน ในช่วงเริ่มต้นของการจัดอาหารให้กับผู้สูงอายุในชุมชน จะซื้อผักจากตลาด แต่เนื่องจากต้องใช้ปริมาณมากและอีกประการหนึ่งคือต้องการผักราคาต่ำ จึงส่งผลต่อคุณภาพของผักบ้าง หลังจากที่เจ้าของที่ดินแซ่อู๋ทราบว่าทางชุมชนมีโครงการดีๆ แบบนี้ และประสบปัญหาการซื้อผัก จึงบริจาคที่ผืนหนึ่งให้กับชุมชนเพื่อใช้ในการปลูกผักอินทรีย์ ให้ผู้สูงอายุได้รับประทานผักที่ปลอดภัย นอกจากนี้ ยังมีเจ้าของที่แซ่หลิวบริจาคที่อีกผืนหนึ่งเพื่อใช้ปลูกผักเพิ่มอีกด้วย คุณไช่หรงฟู่บอกว่า เน่ยลี่เป็นชุมชุนเกษตร ผู้สูงอายุส่วนใหญ่เคยเป็นเกษตรกรที่มีฝีมือมาก่อน แม้ปัจจุบันมือไม้ยังคล่องแคล่ว แต่เข่าไม่ค่อยแข็งแรงเพราะเคยตรากตรำมาก่อน เมื่อเขาเห็นอาสาสมัครต้องก้มโน้มตัวลง ต้องก้มๆเงยๆกำจัดวัชพืช ดังนั้น สวนผักพอเพียงแห่งที่ 2 จึงมีการออกแบบแปลงปลูกผักยกพื้น จะได้ไม่มีปัญหาปวดเอว ปวดหลัง แม้การออกแบบแปลงผักยกพื้นได้รับความนิยมในต่างประเทศไม่น้อย และในไต้หวันก็พบเห็นไม่น้อยเช่นกัน แต่ว่าที่ชุมเน่ยลี่ทำสวนผักยกพื้นให้เป็นรูปชาม เพื่อให้ผู้สูงอายุที่นั่งรถเข็นก็สามารถเด็ดผัก มีส่วนร่วมในกิจกรรมได้
ให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรม
สวนผักพอเพียงตั้งอยู่เยื้องๆ กับศูนย์กิจกรรม มีความสะดวกมาก ไม่ว่าจะปลูกผักหรือการดูแลจัดการ หรือนำผักไปผัดเป็นอาหารให้กับผู้สูงอายุ นอกจากมีการขุดสระเพื่อเก็บกักน้ำไว้รดต้นผักแล้ว ภายในสวนผักยังมีจุดหมักปุ๋ยสำหรับใช้ปลูกผัก เพราะฉะนั้น ผักที่ปลูกได้จะปลอดสาร การที่คุณไช่หรงฟู่ตั้งชื่อสวนผักนี้ว่า “สวนผักพอเพียง-จือจู๋หยวน(知足園)” ก็เพราะต้องการปลูกผักไว้ใช้ในชุมชน ปลูกพอกินพอใช้นั่นเอง สำหรับแปลงผักที่ไม่ต้องก้มๆ เงยๆ หรือโค้งเอว แปลงผักเป็นรูปชามขนาดใหญ่ รอบๆ ที่เป็นรูปชามล้อมด้วยลำไผ่ที่เอียง 60 องศา เมื่อนั่งรถเข็นเข้าไปใกล้ๆ รถเข็นและเข่าของผู้สูงอายุจะไม่ถูกกีดขวาง เพียงแต่ยื่นมือออกไปเด็ดผักหรือถอนหญ้า ถือว่ามีความสะดวกมาก เจิงซิ่วหย่า(曾綉雅) อจ.แนะแนวโครงการปลูกผักของชุมชนเน่ยลี่บอกว่า มีหลายชุมชนที่นิยมปลูกผักบนแปลงที่ยกพื้นขึ้นสูงโดยไม่ต้องโค้งงอเอวและหลัง และแปลงปลูกผักเหล่านี้ยังเป็นแปลงปลูกผักที่นำผักมาให้ผู้สูงอายุรับประทานด้วย แต่ว่าส่วนใหญ่ไม่ได้ทำอย่างจริงจัง บางครั้งก็มีผัก บางครั้งก็ไม่มีผัก ช่วงที่ไม่มีผักก็มักจะซื้อผักจากตลาด แต่สำหรับชุมชนเน่ยลี่ ไม่เพียงแต่ปลูกผักเพียงพอต่อการบริโภคแล้ว ผลผลิตยังไม่เคยทิ้งช่วง ที่สำคัญ แปลงปลูกผักมีลักษณะเป็นชาม อำนวยความสะดวกให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วมในกิจกรรม ให้ผู้สูงอายุได้ออกกำลังกายไปด้วย อจ.เจิงบอกด้วยว่า ตอนที่รับโครงการใหม่ๆ คนในชุมชนยังไม่ค่อยสามัคคีเท่าไร เพราะว่าแต่ละคนมาจากพรรค มาจากพวกที่ต่างกัน แต่หลังจากที่ทุกคนรับโครงการและเริ่มบริหารไปแล้ว ผ่านไปช่วงหนึ่ง บรรยากาศค่อยๆ เริ่มดีขึ้น ทุกคนให้ความร่วมมือดี อจ.เจิงชี้ว่า โครงการจะสำเร็จหรือไม่ ตัวบุคคลเป็นสิ่งสำคัญมาก ส่วนแผนการ โครงการ การใช้สรอยพื้นที่มีความสำคัญรองลงมา หลังโพสต์ภาพการปลูกผักลงในกลุ่มไลน์หรือเฟซบุ๊ก ผู้ที่พบเห็นต่างถามว่า ชุมชนเน่ยลี่อยู่ที่ไหน ชุมชนเน่ยลี่เก่งมาก ทำให้ผู้รับผิดชอบปลาบปลื้มเป็นอย่างยิ่ง ที่น่าแปลกคือ ผู้รับผิดชอบแต่ละคน ต่างมอบความสำเร็จให้ผู้อื่น คือต่างฝ่ายต่างบอกว่าเป็นฝีมือของฝ่ายตรงข้าง เพราะฉะนั้น นักข่าวก็เลยแซวว่า ใช่จะคัดเลือกผู้นำสูงสุด สุดท้ายทุกคนที่ร่วมทำงานต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า “ความสำเร็จล้วนเป็นของหมู่คณะ”
สวนผักพอเพียง ปลูกเอง กินเอง ปลอดสาร ถูกสุขอนามัย