ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 27 ก.พ.2567


Listen Later

   ปลาโนโดกุโระ(Nodoguro) หรือ ปลากะพงสีชมพูจากญี่ปุ่น (Rosy Seabass) ฉายา “เพชรพลอยสีแดงแห่งทะเลญี่ปุ่น” เป็นปลาทะเลน้ำลึกราคาแพง เนื้อละเอียด รสชาติอร่อย จางจิ่นอี๋(張錦宜) ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยการประมง กล่าวว่า เนื่องจากปลาโนโดกุโระเป็นปลาทะเลที่อาศัยอยู่ในน้ำลึกถึง 400 เมตร มีรสชาติดี ไม่เพียงแต่ใช้ทำซูชิระดับไฮเอนด์ในญี่ปุ่นเท่านั้น แม้แต่ไต้หวันก็มีราคาแพงมากเช่นกัน ราคาเฉลี่ยจากแหล่งผลิตอยู่ที่ 1,400-1,700 เหรียญไต้หวันต่อกิโลกรัม หรืออาจแพงถึง 2,000 เหรียญไต้หวันต่อกิโลกรัมก็ยังมี แต่เนื่องจากเป็นปลาทะเลน้ำลึก ความกดดันบรรยากาศในน้ำลึกและเหนือพื้นผิวน้ำมีความแตกต่างกัน เพราะฉะนั้นการผสมเทียมระดับเหนือน้ำจึงทำได้ยาก ทางสถาบันวิจัยการประมงได้ร่วมมือกับชาวประมง ใช้ช่วงที่ปลาโนโดกุโระแหวกว่ายขึ้นไปผสมพันธุ์บริเวณน้ำลึก 200 เมตรในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม ตกปลาตัวผู้และตัวเมียเพื่อทำการผสมพันธุ์บนผิวน้ำ จากนั้นนำไปเพาะเลี้ยงที่ศูนย์วิจัยการประมงตงกั่ง สามารถเลี้ยงจนได้ลูกปลาสำเร็จ หลังจากนี้จะก้าวสู่การเพาะเลี้ยงและผสมเทียมต่อไป หากทำได้สำเร็จก็จะกลายเป็นรายแรกของโลก

ไต้หวันประสบความสำเร็จเพาะ “ลูกปลาโนโดกุโระ”

  องจิ้นซิง(翁進興) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยชีววิทยาการประมงชายฝั่ง ชี้ว่า ความลึกของน้ำทุกๆ 10 เมตรเท่ากับความกดดัน 1 บรรยากาศ ดังนั้นน้ำทะเลที่มีความลึก 400 เมตร กับความลึก 200 เมตรจึงมีความกดดันบรรยากาศต่างกัน 1 เท่า เพราะฉะนั้นปลาที่ตกขึ้นถึงผิวน้ำจึงต้องพักประมาณ 1 - 2 วัน หรืออาจใช้เวลาหลายวันจึงจะปรับตัวได้ หากปลาปรับตัวไม่ได้ ตาก็จะโปนออกมาและตาย ดังนั้นการมุ่งเน้นวิจัยเทคโนโลยีการผสมพันธุ์เทียมปลาที่ตกได้จากน้ำลึก 200 เมตรจะสามารถช่วยเพิ่มอัตราการรอดชีวิตได้

ไต้หวันประสบความสำเร็จเพาะ “ลูกปลาโนโดกุโระ”

   ขณะนี้ไต้หวันได้จับปลาโนโดกุโระจากทะเลแล้วนำมาเพาะเลี้ยงจนได้ลูกปลาสำเร็จแล้ว นับเป็นรายที่ 2 ของโลกต่อจากญี่ปุ่น ซึ่งทางสถาบันวิจัยการประมง( Fisheries Research Institute) แถลงว่าขณะนี้ลูกปลาโนโดกุโระที่เพาะเลี้ยงได้มีอัตราสำเร็จ 1% คาดว่าสามารถเลี้ยงโตได้เร็วที่สุดภายใน 3 ปี และจะท้าทายเทคโนโลยีการผสมพันธุ์เทียมรายแรกของโลก ซึ่งในงานแถลงข่าวยังได้จัดแสดงลูกปลาโนโดกุโระที่มีความยาวของลำตัวขนาด 6 ซม. และยังบอกด้วยว่าเนื่องจากอุณหภูมิในไต้หวันอุ่นกว่าญี่ปุ่น ลูกปลาที่มีความยาว 5 ซม.ใช้เวลาเลี้ยงประมาณ 80 วัน ขณะที่ญี่ปุ่นต้องใช้เวลาเลี้ยง 90 กว่าวัน

  หลี่เยี่ยนหง(李彥宏) ผู้ช่วยนักวิจัยที่ศูนย์วิจัยตงกั่ง บอกว่า ปัจจุบันไข่ปลาโนโดกุโระที่นำมาผสมเทียมมีประมาณ 50,000 ฟอง แต่กลายเป็นลูกปลาที่มีความยาวลำตัว 6 ซม.เพียง 500 ตัว ซึ่งเท่ากับอัตราการได้รับการปฏิสนธิ 1% จากนั้นจะใช้เวลาเลี้ยงต่ออีก 3 ปีเป็นปลาวัยเจริญพันธุ์แล้วทำการผสมเทียมต่อ หากมีความราบรื่นจะถ่ายโอนสิทธิ์ให้เอกชนเพาะเลี้ยง คาดว่าจะใช้เวลาอีก 3 ปีก็สามารถเลี้ยงขายสู่ท้องตลาดได้

ไต้หวันประสบความสำเร็จเพาะ “ลูกปลาโนโดกุโระ”

   นอกจากนี้ ยังวางแผนว่าในปีหน้าจะปล่อยลูกปลาที่เพาะเลี้ยงได้กลับสู่ท้องทะเล 10,000 ตัวเหมือนประเทศญี่ปุ่นด้วย ทั้งนี้ หลังจากที่ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีการขยายพันธุ์เทียมปลาโนโดกุโระในปี 2013 แล้ว ตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ก็มีการปล่อยลูกปลาลงอ่าวโทยามะ(Toyama Bay)ทุกปี และตั้งแต่ปี 2016 ถึงปี 2019 ได้ปล่อยลูกปลาสะสมแล้วเกือบ 90,000 ตัว ส่วนในปี 2022 ได้ปล่อยลูกปลาสูงสุดเป็นประวัติการณ์ จำนวน 59,000 ตัว นับเป็นการเพิ่มทรัพยากรประมงชายฝั่งของญี่ปุ่นได้อย่างมาก

 

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti