
Sign up to save your podcasts
Or
ส้มจี๊ดผลรูปไข่(จินเจ่า-金棗) เป็นพืชตระกูลส้มชนิดเดียวที่กินสดได้ทั้งเปลือก
ส้มจี๊ดผลรูปไข่ (Oval kumquat) ภาษาจีนเรียกว่า “จินเจ่า金棗”จัดอยู่ในวงศ์ส้ม เป็นพืชตระกูลเดียวกับมะนาว ส้มโอ ส้มเขียวหวาน แต่เป็นส้มชนิดเดียวเท่านั้นที่กินสดได้ทั้งเปลือก โดย 80% ของวิตามินซีอยู่ที่เปลือกส้ม และยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงสดในบรรดาส้มชนิดต่างๆ ด้วย ชาวยุโรปและชาวญี่ปุ่นชอบรับประทานส้มจี๊ดของไต้หวันมาก ในทางตรงข้ามตลาดในไต้หวันกลับได้รับความนิยมน้อยลง คนรุ่นใหม่อาจจะเห็นกระถางส้มจี๊ดที่ส่งมอบเป็นของขวัญในช่วงเทศกาลตรุษจีน หรือไม่ก็เห็นส้มจี๊ดใส่ในชาที่ขายในร้านเครื่องดื่มเขย่า ซึ่งต้องบอกว่าที่วัยรุ่นเห็นนั้นล้วนเป็นส้มจี๊ดผลกลม ไม่ใช่ส้มจี๊ดรูปทรงไข่ที่กำลังพูดถึงในขณะนี้ ดังนั้นเกษตรกรปลูกส้มจี๊ดผลรูปไข่จึงน้อยลงไปเรื่อยๆ ผลผลิตในยุครุ่งเรืองประมาณ 5,000 ตันต่อปี แต่ตอนนี้เหลือเพียง 1,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ เกษตรกรที่ปลูกส้มจี๊ดรูปทรงไข่ส่วนใหญ่อายุเยอะ และยังต้องเจอปัญหาไม่มีผู้สืบทอดกิจการ และเพื่อต้องการฟื้นฟูธุรกิจที่เกี่ยวกับส้มจี๊ดรูปทรงไข่ให้เป็นที่รู้จัก โรงงานแปรรูปส้มจี๊ด “กวงหยาง”ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไต้หวันได้ร่วมมือกับเกษตรกรในท้องถิ่น สร้างสรรค์ธุรกิจแบบดั้งเดิม เป็นผู้นำตัวอย่างสกัดน้ำมันหอมระเหยจากส้มจี๊ดเพื่อใช้ทำผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังร่วมมือกับเกษตรกรที่ปลูกข้าว ใช้เวลาว่างจากการปลูกข้าวหารายได้เสริมด้วยการดูแลสวนส้มจี๊ด การทำเช่นนี้ได้ทำให้เขตพื้นที่ต้าหูของตำบลหยวนซาน(員山大湖地區) ที่เป็นแหล่งปลูกส้มจี๊ดที่สำคัญมีผู้ดูแลสวนส้ม และยังทำให้กับเกษตรกรสูงอายุสวนส้มจี๊ดกว่า 70 คนมีรายได้ต่อไปด้วย
ส้มจี๊ดผลรูปไข่พืชตระกูลส้มชนิดเดียวที่กินสดได้ทั้งเปลือก
การปลูกส้มจี๊ดในไต้หวัน มีการนำพันธุ์มาจากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนเมื่อประมาณ 200 ปีก่อน ส้มจี๊ดเป็นพืชที่เหมาะในการปลูกในพื้นที่เชิงเขาและพื้นที่ที่ไม่มีน้ำขัง มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ สำหรับในไต้หวันพื้นที่แบบนี้จะอยู่ที่เมืองอี๋หลาน ครองสัดส่วนการปลูกสูงถึง 90% ในจำนวนนี้กว่าครึ่งปลูกในพื้นที่เขตต้าหูของตำบลหยวนซาน ปัจจุบันเกษตรกรที่ปลูกส้มจี๊ดในเขตต้าหูมี 70 กว่าคนที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป และอายุ 90 ปีก็ยังมี พวกเขาเหล่านี้ผ่านยุคทองของส้มจี๊ดและปัจจุบันก็ยังดูแลสวนส้มจี๊ดอยู่
ส้มจี๊ดแช่อิ่ม
เฉินฉางเกิง(陳長庚) ซึ่งเป็นปู่ของเฉินอี่เพ่ย(陳苡佩) เกษตรกรปลูกส้มจี๊ดสืบทอดรุ่นต่อรุ่น ปัจจุบันอายุ 88 ปีบอกว่า ส้มจี๊ดขายเป็นผลไม้สดมีขีดจำกัด เมื่อ 50 ปีก่อนที่มีผลิตผลมาก แต่ความต้องการของตลาดไม่มาก เพราะฉะนั้นจึงต้องนำส้มจี๊ดแปรรูปเป็นผลไม้แช่อิ่ม เหตุผลประการที่หนึ่งคือเป็นการยืดอายุการเก็บรักษา ส่วนประการที่ 2 คือ เป็นการเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร ดังนั้นคุณปู่ของเธอได้ร่วมมือกับเกษตรกรจัดตั้งโรงงานแปรรูปอาหารกวงหยาง(光陽食品) หลังจากที่เฉินซือหาง(陳思行)ซึ่งเป็นคุณพ่อของเธอรับกิจการต่อ ก็เริ่มขยายตลาดต่างประเทศ เป็นผู้นำธุรกิจการแปรรูปส้มจี๊ด และยังทำให้การปลูกส้มจี๊ดของเมืองอี๋หลานกับมารุ่งเรืองอีกครั้ง มีโรงงานแปรรูปผลไม้เกิดขึ้นในเมืองอี๋หลานมากมาย ส่งขายต่างประเทศและในประเทศ กลายเป็นยุคทองของส้มจี๊ด มีผลผลิตสูงถึง 5,000 ตันต่อปี ซึ่งตลาดส่งออกหลักของส้มจี๊ดแช่อิ่มคือประเทศญี่ปุ่นและประเทศในยุโรป แต่ว่าผู้บริโภคทั้งสองจะมีวิธีการรับประทานส้มจี๊ดแช่อิ่มที่ไม่เหมือนกัน สำหรับในญี่ปุ่นนั้น ผู้สูงอายุชอบนำส้มจี๊ดแช่อิ่มมาชงชา โดยเลือกใช้ชาเขียวชา ชาเขียวเซนชะ(Sencha) หรือชาเขียวข้าวคั่วที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า "เก็นไมฉะ"(Genmaicha) ซึ่งเป็นชาที่มีรสชาติไม่เข้มข้นชงดื่มกับส้มจี๊ดแช่อิ่ม เพื่อปรับสภาพร่างกายและจิตใจ ส่วนคนยุโรป อย่างคนเยอรมัน คนฮอลแลนด์ หรือคนอิตาลีที่ชอบอาหารหวานมักจะนำส้มจี๊ดแช่อิ่มที่เชื่อมด้วยน้ำตาลจิ้มกับช็อกโกแลตขม ทำให้รสชาติของส้มจี๊ดหวานปนขม ถือเป็นอาหารหวานเกรดพรีเมียม นอกจากนี้ ยังมีคนนำส้มจี๊ดแช่อิ่มเป็นวัตถุดิบในการทำขนมปัง ขนมเค้ก แครกเกอร์ เป็นอาหารหวานที่สามารถหาได้ในร้านเบเกอรีประเทศทางยุโรป ส่วนในไต้หวันแม้ผู้คนไม่ชอบรับประทานส้มจี๊ดแช่อิ่มเหมือนในสมัยก่อน แต่ว่าโรงงานแปรรูปกวงหยางก็ยังคงมีการส่งออกส้มจี๊ดแช่อิ่มในปริมาณคงที่ สามารถรับซื้อประกันราคาส้มจี๊ดกับเกษตรกรที่ปลูกได้ทั้งปี
ชาวยุโรปนำส้มจี๊ดแช่อิ่มจิ้มช็อกโกเเลตขม รสชาติขมหวานเปรี้ยว
การประกอบกิจการไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด ธุรกิจที่ต้องเผชิญมากที่สุดใช่ว่าไม่สามารถเจาะตลาดวัยรุ่นได้ แต่เป็นเพราะว่าเกษตรกรสูงอายุไม่สามารถทำการเพาะปลูกต่อไป มีเกษตรกรคนหนึ่งอายุ 94 ปีที่แล้วยังสามารถทำงานได้ แต่อีกปีก็ไม่สามารถทำงานได้แล้ว ยังมีต้นส้มจี๊ดแกอยู่ 200 กว่าต้นจำเป็นต้องหาผู้สืบทอด และเกษตรกรในเขตต้าหูที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปมีมากกว่า 70 คน ถ้าสักวันหนึ่งเขาเสียชีวิตไปต้นส้มจี๊ดก็คงต้องเหี่ยวแห้งไปเช่นกัน เพราะฉะนั้น เฉินอี่เพ่ยจึงร่วมมือกับไล่ชิงซง ผู้ก่อตั้งกู่ตงคลับ(穀東俱樂部 ) หวังดึงดูดเยาวชนรุ่นใหม่สืบทอดธุรกิจการปลูกส้มจี๊ด ซึ่งการเก็บเกี่ยวส้มจี๊ดเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมจนถึงหลังตรุษจีน เป็นช่วงเดียวกับที่ว่างจากการปลูกข้าว การดูแลส้มจี๊ดนอกจากเดือนมีนาคมช่วงออกดอกแล้ว ในช่วงปกติที่ต้องตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย กำจัดแมลง งานไม่หนักและไม่ยุ่งมาก เยาวชนที่เป็นเกษตรกรของกู่ตงคลับไม่ต้องดูแลอะไรมาก และยังมีรายได้เสริม ทำให้การปลูกข้าวและปลูกส้มจี๊ดของเมืองอี๋หลานก็ยังคงต่อไป ถือเป็นชัยชนะทั้ง 2 อย่าง
แยมส้มจี๊ดที่ได้รับรางวัล The World_s Original Marmalade Awards ปี 2019
ส้มจี๊ดผลรูปไข่(จินเจ่า-金棗) เป็นพืชตระกูลส้มชนิดเดียวที่กินสดได้ทั้งเปลือก
ส้มจี๊ดผลรูปไข่ (Oval kumquat) ภาษาจีนเรียกว่า “จินเจ่า金棗”จัดอยู่ในวงศ์ส้ม เป็นพืชตระกูลเดียวกับมะนาว ส้มโอ ส้มเขียวหวาน แต่เป็นส้มชนิดเดียวเท่านั้นที่กินสดได้ทั้งเปลือก โดย 80% ของวิตามินซีอยู่ที่เปลือกส้ม และยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงสดในบรรดาส้มชนิดต่างๆ ด้วย ชาวยุโรปและชาวญี่ปุ่นชอบรับประทานส้มจี๊ดของไต้หวันมาก ในทางตรงข้ามตลาดในไต้หวันกลับได้รับความนิยมน้อยลง คนรุ่นใหม่อาจจะเห็นกระถางส้มจี๊ดที่ส่งมอบเป็นของขวัญในช่วงเทศกาลตรุษจีน หรือไม่ก็เห็นส้มจี๊ดใส่ในชาที่ขายในร้านเครื่องดื่มเขย่า ซึ่งต้องบอกว่าที่วัยรุ่นเห็นนั้นล้วนเป็นส้มจี๊ดผลกลม ไม่ใช่ส้มจี๊ดรูปทรงไข่ที่กำลังพูดถึงในขณะนี้ ดังนั้นเกษตรกรปลูกส้มจี๊ดผลรูปไข่จึงน้อยลงไปเรื่อยๆ ผลผลิตในยุครุ่งเรืองประมาณ 5,000 ตันต่อปี แต่ตอนนี้เหลือเพียง 1,000 ตันต่อปี นอกจากนี้ เกษตรกรที่ปลูกส้มจี๊ดรูปทรงไข่ส่วนใหญ่อายุเยอะ และยังต้องเจอปัญหาไม่มีผู้สืบทอดกิจการ และเพื่อต้องการฟื้นฟูธุรกิจที่เกี่ยวกับส้มจี๊ดรูปทรงไข่ให้เป็นที่รู้จัก โรงงานแปรรูปส้มจี๊ด “กวงหยาง”ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไต้หวันได้ร่วมมือกับเกษตรกรในท้องถิ่น สร้างสรรค์ธุรกิจแบบดั้งเดิม เป็นผู้นำตัวอย่างสกัดน้ำมันหอมระเหยจากส้มจี๊ดเพื่อใช้ทำผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังร่วมมือกับเกษตรกรที่ปลูกข้าว ใช้เวลาว่างจากการปลูกข้าวหารายได้เสริมด้วยการดูแลสวนส้มจี๊ด การทำเช่นนี้ได้ทำให้เขตพื้นที่ต้าหูของตำบลหยวนซาน(員山大湖地區) ที่เป็นแหล่งปลูกส้มจี๊ดที่สำคัญมีผู้ดูแลสวนส้ม และยังทำให้กับเกษตรกรสูงอายุสวนส้มจี๊ดกว่า 70 คนมีรายได้ต่อไปด้วย
ส้มจี๊ดผลรูปไข่พืชตระกูลส้มชนิดเดียวที่กินสดได้ทั้งเปลือก
การปลูกส้มจี๊ดในไต้หวัน มีการนำพันธุ์มาจากทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนเมื่อประมาณ 200 ปีก่อน ส้มจี๊ดเป็นพืชที่เหมาะในการปลูกในพื้นที่เชิงเขาและพื้นที่ที่ไม่มีน้ำขัง มีปริมาณน้ำฝนเพียงพอ สำหรับในไต้หวันพื้นที่แบบนี้จะอยู่ที่เมืองอี๋หลาน ครองสัดส่วนการปลูกสูงถึง 90% ในจำนวนนี้กว่าครึ่งปลูกในพื้นที่เขตต้าหูของตำบลหยวนซาน ปัจจุบันเกษตรกรที่ปลูกส้มจี๊ดในเขตต้าหูมี 70 กว่าคนที่มีอายุมากกว่า 70 ปีขึ้นไป และอายุ 90 ปีก็ยังมี พวกเขาเหล่านี้ผ่านยุคทองของส้มจี๊ดและปัจจุบันก็ยังดูแลสวนส้มจี๊ดอยู่
ส้มจี๊ดแช่อิ่ม
เฉินฉางเกิง(陳長庚) ซึ่งเป็นปู่ของเฉินอี่เพ่ย(陳苡佩) เกษตรกรปลูกส้มจี๊ดสืบทอดรุ่นต่อรุ่น ปัจจุบันอายุ 88 ปีบอกว่า ส้มจี๊ดขายเป็นผลไม้สดมีขีดจำกัด เมื่อ 50 ปีก่อนที่มีผลิตผลมาก แต่ความต้องการของตลาดไม่มาก เพราะฉะนั้นจึงต้องนำส้มจี๊ดแปรรูปเป็นผลไม้แช่อิ่ม เหตุผลประการที่หนึ่งคือเป็นการยืดอายุการเก็บรักษา ส่วนประการที่ 2 คือ เป็นการเพิ่มรสชาติให้กับอาหาร ดังนั้นคุณปู่ของเธอได้ร่วมมือกับเกษตรกรจัดตั้งโรงงานแปรรูปอาหารกวงหยาง(光陽食品) หลังจากที่เฉินซือหาง(陳思行)ซึ่งเป็นคุณพ่อของเธอรับกิจการต่อ ก็เริ่มขยายตลาดต่างประเทศ เป็นผู้นำธุรกิจการแปรรูปส้มจี๊ด และยังทำให้การปลูกส้มจี๊ดของเมืองอี๋หลานกับมารุ่งเรืองอีกครั้ง มีโรงงานแปรรูปผลไม้เกิดขึ้นในเมืองอี๋หลานมากมาย ส่งขายต่างประเทศและในประเทศ กลายเป็นยุคทองของส้มจี๊ด มีผลผลิตสูงถึง 5,000 ตันต่อปี ซึ่งตลาดส่งออกหลักของส้มจี๊ดแช่อิ่มคือประเทศญี่ปุ่นและประเทศในยุโรป แต่ว่าผู้บริโภคทั้งสองจะมีวิธีการรับประทานส้มจี๊ดแช่อิ่มที่ไม่เหมือนกัน สำหรับในญี่ปุ่นนั้น ผู้สูงอายุชอบนำส้มจี๊ดแช่อิ่มมาชงชา โดยเลือกใช้ชาเขียวชา ชาเขียวเซนชะ(Sencha) หรือชาเขียวข้าวคั่วที่คนญี่ปุ่นเรียกว่า "เก็นไมฉะ"(Genmaicha) ซึ่งเป็นชาที่มีรสชาติไม่เข้มข้นชงดื่มกับส้มจี๊ดแช่อิ่ม เพื่อปรับสภาพร่างกายและจิตใจ ส่วนคนยุโรป อย่างคนเยอรมัน คนฮอลแลนด์ หรือคนอิตาลีที่ชอบอาหารหวานมักจะนำส้มจี๊ดแช่อิ่มที่เชื่อมด้วยน้ำตาลจิ้มกับช็อกโกแลตขม ทำให้รสชาติของส้มจี๊ดหวานปนขม ถือเป็นอาหารหวานเกรดพรีเมียม นอกจากนี้ ยังมีคนนำส้มจี๊ดแช่อิ่มเป็นวัตถุดิบในการทำขนมปัง ขนมเค้ก แครกเกอร์ เป็นอาหารหวานที่สามารถหาได้ในร้านเบเกอรีประเทศทางยุโรป ส่วนในไต้หวันแม้ผู้คนไม่ชอบรับประทานส้มจี๊ดแช่อิ่มเหมือนในสมัยก่อน แต่ว่าโรงงานแปรรูปกวงหยางก็ยังคงมีการส่งออกส้มจี๊ดแช่อิ่มในปริมาณคงที่ สามารถรับซื้อประกันราคาส้มจี๊ดกับเกษตรกรที่ปลูกได้ทั้งปี
ชาวยุโรปนำส้มจี๊ดแช่อิ่มจิ้มช็อกโกเเลตขม รสชาติขมหวานเปรี้ยว
การประกอบกิจการไม่ได้ราบรื่นอย่างที่คิด ธุรกิจที่ต้องเผชิญมากที่สุดใช่ว่าไม่สามารถเจาะตลาดวัยรุ่นได้ แต่เป็นเพราะว่าเกษตรกรสูงอายุไม่สามารถทำการเพาะปลูกต่อไป มีเกษตรกรคนหนึ่งอายุ 94 ปีที่แล้วยังสามารถทำงานได้ แต่อีกปีก็ไม่สามารถทำงานได้แล้ว ยังมีต้นส้มจี๊ดแกอยู่ 200 กว่าต้นจำเป็นต้องหาผู้สืบทอด และเกษตรกรในเขตต้าหูที่มีอายุ 70 ปีขึ้นไปมีมากกว่า 70 คน ถ้าสักวันหนึ่งเขาเสียชีวิตไปต้นส้มจี๊ดก็คงต้องเหี่ยวแห้งไปเช่นกัน เพราะฉะนั้น เฉินอี่เพ่ยจึงร่วมมือกับไล่ชิงซง ผู้ก่อตั้งกู่ตงคลับ(穀東俱樂部 ) หวังดึงดูดเยาวชนรุ่นใหม่สืบทอดธุรกิจการปลูกส้มจี๊ด ซึ่งการเก็บเกี่ยวส้มจี๊ดเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมจนถึงหลังตรุษจีน เป็นช่วงเดียวกับที่ว่างจากการปลูกข้าว การดูแลส้มจี๊ดนอกจากเดือนมีนาคมช่วงออกดอกแล้ว ในช่วงปกติที่ต้องตัดแต่งกิ่ง ใส่ปุ๋ย กำจัดแมลง งานไม่หนักและไม่ยุ่งมาก เยาวชนที่เป็นเกษตรกรของกู่ตงคลับไม่ต้องดูแลอะไรมาก และยังมีรายได้เสริม ทำให้การปลูกข้าวและปลูกส้มจี๊ดของเมืองอี๋หลานก็ยังคงต่อไป ถือเป็นชัยชนะทั้ง 2 อย่าง
แยมส้มจี๊ดที่ได้รับรางวัล The World_s Original Marmalade Awards ปี 2019