
Sign up to save your podcasts
Or
ตกรางวัล! รัฐให้เงินอุดหนุนเก็บไข่มวนลำไย ศัตรูสำคัญที่สุดของลิ้นจี่และลำไย มีแม่บ้านเมืองจางฮั่วเก็บไข่มวนลำไยกว่า 30,000 แผ่น ภายใน 1 เดือน รับไปเหนาะๆ 150,000 เหรียญไต้หวัน
เพื่อทำลายศัตรูพืชของลิ้นจี่และลำไยที่สำคัญซึ่งก็คือมวนลำไยหรือแมงแคงที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกร รัฐบาลท้องถิ่นหลายเมืองหลายจังหวัดที่ปลูกลำไยและลิ้นจี่ในไต้หวัน อย่างเช่น เมืองไทจง จางฮั่ว หนานโถว หยุนหลิน เกาสง ต่างงัดกลยุทธ์ให้รางวัลกับผู้ที่เก็บไข่มวนลำไย ซึ่งโครงการนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม มีการกำหนดว่า ถ้าเก็บใบลิ้นจี่หรือลำไย 1 แผ่น ที่มีไข่มวนลำไยตั้งแต่ 14 ฟองขึ้นไป จะจ่ายเงินค่าตอบแทน 5 เหรียญไต้หวัน ปรากฏว่าชาวบ้านแห่กันไปเก็บไข่มวนลำไยอย่างล้นหลามจนเกินคาด เกินงบประมาณของรัฐจนทำให้ต้องหยุดโครงการให้เงินอุดหนุน
มวนลำไยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่มเรียงยาวเป็นแถวประมาณ 3-15 ฟอง แต่ส่วนมากพบมากกว่า 10 ฟองขึ้นไป
ยกตัวอย่าง เพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆ แค่ 1 เดือน ก็มีหญิงแซ่จาง ผู้ช่ำชองขยันเก็บไข่มวนลำไยอันดับ 1 ของตำบลเฟินหยวนเมืองจางฮั่วได้มากกว่า 30,000 แผ่น ได้รับเงินรางวัล 150,000 เหรียญไต้หวัน ซึ่งทางรัฐบาลเมืองจางฮั่วได้จัดสรรงบประมาณให้รางวัลกับผู้ที่เก็บไข่มวนลำไยทั้งหมด 660,000 เหรียญไต้หวัน ปรากฏว่าเมื่อถึงวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา ระยะเวลาเพียงแค่เดือนเดียว ได้รับใบลิ้นจี่และลำไยที่มีไข่ของมวนลำไยมากถึง 260,000 แผ่น และต้องจ่ายเงินมากถึง 1,300,000 เหรียญไต้หวัน ซึ่งปรากฏการณ์ที่ชาวบ้านแห่ไปเก็บไข่มวนลำไยนั้นไม่เพียงแต่เกิดขึ้นที่เมืองจางฮั่ว แม้แต่เมืองเกาสงและเจียอี้ก็เช่นกัน จนทำให้คณะกรรมการการเกษตรตัดสินใจปิดโครงการ หยุดรับซื้อไข่มวนลำไยในวันที่ 19 มีนาคม ส่วนผู้ช่ำชองเก็บไข่มวนลำไยของตำบลเฟินหยวน เมืองจางฮั่ว อันดับที่ 2 ก็ตามติดมาที่จำนวน 20,000 แผ่น ได้รับรางวัล 100,000 เหรียญไต้หวัน เจ้าหน้าที่กองการเกษตรท้องถิ่นบอกว่า คนที่เก็บไข่มวนลำไยได้จำนวนมาก อาจจะไม่ใช่ฝีมือของคนเดียว คงจะมีการรวมตัวกันทำงานเป็นทีม หรือทำเป็นครอบครัวจึงจะได้จำนวนไข่มวนลำไยมากมาย ส่วนที่เมืองเกาสง มีประชาชนเข้าร่วมโครงการเก็บไข่มวนลำไยขายอย่างล้นหลามเช่นกัน ในวันที่ 22 มีนาคม ที่ยุติโครงการกำหนด ปรากฏว่ามีประชาชนเก็บไข่มวนลำไยมาขายเกินเป้า 1,000,000 กว่าแผ่น ต้องจ่ายงบเพิ่มกว่า 6,000,000 เหรียญไต้หวัน เกินงบประมาณไป 3 เท่า ทางสหกรณ์เกษตรของนครเกาสงต้องจ่ายเงินสำรองไปก่อน และรีบของบจากรัฐบาลส่วนกลาง ทั้งนี้ ในเขตนครเกาสง เป็นแหล่งปลูกลิ้นจี่และลำไยที่สำคัญ ในปีที่แล้ว ถือเป็นเขตที่รับซื้อไข่มวนลำไยได้ปริมาณมากที่สุดในไต้หวัน มีมากถึง 320,000 แผ่น มาในปีนี้ เนื่องจากมีญาติสนิทมิตรสหายร่วมด้วยช่วยกันหารายได้พิเศษ จึงทำให้ปริมาณที่ได้มากเกินคาด จางอวี้นผิง(張韻萍) ผอ.กรมการเกษตรเมืองเกาสงบอกว่า วันที่22 มีนาคม เป็นวันสุดท้ายของการยุติโครงการก่อนกำหนด ถึงเวลาเกือบเที่ยงคืนก็ยังมีคนไปต่อแถวรอคิวขายไข่มวนลำไย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนของตำบลเน่ยเหมินและฉีซาน ในพื้นที่สองแห่งนี้ ร่วมด้วยช่วยกันเก็บไข่มวนลำไยขาย จนกลายเป็นกิจกรรมร่วมของคนในท้องถิ่นไปเสียแล้ว
ประชาชนที่เก็บไข่มวนลำไยได้จะนำมาเรียงตามหมายเลข
งบประมาณที่อุดหนุนให้กับผู้ที่เก็บไข่มวนลำไยมาจากกรมสุขอนามัยและการกักกันโรคพืชและสัตว์ คณะกรรมการการเกษตร โดยเมื่อ 2 ปีก่อน รับซื้อไข่มวนลำไยแผ่นละ 3 เหรียญไต้หวัน ปรากฏว่าไม่ค่อยได้รับความสนใจจากผู้คน จนกระทั่งปีที่แล้ว เพิ่มเงินอุดหนุนเป็นแผ่นละ 5 เหรียญไต้หวัน ประกอบกับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ที่โรงงานลดเวลาการทำงาน จึงทำให้ประชาชนหลายคนหารายได้พิเศษ จนเกิดกระแสที่คึกคัก อีกทั้งสภาพอากาศในปีนี้เย็นสบายกว่าปีที่แล้ว มีคนจำนวนไม่น้อย ยอมสวมใส่เสื้อผ้าป้องกันตัวเพื่อขึ้นเขาไปเก็บไข่มวนลำไย ซึ่งในปีที่แล้ว ทางเมืองจางฮั่วได้รับไข่มวนลำไยจำนวน 130,000 แผ่น ใช้งบประมาณไป 610,000 เหรียญไต้หวัน มาในปีนี้ได้ใช้ยอดของปีที่แล้วมาอ้างอิง จึงจัดสรรงบประมาณไป 660,000 เหรียญไต้หวัน เปิดโครงการตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์จนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม แต่ไม่คาดคิด ประชาชนให้ความร่วมมืออย่างล้นหลาม เพียงแค่เดือนเดียวก็ต้องยุติลง เพราะว่าเกินเป้าหลายเท่าตัวแล้ว
กัวจื้อซ่าน(郭至善) รองผอ.กรมการเกษตรเมืองจางฮั่วบอกว่า การรับซื้อไข่มวนลำไยมีประสิทธิผลในการป้องกันโรคไม่น้อย ยกตัวอย่าง การเก็บไข่มวนลำไยของเมืองจางฮั่ว 260,000 แผ่น แต่ละแผ่นมีไข่มวนลำไยอย่างน้อย 14 ฟอง เพราะฉะนั้นก็จะไปลดตัวมวนลำไยได้มากถึง 3,640,000 ตัว และหลังจากที่รัฐบาลกลางยุติโครงการรับซื้อไข่มวนลำไย ก็จะเพิ่มมาตรการป้องกันด้วยสารเคมีและใช้แตนเบียนในการกำจัด สำหรับไข่ของแมงแคงหรือมวนลำไยนั้นมีลักษณะกลมเล็ก ขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยมวนลำไยเพศเมียจะวางไข่ในลักษณะเป็นกลุ่มเรียงยาวเป็นแถว แต่ละกลุ่มของแถวจะมีไข่ประมาณ 3-15 ฟอง แต่ส่วนมากพบมากกว่า 10 ฟองขึ้นไป จะเริ่มวางไข่หลังผสมพันธุ์ ทั้งนี้ มวนลำไยเพศเมีย 1 ตัว จะวางไข่ได้ประมาณ 98-297 ฟอง โดยมีระยะไข่ในช่วง 11-13 วันก่อนฟักเป็นตัวอ่อน ไข่มวนลำไยหลังจากวางไข่ใหม่ๆจะมีสีเขียว จากนั้น จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาวนวล และค่อยเปลี่ยนเป็นสีชมพู ตัวอ่อนเมื่อฟักออกจากไข่จะมีลำตัวทุกส่วนสีแดง จากนั้นค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีดำและสีเทา มวนลำไยในระยะตัวอ่อนจะมีการลอกคราบ 5 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เมื่อลอกคราบออก ตัวอ่อนจะมีสีแดงสดลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย แต่สีจะสดกว่า และขนาดลำตัวเล็กกว่า ทั้งนี้ ในระยะตัวอ่อนจะใช้เวลาประมาณ 61-74 วัน เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยจะอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากยอดไม้เป็นอาหาร และหลบอาศัยตามส่วนต่างๆของต้นไม้ เช่นต้นลิ้นจี่ ลำไย หรือต้นไม้อื่นๆที่เป็นแหล่งอาหารได้ จนเข้าสู่ระยะสืบพันธุ์ และวางไข่ ซึ่งวัฏจักรจะเป็นดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งหลังโครงการรับซื้อไข่มวนลำไยแล้ว ในสัปดาห์ถัดไป ทางกรมสุขอนามัยและการกักกันโรคพืชและสัตว์ คณะกรรมการการเกษตรจะเริ่มทยอยปล่อยแตนเบียนจำนวน 960,000 ตัวให้ไปทำลายไข่ของแมงแคงต่อ และหลังจากที่ลำไยและลิ้นจี่ออกดอกเต็มที่เริ่มมีผลแล้ว ก็จะเริ่มใช้สารเคมีทำลายเป็นครั้งที่ 2 เพราะว่าเป็นช่วงที่แมงแคงยังเป็นตัวอ่อนเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ ยังบินไม่ได้ การใช้สารเคมีกำจัดถือว่ามีประสิทธิผลสูงสุด
การเพาะเลี้ยงแตนเบียนเพื่อใช้กำจัดไข่มวนลำไย
มวนลำไยหรือแมงแคง ถือเป็นศัตรูพืชของลำไยและลิ้นจี่ ซึ่งส่งผลกระทบที่สร้างความเสียหายต่อพืชผล เนื่องจากมวนลำไยในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัยจะเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน จากช่อดอก และช่อผลของลำไยหรือลิ้นจี่ หรือพืชชนิดอื่นๆ จนทำให้ยอดอ่อนหยิกงอ ยอดอ่อนเหี่ยว ยอดอ่อนไม่เติบโต ดอกร่วง และไม่ติดผล หรือ ติดผลน้อย ผลผลิตลด และไม่มีคุณภาพ สร้างความเสียหายแก่ชาวสวนในที่สุด นอกจากนั้น มวนลำไยยังสามารถปล่อยของเหลว หรือฉี่ หรือ ไอของเหลวที่มีกลิ่นฉุน มีความเป็นพิษ มีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อสัมผัสโดนผิวหนังเราจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ระคายเคืองต่อผิวหนังได้ ซึ่งหากโดนดวงตาแล้วต้องรีบล้างออกในทันที แต่ว่ามวนลำไยจะปล่อยน้ำพิษออกมาเมื่อมีการถูกรบกวน เช่น การเขย่าลำต้น หรือการจับลำตัวของมวนลำไย โดยบางรายที่มีอาการแพ้ง่ายจะทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนังทันที แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีศัตรูในธรรมชาติของมวนลำไยอีกหลายชนิด ได้แก่ แตนเบียน หรือเชื้อราพาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส( Paecilomyces lilacinus) เข้าทำลายเนื้อเยื่อร่างกายในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของมวนลำไย เป็นต้น ซึ่งในไต้หวัน ที่ผ่านมาก็ยังมีศัตรูธรรมชาติของแมงแคงคือ แรงงานไทยชาวอีสานที่ทำงานอยู่ในไต้หวันส่วนหนึ่งในเมืองจางฮั่ว เมืองหยุนหลิน อาศัยวันหยุด ปั่นจักรยานไปตามสวนลำไยและลิ้นจี่ เพื่อตามจับแมงแคงมาปรุงเป็นอาหารหลากหลายวิธี เช่น นำไปย่างไฟให้สุก ทอด คั่วเกลือ หรือทำเป็นน้ำพริกแมงแคง แจ่วแมงแคง ใส่เครื่องปรุงรส พริก ตะไคร้ มะนาว รวมถึงใส่ในแกงต่างๆ อาทิ แกงหน่อไม้ แกงเห็ด หรือแม้แต่กินดิบๆ โดยเด็ดปีกทิ้ง แล้วบีบส่วนท้องให้แมงแคงฉี่ กำจัดกลิ่นฉุนออกไป จากนั้นโยนเข้าปากเคี้ยวกินแบบตัวเป็นๆ ถือเป็นไวอาก้าธรรมชาติของหนุ่มอีสานเลยทีเดียว
แตนเบียน ศัตรูธรรมชาติของมวนลำไย
ตกรางวัล! รัฐให้เงินอุดหนุนเก็บไข่มวนลำไย ศัตรูสำคัญที่สุดของลิ้นจี่และลำไย มีแม่บ้านเมืองจางฮั่วเก็บไข่มวนลำไยกว่า 30,000 แผ่น ภายใน 1 เดือน รับไปเหนาะๆ 150,000 เหรียญไต้หวัน
เพื่อทำลายศัตรูพืชของลิ้นจี่และลำไยที่สำคัญซึ่งก็คือมวนลำไยหรือแมงแคงที่สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกร รัฐบาลท้องถิ่นหลายเมืองหลายจังหวัดที่ปลูกลำไยและลิ้นจี่ในไต้หวัน อย่างเช่น เมืองไทจง จางฮั่ว หนานโถว หยุนหลิน เกาสง ต่างงัดกลยุทธ์ให้รางวัลกับผู้ที่เก็บไข่มวนลำไย ซึ่งโครงการนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ถึงวันที่ 27 พฤษภาคม มีการกำหนดว่า ถ้าเก็บใบลิ้นจี่หรือลำไย 1 แผ่น ที่มีไข่มวนลำไยตั้งแต่ 14 ฟองขึ้นไป จะจ่ายเงินค่าตอบแทน 5 เหรียญไต้หวัน ปรากฏว่าชาวบ้านแห่กันไปเก็บไข่มวนลำไยอย่างล้นหลามจนเกินคาด เกินงบประมาณของรัฐจนทำให้ต้องหยุดโครงการให้เงินอุดหนุน
มวนลำไยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่มเรียงยาวเป็นแถวประมาณ 3-15 ฟอง แต่ส่วนมากพบมากกว่า 10 ฟองขึ้นไป
ยกตัวอย่าง เพียงแค่ระยะเวลาสั้นๆ แค่ 1 เดือน ก็มีหญิงแซ่จาง ผู้ช่ำชองขยันเก็บไข่มวนลำไยอันดับ 1 ของตำบลเฟินหยวนเมืองจางฮั่วได้มากกว่า 30,000 แผ่น ได้รับเงินรางวัล 150,000 เหรียญไต้หวัน ซึ่งทางรัฐบาลเมืองจางฮั่วได้จัดสรรงบประมาณให้รางวัลกับผู้ที่เก็บไข่มวนลำไยทั้งหมด 660,000 เหรียญไต้หวัน ปรากฏว่าเมื่อถึงวันที่ 19 มีนาคมที่ผ่านมา ระยะเวลาเพียงแค่เดือนเดียว ได้รับใบลิ้นจี่และลำไยที่มีไข่ของมวนลำไยมากถึง 260,000 แผ่น และต้องจ่ายเงินมากถึง 1,300,000 เหรียญไต้หวัน ซึ่งปรากฏการณ์ที่ชาวบ้านแห่ไปเก็บไข่มวนลำไยนั้นไม่เพียงแต่เกิดขึ้นที่เมืองจางฮั่ว แม้แต่เมืองเกาสงและเจียอี้ก็เช่นกัน จนทำให้คณะกรรมการการเกษตรตัดสินใจปิดโครงการ หยุดรับซื้อไข่มวนลำไยในวันที่ 19 มีนาคม ส่วนผู้ช่ำชองเก็บไข่มวนลำไยของตำบลเฟินหยวน เมืองจางฮั่ว อันดับที่ 2 ก็ตามติดมาที่จำนวน 20,000 แผ่น ได้รับรางวัล 100,000 เหรียญไต้หวัน เจ้าหน้าที่กองการเกษตรท้องถิ่นบอกว่า คนที่เก็บไข่มวนลำไยได้จำนวนมาก อาจจะไม่ใช่ฝีมือของคนเดียว คงจะมีการรวมตัวกันทำงานเป็นทีม หรือทำเป็นครอบครัวจึงจะได้จำนวนไข่มวนลำไยมากมาย ส่วนที่เมืองเกาสง มีประชาชนเข้าร่วมโครงการเก็บไข่มวนลำไยขายอย่างล้นหลามเช่นกัน ในวันที่ 22 มีนาคม ที่ยุติโครงการกำหนด ปรากฏว่ามีประชาชนเก็บไข่มวนลำไยมาขายเกินเป้า 1,000,000 กว่าแผ่น ต้องจ่ายงบเพิ่มกว่า 6,000,000 เหรียญไต้หวัน เกินงบประมาณไป 3 เท่า ทางสหกรณ์เกษตรของนครเกาสงต้องจ่ายเงินสำรองไปก่อน และรีบของบจากรัฐบาลส่วนกลาง ทั้งนี้ ในเขตนครเกาสง เป็นแหล่งปลูกลิ้นจี่และลำไยที่สำคัญ ในปีที่แล้ว ถือเป็นเขตที่รับซื้อไข่มวนลำไยได้ปริมาณมากที่สุดในไต้หวัน มีมากถึง 320,000 แผ่น มาในปีนี้ เนื่องจากมีญาติสนิทมิตรสหายร่วมด้วยช่วยกันหารายได้พิเศษ จึงทำให้ปริมาณที่ได้มากเกินคาด จางอวี้นผิง(張韻萍) ผอ.กรมการเกษตรเมืองเกาสงบอกว่า วันที่22 มีนาคม เป็นวันสุดท้ายของการยุติโครงการก่อนกำหนด ถึงเวลาเกือบเที่ยงคืนก็ยังมีคนไปต่อแถวรอคิวขายไข่มวนลำไย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประชาชนของตำบลเน่ยเหมินและฉีซาน ในพื้นที่สองแห่งนี้ ร่วมด้วยช่วยกันเก็บไข่มวนลำไยขาย จนกลายเป็นกิจกรรมร่วมของคนในท้องถิ่นไปเสียแล้ว
ประชาชนที่เก็บไข่มวนลำไยได้จะนำมาเรียงตามหมายเลข
งบประมาณที่อุดหนุนให้กับผู้ที่เก็บไข่มวนลำไยมาจากกรมสุขอนามัยและการกักกันโรคพืชและสัตว์ คณะกรรมการการเกษตร โดยเมื่อ 2 ปีก่อน รับซื้อไข่มวนลำไยแผ่นละ 3 เหรียญไต้หวัน ปรากฏว่าไม่ค่อยได้รับความสนใจจากผู้คน จนกระทั่งปีที่แล้ว เพิ่มเงินอุดหนุนเป็นแผ่นละ 5 เหรียญไต้หวัน ประกอบกับผลกระทบจากการระบาดของโควิด 19 ที่โรงงานลดเวลาการทำงาน จึงทำให้ประชาชนหลายคนหารายได้พิเศษ จนเกิดกระแสที่คึกคัก อีกทั้งสภาพอากาศในปีนี้เย็นสบายกว่าปีที่แล้ว มีคนจำนวนไม่น้อย ยอมสวมใส่เสื้อผ้าป้องกันตัวเพื่อขึ้นเขาไปเก็บไข่มวนลำไย ซึ่งในปีที่แล้ว ทางเมืองจางฮั่วได้รับไข่มวนลำไยจำนวน 130,000 แผ่น ใช้งบประมาณไป 610,000 เหรียญไต้หวัน มาในปีนี้ได้ใช้ยอดของปีที่แล้วมาอ้างอิง จึงจัดสรรงบประมาณไป 660,000 เหรียญไต้หวัน เปิดโครงการตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์จนถึงวันที่ 27 พฤษภาคม แต่ไม่คาดคิด ประชาชนให้ความร่วมมืออย่างล้นหลาม เพียงแค่เดือนเดียวก็ต้องยุติลง เพราะว่าเกินเป้าหลายเท่าตัวแล้ว
กัวจื้อซ่าน(郭至善) รองผอ.กรมการเกษตรเมืองจางฮั่วบอกว่า การรับซื้อไข่มวนลำไยมีประสิทธิผลในการป้องกันโรคไม่น้อย ยกตัวอย่าง การเก็บไข่มวนลำไยของเมืองจางฮั่ว 260,000 แผ่น แต่ละแผ่นมีไข่มวนลำไยอย่างน้อย 14 ฟอง เพราะฉะนั้นก็จะไปลดตัวมวนลำไยได้มากถึง 3,640,000 ตัว และหลังจากที่รัฐบาลกลางยุติโครงการรับซื้อไข่มวนลำไย ก็จะเพิ่มมาตรการป้องกันด้วยสารเคมีและใช้แตนเบียนในการกำจัด สำหรับไข่ของแมงแคงหรือมวนลำไยนั้นมีลักษณะกลมเล็ก ขนาดประมาณ 2-3 มิลลิเมตร โดยมวนลำไยเพศเมียจะวางไข่ในลักษณะเป็นกลุ่มเรียงยาวเป็นแถว แต่ละกลุ่มของแถวจะมีไข่ประมาณ 3-15 ฟอง แต่ส่วนมากพบมากกว่า 10 ฟองขึ้นไป จะเริ่มวางไข่หลังผสมพันธุ์ ทั้งนี้ มวนลำไยเพศเมีย 1 ตัว จะวางไข่ได้ประมาณ 98-297 ฟอง โดยมีระยะไข่ในช่วง 11-13 วันก่อนฟักเป็นตัวอ่อน ไข่มวนลำไยหลังจากวางไข่ใหม่ๆจะมีสีเขียว จากนั้น จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีขาวนวล และค่อยเปลี่ยนเป็นสีชมพู ตัวอ่อนเมื่อฟักออกจากไข่จะมีลำตัวทุกส่วนสีแดง จากนั้นค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีดำและสีเทา มวนลำไยในระยะตัวอ่อนจะมีการลอกคราบ 5 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เมื่อลอกคราบออก ตัวอ่อนจะมีสีแดงสดลักษณะคล้ายตัวเต็มวัย แต่สีจะสดกว่า และขนาดลำตัวเล็กกว่า ทั้งนี้ ในระยะตัวอ่อนจะใช้เวลาประมาณ 61-74 วัน เมื่อตัวอ่อนลอกคราบเข้าสู่ระยะตัวเต็มวัย ตัวเต็มวัยจะอาศัยดูดน้ำเลี้ยงจากยอดไม้เป็นอาหาร และหลบอาศัยตามส่วนต่างๆของต้นไม้ เช่นต้นลิ้นจี่ ลำไย หรือต้นไม้อื่นๆที่เป็นแหล่งอาหารได้ จนเข้าสู่ระยะสืบพันธุ์ และวางไข่ ซึ่งวัฏจักรจะเป็นดังที่กล่าวมาข้างต้น ซึ่งหลังโครงการรับซื้อไข่มวนลำไยแล้ว ในสัปดาห์ถัดไป ทางกรมสุขอนามัยและการกักกันโรคพืชและสัตว์ คณะกรรมการการเกษตรจะเริ่มทยอยปล่อยแตนเบียนจำนวน 960,000 ตัวให้ไปทำลายไข่ของแมงแคงต่อ และหลังจากที่ลำไยและลิ้นจี่ออกดอกเต็มที่เริ่มมีผลแล้ว ก็จะเริ่มใช้สารเคมีทำลายเป็นครั้งที่ 2 เพราะว่าเป็นช่วงที่แมงแคงยังเป็นตัวอ่อนเกาะอยู่ตามกิ่งไม้ ยังบินไม่ได้ การใช้สารเคมีกำจัดถือว่ามีประสิทธิผลสูงสุด
การเพาะเลี้ยงแตนเบียนเพื่อใช้กำจัดไข่มวนลำไย
มวนลำไยหรือแมงแคง ถือเป็นศัตรูพืชของลำไยและลิ้นจี่ ซึ่งส่งผลกระทบที่สร้างความเสียหายต่อพืชผล เนื่องจากมวนลำไยในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัยจะเข้าดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน จากช่อดอก และช่อผลของลำไยหรือลิ้นจี่ หรือพืชชนิดอื่นๆ จนทำให้ยอดอ่อนหยิกงอ ยอดอ่อนเหี่ยว ยอดอ่อนไม่เติบโต ดอกร่วง และไม่ติดผล หรือ ติดผลน้อย ผลผลิตลด และไม่มีคุณภาพ สร้างความเสียหายแก่ชาวสวนในที่สุด นอกจากนั้น มวนลำไยยังสามารถปล่อยของเหลว หรือฉี่ หรือ ไอของเหลวที่มีกลิ่นฉุน มีความเป็นพิษ มีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อสัมผัสโดนผิวหนังเราจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ระคายเคืองต่อผิวหนังได้ ซึ่งหากโดนดวงตาแล้วต้องรีบล้างออกในทันที แต่ว่ามวนลำไยจะปล่อยน้ำพิษออกมาเมื่อมีการถูกรบกวน เช่น การเขย่าลำต้น หรือการจับลำตัวของมวนลำไย โดยบางรายที่มีอาการแพ้ง่ายจะทำให้เกิดอาการปวดแสบปวดร้อนที่ผิวหนังทันที แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีศัตรูในธรรมชาติของมวนลำไยอีกหลายชนิด ได้แก่ แตนเบียน หรือเชื้อราพาซิโลมัยซิส ไลลาซินัส( Paecilomyces lilacinus) เข้าทำลายเนื้อเยื่อร่างกายในระยะตัวอ่อน และตัวเต็มวัยของมวนลำไย เป็นต้น ซึ่งในไต้หวัน ที่ผ่านมาก็ยังมีศัตรูธรรมชาติของแมงแคงคือ แรงงานไทยชาวอีสานที่ทำงานอยู่ในไต้หวันส่วนหนึ่งในเมืองจางฮั่ว เมืองหยุนหลิน อาศัยวันหยุด ปั่นจักรยานไปตามสวนลำไยและลิ้นจี่ เพื่อตามจับแมงแคงมาปรุงเป็นอาหารหลากหลายวิธี เช่น นำไปย่างไฟให้สุก ทอด คั่วเกลือ หรือทำเป็นน้ำพริกแมงแคง แจ่วแมงแคง ใส่เครื่องปรุงรส พริก ตะไคร้ มะนาว รวมถึงใส่ในแกงต่างๆ อาทิ แกงหน่อไม้ แกงเห็ด หรือแม้แต่กินดิบๆ โดยเด็ดปีกทิ้ง แล้วบีบส่วนท้องให้แมงแคงฉี่ กำจัดกลิ่นฉุนออกไป จากนั้นโยนเข้าปากเคี้ยวกินแบบตัวเป็นๆ ถือเป็นไวอาก้าธรรมชาติของหนุ่มอีสานเลยทีเดียว
แตนเบียน ศัตรูธรรมชาติของมวนลำไย