
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันประสบความสำเร็จเพาะต้นกล้าขึ้นฉ่ายอินทรีย์ที่ประหยัดแรงงานและความยุ่งยากหลายอย่าง
คลิกฟังรายการที่นี่
ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายที่หลายคนอาจไม่รู้ มีเส้นใย มีวิตามิน เกลือแร่ ฯลฯ ส่วนของใบมีความเข้มข้นของกรดโฟลิกสูง มีกลิ่นหอมหรือกลิ่นฉุนเฉพาะตัวจนหลายคนไม่ชื่นชอบ แต่ต้องบอกว่ามีประโยชน์ยิ่งนักในการดับกลิ่นคาวได้ดี นำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู ไม่ว่าจะผัดหรือเป็นส่วนผสมปรุงรส โรยหน้าอาหารยำ โรยบนซุป หรือรับประทานเป็นผักสด คั้นเป็นน้ำดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพก็ได้ทั้งนั้น ซึ่งผักขึ้นฉ่ายที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดต้นเล็กหรือที่เรียกว่า “ขึ้นฉ่ายจีน” ลำต้นเล็กกว่า ยาวประมาณ 30 ซม. ส่วนอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “ขึ้นฉ่ายฝรั่งหรือเซเลอรี (Celery)” ลำต้นจะอวบใหญ่กว่า ลำต้นยาว 40-60 ซม. อย่างไรก็ตาม การซื้อขึ้นฉ่ายอินทรีย์ในท้องตลาดของไต้หวันถือว่ายังน้อยอยู่ ดังนั้น สถานีปรับปรุงพืชเขตฮัวเหลียนจึงปรับปรุงเทคนิคการปลูกขึ้นฉ่ายอินทรีย์ที่ร่นระยะเวลาการปลูก ประหยัดแรงงาน ทำให้อนาคตสามารถหาซื้อผักขึ้นฉ่ายอินทรีย์มารับประทานได้มากขึ้น
ไต้หวันประสบความสำเร็จเพาะต้นกล้าขึ้นฉ่ายอินทรีย์แบบใหม่
ทั้งนี้ การหว่านเมล็ดขึ้นฉ่ายจะสิ้นเปลืองแรงงานมาก ไต้หวันกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานเกษตร เวลาที่ต้นกล้าขึ้นฉ่ายงอกก็สู้หญ้าวัชพืชที่งอกเร็วกว่าไม่ทัน ส่งผลทำให้การปลูกขึ้นฉ่ายอินทรีย์มีต้นทุนสูง การเพาะปลูกเกษตรอินทรีย์เป็นการเพาะปลูกที่ยั่งยืน เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม แต่การเพาะปลูกขึ้นฉ่ายอินทรีย์มีอุปสรรคมาก สาเหตุหลักๆ มี 3 ประการ ประการที่ 1 เมื่อเมล็ดพันธุ์เจออุณหภูมิสูงจะเข้าสู่ภาวะการจำศีล (ไม่งอก) ประการที่ 2 เวลาที่เมล็ดงอกจะไม่เท่ากัน ไม่เป็นระเบียบ และประการที่ 3 ในช่วงของการเพาะต้นกล้าใช้เวลายาวนาน ซึ่งการเพาะเมล็ดขึ้นฉ่ายจนงอกเป็นต้นอ่อนนั้นต้องใช้เวลาประมาณ 7-11 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไปจนทำให้เมล็ดไม่งอก มีการแนะนำให้เพาะต้นกล้าในช่วงตั้งแต่ปลายฤดูร้อนจนถึงช่วงหลังเทศกาลตรุษจีน ส่วนการนำต้นกล้าไปเพาะปลูกให้อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงจนถึงเดือนเม.ย.และพ.ค.ของปีถัดไป จากการวิจัยพบว่า เมล็ดขึ้นฉ่ายงอกงามไม่พร้อมกัน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากตำแหน่งเมล็ดพันธุ์ของกิ่งเพศเมียไม่เหมือนกันทำให้อยู่ในภาวะจำศีลที่ไม่เหมือนกัน และเมล็ดพันธุ์มีผิวหนาจึงยากต่อการดูดซึมน้ำ ส่งผลทำให้เมล็ดพันธุ์งอกงามไม่สมบูรณ์ และอีกประการหนึ่งคือ ในเมล็ดพันธุ์ของขึ้นฉ่ายก็มีสารระงับการงอกอยู่ในตัวของมันเอง ด้วยปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้เมล็ดขึ้นฉ่ายงอกงามไม่พร้อมกัน ซึ่งการเพาะปลูกขึ้นฉ่ายทั่วไปที่ปฏิบัติเรื่อยมาในปัจจุบัน มักใส่สารเร่งกระตุ้นให้แตกยอด แต่วิธีการนี้ห้ามใช้ในการเกษตรอินทรีย์
ไต้หวันประสบความสำเร็จเพาะต้นกล้าขึ้นฉ่ายอินทรีย์แบบใหม่
ส่วนช่วงการเติบโตของต้นอ่อนขึ้นฉ่ายยังมีปัญหาโตช้า ตั้งแต่ขึ้นฉ่ายงอกจนมีความสูง 1 นิ้ว (ความสูงประมาณ 2 แผ่นใบ) ต้องใช้เวลา 3 สัปดาห์ แต่ว่าหญ้าวัชพืชที่อยู่ในแปลงผักเติบโตมีความสูงเท่ากับต้นขึ้นฉ่ายจะใช้เวลาเพียงแค่ 4-6 วันเท่านั้น เพราะฉะนั้น เกษตรกรที่ปลูกขึ้นฉ่ายจึงต้องกำจัดวัชพืชอย่างรวดเร็ว แต่ต้นอ่อนขึ้นฉ่ายมีขนาดเล็กมาก หากกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องจักรพลิกดินก็จะทำให้ต้นอ่อนถูกกลบง่ายและตาย หากใช้ยากำจัดวัชพืชก็กระทำได้ แต่ต้องปลูกในช่องเพื่อป้องกันยา จึงสิ้นเปลืองแรงงานมาก และยังต้องใช้ปุ๋ยเป็นจำนวนมาก หากใช้พลาสติกคลุมหญ้าก็จะทำให้ใส่ปุ๋ยยากอีก
ไต้หวันประสบความสำเร็จเพาะต้นกล้าขึ้นฉ่ายอินทรีย์แบบใหม่
หลังปรับปรุงเทคนิคการปลูกขึ้นฉ่ายอินทรีย์แบบใหม่ ไม่ต้องกังวลปัญหาวัชพืช ด้วยการเพาะต้นอ่อนลงถาดตาข่ายที่เป็นช่องในโรงเรือน ใช้วัสดุการปลูกที่ไม่มีเมล็ดพันธุ์วัชพืชปะปน วิธีนี้ยังป้องกันภัยจากไต้ฝุ่นได้ ไม่ต้องปลูกซ่อมแซมจากภัยไต้ฝุ่น เป็นการทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการเพาะปลูก ช่วงการเพาะต้นอ่อนลงกระบะตาข่ายที่เป็นช่อง จะโรยวัสดุปลูกหรืออาหารเลี้ยงเชื้อลงไป จากนั้นเปิดรู 1/2 ซม. สำหรับการหย่อนเมล็ดพันธุ์ ลงไป 4-10 เม็ดต่อช่อง แล้วโรยวัสดุปลูกทับอีกชั้นหนึ่ง รดน้ำ ทิ้งไว้ในที่ร่มเย็น รอให้งอกยอดอ่อน ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ เมื่อยอดอ่อนสูงพอสมควร หรือใบของต้นอ่อนงอก 2-3 ใบแล้วก็ย้ายไปปลูกในแปลงดิน ส่วนการแก้ปัญหาเมล็ดขึ้นฉ่ายงอกไม่พร้อมกัน สถานีปรับปรุงพืชเขตฮัวเหลียน ได้ทำการแช่ในบ่อน้ำอุ่นที่มีตัววัดอุณหภูมิ ใช้เทคนิคเร่งการเติบโตด้วยการส่องแสง ระยะงอกของเมล็ดพันธุ์ขึ้นฉ่ายใช้เวลาสั้นลง 4-5 วัน คือใช้เวลาเพียง 2 วันก็สามารถนำไปปลูกต่อได้ อัตราการงอกของเมล็ดสูงกว่า และไม่ต้องใช้สารเคมีกระตุ้น ซึ่งเทคนิคดังกล่าวขณะนี้ผ่านการจดทะเบียนสิทธิบัตรการเพาะปลูกแล้วด้วย
ไต้หวันประสบความสำเร็จเพาะต้นกล้าขึ้นฉ่ายอินทรีย์ที่ประหยัดแรงงานและความยุ่งยากหลายอย่าง
คลิกฟังรายการที่นี่
ขึ้นฉ่ายเป็นผักที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมายที่หลายคนอาจไม่รู้ มีเส้นใย มีวิตามิน เกลือแร่ ฯลฯ ส่วนของใบมีความเข้มข้นของกรดโฟลิกสูง มีกลิ่นหอมหรือกลิ่นฉุนเฉพาะตัวจนหลายคนไม่ชื่นชอบ แต่ต้องบอกว่ามีประโยชน์ยิ่งนักในการดับกลิ่นคาวได้ดี นำมาประกอบอาหารได้หลายเมนู ไม่ว่าจะผัดหรือเป็นส่วนผสมปรุงรส โรยหน้าอาหารยำ โรยบนซุป หรือรับประทานเป็นผักสด คั้นเป็นน้ำดื่มสมุนไพรเพื่อสุขภาพก็ได้ทั้งนั้น ซึ่งผักขึ้นฉ่ายที่นิยมปลูกมีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดต้นเล็กหรือที่เรียกว่า “ขึ้นฉ่ายจีน” ลำต้นเล็กกว่า ยาวประมาณ 30 ซม. ส่วนอีกชนิดหนึ่งเรียกว่า “ขึ้นฉ่ายฝรั่งหรือเซเลอรี (Celery)” ลำต้นจะอวบใหญ่กว่า ลำต้นยาว 40-60 ซม. อย่างไรก็ตาม การซื้อขึ้นฉ่ายอินทรีย์ในท้องตลาดของไต้หวันถือว่ายังน้อยอยู่ ดังนั้น สถานีปรับปรุงพืชเขตฮัวเหลียนจึงปรับปรุงเทคนิคการปลูกขึ้นฉ่ายอินทรีย์ที่ร่นระยะเวลาการปลูก ประหยัดแรงงาน ทำให้อนาคตสามารถหาซื้อผักขึ้นฉ่ายอินทรีย์มารับประทานได้มากขึ้น
ไต้หวันประสบความสำเร็จเพาะต้นกล้าขึ้นฉ่ายอินทรีย์แบบใหม่
ทั้งนี้ การหว่านเมล็ดขึ้นฉ่ายจะสิ้นเปลืองแรงงานมาก ไต้หวันกำลังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานเกษตร เวลาที่ต้นกล้าขึ้นฉ่ายงอกก็สู้หญ้าวัชพืชที่งอกเร็วกว่าไม่ทัน ส่งผลทำให้การปลูกขึ้นฉ่ายอินทรีย์มีต้นทุนสูง การเพาะปลูกเกษตรอินทรีย์เป็นการเพาะปลูกที่ยั่งยืน เป็นมิตรสิ่งแวดล้อม แต่การเพาะปลูกขึ้นฉ่ายอินทรีย์มีอุปสรรคมาก สาเหตุหลักๆ มี 3 ประการ ประการที่ 1 เมื่อเมล็ดพันธุ์เจออุณหภูมิสูงจะเข้าสู่ภาวะการจำศีล (ไม่งอก) ประการที่ 2 เวลาที่เมล็ดงอกจะไม่เท่ากัน ไม่เป็นระเบียบ และประการที่ 3 ในช่วงของการเพาะต้นกล้าใช้เวลายาวนาน ซึ่งการเพาะเมล็ดขึ้นฉ่ายจนงอกเป็นต้นอ่อนนั้นต้องใช้เวลาประมาณ 7-11 วัน เพื่อป้องกันไม่ให้อุณหภูมิสูงเกินไปจนทำให้เมล็ดไม่งอก มีการแนะนำให้เพาะต้นกล้าในช่วงตั้งแต่ปลายฤดูร้อนจนถึงช่วงหลังเทศกาลตรุษจีน ส่วนการนำต้นกล้าไปเพาะปลูกให้อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงจนถึงเดือนเม.ย.และพ.ค.ของปีถัดไป จากการวิจัยพบว่า เมล็ดขึ้นฉ่ายงอกงามไม่พร้อมกัน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากตำแหน่งเมล็ดพันธุ์ของกิ่งเพศเมียไม่เหมือนกันทำให้อยู่ในภาวะจำศีลที่ไม่เหมือนกัน และเมล็ดพันธุ์มีผิวหนาจึงยากต่อการดูดซึมน้ำ ส่งผลทำให้เมล็ดพันธุ์งอกงามไม่สมบูรณ์ และอีกประการหนึ่งคือ ในเมล็ดพันธุ์ของขึ้นฉ่ายก็มีสารระงับการงอกอยู่ในตัวของมันเอง ด้วยปัจจัยดังกล่าวจึงทำให้เมล็ดขึ้นฉ่ายงอกงามไม่พร้อมกัน ซึ่งการเพาะปลูกขึ้นฉ่ายทั่วไปที่ปฏิบัติเรื่อยมาในปัจจุบัน มักใส่สารเร่งกระตุ้นให้แตกยอด แต่วิธีการนี้ห้ามใช้ในการเกษตรอินทรีย์
ไต้หวันประสบความสำเร็จเพาะต้นกล้าขึ้นฉ่ายอินทรีย์แบบใหม่
ส่วนช่วงการเติบโตของต้นอ่อนขึ้นฉ่ายยังมีปัญหาโตช้า ตั้งแต่ขึ้นฉ่ายงอกจนมีความสูง 1 นิ้ว (ความสูงประมาณ 2 แผ่นใบ) ต้องใช้เวลา 3 สัปดาห์ แต่ว่าหญ้าวัชพืชที่อยู่ในแปลงผักเติบโตมีความสูงเท่ากับต้นขึ้นฉ่ายจะใช้เวลาเพียงแค่ 4-6 วันเท่านั้น เพราะฉะนั้น เกษตรกรที่ปลูกขึ้นฉ่ายจึงต้องกำจัดวัชพืชอย่างรวดเร็ว แต่ต้นอ่อนขึ้นฉ่ายมีขนาดเล็กมาก หากกำจัดวัชพืชด้วยเครื่องจักรพลิกดินก็จะทำให้ต้นอ่อนถูกกลบง่ายและตาย หากใช้ยากำจัดวัชพืชก็กระทำได้ แต่ต้องปลูกในช่องเพื่อป้องกันยา จึงสิ้นเปลืองแรงงานมาก และยังต้องใช้ปุ๋ยเป็นจำนวนมาก หากใช้พลาสติกคลุมหญ้าก็จะทำให้ใส่ปุ๋ยยากอีก
ไต้หวันประสบความสำเร็จเพาะต้นกล้าขึ้นฉ่ายอินทรีย์แบบใหม่
หลังปรับปรุงเทคนิคการปลูกขึ้นฉ่ายอินทรีย์แบบใหม่ ไม่ต้องกังวลปัญหาวัชพืช ด้วยการเพาะต้นอ่อนลงถาดตาข่ายที่เป็นช่องในโรงเรือน ใช้วัสดุการปลูกที่ไม่มีเมล็ดพันธุ์วัชพืชปะปน วิธีนี้ยังป้องกันภัยจากไต้ฝุ่นได้ ไม่ต้องปลูกซ่อมแซมจากภัยไต้ฝุ่น เป็นการทำให้เกิดความยืดหยุ่นในการเพาะปลูก ช่วงการเพาะต้นอ่อนลงกระบะตาข่ายที่เป็นช่อง จะโรยวัสดุปลูกหรืออาหารเลี้ยงเชื้อลงไป จากนั้นเปิดรู 1/2 ซม. สำหรับการหย่อนเมล็ดพันธุ์ ลงไป 4-10 เม็ดต่อช่อง แล้วโรยวัสดุปลูกทับอีกชั้นหนึ่ง รดน้ำ ทิ้งไว้ในที่ร่มเย็น รอให้งอกยอดอ่อน ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์ เมื่อยอดอ่อนสูงพอสมควร หรือใบของต้นอ่อนงอก 2-3 ใบแล้วก็ย้ายไปปลูกในแปลงดิน ส่วนการแก้ปัญหาเมล็ดขึ้นฉ่ายงอกไม่พร้อมกัน สถานีปรับปรุงพืชเขตฮัวเหลียน ได้ทำการแช่ในบ่อน้ำอุ่นที่มีตัววัดอุณหภูมิ ใช้เทคนิคเร่งการเติบโตด้วยการส่องแสง ระยะงอกของเมล็ดพันธุ์ขึ้นฉ่ายใช้เวลาสั้นลง 4-5 วัน คือใช้เวลาเพียง 2 วันก็สามารถนำไปปลูกต่อได้ อัตราการงอกของเมล็ดสูงกว่า และไม่ต้องใช้สารเคมีกระตุ้น ซึ่งเทคนิคดังกล่าวขณะนี้ผ่านการจดทะเบียนสิทธิบัตรการเพาะปลูกแล้วด้วย