ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 31 สิงหาคม 2564


Listen Later

    สมุนไพรวาซาบิที่ใช้เป็นเครื่องปรุงรสเผ็ด กลิ่นฉุน สามารถดับความคาวของอาหารทะเล และยังเรียกน้ำย่อยได้   

       วันนี้มีเรื่องของสมุนไพรวาซาบิที่ใช้เป็นเครื่องปรุงรสเผ็ด กลิ่นฉุน สามารถดับความคาวของอาหารทะเล และยังเรียกน้ำย่อยได้มาเล่าสู่กันฟัง ซึ่งแหล่งปลูกวาซาบิของไต้หวันอยู่บนภูเขาอาลีซาน เพราะว่าวาซาบิเป็นพืชที่ต้องการความชื้นเย็นบนภูเขา แต่ก็ต้องได้รับแสงแดดด้วย ที่ผ่านมามีเพียงบนภูเขาอาลีซานในเขตอุทยานแห่งชาติความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 2,200 เมตรขึ้นไปเท่านั้นที่ปลูกได้ผลดีและมีรสชาติอร่อย จนได้รับฉายาว่า “ทองสีเขียว” เพราะสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรผู้ปลูกเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เหง้าหรือโคนลำต้นที่อยู่ใต้ดินของวาซาบิส่งขายต่างประเทศ หลักๆ แล้วส่งไปขายที่ประเทศญี่ปุ่นในราคาตันละ 1,000,000 เหรียญไต้หวัน แต่ขณะเดียวกันการปลูกวาซาบิบนภูเขาอาลีซานในเขตอุทยานแห่งชาติก็ได้ทำลายหน้าดินของป่าไม้บนภูเขา จากการวิจัยพบว่า บริเวณพื้นดินที่ปลูกวาซาบิจะถูกน้ำพัดพาในปริมาณสูงกว่าพื้นที่ป่าไม้ทั่วไปถึง 6 เท่า เพราะฉะนั้น กรมป่าไม้จึงได้ทยอยเรียกคืนพื้นที่เพาะปลูกวาซาบิ จนทำให้ธุรกิจการปลูกวาซาบิที่เปรียบเสมือนทองคำสีเขียวค่อยๆหมดไปกลายเป็นประวัติศาสตร์ อย่างไรก็ตาม เกษตรกรที่ปลูกวาซาบิไม่ท้อถอย นำเข้าวาซาบิญี่ปุ่นผสมข้ามสายพันธุ์จนได้สายพันธุ์ใหม่ที่สามารถเพาะปลูกในโรงเรือนในพื้นที่เหนือน้ำทะเลระดับกลางและล่างบนภูเขาอาลีซานได้สำเร็จ

วาซาบิปลูกในโรงเรือน

        นายไล่หลงฮุย(賴龍輝) ผอ.กองการป่าไม้อาลีซานชี้ว่า ปัจจุบันพื้นที่ที่เคยปลูกวาซาบิพบเห็นได้น้อยแล้ว ขณะนี้พื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น ถูกพืชชนิดอื่นขึ้นมาแทนที่ จากเดิมที่เคยโล่งเตียน ได้กลับมาเขียวชอุ่มแล้ว ถ้าใช้อุทยานสวนสนที่นักท่องเที่ยวไปเที่ยวชมเป็นศูนย์กลาง หากมองลงไปด้านล่างซึ่งเป็นเขตชุมชนของพื้นเมืองชนเผ่าโจว อย่าง ต๋าปัง หรือเท่อฟู่เหยี่ย พื้นที่เหล่านี้ล้วนเป็นเขตป่าไม้ของรัฐ ในอดีตล้วนเคยปลูกวาซาบิเป็นจำนวนมาก โดยในปี 1976 มีเนื้อที่เพาะปลูกวาซาบินเพียง 17.61 เฮกตาร์ แต่อีก 10 ปีถัดมา มีเนื้อที่เพาะปลูกเพิ่มขึ้นเป็น 73.38 เฮกตาร์ แต่เมื่อถึงปี 1992 ซึ่งถือเป็นปีที่มีการปลูกมากที่สุด เนื้อที่เพาะปลูกวาซาบิมีมากถึง 270 เฮกตาร์ นายไล่หลงฮุ่ยยังบอกด้วยว่า วาซาบิเป็นพืชที่ชอบขึ้นในสิ่งแวดล้อมที่เย็นชื้น แต่ว่าการปลูกวาซาบิต้องกำจัดพืชอื่นที่อยู่บนหน้าดิน รวมทั้งกิ่งก้านของพืชที่อยู่ใกล้เคียง เมื่อปลูกวาซาบิใต้ต้นสนซีดาร์ที่มีอายุเกือบ 50 ปี ก็ต้องตัดกิ่งของต้นสนจนเกือบโล้น และไม่เพียงเท่านี้ ยังต้องถางพืชอื่นนที่ขึ้นตามบนดินออกไป  จึงทำให้ไม่สามารถรักษาหน้าดินของป่าไม้ให้เกิดความชุ่มชื้นได้

วาซาบิปลูกในเขตอุทยานอาลีซานในอดีตทำลายหน้าดิน

        อย่างไรก็ตาม หลายปีผ่านไป การปลูกวาซาบิก็ได้บังเกิดขึ้นอีกครั้ง นายเจียงจินผิ่น(江金品) หนึ่งในเกษตรกรที่ปลูกวาซาบิรุ่นใหม่บอกว่า วาซาบิที่เห็นเหล่านี้มีสภาพดี มีทั้งหมด 12 สายพันธุ์ เนื่องจากตนเองได้นำเข้าวาซาบิสายพันธุ์ญี่ปุ่นมาผสมข้ามสายพันธุ์ จากนั้นนำไปทดลองปลูกบนภูเขาในที่ต่างๆ ของไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นภูเขาหลีซาน อู้เซ่อ ภูเขาลาลาซาน ขอเพียงเป็นเขตภูเขาที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 2,000 เมตรขึ้นไป ล้วนไปทดลองปลูกแล้วทั้งนั้น แต่ก็ประสบความล้มเหลว สุดท้ายนำกลับมาปลูกในเขตภูเขาอาลีซานที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเล 1,200 เมตรขึ้นไป และปลูกในโรงเรือนตาข่ายด้วย ผลปรากฏว่าประสบความเร็จ เพราะบนภูเขาอาลีซานมีสิ่งแวดล้อมที่เหมาะต่อการปลูก รวมทั้งต้องมีเทคนิคในการปลูก มีการใช้ดินที่ผสมกรวดเล็กๆ เพื่อให้อากาศในดินถ่ายเทได้ดี มีการใช้กากมะพร้าวผสมลงไปด้วย มีการเติมวัสดุอื่นเพื่อระบายอากาศ ควบคุมความชื้น เลียนแบบเหมือนเจริญเติบโตในป่า สร้างโรงเรือนตาข่าย คอยเฝ้าระวังดินที่ใช้ปลูกและต้องใส่ปุ๋ย หลังทดลองการปลูกผ่านพ้นไป 4 ปี ได้ทำให้วาซาบิที่กลายเป็นประวัติศาตร์ชุบชีวิตกลับคืนมาอีกครั้ง

ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากวาซาบิที่ปลูกบนภูเขาอาลีซาน 

        กัวจื่อหง(郭子弘) ดร.ที่จบจากมหาวิทยาลัยผิงตงบอกว่า อุตสาหกรรมที่ได้จากวาซาบิมีมากมาย มีตั้งแต่การนำวาซาบิมาใช้ในร้านอาหาร นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารที่สามารถเลี้ยงชีวิตผู้คนได้เป็นจำนวนมาก ไม่เพียงแต่ 60 ครัวเรือนเท่านั้น สามารถขับเคลื่อนห่วงโซ่การผลิต เลี้ยงชีวิตผู้คนตั้งแต่การปลูกต้นกล้า การแปรรูป ร้านอาหาร ภัตตาคาร โรงแรมที่พัก กลายเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่น และยังสามารถดึงดูดเยาวชนรุ่นใหม่กลับเข้ามาสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับวาซาบิด้วย ยกตัวอย่าง นายหลี่ซินจิ่ง(李欣璟) เกษตรกรที่กลับบ้านเกิดไปปลูกวาซาบิเมื่อ 3 ปีที่แล้ว ได้แนะนำนายเจียงจินผิ่นให้เข้าไปดูสายพันธุ์วาซาบิที่กำลังทดลองปลูกในโรงเรือนของเขา นายหลี่บอกว่า การปลูกวาซาบิในโรงเรือนสามารถอนุรักษ์ดินและน้ำได้ เพาะเลี้ยงในโรงเรือนเหนือระดับน้ำทะเลปานกลางจะดีกว่า และไม่เกิดปัญหาอย่างอื่น นายเจียงจินผิ่นคือเกษตรกรที่รับผิดชอบเพาะพันธุ์ต้นกล้า หาพันธุ์ที่เหมาะต่อการปลูกในไต้หวัน จากนั้นจะมีนายหลี่ซินจิ่งนำไปทดลองปลูกในโรงเรือน ขยายพันธุ์จากรุ่นสู่รุ่น จนสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศที่ระดับน้ำทะเลความสูงปานกลางได้ ซึ่งถือเป็นความร่วมมือของทั้งสอง เป็นการสานฝันให้ใหญ่ขึ้น นายหลี่ซินจิ่ง เกษตรกรที่ทดลองปลูกบอกว่า เมื่อเจอปัญหาว่าปลูกไม่ได้ เนื่องจากอากาศร้อนเกินไป เราก็จะกลับไปเอาสายพันธุ์ใหม่มาปลูกอีก ทดลองปลูกนอกโรงเรือนด้วย

วาซาบิแท้ที่ขูดจากส่วนของโคนต้น ราคาแพง

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti