ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 4 เม.ย.2566


Listen Later

     ตอนนี้อะไรก็แพงขึ้นทั้งนั้น หมูก็แพงขึ้น ไก่ก็แพงขึ้น ไข่ไก่ก็แพงขึ้นแถมยังขาดแคลนอีก ผู้บริโภคก็คงต้องปรับวิถีชีวิตเพื่อสู้กับภาวะของแพง หันไปกินอาหารบางอย่างที่แทนที่กันได้และมีราคาถูกกว่า อย่างในช่วงที่ไข่ไก่ราคาแพง ปริมาณการผลิตลดลง สมาคมเกษตรเขตซินซื่อของนครไถหนานก็ออกมาเชิญชวนให้ผู้คนหันมากินถั่วแระแทนไข่ไก่ เพราะว่าถั่วแระมีคุณค่าทางโภชนาการที่มีโปรตีนไม่แพ้ไข่ไก่ ส่วนถ้าหมูแพงขึ้น เราจะหันมากินอาหารอะไรได้บ้าง น่าจะหันมากินปลาก็ดีนะ ย่อยง่ายด้วย เพราะจีนระงับการนำเข้าปลาไต้หวันด้วย

 PRRS เป็นโรคที่กระทบต่อหมูตัวเล็กมากที่สุดในปัจจุบัน

     อย่างไรก็ตาม หมูหรือสุกรก็ถือเป็นอาหารที่ชาวจีนชื่นชอบ และเมื่อถึงช่วงเทศกาลสำคัญๆ ที่มีการเซ่นไหว้เจ้าหรือไหว้บรรพบุรุษ หมูก็เป็นสิ่งขาดไม่ได้เสียด้วย ราคาประมูลขายของหมูมีชีวิต(หรือหมูที่มีขนที่มักเรียกด้วยภาษาจีนว่า “เหมาจู毛豬”) ณ วันที่ 11 มีนาคม 2566 อยู่ที่กิโลกรัมละ 90 เหรียญไต้หวัน ทุบสถิติสูงสุดในรอบ 40 ปี และในช่วงต่อไปก็จะมีการปรับตัวสูงขึ้นอีก คาดว่าทะลุ 100 เหรียญไต้หวันต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัมแน่นอน

     สมาคมผู้เลี้ยงหมูในไต้หวันบอกว่า ปีที่แล้ว อากาศหนาวในช่วงฤดูหนาว ส่งผลทำให้หมูตัวเล็กเกิดโรคท้องร่วง และโรคพี อาร์ อาร์ เอส(porcine reproductive and respiratory syndrome: PRRS) ซึ่งก็คือกลุ่มอาการของโรคที่เกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์และติดเชื้อทางเดินหายใจ นอกจากนี้ ในปี 2020 เริ่มเปิดนำเข้าหมูที่มีสารเร่งเนื้อแดงจากต่างประเทศ รัฐฯ ให้เงินอุดหนุนการสร้างฟาร์มเลี้ยงใหม่เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมการเลี้ยงหมู ทำให้เลี้ยงหมูลดลง และช่วงถัดไปเข้าสู่หน้าร้อน ความอยากอาหารของหมูลดลงเพราะอากาศร้อนขึ้น กินได้น้อยลง โตช้า แต่ช่วงเทศกาลเช็งเม้ง เทศกาลบ๊ะจ่าง เทศกาลสารทจีน และเทศกาลไหว้พระจันทร์ซึ่งเป็นเทศกาลใหญ่มีความต้องการหมูเพิ่มขึ้น

ข้าวโพดเป็นอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้นมากที่สุด

     สาเหตุอีกประการหนึ่งคือ อาหารสัตว์ที่ถีบตัวสูงขึ้นก็ทำให้ราคาหมูแพงขึ้นด้วย สภาเมล็ดพืชประเทศสหรัฐ อเมริกา (U.S. Grains Council-USGC) และสมาคมอาหารสัตว์เผยว่า การระบาดของโรคโควิด 19 รวมทั้งสงครามรัสเซียยูเครน ส่งผลให้อาหารสัตว์ยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ ต้นทุนการผลิตของหมูมีชีวิต 60 % มาจากอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้าวโพดถือว่าปรับสูงขึ้นมากที่สุด ปัจจุบันแม้อาหารสัตว์จะไม่ปรับสูงขึ้นอีกแต่ราคาก็จะไม่ลดลงเหมือนราคาในอดีต เกษตรกรเลี้ยงหมูคาดหวังให้รัฐบาลเคารพต่อกลไกลการตลาด ก็คือขึ้นและลงตามอุปสงค์ – อุปทาน รัฐบาลไม่ควรเข้ามาแทรกแซงในกระบวนการตลาดมากเกินไป

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti