ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 4 ก.ค.2566


Listen Later

     ปลาอินทรีเป็นปลาทะเลที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เป็นปลาที่คนไต้หวันนิยมบริโภคชนิดหนึ่ง ประมาณ 90% จับได้ในทะเลบริเวณเกาะเผิงหู แต่ปริมาณของปลาอินทรีลดลงอย่างมากในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา สถาบันวิจัยการประมงไต้หวัน(Fisheries Research Institute: FRI) ใช้เวลากว่า 10 ปี ทำการวิจัยเพื่อการผสมเทียมในทะเล และประกาศในวันที่ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมาว่า ความสำเร็จในการผสมเทียมปลาอินทรีในทะเลนับเป็นรายแรกของโลก ขณะนี้ลูกปลาวัยรุ่นที่ได้จากการผสมเทียมมีลำตัวยาว 30- 40 ซม.แล้ว คาดว่าจะใช้เวลา 2 ปี ในการขยายพันธุ์เพิ่มขึ้นเพื่อฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล และหลังจาก 4 - 5 ปีแล้วจะพัฒนาเพาะเลี้ยงในกระชัง

ไต้หวันประสบความสำเร็จในการผสมเทียมปลาอินทรีในทะเล

     องจิ้นซิง(翁進興) ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยทรัพยากรชายฝั่งของสถาบันวิจัยสัตว์น้ำ บอกว่า ปลาอินทรีเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลบริเวณน้ำลึกประมาณ 100 เมตร หาอาหารโดยไล่กินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กกว่า ว่ายน้ำเร็ว อาศัยอยู่ในทะเลเปิดทั่วโลกในเขตร้อนและเขตอบอุ่น จากสถิติของกรมประมงระบุ การจับปลาอินทรีตามชายแนวชายฝั่งทะเลในปี 2001 มีปริมาณ 3,200 เมตริกตัน แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมา เหลือเพียง 500 กว่าเมตริกตัน ดังนั้น ทางสถาบันวิจัยสัตว์น้ำจึงมุ่งเน้นผสมเทียมปลาอินทรี  โดยในเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนพฤษภาคม ได้ออกทะเลพร้อมกับชาวประมงเพื่อจับปลาอินทรีตัวผู้และปลาตัวเมีย  เก็บสเปิร์มและไข่สำหรับการผสมเทียมบนเรือ

ปลาอินทรีหลังฟักเป็นตัวอ่อน 26 วัน

     ทางด้านศูนย์วิจัยทรัพยากรชายฝั่งของสถาบันวิจัยสัตว์น้ำ เผยว่า การผสมเทียมล็อตแรก ไข่ที่ผ่านการปฏิสนธิสำเร็จมีประมาณ 120,000 ฟอง แต่ฟักได้เป็นปลาตัวอ่อนเพียง 206 ตัว ส่วนล็อตที่ 2 ผสมเทียม 180,000 ฟอง ฟักได้ตัวอ่อนเพียง 406 ตัว ซึ่งถือว่าอัตราการมีชีวิตรอดยังต่ำอยู่ คิดเป็น 0.17% และ 0.23% และต้นทุนการให้อาหารก็สูง  ประมาณวันที่ 20 จึงเริ่มให้อาหารที่เป็นเนื้อสด ลูกปลาที่รอดชีวิตมีการส่งมอบให้กับศูนย์เพาะพันธุ์ปลา 3 แห่ง ซึ่งหนึ่งในจำนวนนี้ คือ ศูนย์วิจัยการเพาะพันธุ์ที่ชีกู่ เมืองไถหนานประสบความสำเร็จในการเลี้ยงเป็นปลาวัยรุ่นที่มีขนาด 30 ซม. และได้รับการเปิดเผยต่อสาธารณะแล้ว และอีกล็อตหนึ่งมีขนาด  40 ซม.แล้วด้วย

ปลาอินทรีหลังผสมเทียม

      จางจิ่นอี๋(張錦宜) ผู้อำนวยการสถาบันทดลองสัตว์น้ำยังกล่าวด้วยว่า ปัจจุบันญี่ปุ่นได้ผสมเทียมปลาอินทรีจุดในทะเลที่มีขนาดเล็กกว่า และวัตถุประสงค์ของการผสมเทียมคือเพื่อใช้เป็นการฟื้นฟูทรัพยากรทางทะเล แต่ว่าปลาอินทรีบั้งที่มีขนาดตัวโตกว่าที่ไต้หวันประสบความสำเร็จในการผสมเทียมถือเป็นรายแรกของโลก เป็นความสำเร็จจากการร่วมมือของศูนย์วิจัยทรัพยากรชายฝั่ง ศูนย์วิจัยเพาะพันธุ์ทางทะเล และศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวภาพตงกั่ง

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti