ที่นี่ไต้หวัน

ที่นี่ไต้หวัน วันอังคารที่ 4 มี.ค.2568


Listen Later

   เมลอนเป็นพืชตระกูลแตงที่ได้รับความนิยมสูง เนื่องจากมีรสหวาน หอม และอุดมไปด้วยวิตามินเอและซี โดยในไต้หวันมีการพัฒนาสายพันธุ์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมลอนที่เรียกว่า "หยางเซียงกัว" (洋香瓜) เป็นแตงหวานที่มีเปลือกหนากว่าเมลอนพื้นเมือง (เซียงกัว - 香瓜) และถูกนำเข้ามาในช่วงกลางศตวรรษที่ 20 เกษตรกรต้องการเมลอนเนื้อเขียวลายตาข่ายที่ทนต่อโรคราน้ำค้างได้ดี โดยเฉพาะในช่วงอากาศเย็น เพื่อรองรับความต้องการนี้ สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรไถหนานได้พัฒนา "ไถหนาน หมายเลข 16" ซึ่งมีรสหวานฉ่ำ ผิวตาข่ายแน่น และทนต่อโรคราน้ำค้าง ช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับอุตสาหกรรมเมลอนของไต้หวัน

   ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา งานแสดงพันธุ์แตงในไต้หวันเผยให้เห็นความหลากหลายของเมลอนที่เพิ่มขึ้น ทั้งพันธุ์ลายตาข่าย เปลือกเรียบ และเนื้อกรอบคล้ายแคนตาลูป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพันธุ์นำเข้าจากญี่ปุ่นและปรับปรุงให้เหมาะกับสภาพแวดล้อมท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม พื้นที่เพาะปลูกเมลอนลดลงจาก 3,000 เฮกตาร์ในปี 2014 เหลือเพียง 2,000 เฮกตาร์ แต่การแข่งขันในตลาดกลับเพิ่มขึ้น ทำให้การพัฒนาสายพันธุ์ต้องดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบัน การปลูกเมลอนในไต้หวันยังคงใช้ระบบเลื้อยบนพื้นในอุโมงค์เตี้ยเป็นหลัก ขณะที่การปลูกแบบตั้งตรงในโรงเรือนยังมีอยู่น้อย
   สำหรับการปลูกเมลอนในช่วงอากาศร้อน สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไถหนาน ได้พัฒนาเมลอนเนื้อเขียวลายตาข่ายพันธุ์ "ไถหนาน หมายเลข 13" ในปี 2014 ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นด้าน ความทนทานต่ออากาศร้อน และกลายเป็นพันธุ์หลักสำหรับการเพาะปลูกในช่วงปลายฤดูใบไม้ผลิถึงต้นฤดูใบไม้ร่วง      อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาพันธุ์เมลอนที่มีอยู่ในตลาด กลับพบว่ายังขาดพันธุ์ที่เหมาะสมกับอากาศเย็นและมีความสามารถในการต้านทานโรคได้ดี
   เพื่อช่วยให้เกษตรกรสามารถเพาะปลูกเมลอนได้ในช่วง ปลายฤดูใบไม้ร่วงถึงต้นฤดูใบไม้ผลิ จึงมีการพัฒนาเมลอนพันธุ์ใหม่ที่ ให้ผลผลิตดี ทนต่อโรคราน้ำค้าง และเจริญเติบโตแข็งแรง โดยใช้ เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์แบบผสมข้ามสายพันธุ์ ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2010 ผ่านการคัดเลือกสาย

...more
View all episodesView all episodes
Download on the App Store

ที่นี่ไต้หวันBy รจรัตน์ ยนต์สุวรรณ, Rti