
Sign up to save your podcasts
Or
ไต้หวันส่งออกออนซิเดียมตัดดอกไปขายที่ญี่ปุ่นอย่างน้อย 20 ล้านก้านต่อปี เนื่องจากมีความสวยสดงดงาม ปัจจุบันยังเป็นที่ชื่นชอบของเนเธอร์แลนด์และออสเตรเลียทั้งๆ ที่แต่เดิมไม่คุ้นเคยกับดอกออนซิเดียม จนปัจจุบันมีมูลค่าการผลิตประมาณ 500 ล้านเหรียญไต้หวันต่อปี สาเหตุที่สามารถครองตลาดต่างประเทศได้เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการเก็บรักษา ด้วยคุณภาพที่ดีจึงสามารถครองใจผู้บริโภคในญี่ปุ่น สามารถขยายตลาดได้หลายช่องทาง กล่าวได้ว่าออนซิเดียมอันงดงามนี้ได้สร้างความรุ่งโรจน์ในวงการเกษตรกรรมของไต้หวันอย่างต่อเนื่อง
เทคนิคการรักษาความสดถือเป็นจุดพีคแรกที่ขายไปยังญี่ปุ่น
ไช่ตงหมิง(蔡東明) ผู้ช่วยวิจัยจากศูนย์วิจัยการเพาะพันธุ์ไม้ดอก สถาบันวิจัยการเกษตร กล่าวว่า ออนซิเดียมมีถิ่นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ โดยไต้หวันได้นำพันธุ์ออนซิเดียม โกเวอร์ แรมเซย์ ซึ่งเป็นพันธุ์หลักที่ปลูกมากในไทยมาเพาะปลูกในปี 1986 เนื่องจากสภาพอากาศมีความเหมาะสมกว่าประเทศไทย อุตสาหกรรมออนซิเดียมจึงเติบโตในไต้หวันอย่างไม่ขาดสาย หงจื้อเหวิน(洪志文) ผู้ก่อตั้งบริษัทหลงหยวน (瓏園國際有限公司-RYUEN INTERNATIONAL CO., LTD.) บอกว่า สีเหลืองของโกเวอร์ แรมเซย์นั้นสดใสและมีอายุการปักแจกันที่ยาวนาน มีดอกเล็ก ๆ มากมายในก้านเดียว หากมัดเป็นกำใหญ่ดูแล้วยิ่งสวย เมื่อนำมาแต่งเติมให้กับช่อดอกไม้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเอกหรือตัวประกอบ ล้วนได้รับความนิยมอย่างมากนับตั้งแต่นำเข้ามาปลูกในไต้หวัน จนต่อมาไต้หวันแย่งชิงตลาดออนซิเดียมของไทยอย่างช้าๆ
"ฮันนี่ เอน เจิล" สีเหลืองปนเขียวมะนาวเป็นที่ชื่นชอบของชาวญี่ปุ่น
หวงเจ้าเจีย(黃肇家) ผู้ร่วมวิจัยจากสถาบันวิจัยการเกษตรได้พัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาไม้ตัดดอก ทำให้การขนส่งออนซิเดียมไปยังญี่ปุ่นจากทางอากาศแทนที่ด้วยทางทะเล ต้นทุนของดอกไม้แต่ละดอกก็ลดลงอย่างน้อย 2 เหรียญไต้หวันต่อก้าน และมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าในไทยด้วยซ้ำ การพัฒนาด้านการขนส่งทางเรือถือเป็นเพียงจุดพีคสุดครั้งแรกของออนซิเดียมไต้หวัน แต่ยอดขายตัดดอกออนซิเดียมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2009 เกี่ยวข้องโดยตรงกับสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งก็คือ ออนซิเดียม "ฮันนี่ เอน เจิล(Honey Angel)" เลี่ยวปิ่งหง(廖秉鋐) ซีอีโอของสวนปิ่งซิน บอกว่า ฮันนี่ เอน เจิล ดอกสีเหลืองเขียวมะนาวพัฒนาโดยญี่ปุ่น มีสีเขียวเรืองแสงและไม่มีลายบนกลีบปาก ผลผลิตดีกว่าโกเวอร์ แรมเซย์ เมื่อส่งไปขายญี่ปุ่นก็ได้ราคาดีกว่าด้วย เพราะฉะนั้นชาวสวนจึงหันมาปลูกพันธุ์ ฮันนี่ เอน เจิล แต่การปลูกออนซิเดียมพันธุ์ ฮันนี่ เอน เจิล ไต้หวันต้องแบกรับต้นทุนของสิทธิ์ทางสายพันธุ์ ราคาส่งออกก็สูงกว่าโกเวอร์ แรมเซย์ แต่สิ่งนี้ไม่ได้ทำให้คนญี่ปุ่นลดความชื่นชอบที่มีต่อ ฮันนี่ เอน เจิล จนถึงปัจจุบัน ออนซิเดียมตัดดอกมากกว่า 90% ในไต้หวันยังคงเป็นสายพันธุ์ ฮันนี่ เอน เจิล จนทำให้เกษตรกรผู้ปลูกดอกไม้ถึงกับกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการใช้พันธุ์เดียว
ออนซิเดียม Baby Face พัฒนาโดยคุณหงจื้อเหวิน
ดังนั้น สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไทจง และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเอกชนต่างก็ช่วยกันเพาะพันธุ์ออนซิเดียมของไต้หวันอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าจะลดการใช้พันธุ์ต่างประเทศ การผลิตและการขายไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิบัตร อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดในการเพาะพันธุ์กล้วยไม้ออนซิเดียมตัดดอกค่อนข้างสูง แต่ไต้หวันยังคงพัฒนาพันธุ์ไม้ตัดดอกออนซิเดียมออกมาหลายพันธุ์ เช่น "ลูกพระอาทิตย์(太陽之子)" ที่มีดอกสีเหลืองบริสุทธิ์,พันธุ์ Baby Face ที่มีกลีบปากที่ใหญ่และหนาขึ้น และพันธุ์ "เอเลน่า愛琳娜" ที่มีสีเหลืองห่านแบบไล่ระดับ อีกทั้งพันธุ์ดอกสีเหลือง เช่น พันธุ์ไถหนง เบอร์ 2 ,พันธุ์ดอกสีขาว ไถหนง เบอร์ 4 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "สโนว์ไวท์白雪" เป็นต้น ในจำนวนนี้ พันธุ์ Baby Face ที่เป็นผลงานลูกผสมของคุณหงจื้อเหวิน และพันธุ์สโนว์ไวท์ ล้วนผ่านการตรวจสอบสิทธิ์ด้านสายพันธุ์ในญี่ปุ่นในปี 2013 ส่วนออนซิเดียมเอเลน่า ที่พัฒนาโดยคุณเลี่ยวปิ่งหง ก็ได้รับสิทธิ์ด้านสายพันธุ์ในญี่ปุ่นในปี 2022 ด้วย
สวนปิ่งซินได้รับใบสั่งซื้อจากเนเธอร์แลนด์ไม่ขาดสาย
ไต้หวันส่งออกออนซิเดียมตัดดอกไปขายที่ญี่ปุ่นอย่างน้อย 20 ล้านก้านต่อปี เนื่องจากมีความสวยสดงดงาม ปัจจุบันยังเป็นที่ชื่นชอบของเนเธอร์แลนด์และออสเตรเลียทั้งๆ ที่แต่เดิมไม่คุ้นเคยกับดอกออนซิเดียม จนปัจจุบันมีมูลค่าการผลิตประมาณ 500 ล้านเหรียญไต้หวันต่อปี สาเหตุที่สามารถครองตลาดต่างประเทศได้เพราะความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการเก็บรักษา ด้วยคุณภาพที่ดีจึงสามารถครองใจผู้บริโภคในญี่ปุ่น สามารถขยายตลาดได้หลายช่องทาง กล่าวได้ว่าออนซิเดียมอันงดงามนี้ได้สร้างความรุ่งโรจน์ในวงการเกษตรกรรมของไต้หวันอย่างต่อเนื่อง
เทคนิคการรักษาความสดถือเป็นจุดพีคแรกที่ขายไปยังญี่ปุ่น
ไช่ตงหมิง(蔡東明) ผู้ช่วยวิจัยจากศูนย์วิจัยการเพาะพันธุ์ไม้ดอก สถาบันวิจัยการเกษตร กล่าวว่า ออนซิเดียมมีถิ่นกำเนิดจากเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ โดยไต้หวันได้นำพันธุ์ออนซิเดียม โกเวอร์ แรมเซย์ ซึ่งเป็นพันธุ์หลักที่ปลูกมากในไทยมาเพาะปลูกในปี 1986 เนื่องจากสภาพอากาศมีความเหมาะสมกว่าประเทศไทย อุตสาหกรรมออนซิเดียมจึงเติบโตในไต้หวันอย่างไม่ขาดสาย หงจื้อเหวิน(洪志文) ผู้ก่อตั้งบริษัทหลงหยวน (瓏園國際有限公司-RYUEN INTERNATIONAL CO., LTD.) บอกว่า สีเหลืองของโกเวอร์ แรมเซย์นั้นสดใสและมีอายุการปักแจกันที่ยาวนาน มีดอกเล็ก ๆ มากมายในก้านเดียว หากมัดเป็นกำใหญ่ดูแล้วยิ่งสวย เมื่อนำมาแต่งเติมให้กับช่อดอกไม้ ไม่ว่าจะเป็นตัวเอกหรือตัวประกอบ ล้วนได้รับความนิยมอย่างมากนับตั้งแต่นำเข้ามาปลูกในไต้หวัน จนต่อมาไต้หวันแย่งชิงตลาดออนซิเดียมของไทยอย่างช้าๆ
"ฮันนี่ เอน เจิล" สีเหลืองปนเขียวมะนาวเป็นที่ชื่นชอบของชาวญี่ปุ่น
หวงเจ้าเจีย(黃肇家) ผู้ร่วมวิจัยจากสถาบันวิจัยการเกษตรได้พัฒนาเทคโนโลยีการเก็บรักษาไม้ตัดดอก ทำให้การขนส่งออนซิเดียมไปยังญี่ปุ่นจากทางอากาศแทนที่ด้วยทางทะเล ต้นทุนของดอกไม้แต่ละดอกก็ลดลงอย่างน้อย 2 เหรียญไต้หวันต่อก้าน และมีต้นทุนการผลิตต่ำกว่าในไทยด้วยซ้ำ การพัฒนาด้านการขนส่งทางเรือถือเป็นเพียงจุดพีคสุดครั้งแรกของออนซิเดียมไต้หวัน แต่ยอดขายตัดดอกออนซิเดียมเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในปี 2009 เกี่ยวข้องโดยตรงกับสายพันธุ์ใหม่ ซึ่งก็คือ ออนซิเดียม "ฮันนี่ เอน เจิล(Honey Angel)" เลี่ยวปิ่งหง(廖秉鋐) ซีอีโอของสวนปิ่งซิน บอกว่า ฮันนี่ เอน เจิล ดอกสีเหลืองเขียวมะนาวพัฒนาโดยญี่ปุ่น มีสีเขียวเรืองแสงและไม่มีลายบนกลีบปาก ผลผลิตดีกว่าโกเวอร์ แรมเซย์ เมื่อส่งไปขายญี่ปุ่นก็ได้ราคาดีกว่าด้วย เพราะฉะนั้นชาวสวนจึงหันมาปลูกพันธุ์ ฮันนี่ เอน เจิล แต่การปลูกออนซิเดียมพันธุ์ ฮันนี่ เอน เจิล ไต้หวันต้องแบกรับต้นทุนของสิทธิ์ทางสายพันธุ์ ราคาส่งออกก็สูงกว่าโกเวอร์ แรมเซย์ แต่สิ่งนี้ไม่ได้ทำให้คนญี่ปุ่นลดความชื่นชอบที่มีต่อ ฮันนี่ เอน เจิล จนถึงปัจจุบัน ออนซิเดียมตัดดอกมากกว่า 90% ในไต้หวันยังคงเป็นสายพันธุ์ ฮันนี่ เอน เจิล จนทำให้เกษตรกรผู้ปลูกดอกไม้ถึงกับกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการใช้พันธุ์เดียว
ออนซิเดียม Baby Face พัฒนาโดยคุณหงจื้อเหวิน
ดังนั้น สถานีวิจัยและส่งเสริมการเกษตรเขตไทจง และผู้ประกอบการอุตสาหกรรมเอกชนต่างก็ช่วยกันเพาะพันธุ์ออนซิเดียมของไต้หวันอย่างต่อเนื่อง โดยหวังว่าจะลดการใช้พันธุ์ต่างประเทศ การผลิตและการขายไม่ถูกจำกัดโดยสิทธิบัตร อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดในการเพาะพันธุ์กล้วยไม้ออนซิเดียมตัดดอกค่อนข้างสูง แต่ไต้หวันยังคงพัฒนาพันธุ์ไม้ตัดดอกออนซิเดียมออกมาหลายพันธุ์ เช่น "ลูกพระอาทิตย์(太陽之子)" ที่มีดอกสีเหลืองบริสุทธิ์,พันธุ์ Baby Face ที่มีกลีบปากที่ใหญ่และหนาขึ้น และพันธุ์ "เอเลน่า愛琳娜" ที่มีสีเหลืองห่านแบบไล่ระดับ อีกทั้งพันธุ์ดอกสีเหลือง เช่น พันธุ์ไถหนง เบอร์ 2 ,พันธุ์ดอกสีขาว ไถหนง เบอร์ 4 หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า "สโนว์ไวท์白雪" เป็นต้น ในจำนวนนี้ พันธุ์ Baby Face ที่เป็นผลงานลูกผสมของคุณหงจื้อเหวิน และพันธุ์สโนว์ไวท์ ล้วนผ่านการตรวจสอบสิทธิ์ด้านสายพันธุ์ในญี่ปุ่นในปี 2013 ส่วนออนซิเดียมเอเลน่า ที่พัฒนาโดยคุณเลี่ยวปิ่งหง ก็ได้รับสิทธิ์ด้านสายพันธุ์ในญี่ปุ่นในปี 2022 ด้วย
สวนปิ่งซินได้รับใบสั่งซื้อจากเนเธอร์แลนด์ไม่ขาดสาย